วานนี้ (21 ธ.ค.) นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ด้านกฎหมาย กล่าวถึง คณะติดตามการทำงาน ของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญว่า ยังไม่เป็นรูปธรรมในตอนนี้แต่ต่อไปจะมี ส่วนรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) สามารถส่งข้อเสนอแนะไปยัง กมธ.ยกร่างฯได้ แต่ทำในนอกรูปแบบ เหมือนกับที่ใครๆสามารถทำได้คือ ส่งเป็นความเห็นไปยังกมธ.ยกร่างฯ แต่เขาจะรับหรือไม่นั้น แล้วแต่เขา เพราะกมธ.ยกร่างฯบอกแล้วว่า ยินดี แต่ขณะนี้รัฐบาลยังไม่คิดจะส่งอะไรไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากกมธ.ยกร่างฯ เริ่มร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีความคิดสุดโต่ง จากกมธ.ยกร่างฯเอง ทางคสช. สามารถเข้าไปดูได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงทำได้ แต่ไม่ถึงขนาดไปปรามเขา หรือไปยุอะไร โดยส่งเป็นความเห็นไปและพร้อมจะเปิดเผยความเห็นนั้นออกมาข้างนอก เพราะทุกอย่างต้องโปร่งใส ทั้งนี้เมื่อ กมธ.ยกร่างฯ ตั้งหลักเป็นรูปเป็นร่างแล้ว หากเรารู้สึกว่าไม่เห็นด้วยอาจจะท้วงติงไป แต่ถ้าเขายังไม่ได้แสดงอะไรมา คงไม่ส่งไป เพราะจะเหมือนเป็นการชี้นำ ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบในสิ่งที่เขาเสนอออกมาสู่สังคมมากกว่า
เมื่อถามว่า ขณะนี้ดูเหมือนหลายฝ่ายจะเรียกร้องให้ทำประชามติมากขึ้นเรื่อยๆ นายวิษณุ กล่าวว่าการทำประชามติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกระบวนการหลังจากรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อยู่ในอำนาจการตัดสินใจของ คสช. คงไม่ส่งความเห็นอะไรในส่วนนี้ไป การจะทำประชามติหรือไม่นั้น ทางกมธ.ยกร่างฯไม่มีอำนาจอยู่แล้ว ซึ่งคสช.ออกมาประกาศชัดเจนแล้ว เมื่อวันที่ประชุมร่วมกับแม่น้ำ 5 สาย ที่บ้านเกษะโกมล เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ พูดแล้วว่าการทำประชามติหรือไม่ สุดท้ายมันต้องไปแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว หากถึงเวลาแล้วเรียกร้องกันว่าอยากทำ คิดว่าคุ้มต่อเวลา คุ้มกับงบประมาณที่ต้องใช้ไป และคุ้มกับความรู้สึก ก็เรียกร้องกันขึ้นมา คสช.จะรับพิจารณาให้เพราะมีช่องทางทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขณะนี้ ไม่ได้บังคับว่าต้องทำเท่านั้น
"เนื้อหาในรัฐธรรมนูญ จะเป็นตัวบอกมากกว่าว่า สุดท้ายควรแก่การทำประชามติหรือไม่ เช่น ร่างออกมาแล้วเป็นที่ยอมรับทั้งหมด ก็อาจต้องถามว่า จะไปเสียเงินหลายล้านทำไม และเสียเวลาอีก 3 เดือนทำไม แต่หากว่าก้ำกึ่ง และยังเถียงกันอยู่ คุ้มที่จะไปทำ แล้วต้องคิดด้วยว่าจะทำเป็นประเด็นๆไป เช่น ประเด็นนี้เห็นอย่างไร หรือว่าจะทำทั้งฉบับเหมือนกับคราวที่แล้ว ถ้าทำทั้งฉบับ อาจไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะอ่านกันไม่รู้เรื่อง สุดท้ายรักพี่เสียดายน้อง เหมือนกับการเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ชอบสัก10 คน ไม่ชอบ 90 คน แล้วจะให้มากาว่าชอบทั้งหมด หรือเอาทั้งหมด มันก็พูดยาก ฉะนั้นอาจต้องดูเนื้อหาว่ากมธ.ยกร่างฯร่างกันมาอย่างไร แล้วค่อยมาพูดกันอีกที" นายวิษณุ กล่าว
รองนายกฯ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หลังจากส่งกรอบความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญไปให้ กมธ.ยกร่างฯ เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้หน้าที่ของ สปช. คือ เดินหน้าปฏิรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจให้คุณทำ เพราะเวลานี้จะไปยุ่งเรื่องรัฐธรรมนูญไม่ได้แล้ว โดยการปฏิรูป 11 ด้านต้องออกมาเป็นรูปธรรม ช่วงเวลาที่ผ่านมา ก่อนวันที่ 19 ธ.ค.57 ไม่ว่ากัน เพราะเป็นฤดูกาลที่เขาให้สปช. ทำเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากนี้ต้องมีผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์
** สปช.นัดถกแนวทางปฏิรูปเริ่ม 22 ธ.ค.
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิปสปช.) เปิดเผยว่า หลังจาก สปช.ส่งมอบความเห็น และข้อเสนอ 246 ประเด็น ของกรรมาธิการวิสามัญ 18 คณะ ประจำสภาต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. ทุกวันจันทร์ สปช.จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางข้อเสนอการปฏิรูปแบบเร่งด่วน และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. จะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ทันเป็นของขวัญปีใหม่กับประชาชน และตั้งแต่ต้นปี 2558 สปช.จะมีการประชุมทุกวันอังคารเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการระดมความคิดเห็นของสมาชิกสปช. ในการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปประเทศ เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บทหรือพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ยืนยันว่า ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ก้าวแรก 60 วันสู่ก้าวสำคัญปฏิรูปประเทศ
**ดีเดย์รับฟังความเห็นปชช. 17ม.ค.
นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกมธ.การรับความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของประชาชนกล่าวว่า ทางอนุกมธ.ฯ จะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งแรกที่ จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 17-18 ม.ค.58 จากนั้นจะทยอยลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามลำดับ และเวทีสุดท้ายจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่งในเวที ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นด้วยตนเอง สำหรับรูปของการจัดเวทีประชาเสวนาทางอนุกมธ.ฯ ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะไปรับความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักในกระบวนการปฏิรูป และการยกร่างรัฐธรรมนูญ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และรับฟังความคิดเห็นของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการ
ทั้งนี้หลังจากการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้ว ทางอนุกมธ.ฯ ก็จะนำความคิดเห็น และเสียงสะท้อนจากประชาชน เพื่อนำไปประกอบกระบวนการปฏิรูปประเทศ และการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ในปี 2558 ทางอนุกมธ.ฯ จะมีการประสานไปยัง กมธ.ปฏิรูปการแรงงาน และ กมธ.ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ เพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มแรงงานและกลุ่มเกษตรกร ให้มีความครอบคลุมในประชาชนทุกกลุ่ม
สำหรับการจัดเวทีรับความคิดเห็นทางอนุกมธ.ฯ ได้มีการรายงานให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้รับทราบรายละเอียดการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ซึ่งการจัดเวทีประชาเสวนา "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ทางคสช. ได้มีการขอดูรายชื่อของนักศึกษาที่เข้าร่วม แต่ไม่พบรายชื่อนักศึกษาที่เคยมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมือง อยากมีส่วนร่วม ทางอนุกมธ.ฯ ก็ยินดีที่จะรับฟัง และเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม แต่ถ้าไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมก็สามารถส่งความคิดเห็นมายังอนุกมธ. ฯได้
"เพราะทุกเสียงของทุกคนมีคุณค่า แล้วจะมีคุณค่ายิ่งขึ้นคือได้ยิน คุณพูดแล้วไม่มีใครได้ยินจะมีประโยชน์อะไร อาจจะได้ยินแค่เฉพาะกลุ่ม แล้วกลุ่มที่อยากฟัง จะได้ยิน แต่กลุ่มที่ไม่อยากฟัง ก็ไม่ได้ยิน แต่ของเราบังคับต้องให้ได้ยินทุกคน" นางถวิลวดี กล่าว
**ต้องให้ข้อมูลปชช.ก่อนลงประชามติ
นายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงการลงประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า จุดใหญ่คือ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องมีทางเชื่อมระหว่างประชาชนกับการร่างรัฐธรรมนูญ โดย สปช.ต้องออกไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และนำข้อมูลจากกมธ.ยกร่างฯไปถามประชาชนว่า เป็นอย่างไร และประชาชนเองก็ต้องมีอำนาจการตัดสินใจได้จริงๆ การรับฟังคิดเห็นต้องไม่ใช่เพียงแค่พิธีกรรม ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ต้องให้ข้อมูลกับประชาชนก่อนที่จะลงประชามติ โดยเป็นข้อมูลสรุปที่เข้าใจง่าย แต่อย่าทำเหมือนประชามติรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ที่เอารัฐธรรมนูญไปแจก เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไร มีคนอ่านเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นายยุทธพร กล่าวต่อว่า การลงประชามติควรดูตัวอย่างของสก็อตแลนด์ ที่มีการให้ข้อมูลก่อนการลงประชามติถึง 2 ปี ให้ข้อมูลทั้งข้อดี และข้อเสียในการแยกออกจากสหราชอาณาจักรแก่ประชาชน โดยทางการเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งผลออกมาสก็อตแลนด์ไม่แยกจากสหราชอาณาจักร ทั้งที่ในตอนแรกกระแสการแยกตัวมาแรงมาก ดังนั้นประเทศไทยก็เช่นกัน การลงประชามติ ก็ต้องให้ข้อมูลทั้งสองด้านแก่ประชาชน แม้ว่าจะเสียเวลาในการให้ข้อมูล แต่ก็ถือว่าจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก
นายยุทธพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควรยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะการรับฟังความเห็นประชาชนต้องมีอิสระทางความคิด มีพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนได้แสดงออก ไม่เช่นนั้น กมธ.ยกร่างอาจจะได้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง มีเพียงข้อมูลเพียงด้านเดียว เพราะประชาชนไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือให้ความเห็นที่แตกต่าง
**สปช.ยังขาดความชัดเจน 7 ประเด็น
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า พิมพ์เขียวปฏิรูป ที่กมธ.วิสามัญ ของสปช.ทั้ง 18 คณะ เสนอต่อกมธ.ยกร่างฯ เมื่อวันที่ 15-17 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น ภาพรวมดูดี และก้าวหน้ากว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มีการเพิ่มความสำคัญในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมของนักการเมือง มาตรการปราบปรามการคอร์รัปชัน การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การตรวจสอบถ่วงดุลที่อิสระ เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ซึ่งสปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้ เช่น
1. เรื่องกระจายอำนาจยังไม่ชัดเจน ยังเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐราชการส่วนกลางที่เป็นรัฐรวมศูนย์ และคงไว้ซึ่งการปกครองส่วนภูมิภาค ไม่เห็นแนวทางปฏิรูปที่เพิ่มอำนาจท้องถิ่น เช่น การนำร่องให้มีจังหวัดจังการตัวเอง หรือการเลือกตั้งผู้ว่าฯในจังหวัดที่มีความพร้อม
2.การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยังเน้นบทบาทของรัฐ เป็นพระเอกมากเกินไป ยังไม่เชื่อมั่นการบริหารจัดการทรัพยากรโดยประชาชน และชุมชนเท่าที่ควร และยังไม่ให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือการพึ่งพาตัวเอง
3. การเมืองของภาคประชาชนยังไม่มีพื้นที่ หรือที่ทางที่ชัดเจน เน้นแค่การมีส่วนร่วมแต่ไปไม่ถึงการเข้าถึงอำนาจในการตัดสินใจโดยตรงของประชาชน หรือประชาธิปไตยทางตรง เช่น รูปแบบกระบวนการประชามติในโครงการที่กระทบชุมชนต่อสังคมและมีผลผูกพันต่อการตัดสินใจของรัฐ
4. ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และการวางมาตรการจัดการกับธุรกิจที่มีลักษณะผูกขาดและอำนาจเหนือตลาด รวมทั้งการสร้างเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างอำนาจทางธุรกิจกับการเมือง ที่ควบรวมกันจนสร้างปัญหามากมายยังไม่ชัดเจน
5. ปฏิรูปพลังงานยังเป็นนามธรรม เน้นมาตรการระยะยาว ซึ่งยังคงต้องไปตามรื้อตามแก้กฎหมายอีกหลายฉบับ และยังไม่มีข้อเสนอต่อปัญหาระยะสั้น เช่น สัมปทานรอบที่ 21 และปัญหาราคาน้ำมัน แก๊ส ฯล
6.การศึกษายังเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนในระบบเป็นหลัก การศึกษาทางเลือกยัง การจัดการศึกษาเองโดยชุมชน ยังไม่มีความชัดเจน
7. ระบบยุติธรรมโดยเฉพาะมาตรการที่จะทำให้อัยการเป็นองค์กรอิสระและการปฎิรูปตำรวจที่ยังคงตำรวจไว้เป็นเหล่าทัพ ไม่ถือหลังกระจายอำนาจแต่เป็นการแบ่งปันอำนาจภายในกรมตำรวจกันเอง
"ผมเสนอว่า ช่วงเวลาจากนี้ไป กมธ.ทั้ง 18 คณะ ควรลงรายละเอียดไปดูปัญหาอุปสรรคในแต่ละเรื่องเช่น กฎหมายเก่าๆ ที่สร้างปัญหาและขัดขวางการปฏิรูป จะต้องปรับแก้และยกเลิกหรือออกกฎหมายกันใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอปฏิรูป และควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดว่าจะต้องปรับแก้หรือยกเลิกกฎหมายเก่าและออกกฎหมายลูกใหม่ภายในกี่ปี" นายสุริยะใส กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หลังจากกมธ.ยกร่างฯ เริ่มร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หากมีความคิดสุดโต่ง จากกมธ.ยกร่างฯเอง ทางคสช. สามารถเข้าไปดูได้หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า คงทำได้ แต่ไม่ถึงขนาดไปปรามเขา หรือไปยุอะไร โดยส่งเป็นความเห็นไปและพร้อมจะเปิดเผยความเห็นนั้นออกมาข้างนอก เพราะทุกอย่างต้องโปร่งใส ทั้งนี้เมื่อ กมธ.ยกร่างฯ ตั้งหลักเป็นรูปเป็นร่างแล้ว หากเรารู้สึกว่าไม่เห็นด้วยอาจจะท้วงติงไป แต่ถ้าเขายังไม่ได้แสดงอะไรมา คงไม่ส่งไป เพราะจะเหมือนเป็นการชี้นำ ส่วนใหญ่จะเป็นการตอบในสิ่งที่เขาเสนอออกมาสู่สังคมมากกว่า
เมื่อถามว่า ขณะนี้ดูเหมือนหลายฝ่ายจะเรียกร้องให้ทำประชามติมากขึ้นเรื่อยๆ นายวิษณุ กล่าวว่าการทำประชามติ ไม่ใช่เป็นเรื่องของรัฐธรรมนูญ แต่เป็นกระบวนการหลังจากรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อยู่ในอำนาจการตัดสินใจของ คสช. คงไม่ส่งความเห็นอะไรในส่วนนี้ไป การจะทำประชามติหรือไม่นั้น ทางกมธ.ยกร่างฯไม่มีอำนาจอยู่แล้ว ซึ่งคสช.ออกมาประกาศชัดเจนแล้ว เมื่อวันที่ประชุมร่วมกับแม่น้ำ 5 สาย ที่บ้านเกษะโกมล เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยนายกฯ พูดแล้วว่าการทำประชามติหรือไม่ สุดท้ายมันต้องไปแก้รัฐธรรมนูญชั่วคราว หากถึงเวลาแล้วเรียกร้องกันว่าอยากทำ คิดว่าคุ้มต่อเวลา คุ้มกับงบประมาณที่ต้องใช้ไป และคุ้มกับความรู้สึก ก็เรียกร้องกันขึ้นมา คสช.จะรับพิจารณาให้เพราะมีช่องทางทำได้อยู่แล้ว เพียงแต่ขณะนี้ ไม่ได้บังคับว่าต้องทำเท่านั้น
"เนื้อหาในรัฐธรรมนูญ จะเป็นตัวบอกมากกว่าว่า สุดท้ายควรแก่การทำประชามติหรือไม่ เช่น ร่างออกมาแล้วเป็นที่ยอมรับทั้งหมด ก็อาจต้องถามว่า จะไปเสียเงินหลายล้านทำไม และเสียเวลาอีก 3 เดือนทำไม แต่หากว่าก้ำกึ่ง และยังเถียงกันอยู่ คุ้มที่จะไปทำ แล้วต้องคิดด้วยว่าจะทำเป็นประเด็นๆไป เช่น ประเด็นนี้เห็นอย่างไร หรือว่าจะทำทั้งฉบับเหมือนกับคราวที่แล้ว ถ้าทำทั้งฉบับ อาจไม่ค่อยได้ประโยชน์ เพราะอ่านกันไม่รู้เรื่อง สุดท้ายรักพี่เสียดายน้อง เหมือนกับการเลือก ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ ชอบสัก10 คน ไม่ชอบ 90 คน แล้วจะให้มากาว่าชอบทั้งหมด หรือเอาทั้งหมด มันก็พูดยาก ฉะนั้นอาจต้องดูเนื้อหาว่ากมธ.ยกร่างฯร่างกันมาอย่างไร แล้วค่อยมาพูดกันอีกที" นายวิษณุ กล่าว
รองนายกฯ กล่าวด้วยว่า ในส่วนของสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หลังจากส่งกรอบความเห็นเรื่องรัฐธรรมนูญไปให้ กมธ.ยกร่างฯ เรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้หน้าที่ของ สปช. คือ เดินหน้าปฏิรูป ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาตั้งใจให้คุณทำ เพราะเวลานี้จะไปยุ่งเรื่องรัฐธรรมนูญไม่ได้แล้ว โดยการปฏิรูป 11 ด้านต้องออกมาเป็นรูปธรรม ช่วงเวลาที่ผ่านมา ก่อนวันที่ 19 ธ.ค.57 ไม่ว่ากัน เพราะเป็นฤดูกาลที่เขาให้สปช. ทำเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยหลังจากนี้ต้องมีผลงานออกมาให้เป็นที่ประจักษ์
** สปช.นัดถกแนวทางปฏิรูปเริ่ม 22 ธ.ค.
นายอลงกรณ์ พลบุตร สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ(วิปสปช.) เปิดเผยว่า หลังจาก สปช.ส่งมอบความเห็น และข้อเสนอ 246 ประเด็น ของกรรมาธิการวิสามัญ 18 คณะ ประจำสภาต่อกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. ทุกวันจันทร์ สปช.จะประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางข้อเสนอการปฏิรูปแบบเร่งด่วน และเมื่อพิจารณาเสร็จแล้ว นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. จะส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้ทันเป็นของขวัญปีใหม่กับประชาชน และตั้งแต่ต้นปี 2558 สปช.จะมีการประชุมทุกวันอังคารเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วงแรกจะเป็นการระดมความคิดเห็นของสมาชิกสปช. ในการกำหนดวิสัยทัศน์การปฏิรูปประเทศ เพื่อจัดทำเป็นแผนแม่บทหรือพิมพ์เขียวปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ยืนยันว่า ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ก้าวแรก 60 วันสู่ก้าวสำคัญปฏิรูปประเทศ
**ดีเดย์รับฟังความเห็นปชช. 17ม.ค.
นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานอนุกมธ.การรับความคิดเห็นและมีส่วนร่วมของประชาชนกล่าวว่า ทางอนุกมธ.ฯ จะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นประชาชนเป็นครั้งแรกที่ จ.สุพรรณบุรี ในวันที่ 17-18 ม.ค.58 จากนั้นจะทยอยลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ตามลำดับ และเวทีสุดท้ายจะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร(กทม.) ซึ่งในเวที ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ จะลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นด้วยตนเอง สำหรับรูปของการจัดเวทีประชาเสวนาทางอนุกมธ.ฯ ได้มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะไปรับความคิดเห็นเรียบร้อยแล้ว โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างความตระหนักในกระบวนการปฏิรูป และการยกร่างรัฐธรรมนูญ สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน และรับฟังความคิดเห็นของคนทุกกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมกระบวนการ
ทั้งนี้หลังจากการรับฟังความคิดเห็นเสร็จแล้ว ทางอนุกมธ.ฯ ก็จะนำความคิดเห็น และเสียงสะท้อนจากประชาชน เพื่อนำไปประกอบกระบวนการปฏิรูปประเทศ และการยกร่างรัฐธรรมนูญ นอกจากนี้ในปี 2558 ทางอนุกมธ.ฯ จะมีการประสานไปยัง กมธ.ปฏิรูปการแรงงาน และ กมธ.ปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ เพื่อจัดรับฟังความคิดเห็นกลุ่มแรงงานและกลุ่มเกษตรกร ให้มีความครอบคลุมในประชาชนทุกกลุ่ม
สำหรับการจัดเวทีรับความคิดเห็นทางอนุกมธ.ฯ ได้มีการรายงานให้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้รับทราบรายละเอียดการจัดกิจกรรมทุกครั้ง ซึ่งการจัดเวทีประชาเสวนา "สานพลังนักศึกษาเพื่อปฏิรูปประเทศไทย" ทางคสช. ได้มีการขอดูรายชื่อของนักศึกษาที่เข้าร่วม แต่ไม่พบรายชื่อนักศึกษาที่เคยมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองแต่อย่างใด เนื่องจากกลุ่มนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาที่ทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวม
อย่างไรก็ตาม หากกลุ่มนักศึกษาที่เคยเคลื่อนไหวทางการเมือง อยากมีส่วนร่วม ทางอนุกมธ.ฯ ก็ยินดีที่จะรับฟัง และเปิดโอกาสให้เข้ามามีส่วนร่วม แต่ถ้าไม่ประสงค์ที่จะเข้าร่วมก็สามารถส่งความคิดเห็นมายังอนุกมธ. ฯได้
"เพราะทุกเสียงของทุกคนมีคุณค่า แล้วจะมีคุณค่ายิ่งขึ้นคือได้ยิน คุณพูดแล้วไม่มีใครได้ยินจะมีประโยชน์อะไร อาจจะได้ยินแค่เฉพาะกลุ่ม แล้วกลุ่มที่อยากฟัง จะได้ยิน แต่กลุ่มที่ไม่อยากฟัง ก็ไม่ได้ยิน แต่ของเราบังคับต้องให้ได้ยินทุกคน" นางถวิลวดี กล่าว
**ต้องให้ข้อมูลปชช.ก่อนลงประชามติ
นายยุทธพร อิสรชัย คณบดีรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช กล่าวถึงการลงประชามติ รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า จุดใหญ่คือ เรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนต้องมีทางเชื่อมระหว่างประชาชนกับการร่างรัฐธรรมนูญ โดย สปช.ต้องออกไปรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และนำข้อมูลจากกมธ.ยกร่างฯไปถามประชาชนว่า เป็นอย่างไร และประชาชนเองก็ต้องมีอำนาจการตัดสินใจได้จริงๆ การรับฟังคิดเห็นต้องไม่ใช่เพียงแค่พิธีกรรม ส่วนตัวเห็นด้วยกับการทำประชามติ แต่ต้องให้ข้อมูลกับประชาชนก่อนที่จะลงประชามติ โดยเป็นข้อมูลสรุปที่เข้าใจง่าย แต่อย่าทำเหมือนประชามติรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ที่เอารัฐธรรมนูญไปแจก เพราะไม่ได้ประโยชน์อะไร มีคนอ่านเพียงแค่ 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น
นายยุทธพร กล่าวต่อว่า การลงประชามติควรดูตัวอย่างของสก็อตแลนด์ ที่มีการให้ข้อมูลก่อนการลงประชามติถึง 2 ปี ให้ข้อมูลทั้งข้อดี และข้อเสียในการแยกออกจากสหราชอาณาจักรแก่ประชาชน โดยทางการเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งผลออกมาสก็อตแลนด์ไม่แยกจากสหราชอาณาจักร ทั้งที่ในตอนแรกกระแสการแยกตัวมาแรงมาก ดังนั้นประเทศไทยก็เช่นกัน การลงประชามติ ก็ต้องให้ข้อมูลทั้งสองด้านแก่ประชาชน แม้ว่าจะเสียเวลาในการให้ข้อมูล แต่ก็ถือว่าจะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก
นายยุทธพร กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ควรยกเลิกกฎอัยการศึก เพราะการรับฟังความเห็นประชาชนต้องมีอิสระทางความคิด มีพื้นที่ปลอดภัยให้ประชาชนได้แสดงออก ไม่เช่นนั้น กมธ.ยกร่างอาจจะได้ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง มีเพียงข้อมูลเพียงด้านเดียว เพราะประชาชนไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นคัดค้าน หรือให้ความเห็นที่แตกต่าง
**สปช.ยังขาดความชัดเจน 7 ประเด็น
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า พิมพ์เขียวปฏิรูป ที่กมธ.วิสามัญ ของสปช.ทั้ง 18 คณะ เสนอต่อกมธ.ยกร่างฯ เมื่อวันที่ 15-17 ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น ภาพรวมดูดี และก้าวหน้ากว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 มีการเพิ่มความสำคัญในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมของนักการเมือง มาตรการปราบปรามการคอร์รัปชัน การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ การตรวจสอบถ่วงดุลที่อิสระ เป็นต้น แต่ก็ยังมีบางประเด็นที่ยังคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ซึ่งสปช.และ กมธ.ยกร่างฯ ต้องทำให้เกิดความชัดเจนมากกว่านี้ เช่น
1. เรื่องกระจายอำนาจยังไม่ชัดเจน ยังเน้นสร้างความแข็งแกร่งให้กับรัฐราชการส่วนกลางที่เป็นรัฐรวมศูนย์ และคงไว้ซึ่งการปกครองส่วนภูมิภาค ไม่เห็นแนวทางปฏิรูปที่เพิ่มอำนาจท้องถิ่น เช่น การนำร่องให้มีจังหวัดจังการตัวเอง หรือการเลือกตั้งผู้ว่าฯในจังหวัดที่มีความพร้อม
2.การแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ยังเน้นบทบาทของรัฐ เป็นพระเอกมากเกินไป ยังไม่เชื่อมั่นการบริหารจัดการทรัพยากรโดยประชาชน และชุมชนเท่าที่ควร และยังไม่ให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง หรือการพึ่งพาตัวเอง
3. การเมืองของภาคประชาชนยังไม่มีพื้นที่ หรือที่ทางที่ชัดเจน เน้นแค่การมีส่วนร่วมแต่ไปไม่ถึงการเข้าถึงอำนาจในการตัดสินใจโดยตรงของประชาชน หรือประชาธิปไตยทางตรง เช่น รูปแบบกระบวนการประชามติในโครงการที่กระทบชุมชนต่อสังคมและมีผลผูกพันต่อการตัดสินใจของรัฐ
4. ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ และการวางมาตรการจัดการกับธุรกิจที่มีลักษณะผูกขาดและอำนาจเหนือตลาด รวมทั้งการสร้างเส้นแบ่งที่ชัดเจนระหว่างอำนาจทางธุรกิจกับการเมือง ที่ควบรวมกันจนสร้างปัญหามากมายยังไม่ชัดเจน
5. ปฏิรูปพลังงานยังเป็นนามธรรม เน้นมาตรการระยะยาว ซึ่งยังคงต้องไปตามรื้อตามแก้กฎหมายอีกหลายฉบับ และยังไม่มีข้อเสนอต่อปัญหาระยะสั้น เช่น สัมปทานรอบที่ 21 และปัญหาราคาน้ำมัน แก๊ส ฯล
6.การศึกษายังเน้นการปฏิรูปการเรียนการสอนในระบบเป็นหลัก การศึกษาทางเลือกยัง การจัดการศึกษาเองโดยชุมชน ยังไม่มีความชัดเจน
7. ระบบยุติธรรมโดยเฉพาะมาตรการที่จะทำให้อัยการเป็นองค์กรอิสระและการปฎิรูปตำรวจที่ยังคงตำรวจไว้เป็นเหล่าทัพ ไม่ถือหลังกระจายอำนาจแต่เป็นการแบ่งปันอำนาจภายในกรมตำรวจกันเอง
"ผมเสนอว่า ช่วงเวลาจากนี้ไป กมธ.ทั้ง 18 คณะ ควรลงรายละเอียดไปดูปัญหาอุปสรรคในแต่ละเรื่องเช่น กฎหมายเก่าๆ ที่สร้างปัญหาและขัดขวางการปฏิรูป จะต้องปรับแก้และยกเลิกหรือออกกฎหมายกันใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเสนอปฏิรูป และควรกำหนดระยะเวลาให้ชัดว่าจะต้องปรับแก้หรือยกเลิกกฎหมายเก่าและออกกฎหมายลูกใหม่ภายในกี่ปี" นายสุริยะใส กล่าว