พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช.กล่าวถึง ข้อเสนอจากหลายฝ่ายให้มีการทำประชามติ ภายหลังการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ว่า ตนจะตัดสินใจเมื่อถึงเวลาใกล้ๆ ก่อน ซึ่งอำนาจการตัดสินใจสุดท้าย รัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 ก็บัญญัติไว้ชัดเจนว่า เป็นเรื่องของ คสช. แต่รัฐธรรมนูญไม่ได้เขียนเรื่องการทำประชามติไว้
"เพราะฉะนั้น ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ อยู่ที่ผมตัดสินใจ พิจารณาร่วมกันว่า ควรหรือไม่ควร วันนี้ยังไปไม่ถึงตรงนั้นก็ทะเลาะกันจะเป็นจะตายแล้ว ทุกคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทุกคนจะเอาแบบเดิมกันทั้งหมด ถามว่าแล้วเราจะปฏิรูปได้ไหม ต้องกลับไปถามคนที่ออกมาเรียกร้องซิ ว่า เขาต้องการอะไร หนึ่งเขาต้องการปฏิรูป ใช่หรือไม่ เมื่อมีการปฏิรูป ก็ย่อมมีอะไรที่ไม่เหมือนเดิมบ้าง มีกลไกที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปอย่างเป็นธรรมเข้าใจคำว่า เสียเวลาเปล่าไหม เราพูดกันเสมอ เสร็จแล้วพอทำไม่ได้ พอมีปัญหา ท่านก็บอกว่า ตัวผมไม่รู้จะเข้ามาทำไม เสียเปล่า ถ้าจะแก้ก็พยายามทำให้ พอแก้ไม่สำเร็จ เพราะมีการต่อต้าน จนเจ้าหน้าที่ทำไม่ได้ ก็มาโทษผมอีกว่าเสียเปล่า " หัวหน้า คสช. กล่าว
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีมั่นใจใช่หรือไม่ว่า การปฏิรูปครั้งนี้จะไม่เสียเปล่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมจะไม่ยอมให้เสียเปล่า"
เมื่อถามว่า มีบางกลุ่มนักการเมือง อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประกาศว่า หากกติกายังไม่ชัดเจน ก็จะขอเว้นวรรคทางการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ก็ดีสิ ก็ไปสิ ให้เว้นจริงๆก็แล้วกัน จะได้เลิกทะเลาะกันเสียที " เมื่อถามว่า จะเรียกมาปรับความเข้าใจอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่เรียก มันปรับไม่ได้แล้ว อายุเยอะแล้ว เขาก็คิดแบบเขา จะไปอะไรกันนักหนา
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจะตัดสินใจทำประชามติหรือไม่ จะต้องประเมินจากอะไร หรือต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องรอประเมินดูจากสถานการณ์ วันนี้การร่างยังไม่ไปไหนเลย ถ้าตกลงกันเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไรกัน สามารถทูลเกล้าฯได้ มันก็จบ โปรดเกล้าฯ ลงมาก็เลือกตั้ง แต่เมื่อเถียงกันมากๆ เดี๋ยวค่อยว่ากันว่าจะทำอย่างไรต่อ
"มีอยู่สองอย่าง ไม่งั้นก็ต้องล้มกันทั้งหมด เริ่มใหม่ เอาไง ก็ไปเลือกกันมา ถ้าล้มทั้งหมดก็ต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ รัฐธรรมนูญเขียนไว้แบบนั้น ผมถึงเวลากลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ คิดถึงคำตอบ ที่จะมาตอบกับสื่อ "
เมื่อถามว่าถ้าล้มทั้งหมด จะไม่เป็นการเสียเวลาหรือสูญเปล่าอย่างนั้นหรือ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เสียเวลา เสียสมอง" เมื่อถามว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ต้องล้มใหม่ทั้งหมด เป็นเพราะสถานการณ์ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ หมายความว่า กลุ่มการเมืองเขาจะรับร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่ ถ้าเขาไม่รับ แล้วจะทำอย่างไร ถ้าเขาไม่รับก็ต้องไปหาทางทำกันมา จะมาถามตนทำไม ต้องไปถามคนที่ไม่รับ
เมื่อถามว่า มีแผนสำรองไว้อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มี ถึงมีก็ไม่บอก ทำไมจะต้องบอกทุกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันคล้ายวันเกิด วันที่ 21 มี.ค.นี้ จะไปทำบุญที่ไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " อยู่บ้าน อยู่ในกรมนั่นแหละ ไม่ต้องมายุ่งกับผม ผมเกิดคนเดียว ไม่ต้องกวนใคร " นายกรัฐมนตรี กล่าว
**นักการเมืองต้องอ่านรธน.ให้ละเอียด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุม 5 ฝ่ายที่ผ่านมาว่า ในแต่ละสายมีการเสนอความเห็นประมาณ 17 ข้อ ไปยัง กมธ.ยกร่างฯ และทางกมธ.ยกร่างฯ กำลังรวบรวมคำตอบ ส่วนการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ก็ยังเสนอความคิดเห็นมาได้ ยอมรับว่า มีหลายประเด็นที่ยังถกเถียงกัน เพราะมีถึง 300 มาตรา ซึ่งตนก็ยังแปลกใจว่า สังคมเราทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ยังชุลมุนวุ่นวาย ติดใจกันอยู่ในประเด็นนายกรัฐมนตรีเป็นใคร มาจากไหน ส.ส.เลือกตั้งโดยวิธีอะไร ซึ่งมันเป็นวิธีที่เรียกว่า การเมืองภาคการเมือง ซึ่งก็ไม่เป็นไร ถ้าใครติดใจ ก็ยกขึ้นมาได้ แต่ความจริงในรัฐธรรมนูญ ยังมีอีกหลายประเด็นที่ควรจะตั้งคำถาม เช่น สิทธิและเสรีภาพ สมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเรือน ใหม่ๆ ยังมีอีกเยอะ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ดูแล้วไม่ค่อยจะมีการใครวิพากษ์วิจารณ์ เหมือนประหนึ่งว่า ไม่ได้อ่าน หรืออาจจะเห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วย คงต้องพูดจากกัน แม้กระทั้งเรื่องสิทธิเสรีภาพ ที่ให้ไว้เยอะ แต่ในแง่ประชาชน ก็ต้องตอบเป็นเรื่องดี แต่ในแง่ของคนที่จะมาเป็นรัฐบาล ก็ควรจะอ่านหน่อย
" แต่สำหรับคนที่จะมาเป็นรัฐบาล หรือคิดจะมาเป็นรัฐบาล ก็ช่วยอ่านหน่อย พวกผมไม่ได้เป็นแล้ว อีกหน่อยก็ถอยออกไป เขาจะให้กลับมาใหม่หรือไม่ ก็คงไม่รู้ ไม่ได้เกี่ยวอะไร และผมก็ไม่ได้ติดใจ แต่คนที่จะเข้ามารับภาระประเทศ ต้องอ่าน คิดให้ดีนะว่าเป็นอุปสรรคต่อการทำงานไหม หรือเข้าใจหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาก็บอก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในตอนนี้เลย ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาอีกว่า คนร่างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ร่าง ตอนนี้รวมกันหมดแล้ว ใครมีอะไรก็บอกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ทำลายระบบพรรคเมืองนั้น ความจริงมีทั้งข้อดี และข้อเสีย จุดแข็งและจุดอ่อน ถ้าหยิบจุดอ่อนมาพูดมันก็มองได้ แต่ก็มีจุดแข็ง เพราะฉะนั้นต้องชั่งน้ำหนักเอาว่าจะเลือกเอาอะไร เพราะถ้าจะเลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุด โดยไม่มีจุดอ่อนเลย คงไม่ได้ ซึ่งตนก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ไปพิจารณาอีกที
ทั้งนี้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ว่า การเสนอแบบนี้ไป เพราะต้องการแก้ปัญหาอะไร นอกจากนี้ ต้องชี้แจงว่าการเสนอแบบนี้ มันจะเกิดผลกระทบข้างเคียงอะไร หรือไม่ ก็ต้องทำความเข้าใจ และจะต้องพูดถึงถ้อยคำ และความหมายของถ้อยคำ เพราะบางคำเป็นคำใหม่ ที่ไม่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญก่อนๆ ก็ต้องถามกันว่า มันแปลว่าอะไร พูดกันให้รู้เรื่องก่อน จะได้ไม่มีปัญหาเวลาเกิดคดีขึ้นภายหลัง ยิ่งถ้าคิดเผื่อว่าจะต้องทำประชามติ ซึ่งไม่ว่าจะมี หรือไม่ ถ้าไปถึงขั้นนั้นการทำความเข้าใจยิ่งสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้น คนก็จะไปโหวตกันโดยไม่เข้าใจอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จวนที่จะรู้แล้วว่า จะต้องทำประชามติหรือไม่
**"เทียนฉาย"อัด"ปึ้ง"ทำสังคมสับสน
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ ระบุว่า อาจตัดสินใจยุติบทบาททางการเมืองชั่วคราว หากที่สุดรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ว่า ยังเร็วไปนิด ที่พรรคการเมืองจะตัดสินใจบอยคอตเลือกตั้ง ทั้งที่ยังไม่เห็นร่างแรก กมธ.ยกร่างฯ กำลังศึกษา อยู่ในกระบวนการเปิดรับฟังความเห็นประชาชน ก่อน ส่งต่อให้ สปช.แนะนำ ถ้ามีความเห็นถกเถียงประเด็นใด ส่งมาที่ตนก็ได้ อย่าไปพูดผ่านสื่อ เพราะสังคมสับสนแน่ อย่าว่าแต่ประชาชนสับสนเลย แม้แต่ตนก็สับสน และให้รอถึงวันที่หน้าตารัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ไม่สามารถแก้ไขใดๆได้แล้ว ค่อยมาวิจารณ์ ด้วยหลักการและเหตุผล จะดีกว่า
**ทำประชามติต้องไม่อยู่ใต้อัยการศึก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเสนอให้มีการทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การทำประชามติเป็นข้อเสนอที่ตนเสนอมานานแล้ว และถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ควรประกาศว่า จะมีการทำประชามติออกมาแต่เนินๆ ทุกฝ่ายจะได้เตรียมตัว กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ไม่ทำอะไรตามใจตัวเอง รับฟังประชาชนมากขึ้น และควรเปิดโอกาสให้มีการทำประชามติอย่างเสรี ไม่ใช่ทำประชามติภายใต้กฎอัยการศึก เพื่อให้ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ อีกทั้งต้องไม่มีเงื่อนไขว่า หากประชามติไม่ผ่าน จะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดมาใช้ก็ได้ เหมือนการทำประชามติปี 50 โดยต้องกำหนดไปเลยว่า ถ้าทำประชามติไม่ผ่าน จะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ เช่น รธน.ปี 40 หรือว่าจะให้ร่างกันใหม่ แม้จะใช้เวลา แต่ก็ดีกว่าเอาร่างที่เขียนอยู่มาใช้ เพราะก็จะนำไปสู่ความวุ่นวายเสียหายยับเยิน
**กกต.พร้อมประชามติร่างรธน.ใหม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง กรณีมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า หากรัฐบาลจะให้จัดทำประชามติ ก็ต้องส่งเรื่องมายัง กกต. และกำหนดวันทำประชามติ อย่างน้อยต้องมีเวลา 90 วัน ซึ่งจะต้องตั้งคำถามว่า จะให้ประชาชนตัดสินใจเลือกอย่างไร ต้องเป็นคำถามที่ไม่ซับซ้อนเกินไป และควรเป็นคำถามเดียว เหมือนกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 50 คือ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อกำหนดวัน และคำถามแล้ว จะต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่มีความเห็นต่าง มีโอกาสแสดงความเห็นต่อสาธารณะอย่างเท่าเทียม ประชาชนเข้าถึงประเด็นปัญหา ดังนั้นคงเป็นหน้าที่ฝ่ายรัฐที่ต้องทำการเผยแพร่เนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ
ทั้งนี้ การทำประชามติ คือ การถามคำถามกับประชาชนในเรื่องสำคัญของประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญ ถือว่า เป็นกฎหมายสำคัญของประเทศ การที่จะทำประชามติก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีส่วนที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับสิ่งที่ดำเนินการออกมา ฉะนั้นโดยหลักการเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่พอที่จะทำประชามติได้
" ประเด็นที่เป็นห่วง คือ ในบรรยากาศทางการเมืองที่จะต้องเปิดให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นอย่างเสรีเท่าเทียม อันนี้คือหัวใจสำคัญ ถ้าหากทำประชามติแล้วยังไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ เพื่อบอก ข้อดี ข้อเสีย ในรัฐธรรมนูญ มันก็จะเป็นเพียงพิธีกรรมในการสร้างความชอบธรรม สร้างการยอมรับ แต่ถ้าประชาชนยังไม่เข้าถึงข้อเท็จจริง การตัดสินใจดังกล่าว อาจจะถูกจูงใจจากผู้มีอิทธิพลทางความคิดมากกว่า จะทำให้การทำประชามติสูญเปล่า" นายสมชัย กล่าว และว่า หากมีการทำประชามติ คาดว่าจะต้องใช้งบ 3,000 ล้านบาทเศษ ซึ่ง กกต. ก็พร้อมดำเนินการ
**ชี้จุดอ่อนโอเพน ลิสต์ เพิ่มปัญหาขัดแย้ง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เลือกใช้ระบบสัดส่วนผสมหรือโอเพน ลิสต์ เพื่อลดอำนาจกรรมการบริหารพรรค และกลุ่มทุนที่หนุนพรรคโดยให้ประชาชนเลือก ส.ส. ที่รู้จัก และมีผลงานแทนว่าคนเหล่านี้ไม่เคยลงเลือกตั้ง หากระบุเหตุผลเช่นนี้ ก็คือ การเลือก ส.ส.เขต แล้วมาตัดจำนวน ส.ส.เขต ให้น้อยลงทำไม ส่วนที่อ้างว่า ที่ผ่านมามีคนใกล้ชิดหัวหน้าพรรค หรือกลุ่มทุนมาเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคนั้น เป็นการมองพรรคการเมืองด้วยอคติ ว่าพรรคหรือนักการเมืองชั่วร้ายทั้งหมด ทั้งที่มีทั้งคนดี คนเลว และ พรรคการเมืองบริหารผ่านกรรมการบริหารพรรค คือใช้เสียงข้างมากในการโหวต ส่วนเรื่องทุนครอบงำ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทุน จึงไม่มีปัญหานี้ ต้องจัดงานระดมทุนอย่างเปิดเผย เพราะข้อเท็จจริง ทุนกับพรรค ต้องคู่กัน แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญ เช่น 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นการให้คนเก่ง ที่บริจาคเงินให้พรรคโดยเปิดเผย ดีกว่าการแอบยัดเงินใต้โต๊ะ ให้เพื่อผลักดันในวาระซ่อนเร้น
"ผมขอท้ากรรมาธิการยกร่างฯ ให้มาลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสัดส่วนผสม ในโซนภาคใต้ หากได้คะแนนเกินหมื่นผมจะยอมให้เตะก้น จากพัทลุงถึงกรุงเทพฯ เลย เชื่อว่าไม่มีมีใครกล้ารับคำท้าแน่นอน"
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ระบบเลือกตั้งผสม จะมีปัญหาแน่นอน เพราะมีการลดจำนวน ส.ส.เขต แต่ละจังหวัดลง อดีต ส.ส.เขตเหล่านี้ก็จะไปลงในบัญชีรายชื่อ ฉะนั้นประชาชนแต่ละจังหวัด ก็จะเลือกคนเหล่านี้เข้ามาอีก เพราะรู้จักมากกว่าผู้สมัครหน้าใหม่ ที่สุดก็จะหลายเป็นจังหวัดใครจังหวัดมัน จะเกิดเป็นวัฒนธรรมจังหวัดนิยม เช่น ตนต้องไปลง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่พัทลุง ชาวบ้านที่นั่นก็ต้องเลือกตน มากกว่าเลือกผู้สมัครจากจังหวัดอื่น ขณะที่จังหวัดอื่น ก็จะเลือกอดีต ส.ส.เขตของเขา ที่มาลงในระบบบัญชีรายชื่อเช่นกัน จะเกิดปัญหาว่า พรรคการเมืองจะหาคนดี คนเก่งมาสร้างเป็นเลือดใหม่ได้อย่างไร นี่ต่างหากที่เป็นการทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอลง และหากได้คนที่มีอิทธิพล และมีอำนาจเงิน อาจเกิดการซื้อเสียงข้ามจังหวัดในแต่ละโซนเลือกตั้ง เพื่อให้ตัวเองได้เป็น ส.ส.และไม่ตกลำดับชั้น
"ผมฟันธงเลยว่า จังหวัดเล็ก เช่น ระนอง พังงา ภูเก็ต ต่อให้มีคนดี เด่น ดังแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็น ส.ส. เพราะประชาชนในจังหวัด มีน้อยกว่าจังหวัดใหญ่ เมื่อเกิดจังหวัดนิยม ก็จะยิ่งมีความแตกแยกลงลึกในแต่ละชุมชนจังหวัด ต่างๆ มากยิ่งขึ้น แค่ในอดีตมีคนบอกว่า ขัดแย้งจากภาคนิยม แต่ครั้งนี้ความขัดแย้ง แตกแยกจะรุนแรงยิ่งกว่าที่กรรมาธิการยกร่างฯ คิดไม่ถึง" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
"เพราะฉะนั้น ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ อยู่ที่ผมตัดสินใจ พิจารณาร่วมกันว่า ควรหรือไม่ควร วันนี้ยังไปไม่ถึงตรงนั้นก็ทะเลาะกันจะเป็นจะตายแล้ว ทุกคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไรเลย ทุกคนจะเอาแบบเดิมกันทั้งหมด ถามว่าแล้วเราจะปฏิรูปได้ไหม ต้องกลับไปถามคนที่ออกมาเรียกร้องซิ ว่า เขาต้องการอะไร หนึ่งเขาต้องการปฏิรูป ใช่หรือไม่ เมื่อมีการปฏิรูป ก็ย่อมมีอะไรที่ไม่เหมือนเดิมบ้าง มีกลไกที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปอย่างเป็นธรรมเข้าใจคำว่า เสียเวลาเปล่าไหม เราพูดกันเสมอ เสร็จแล้วพอทำไม่ได้ พอมีปัญหา ท่านก็บอกว่า ตัวผมไม่รู้จะเข้ามาทำไม เสียเปล่า ถ้าจะแก้ก็พยายามทำให้ พอแก้ไม่สำเร็จ เพราะมีการต่อต้าน จนเจ้าหน้าที่ทำไม่ได้ ก็มาโทษผมอีกว่าเสียเปล่า " หัวหน้า คสช. กล่าว
เมื่อถามว่า นายกรัฐมนตรีมั่นใจใช่หรือไม่ว่า การปฏิรูปครั้งนี้จะไม่เสียเปล่า พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ผมจะไม่ยอมให้เสียเปล่า"
เมื่อถามว่า มีบางกลุ่มนักการเมือง อาทิ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ประกาศว่า หากกติกายังไม่ชัดเจน ก็จะขอเว้นวรรคทางการเมือง พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " ก็ดีสิ ก็ไปสิ ให้เว้นจริงๆก็แล้วกัน จะได้เลิกทะเลาะกันเสียที " เมื่อถามว่า จะเรียกมาปรับความเข้าใจอีกหรือไม่ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่เรียก มันปรับไม่ได้แล้ว อายุเยอะแล้ว เขาก็คิดแบบเขา จะไปอะไรกันนักหนา
ผู้สื่อข่าวถามว่า การจะตัดสินใจทำประชามติหรือไม่ จะต้องประเมินจากอะไร หรือต้องรอให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จก่อน นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องรอประเมินดูจากสถานการณ์ วันนี้การร่างยังไม่ไปไหนเลย ถ้าตกลงกันเรียบร้อย ไม่มีปัญหาอะไรกัน สามารถทูลเกล้าฯได้ มันก็จบ โปรดเกล้าฯ ลงมาก็เลือกตั้ง แต่เมื่อเถียงกันมากๆ เดี๋ยวค่อยว่ากันว่าจะทำอย่างไรต่อ
"มีอยู่สองอย่าง ไม่งั้นก็ต้องล้มกันทั้งหมด เริ่มใหม่ เอาไง ก็ไปเลือกกันมา ถ้าล้มทั้งหมดก็ต้องตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่ รัฐธรรมนูญเขียนไว้แบบนั้น ผมถึงเวลากลางคืนนอนไม่ค่อยหลับ คิดถึงคำตอบ ที่จะมาตอบกับสื่อ "
เมื่อถามว่าถ้าล้มทั้งหมด จะไม่เป็นการเสียเวลาหรือสูญเปล่าอย่างนั้นหรือ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "เสียเวลา เสียสมอง" เมื่อถามว่า ปัจจัยอะไรที่จะทำให้ต้องล้มใหม่ทั้งหมด เป็นเพราะสถานการณ์ ใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่ใช่ หมายความว่า กลุ่มการเมืองเขาจะรับร่างรัฐธรรมนูญนี้ได้หรือไม่ ถ้าเขาไม่รับ แล้วจะทำอย่างไร ถ้าเขาไม่รับก็ต้องไปหาทางทำกันมา จะมาถามตนทำไม ต้องไปถามคนที่ไม่รับ
เมื่อถามว่า มีแผนสำรองไว้อย่างไร พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไม่มี ถึงมีก็ไม่บอก ทำไมจะต้องบอกทุกเรื่อง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในวันคล้ายวันเกิด วันที่ 21 มี.ค.นี้ จะไปทำบุญที่ไหน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า " อยู่บ้าน อยู่ในกรมนั่นแหละ ไม่ต้องมายุ่งกับผม ผมเกิดคนเดียว ไม่ต้องกวนใคร " นายกรัฐมนตรี กล่าว
**นักการเมืองต้องอ่านรธน.ให้ละเอียด
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการประชุม 5 ฝ่ายที่ผ่านมาว่า ในแต่ละสายมีการเสนอความเห็นประมาณ 17 ข้อ ไปยัง กมธ.ยกร่างฯ และทางกมธ.ยกร่างฯ กำลังรวบรวมคำตอบ ส่วนการปรับปรุงแก้ไขรัฐธรรมนูญที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วย ก็ยังเสนอความคิดเห็นมาได้ ยอมรับว่า มีหลายประเด็นที่ยังถกเถียงกัน เพราะมีถึง 300 มาตรา ซึ่งตนก็ยังแปลกใจว่า สังคมเราทุกยุคทุกสมัยที่ผ่านมา ยังชุลมุนวุ่นวาย ติดใจกันอยู่ในประเด็นนายกรัฐมนตรีเป็นใคร มาจากไหน ส.ส.เลือกตั้งโดยวิธีอะไร ซึ่งมันเป็นวิธีที่เรียกว่า การเมืองภาคการเมือง ซึ่งก็ไม่เป็นไร ถ้าใครติดใจ ก็ยกขึ้นมาได้ แต่ความจริงในรัฐธรรมนูญ ยังมีอีกหลายประเด็นที่ควรจะตั้งคำถาม เช่น สิทธิและเสรีภาพ สมัชชาคุณธรรม สมัชชาพลเรือน ใหม่ๆ ยังมีอีกเยอะ ซึ่งประเด็นเหล่านี้ดูแล้วไม่ค่อยจะมีการใครวิพากษ์วิจารณ์ เหมือนประหนึ่งว่า ไม่ได้อ่าน หรืออาจจะเห็นด้วย ถ้าไม่เห็นด้วย คงต้องพูดจากกัน แม้กระทั้งเรื่องสิทธิเสรีภาพ ที่ให้ไว้เยอะ แต่ในแง่ประชาชน ก็ต้องตอบเป็นเรื่องดี แต่ในแง่ของคนที่จะมาเป็นรัฐบาล ก็ควรจะอ่านหน่อย
" แต่สำหรับคนที่จะมาเป็นรัฐบาล หรือคิดจะมาเป็นรัฐบาล ก็ช่วยอ่านหน่อย พวกผมไม่ได้เป็นแล้ว อีกหน่อยก็ถอยออกไป เขาจะให้กลับมาใหม่หรือไม่ ก็คงไม่รู้ ไม่ได้เกี่ยวอะไร และผมก็ไม่ได้ติดใจ แต่คนที่จะเข้ามารับภาระประเทศ ต้องอ่าน คิดให้ดีนะว่าเป็นอุปสรรคต่อการทำงานไหม หรือเข้าใจหรือเปล่า ถ้ามีปัญหาก็บอก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญในตอนนี้เลย ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหาอีกว่า คนร่างไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ร่าง ตอนนี้รวมกันหมดแล้ว ใครมีอะไรก็บอกกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ" นายวิษณุ กล่าว
ส่วนที่มีการวิจารณ์ว่า ร่างรัฐธรรมนูญนี้ ทำลายระบบพรรคเมืองนั้น ความจริงมีทั้งข้อดี และข้อเสีย จุดแข็งและจุดอ่อน ถ้าหยิบจุดอ่อนมาพูดมันก็มองได้ แต่ก็มีจุดแข็ง เพราะฉะนั้นต้องชั่งน้ำหนักเอาว่าจะเลือกเอาอะไร เพราะถ้าจะเลือกเอาสิ่งที่ดีที่สุด โดยไม่มีจุดอ่อนเลย คงไม่ได้ ซึ่งตนก็ไม่มีปัญหาอะไรถ้าจะวิพากษ์วิจารณ์ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ไปพิจารณาอีกที
ทั้งนี้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ควรประชาสัมพันธ์ สร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ว่า การเสนอแบบนี้ไป เพราะต้องการแก้ปัญหาอะไร นอกจากนี้ ต้องชี้แจงว่าการเสนอแบบนี้ มันจะเกิดผลกระทบข้างเคียงอะไร หรือไม่ ก็ต้องทำความเข้าใจ และจะต้องพูดถึงถ้อยคำ และความหมายของถ้อยคำ เพราะบางคำเป็นคำใหม่ ที่ไม่เคยใช้ในรัฐธรรมนูญก่อนๆ ก็ต้องถามกันว่า มันแปลว่าอะไร พูดกันให้รู้เรื่องก่อน จะได้ไม่มีปัญหาเวลาเกิดคดีขึ้นภายหลัง ยิ่งถ้าคิดเผื่อว่าจะต้องทำประชามติ ซึ่งไม่ว่าจะมี หรือไม่ ถ้าไปถึงขั้นนั้นการทำความเข้าใจยิ่งสำคัญ เพราะไม่เช่นนั้น คนก็จะไปโหวตกันโดยไม่เข้าใจอะไรเลย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้จวนที่จะรู้แล้วว่า จะต้องทำประชามติหรือไม่
**"เทียนฉาย"อัด"ปึ้ง"ทำสังคมสับสน
นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึง กรณีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล อดีตรองนายกฯ ระบุว่า อาจตัดสินใจยุติบทบาททางการเมืองชั่วคราว หากที่สุดรัฐธรรมนูญไม่เป็นประชาธิปไตย ว่า ยังเร็วไปนิด ที่พรรคการเมืองจะตัดสินใจบอยคอตเลือกตั้ง ทั้งที่ยังไม่เห็นร่างแรก กมธ.ยกร่างฯ กำลังศึกษา อยู่ในกระบวนการเปิดรับฟังความเห็นประชาชน ก่อน ส่งต่อให้ สปช.แนะนำ ถ้ามีความเห็นถกเถียงประเด็นใด ส่งมาที่ตนก็ได้ อย่าไปพูดผ่านสื่อ เพราะสังคมสับสนแน่ อย่าว่าแต่ประชาชนสับสนเลย แม้แต่ตนก็สับสน และให้รอถึงวันที่หน้าตารัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ ไม่สามารถแก้ไขใดๆได้แล้ว ค่อยมาวิจารณ์ ด้วยหลักการและเหตุผล จะดีกว่า
**ทำประชามติต้องไม่อยู่ใต้อัยการศึก
นายจาตุรนต์ ฉายแสง แกนนำพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่มีหลายฝ่ายเสนอให้มีการทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญ ว่า การทำประชามติเป็นข้อเสนอที่ตนเสนอมานานแล้ว และถ้าจะให้เกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ควรประกาศว่า จะมีการทำประชามติออกมาแต่เนินๆ ทุกฝ่ายจะได้เตรียมตัว กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะได้ไม่ทำอะไรตามใจตัวเอง รับฟังประชาชนมากขึ้น และควรเปิดโอกาสให้มีการทำประชามติอย่างเสรี ไม่ใช่ทำประชามติภายใต้กฎอัยการศึก เพื่อให้ได้มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างเต็มที่ อีกทั้งต้องไม่มีเงื่อนไขว่า หากประชามติไม่ผ่าน จะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับใดมาใช้ก็ได้ เหมือนการทำประชามติปี 50 โดยต้องกำหนดไปเลยว่า ถ้าทำประชามติไม่ผ่าน จะหยิบยกรัฐธรรมนูญฉบับไหนมาใช้ เช่น รธน.ปี 40 หรือว่าจะให้ร่างกันใหม่ แม้จะใช้เวลา แต่ก็ดีกว่าเอาร่างที่เขียนอยู่มาใช้ เพราะก็จะนำไปสู่ความวุ่นวายเสียหายยับเยิน
**กกต.พร้อมประชามติร่างรธน.ใหม่
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต.ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวถึง กรณีมีการเรียกร้องให้รัฐบาลทำประชามติ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า หากรัฐบาลจะให้จัดทำประชามติ ก็ต้องส่งเรื่องมายัง กกต. และกำหนดวันทำประชามติ อย่างน้อยต้องมีเวลา 90 วัน ซึ่งจะต้องตั้งคำถามว่า จะให้ประชาชนตัดสินใจเลือกอย่างไร ต้องเป็นคำถามที่ไม่ซับซ้อนเกินไป และควรเป็นคำถามเดียว เหมือนกับการทำประชามติรัฐธรรมนูญปี 50 คือ เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ กับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
เมื่อกำหนดวัน และคำถามแล้ว จะต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่มีความเห็นต่าง มีโอกาสแสดงความเห็นต่อสาธารณะอย่างเท่าเทียม ประชาชนเข้าถึงประเด็นปัญหา ดังนั้นคงเป็นหน้าที่ฝ่ายรัฐที่ต้องทำการเผยแพร่เนื้อหารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจ
ทั้งนี้ การทำประชามติ คือ การถามคำถามกับประชาชนในเรื่องสำคัญของประเทศ ซึ่งรัฐธรรมนูญ ถือว่า เป็นกฎหมายสำคัญของประเทศ การที่จะทำประชามติก็เป็นแนวทางหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีส่วนที่จะเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบกับสิ่งที่ดำเนินการออกมา ฉะนั้นโดยหลักการเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่พอที่จะทำประชามติได้
" ประเด็นที่เป็นห่วง คือ ในบรรยากาศทางการเมืองที่จะต้องเปิดให้ทุกฝ่ายแสดงความเห็นอย่างเสรีเท่าเทียม อันนี้คือหัวใจสำคัญ ถ้าหากทำประชามติแล้วยังไม่สามารถทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อเท็จจริง หรือแสดงความเห็นได้อย่างเต็มที่ เพื่อบอก ข้อดี ข้อเสีย ในรัฐธรรมนูญ มันก็จะเป็นเพียงพิธีกรรมในการสร้างความชอบธรรม สร้างการยอมรับ แต่ถ้าประชาชนยังไม่เข้าถึงข้อเท็จจริง การตัดสินใจดังกล่าว อาจจะถูกจูงใจจากผู้มีอิทธิพลทางความคิดมากกว่า จะทำให้การทำประชามติสูญเปล่า" นายสมชัย กล่าว และว่า หากมีการทำประชามติ คาดว่าจะต้องใช้งบ 3,000 ล้านบาทเศษ ซึ่ง กกต. ก็พร้อมดำเนินการ
**ชี้จุดอ่อนโอเพน ลิสต์ เพิ่มปัญหาขัดแย้ง
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ วิจารณ์การร่างรัฐธรรมนูญของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญที่เลือกใช้ระบบสัดส่วนผสมหรือโอเพน ลิสต์ เพื่อลดอำนาจกรรมการบริหารพรรค และกลุ่มทุนที่หนุนพรรคโดยให้ประชาชนเลือก ส.ส. ที่รู้จัก และมีผลงานแทนว่าคนเหล่านี้ไม่เคยลงเลือกตั้ง หากระบุเหตุผลเช่นนี้ ก็คือ การเลือก ส.ส.เขต แล้วมาตัดจำนวน ส.ส.เขต ให้น้อยลงทำไม ส่วนที่อ้างว่า ที่ผ่านมามีคนใกล้ชิดหัวหน้าพรรค หรือกลุ่มทุนมาเป็นส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคนั้น เป็นการมองพรรคการเมืองด้วยอคติ ว่าพรรคหรือนักการเมืองชั่วร้ายทั้งหมด ทั้งที่มีทั้งคนดี คนเลว และ พรรคการเมืองบริหารผ่านกรรมการบริหารพรรค คือใช้เสียงข้างมากในการโหวต ส่วนเรื่องทุนครอบงำ พรรคประชาธิปัตย์ไม่มีทุน จึงไม่มีปัญหานี้ ต้องจัดงานระดมทุนอย่างเปิดเผย เพราะข้อเท็จจริง ทุนกับพรรค ต้องคู่กัน แต่ต้องจัดลำดับความสำคัญ เช่น 1 ใน 3 ส่วน ดังนั้นการให้คนเก่ง ที่บริจาคเงินให้พรรคโดยเปิดเผย ดีกว่าการแอบยัดเงินใต้โต๊ะ ให้เพื่อผลักดันในวาระซ่อนเร้น
"ผมขอท้ากรรมาธิการยกร่างฯ ให้มาลงสมัคร ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อสัดส่วนผสม ในโซนภาคใต้ หากได้คะแนนเกินหมื่นผมจะยอมให้เตะก้น จากพัทลุงถึงกรุงเทพฯ เลย เชื่อว่าไม่มีมีใครกล้ารับคำท้าแน่นอน"
นายนิพิฏฐ์ กล่าวว่า ระบบเลือกตั้งผสม จะมีปัญหาแน่นอน เพราะมีการลดจำนวน ส.ส.เขต แต่ละจังหวัดลง อดีต ส.ส.เขตเหล่านี้ก็จะไปลงในบัญชีรายชื่อ ฉะนั้นประชาชนแต่ละจังหวัด ก็จะเลือกคนเหล่านี้เข้ามาอีก เพราะรู้จักมากกว่าผู้สมัครหน้าใหม่ ที่สุดก็จะหลายเป็นจังหวัดใครจังหวัดมัน จะเกิดเป็นวัฒนธรรมจังหวัดนิยม เช่น ตนต้องไปลง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่พัทลุง ชาวบ้านที่นั่นก็ต้องเลือกตน มากกว่าเลือกผู้สมัครจากจังหวัดอื่น ขณะที่จังหวัดอื่น ก็จะเลือกอดีต ส.ส.เขตของเขา ที่มาลงในระบบบัญชีรายชื่อเช่นกัน จะเกิดปัญหาว่า พรรคการเมืองจะหาคนดี คนเก่งมาสร้างเป็นเลือดใหม่ได้อย่างไร นี่ต่างหากที่เป็นการทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอลง และหากได้คนที่มีอิทธิพล และมีอำนาจเงิน อาจเกิดการซื้อเสียงข้ามจังหวัดในแต่ละโซนเลือกตั้ง เพื่อให้ตัวเองได้เป็น ส.ส.และไม่ตกลำดับชั้น
"ผมฟันธงเลยว่า จังหวัดเล็ก เช่น ระนอง พังงา ภูเก็ต ต่อให้มีคนดี เด่น ดังแค่ไหน ก็ไม่ได้เป็น ส.ส. เพราะประชาชนในจังหวัด มีน้อยกว่าจังหวัดใหญ่ เมื่อเกิดจังหวัดนิยม ก็จะยิ่งมีความแตกแยกลงลึกในแต่ละชุมชนจังหวัด ต่างๆ มากยิ่งขึ้น แค่ในอดีตมีคนบอกว่า ขัดแย้งจากภาคนิยม แต่ครั้งนี้ความขัดแย้ง แตกแยกจะรุนแรงยิ่งกว่าที่กรรมาธิการยกร่างฯ คิดไม่ถึง" นายนิพิฏฐ์ กล่าว