เมื่อเวลา 09.00 น. วานนี้ (1 มี.ค.) ที่รัฐสภา คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และคณะอนุกมธ.การมีส่วนร่วมและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ได้จัดเสวนาเรื่อง "สานพลังร่วมสร้างสมัชชาพลเมือง" โดยนายสุจิต บุญบงการ รองประธานกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวปาฐกถาพิเศษตอนหนึ่งว่า กระบวนการทำรธน.ในครั้งนี้ เราต้องการให้มีส่วนร่วมจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และให้เป็นที่ยอมรับของประขาชน
ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะนอกจากรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้ว ยังต้องฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม บางข้อเสนอคิดว่า อาจไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรธน. อาจให้รัฐบาลไปดำเนินการได้ โดยไม่ต้องรอรธน. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะได้ทำบันทึกไปยังสปช. ว่าประเด็นต่างๆ ที่สปช.เสนอมานั้นสามารถมีมติ เพื่อให้รัฐบาล หรือ สนช.ไปดำเนินการได้เลย
ส่วนในเรื่องของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสมัชชาพลเมือง ถือเป็นเรื่องสำคัญ การร่างรธน.ครั้งนี้ กมธ.ยกร่างฯ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า วิสัยทัศน์ของรธน.ฉบับนี้ ต้องสร้างให้พลเมืองเป็นใหญ่ รวมทั้งเพื่อให้การเมืองเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะปัญหารากเหง้าในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการปฏิรูปการเมือง หรือปรับปรุงแก้ไขรธน. เราจะสนใจแก้ปัญหาเฉพาะตัวโครงสร้าง เช่น ระบบเลือกตั้ง สถาบันการเมือง หรือระบบตรวจสอบ แต่ประชาชน หรือพลเมือง ยังมีความอ่อนแอ ตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของผู้นำ ไม่ว่าจะท้องถิ่น หรือระดับชาติ สุดท้ายกฎหมายที่เกิดขึ้น ก็จะอยู่ในกำมือของผู้นำไม่กี่คน
"เราต้องยอมรับว่า ประชาชนตอนนี้มีสมรรถนะ และพร้อมเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นในการต่อสู้กับระบบอุปถัมภ์ ผู้นำย่อมไม่อยากให้ประชาชนเข้มแข็ง เพราะหากเข้มแข็งแล้ว ประชาชนจะไม่เชื่อฟัง อยากให้อยู่ใต้อาณัติ จะได้บอกให้มาชุมนุมที่ไหน ก็มา ดังนั้นเราเดินมาถูกทางแล้วที่จะทำให้ภาคพลเมืองมีความแข็งแรง เหมือนกับการสร้างเจดีย์ ที่ต้องสร้างฐานให้แข็งแรง ในกมธ.ยกร่างฯ พูดถึงอำนาจหน้าที่ของสมัชชาพลเมืองว่า ต้องมีบทบาทในการตรวจสอบ หรือให้ข้อคิดเห็นต่อการปกครองท้องถิ่นและระดับชาติ "
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ในเวทีเสวนาได้ให้กลุ่มองค์กรต่างๆ จากภาคประชาชนบรรยายถึงการทำงานด้านสมัชชาพลเมือง รวมทั้งยังบรรยายถึง รูปธรรมของสมัชชาพลเมืองในระดับพื้นที่ต่างๆ อาทิ จ.อำนาจเจริญ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครสวรรค์ เป็นต้น จากนั้นผู้ร่วมเสวนาก็ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อแสดงข้อเสนอแนะต่อประเด็นดังกล่าว
** กมธ.เริ่มถกบทเฉพาะกาลวันนี้
ทั้งนี้ นายสุจิต ให้สัมภาษณ์ว่า ว่า กมธ.ยกร่างฯ ได้ยกร่างฯ เกือบเสร็จทั้งหมดแล้ว เหลือเพียง 3-4 ประเด็น ที่รอการลงมติ ซึ่งในวันนี้ ( 2 มี.ค.) จะเริ่มพิจารณาบทเฉพาะกาล เพื่อดูเจตนารมณ์ของรธน.ให้สอดคล้องกับการยกร่าง ว่ามีประเด็นใดที่ยังขาดตกบกพร่อง รวมถึงการปรับปรุงถ้อยคำให้กระชับ ซึ่งจะพิจารณาให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ เพื่อส่งให้สปช.ให้ความเห็นชอบ ถ้าหากมีการแก้ไข หรือปรับปรุงก็จะส่งกลับมาให้กมธ.ยกร่างฯ
"ส่วนเรื่องการทำประชามตินั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อร่างเสร็จจะต้องทำประชามติ ดังนั้นอยู่กับ คสช. เห็นว่าสมควรต้องทำหรือไม่ ถ้าทำ ก็ต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน" นายสุจิต กล่าว
เมื่อถามว่า ภาคประชาชนไม่เห็นด้วยกับ ชื่อสมัชชาพลเมือง แต่อยากให้เป็น ชื่อสภาพลเมือง นายสุจิต กล่าวว่า ในกรรมาธิการได้มีการพูดคุยกันว่าคำว่า"สภา" อยากให้ใช้ในระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติมากกว่า เพราะเป็นคำที่ใช้กันมากแล้ว และสภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย เช่น สภากทม. สภาเทศบาล หรือสภาผู้แทนราษฎร หากประชาชนไปใช้คำว่า สภา อาจจะทำให้เกิดความสับสนในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับชาติ ดังนั้นจึงอยากให้ใช้คำว่า สมัชชา โดยให้มีบทบาทในการตรวจสอบการบริหารในท้องถิ่น และเสนอความเห็นเท่านั้น
**โวยกมธ.วางกับดักนักการเมือง
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่กมธ.ยกร่างฯ กำหนดให้มี สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อประมวลจริยธรรมนักการเมือง และสามารถที่จะเสนอรายชื่อผู้ที่กระทำผิดจริยธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้ประชาชนลงคะแนน ตอนเลือกตั้งครั้งใหม่ว่า รธน.ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานที่คิดว่า คนที่เข้ามาเป็นนักการเมือง จะเข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์ จึงออกแบบให้มีองค์กรตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ซึ่งจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ มีความเป็นกลางทางการเมือง และจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมรับ ก็จะคิดว่าพวกตนถูกคนเหล่านี้คอยจับผิด อีกทั้งอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม มีขอบเขตแค่ไหน นิยามไว้อย่างไร มันเป็นนามธรรม ต่างจากการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่ดูแลเรื่องการกระทำผิดทุจริต มีกฎหมายรองรับชัดเจน ต่อไปเรื่องนี้จะเป็นปัญหาอย่างแน่นอน และเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หากเป็นการคิดเอาเองว่า น่าจะผิด แค่เริ่มต้นผู้ที่ถูกตรวจสอบจะผิดหรือยังไม่ผิดยังไม่รู้แต่เสียหายแล้ว ทั้งนี้เป็นห่วงว่าจะมีการใช่สมัชชาฯ เอาไว้ไล่ล่าใครหรือไม่
"พรรคเพื่อไทยไม่เป็นห่วงว่าเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะได้รับเลือกหรือไม่ แต่เป็นห่วงว่าเมื่อเข้าไปแล้วจะเจอกับปัญหากับดักต่างๆ ที่มีการเขียนเอาไว้ จนทำงานบริหารประเทศชาติไม่ได้ และถูกไล่บี้จนทำให้รัฐบาล และสภาไม่มีเสถียรภาพ" นายสามารถ กล่าว
**แนะทำประชามติพิสูจน์"ไม่เผด็จการ"
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการยกร่างรธน.ว่า ต้องมีกระบวนการถามประชาชน ผ่านการทำประชามติ โดยยอมรับว่า นักการเมือง คือส่วนสำคัญของปัญหาที่ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธา อย่างไรก็ตาม การอธิบายถึงความจำเป็นที่ยกร่างรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยยกตัวอย่าง ส.ว.ชุดที่ผ่านมาว่า ส.ว.สรรหา ทำหน้าที่ได้ดีกว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพรรคการเมืองครอบงำ พร้อมกับกล่าวโทษนักการเมืองว่า เสียประโยชน์ จึงออกมาคัดค้านด้วยวาทกรรมว่า ยึดโยงกับประชาชน มีความหมายว่า มาจากการเลือกตั้งนั้น เป็นการจำกัดความที่แคบเกินไป เพราะข้อดีของการเลือกตั้ง คือ ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบการเลือกตั้งของตนเอง หากไม่พอใจ ก็มีสิทธิไม่เลือกกลับมาได้ แม้ว่าจะมีโอกาสได้ทั้งคนดีและไม่ดีเข้ามา แต่ก็ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประชาชนต้องมอบอำนาจให้คนไม่กี่คนเลือกแทน
"แม้ข้อเสนอของผู้ร่างรธน. จะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่ต้องออกมาทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากขึ้น และต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้ไม่เห็นด้วยได้แสดงออก อีกทั้งต้องทำให้รธน.ฉบับนี้ยึดโยงกับประชาชน ด้วยการทำประชามติ เสนอทางเลือกที่แท้จริงให้กับประชาชน ไม่ใช่มัดมือชกว่าต้องยอมรับร่างรธน.ฉบับนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา ทั้งนี้เห็นว่า แนวคิดของผู้ร่างฯไม่ได้เลวร้ายเป็นเผด็จการเสียหมด จึงไม่ควรกลัว แต่ต้องเปิดให้มีการชี้แจงโดยทุกฝ่ายให้ชาวบ้านเขาได้คิดว่าอะไรควร อะไรไม่ควร" นายกรณ์ กล่าว
** จี้ทบทวนนายกฯคนนอก ให้รัดกุม
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าวว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ร่างรธน.ในต้องจำแนกออกเป็น 3 กระแส โดยกระแสแรก เป็นพวกที่ไม่พร้อม และไม่ยอมปฏิรูป ยังชาชินกับกติกา และรูปแบบเดิมๆ กระแสที่สอง เป็นพวกอารมณ์ค้างจากรัฐประหาร คือทำอะไรก็จะผิดหมด หาช่องโหว่จุดอ่อนบางจุดมาโจมตีทั้งร่างฯ กระแสที่สาม จะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย ซึ่งพยายามผลักดันประเด็นของกลุ่มให้มีที่ยืนในรธน. ผสมกับกลุ่มวิชาการ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ควรเน้นการชี้แจงด้วยเหตุด้วยผล หลีกเลี่ยงการตอบโต้ โดยเฉพาะกลุ่มต้านรัฐประหาร และกลุ่มเสียประโยชน์ ที่พยายามขายจินตนาการ เอาวิกฤติมาอ้าง และมาขู่ตลอดเวลานั้น พวกนี้คงลืมไปว่า วิกฤติการเมืองที่ผ่านมาไม่เคยเกิดจากตัวรธน. แต่เกิดจากพฤติกรรมของนักการเมือง และพยายามเอารธน. เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง
เมื่อย้อนไปดูการรัฐประหาร 3 ครั้งหลังปี 2535 2549 และ 2557 ล้วนแล้วแต่เกิดจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉล คอร์รัปชัน และการไม่เคารพรธน.ของนักการเมืองทั้งนั้น ที่สำคัญการแก้รธน.เพื่อให้เกิดการปฏิรูปนั้น ไม่เคยริเริ่มจากนักการเมืองเลยสักครั้ง เริ่มต้นจากประชาชนทุกครั้งไป ฉะนั้นบรรดานักการเมือง ก็ควรฟังให้มากๆ ด้วย
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าดูภาพรวมของร่างรธน.ฉบับนี้ ยอมรับว่า ช่องทางและสิทธิของภาคประชาชนสูงกว่ารธน.40 และ50 ให้ความสำคัญกับการเมืองภาคพลเมืองมากขึ้น มีกลไกใหม่ๆ รองรับมากขึ้นส่วนร่วมของประชาชน ที่เคยจำกัดอยู่แค่กับฝ่ายบริหาร จะขยายไปสู่ส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ และกระบวนการถ่วงดุลตรวจสอบ รวมทั้งการมีสภาพลเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่นซึ่งเคยเรียกร้องกันตอนปี 40 และ 50 แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ควรทำตารางเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างเผยแพร่ต่อสังคมโดยเร็ว
ส่วนประเด็นที่เป็นช่องโหว่ กรรมาธิการก็ต้องเปิดใจรับฟัง โดยเฉพาะประเด็นนายกฯคนนอกนั้น อยากให้กมธ.ยกร่างฯ ทบทวน และควรระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดพิเศษกรณีนายกฯคนนอกมากกว่านี้ ไม่ใช่เปิดกว้างจนเปิดช่องให้คนบางกลุ่มเอาไปขยายความโจมตีหรือไม่รับร่างรธน. ทั้งฉบับได้
**ขู่กลุ่มต้านกมธ.อย่าก่อความวุ่นวาย
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับผู้ที่อาจออกมาต่อต้านร่างรธน.ว่า ขณะนี้ยังไม่สิ้นสุด อยู่ในช่วงปรับปรุงแก้ไข ของกมธ.ยกร่าง ใครมีความคิดเห็นอย่างไรก็ควรส่งความเห็นไปที่กมธ.ยกร่างฯ อย่าเพิ่งไปเคลื่อนไหว ควรช่วยกันระดมความเห็นในกรอบ และช่องทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย สำหรับกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ที่อาจจะออกมานั้น เราก็มีการประชุมติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา ก็พยายามทำความเข้าใจกับผู้ที่จะเกิดปัญหา ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
"ก็คงไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวาย เพราะได้รับนโยบายจากรัฐบาลในการดูแลความสงบเรียบร้อยให้ได้ ก็ต้องทำให้ได้ และที่ผ่านมาก็ยังไม่มีการใช้อะไรที่รุนแรงเกินไปกว่ากรอบกฎหมาย หรือเกินกว่าขอบเขต ต่างประเทศก็เข้าใจ การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน และเป็นไปอย่างระมัดระวัง เน้นการสร้างความเข้าใจ ที่ผ่านมาทุกคนก็ให้ความร่วมมือ นายกรัฐมนตรีก็บอกให้ฝ่ายปฏิบัติใช้หลักในการทำความเข้าใจ ขณะนี้จึงยังเกิดความเรียบร้อยอยู่ ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ก็สั่งการให้ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ กองทัพบก จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลความสงบไว้ให้ได้ ขอให้ทุกคนมั่นใจ" ผบ.ทบ. กล่าว
ทั้งนี้การรับฟังความคิดเห็นไม่ใช่เป็นของง่าย เพราะนอกจากรับฟังความเห็นจากประชาชนแล้ว ยังต้องฟังความเห็นจากสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และคณะรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม บางข้อเสนอคิดว่า อาจไม่จำเป็นต้องบัญญัติไว้ในรธน. อาจให้รัฐบาลไปดำเนินการได้ โดยไม่ต้องรอรธน. ทางกมธ.ยกร่างฯ จะได้ทำบันทึกไปยังสปช. ว่าประเด็นต่างๆ ที่สปช.เสนอมานั้นสามารถมีมติ เพื่อให้รัฐบาล หรือ สนช.ไปดำเนินการได้เลย
ส่วนในเรื่องของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสมัชชาพลเมือง ถือเป็นเรื่องสำคัญ การร่างรธน.ครั้งนี้ กมธ.ยกร่างฯ มีความเห็นสอดคล้องกันว่า วิสัยทัศน์ของรธน.ฉบับนี้ ต้องสร้างให้พลเมืองเป็นใหญ่ รวมทั้งเพื่อให้การเมืองเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง เพราะปัญหารากเหง้าในอดีตที่ผ่านมา เมื่อมีการปฏิรูปการเมือง หรือปรับปรุงแก้ไขรธน. เราจะสนใจแก้ปัญหาเฉพาะตัวโครงสร้าง เช่น ระบบเลือกตั้ง สถาบันการเมือง หรือระบบตรวจสอบ แต่ประชาชน หรือพลเมือง ยังมีความอ่อนแอ ตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของผู้นำ ไม่ว่าจะท้องถิ่น หรือระดับชาติ สุดท้ายกฎหมายที่เกิดขึ้น ก็จะอยู่ในกำมือของผู้นำไม่กี่คน
"เราต้องยอมรับว่า ประชาชนตอนนี้มีสมรรถนะ และพร้อมเป็นตัวของตัวเองมากขึ้นในการต่อสู้กับระบบอุปถัมภ์ ผู้นำย่อมไม่อยากให้ประชาชนเข้มแข็ง เพราะหากเข้มแข็งแล้ว ประชาชนจะไม่เชื่อฟัง อยากให้อยู่ใต้อาณัติ จะได้บอกให้มาชุมนุมที่ไหน ก็มา ดังนั้นเราเดินมาถูกทางแล้วที่จะทำให้ภาคพลเมืองมีความแข็งแรง เหมือนกับการสร้างเจดีย์ ที่ต้องสร้างฐานให้แข็งแรง ในกมธ.ยกร่างฯ พูดถึงอำนาจหน้าที่ของสมัชชาพลเมืองว่า ต้องมีบทบาทในการตรวจสอบ หรือให้ข้อคิดเห็นต่อการปกครองท้องถิ่นและระดับชาติ "
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากนั้น ในเวทีเสวนาได้ให้กลุ่มองค์กรต่างๆ จากภาคประชาชนบรรยายถึงการทำงานด้านสมัชชาพลเมือง รวมทั้งยังบรรยายถึง รูปธรรมของสมัชชาพลเมืองในระดับพื้นที่ต่างๆ อาทิ จ.อำนาจเจริญ เชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และนครสวรรค์ เป็นต้น จากนั้นผู้ร่วมเสวนาก็ได้แบ่งเป็นกลุ่มย่อยเพื่อแสดงข้อเสนอแนะต่อประเด็นดังกล่าว
** กมธ.เริ่มถกบทเฉพาะกาลวันนี้
ทั้งนี้ นายสุจิต ให้สัมภาษณ์ว่า ว่า กมธ.ยกร่างฯ ได้ยกร่างฯ เกือบเสร็จทั้งหมดแล้ว เหลือเพียง 3-4 ประเด็น ที่รอการลงมติ ซึ่งในวันนี้ ( 2 มี.ค.) จะเริ่มพิจารณาบทเฉพาะกาล เพื่อดูเจตนารมณ์ของรธน.ให้สอดคล้องกับการยกร่าง ว่ามีประเด็นใดที่ยังขาดตกบกพร่อง รวมถึงการปรับปรุงถ้อยคำให้กระชับ ซึ่งจะพิจารณาให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ เพื่อส่งให้สปช.ให้ความเห็นชอบ ถ้าหากมีการแก้ไข หรือปรับปรุงก็จะส่งกลับมาให้กมธ.ยกร่างฯ
"ส่วนเรื่องการทำประชามตินั้นรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้กำหนดไว้ว่า เมื่อร่างเสร็จจะต้องทำประชามติ ดังนั้นอยู่กับ คสช. เห็นว่าสมควรต้องทำหรือไม่ ถ้าทำ ก็ต้องแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวก่อน" นายสุจิต กล่าว
เมื่อถามว่า ภาคประชาชนไม่เห็นด้วยกับ ชื่อสมัชชาพลเมือง แต่อยากให้เป็น ชื่อสภาพลเมือง นายสุจิต กล่าวว่า ในกรรมาธิการได้มีการพูดคุยกันว่าคำว่า"สภา" อยากให้ใช้ในระดับท้องถิ่น หรือระดับชาติมากกว่า เพราะเป็นคำที่ใช้กันมากแล้ว และสภามีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย เช่น สภากทม. สภาเทศบาล หรือสภาผู้แทนราษฎร หากประชาชนไปใช้คำว่า สภา อาจจะทำให้เกิดความสับสนในอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและระดับชาติ ดังนั้นจึงอยากให้ใช้คำว่า สมัชชา โดยให้มีบทบาทในการตรวจสอบการบริหารในท้องถิ่น และเสนอความเห็นเท่านั้น
**โวยกมธ.วางกับดักนักการเมือง
นายสามารถ แก้วมีชัย อดีต ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่กมธ.ยกร่างฯ กำหนดให้มี สมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ เพื่อประมวลจริยธรรมนักการเมือง และสามารถที่จะเสนอรายชื่อผู้ที่กระทำผิดจริยธรรม ให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อให้ประชาชนลงคะแนน ตอนเลือกตั้งครั้งใหม่ว่า รธน.ฉบับนี้อยู่บนพื้นฐานที่คิดว่า คนที่เข้ามาเป็นนักการเมือง จะเข้ามาเพื่อแสวงหาประโยชน์ จึงออกแบบให้มีองค์กรตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม ทั้งระดับท้องถิ่น และระดับชาติ ซึ่งจะมั่นใจได้อย่างไรว่า ผู้ที่เข้ามาทำหน้าที่ตรงนี้ มีความเป็นกลางทางการเมือง และจะไม่ตกเป็นเครื่องมือของใคร หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ยอมรับ ก็จะคิดว่าพวกตนถูกคนเหล่านี้คอยจับผิด อีกทั้งอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบคุณธรรม จริยธรรม มีขอบเขตแค่ไหน นิยามไว้อย่างไร มันเป็นนามธรรม ต่างจากการทำหน้าที่ของ ป.ป.ช. ที่ดูแลเรื่องการกระทำผิดทุจริต มีกฎหมายรองรับชัดเจน ต่อไปเรื่องนี้จะเป็นปัญหาอย่างแน่นอน และเรื่องคุณธรรม จริยธรรม หากเป็นการคิดเอาเองว่า น่าจะผิด แค่เริ่มต้นผู้ที่ถูกตรวจสอบจะผิดหรือยังไม่ผิดยังไม่รู้แต่เสียหายแล้ว ทั้งนี้เป็นห่วงว่าจะมีการใช่สมัชชาฯ เอาไว้ไล่ล่าใครหรือไม่
"พรรคเพื่อไทยไม่เป็นห่วงว่าเมื่อมีการเลือกตั้งแล้วจะได้รับเลือกหรือไม่ แต่เป็นห่วงว่าเมื่อเข้าไปแล้วจะเจอกับปัญหากับดักต่างๆ ที่มีการเขียนเอาไว้ จนทำงานบริหารประเทศชาติไม่ได้ และถูกไล่บี้จนทำให้รัฐบาล และสภาไม่มีเสถียรภาพ" นายสามารถ กล่าว
**แนะทำประชามติพิสูจน์"ไม่เผด็จการ"
นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นเกี่ยวกับการยกร่างรธน.ว่า ต้องมีกระบวนการถามประชาชน ผ่านการทำประชามติ โดยยอมรับว่า นักการเมือง คือส่วนสำคัญของปัญหาที่ทำให้เกิดวิกฤตศรัทธา อย่างไรก็ตาม การอธิบายถึงความจำเป็นที่ยกร่างรัฐธรรมนูญให้ ส.ว.มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม โดยยกตัวอย่าง ส.ว.ชุดที่ผ่านมาว่า ส.ว.สรรหา ทำหน้าที่ได้ดีกว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งส่วนใหญ่ถูกพรรคการเมืองครอบงำ พร้อมกับกล่าวโทษนักการเมืองว่า เสียประโยชน์ จึงออกมาคัดค้านด้วยวาทกรรมว่า ยึดโยงกับประชาชน มีความหมายว่า มาจากการเลือกตั้งนั้น เป็นการจำกัดความที่แคบเกินไป เพราะข้อดีของการเลือกตั้ง คือ ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบการเลือกตั้งของตนเอง หากไม่พอใจ ก็มีสิทธิไม่เลือกกลับมาได้ แม้ว่าจะมีโอกาสได้ทั้งคนดีและไม่ดีเข้ามา แต่ก็ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประชาชนต้องมอบอำนาจให้คนไม่กี่คนเลือกแทน
"แม้ข้อเสนอของผู้ร่างรธน. จะมีข้อดีอยู่ไม่น้อย แต่ต้องออกมาทำความเข้าใจกับประชาชนให้มากขึ้น และต้องเปิดพื้นที่ให้ผู้ไม่เห็นด้วยได้แสดงออก อีกทั้งต้องทำให้รธน.ฉบับนี้ยึดโยงกับประชาชน ด้วยการทำประชามติ เสนอทางเลือกที่แท้จริงให้กับประชาชน ไม่ใช่มัดมือชกว่าต้องยอมรับร่างรธน.ฉบับนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหา ทั้งนี้เห็นว่า แนวคิดของผู้ร่างฯไม่ได้เลวร้ายเป็นเผด็จการเสียหมด จึงไม่ควรกลัว แต่ต้องเปิดให้มีการชี้แจงโดยทุกฝ่ายให้ชาวบ้านเขาได้คิดว่าอะไรควร อะไรไม่ควร" นายกรณ์ กล่าว
** จี้ทบทวนนายกฯคนนอก ให้รัดกุม
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต กล่าวว่า เสียงวิพากษ์วิจารณ์ร่างรธน.ในต้องจำแนกออกเป็น 3 กระแส โดยกระแสแรก เป็นพวกที่ไม่พร้อม และไม่ยอมปฏิรูป ยังชาชินกับกติกา และรูปแบบเดิมๆ กระแสที่สอง เป็นพวกอารมณ์ค้างจากรัฐประหาร คือทำอะไรก็จะผิดหมด หาช่องโหว่จุดอ่อนบางจุดมาโจมตีทั้งร่างฯ กระแสที่สาม จะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลาย ซึ่งพยายามผลักดันประเด็นของกลุ่มให้มีที่ยืนในรธน. ผสมกับกลุ่มวิชาการ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ควรเน้นการชี้แจงด้วยเหตุด้วยผล หลีกเลี่ยงการตอบโต้ โดยเฉพาะกลุ่มต้านรัฐประหาร และกลุ่มเสียประโยชน์ ที่พยายามขายจินตนาการ เอาวิกฤติมาอ้าง และมาขู่ตลอดเวลานั้น พวกนี้คงลืมไปว่า วิกฤติการเมืองที่ผ่านมาไม่เคยเกิดจากตัวรธน. แต่เกิดจากพฤติกรรมของนักการเมือง และพยายามเอารธน. เป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ให้ตนเอง
เมื่อย้อนไปดูการรัฐประหาร 3 ครั้งหลังปี 2535 2549 และ 2557 ล้วนแล้วแต่เกิดจากพฤติกรรมที่ฉ้อฉล คอร์รัปชัน และการไม่เคารพรธน.ของนักการเมืองทั้งนั้น ที่สำคัญการแก้รธน.เพื่อให้เกิดการปฏิรูปนั้น ไม่เคยริเริ่มจากนักการเมืองเลยสักครั้ง เริ่มต้นจากประชาชนทุกครั้งไป ฉะนั้นบรรดานักการเมือง ก็ควรฟังให้มากๆ ด้วย
ส่วนตัวคิดว่า ถ้าดูภาพรวมของร่างรธน.ฉบับนี้ ยอมรับว่า ช่องทางและสิทธิของภาคประชาชนสูงกว่ารธน.40 และ50 ให้ความสำคัญกับการเมืองภาคพลเมืองมากขึ้น มีกลไกใหม่ๆ รองรับมากขึ้นส่วนร่วมของประชาชน ที่เคยจำกัดอยู่แค่กับฝ่ายบริหาร จะขยายไปสู่ส่วนร่วมในกระบวนการนิติบัญญัติ และกระบวนการถ่วงดุลตรวจสอบ รวมทั้งการมีสภาพลเมืองทั้งระดับชาติ ระดับท้องถิ่นซึ่งเคยเรียกร้องกันตอนปี 40 และ 50 แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งกมธ.ยกร่างฯ ควรทำตารางเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่างเผยแพร่ต่อสังคมโดยเร็ว
ส่วนประเด็นที่เป็นช่องโหว่ กรรมาธิการก็ต้องเปิดใจรับฟัง โดยเฉพาะประเด็นนายกฯคนนอกนั้น อยากให้กมธ.ยกร่างฯ ทบทวน และควรระบุเงื่อนไข หรือข้อกำหนดพิเศษกรณีนายกฯคนนอกมากกว่านี้ ไม่ใช่เปิดกว้างจนเปิดช่องให้คนบางกลุ่มเอาไปขยายความโจมตีหรือไม่รับร่างรธน. ทั้งฉบับได้
**ขู่กลุ่มต้านกมธ.อย่าก่อความวุ่นวาย
พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหม และ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับผู้ที่อาจออกมาต่อต้านร่างรธน.ว่า ขณะนี้ยังไม่สิ้นสุด อยู่ในช่วงปรับปรุงแก้ไข ของกมธ.ยกร่าง ใครมีความคิดเห็นอย่างไรก็ควรส่งความเห็นไปที่กมธ.ยกร่างฯ อย่าเพิ่งไปเคลื่อนไหว ควรช่วยกันระดมความเห็นในกรอบ และช่องทางที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อย สำหรับกลุ่มเคลื่อนไหวต่างๆ ที่อาจจะออกมานั้น เราก็มีการประชุมติดตามสถานการณ์ตลอดเวลา ก็พยายามทำความเข้าใจกับผู้ที่จะเกิดปัญหา ซึ่งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี
"ก็คงไม่ยอมให้เกิดความวุ่นวาย เพราะได้รับนโยบายจากรัฐบาลในการดูแลความสงบเรียบร้อยให้ได้ ก็ต้องทำให้ได้ และที่ผ่านมาก็ยังไม่มีการใช้อะไรที่รุนแรงเกินไปกว่ากรอบกฎหมาย หรือเกินกว่าขอบเขต ต่างประเทศก็เข้าใจ การดำเนินการเป็นไปตามขั้นตอน และเป็นไปอย่างระมัดระวัง เน้นการสร้างความเข้าใจ ที่ผ่านมาทุกคนก็ให้ความร่วมมือ นายกรัฐมนตรีก็บอกให้ฝ่ายปฏิบัติใช้หลักในการทำความเข้าใจ ขณะนี้จึงยังเกิดความเรียบร้อยอยู่ ทางพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม ก็สั่งการให้ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ กองทัพบก จะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดูแลความสงบไว้ให้ได้ ขอให้ทุกคนมั่นใจ" ผบ.ทบ. กล่าว