ASTVผู้จัดการรายวัน- กมธ.ปฏิรูปการเมือง ให้ประชาชนเลือกนายกฯ-ครม.โดยตรง มีรัฐบาลรักษาการ จากปลัดทุกระทรวง พร้อมทำหน้าที่ทูลเกล้าฯ นายกฯคนใหม่ ปลดแอกหน้าที่ไปเลือกตั้ง เหลือแค่เป็น"สิทธิ" ตัดสิทธิคนติดโทษรอลงอาญา คดีภาษี ห้ามลงสมัครส.ส. เพิ่มอำนาจกกต.ค้น-จับกุมได้ช่วงเลือกตั้ง ผนวก ปปท.-ปปง. รวมป.ป.ช. เพิ่มความแข็งแกร่งขจัดทุจริต คอร์รัปชัน "บวรศักดิ์" ย้ำข้อเสนอยังไม่ใช่ข้อยุติ "บิ๊กตู่" ปัดวิจารณ์ข้อเสนอของกมธ. ยันไม่ลงชิงเก้าอี้นายกฯ ยันไม่โกรธ"บิ๊กจิ๋ว" ที่เตือนให้ระวังปฏิวัติซ้ำ
วานนี้ ( 9 ธ.ค.) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ได้ร่วมกันแถลงประเด็นความเห็น และข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีประเด็นสำคัญทั้งสิ้น 20 ประเด็น แยกเป็นในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง และองค์กรอิสระ เห็นว่าจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้ชัดเจน โดยเสนอให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้โดยตรง โดยผู้สมัครในบัญชีครม. ต้องได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมือง ที่มีสมาชิกพรรคตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การบริหารงานได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และฝ่ายนิติบัญญัติ และหากการเลือกตั้งรอบแรก ไม่มีผู้สมัครคณะใดได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้นำคณะที่ได้รับคะแนนอันดับหนึ่ง และสอง มาเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้ จะทำให้การซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ทำได้ยากขึ้น เพราะถ้าซื้อต้องซื้อทั้งสองรอบ ก็จะเป็นปัญหาในเรื่องการเมืองของพรรค
ส่วนช่วงที่มีการเลือกตั้ง ให้มีรัฐบาลรักษาการคณะหนึ่งที่ประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง โดยเลือกปลัดกระทรวงหนึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต ไม่มีการใช้อำนาจของรัฐบาลไปเพื่อประโยชน์ต่อการเลือกตั้งของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและให้นายกรัฐมนตรีรักษาการ เป็นผู้นำความกราบบังคมทูล แต่งตั้งนายกฯคนใหม่
"แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่า การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงเป็นระบบประธานาธิบดี ขอยืนยันว่าไม่ใช่ เพราะระบบประธานาธิบดี ถ้าเลือกแล้วต้องเป็นประมุข แต่บ้านเรายังใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลือกนายกฯ โดยตรงก็มาทำหน้าที่ตามระบบรัฐสภา ที่ผ่านมาเวลาอเมริกาคิดรูปแบบขึ้นมาใหม่ ก็จะบอกว่าเราเป็นประเทศแรกที่ใช้รูปแบบนี้ แล้วประเทศอื่นๆ ก็ไปลอกมา ไทยก็ไปลอกรูปแบบการปกครองจากประเทศอื่นมา พอใช้แล้วก็มีปัญหามาเยอะ ครั้งนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่เราเสนอขึ้นมาเอง" นายสมบัติ กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของที่มาส.ส. เห็นว่าเมื่อให้ประชาชนเลือกนายกฯ และครม.โดยตรงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีส.ส.บัญชีรายชื่อ จึงกำหนดให้มีแต่ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยให้มีทั้งหมด 350 คน แบ่งเป็นเขตเลือกตั้งเขตละไม่เกิน 3 คน โดยให้ประชาชน 1 คน เลือกส.ส.ได้ 1 คน และให้นำคะแนนของผู้สมัครมาเรียงลำดับจากมากสุดไปน้อยสุด ผู้ที่ได้รับคะแนนอันดับหนึ่งถึงสาม จะได้รับเลือกให้เป็นส.ส.ในเขตเลือกตั้งนั้น และกำหนดให้ ส.ส.มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย ตรวจสอบฝ่ายบริหาร และแต่งตั้งกรรมาธิการ ตรวจสอบการประพฤติมิชอบของนักการเมืองร่วมกันอัยการอิสระ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลคดีการเมืองโดยตรง
** ป.ป.ช.ฟ้องคดีได้เองไม่ต้องผ่านอัยการ
ส่วนวุฒิสภาให้มีจำนวนทั้งหมด 154 คน มาจากการเลือกตั้งสองทาง โดย 77 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และอีก77 คน มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มองค์กรวิชาชีพ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น องค์กรวิชาชีพครู กลุ่มชุมนุมสหกรณ์การเกษตกร เป็นต้น
สำหรับองค์กรอิสระนั้น ได้มีการเสนอให้ปรับปรุงวาระการดำรงตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 9 ปี เหลือ 5 ปี โดยดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และให้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการสอบสวนเอาผิดกับผู้กระทำการทุจริต โดยจะมีการรวมเอาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าไว้เป็นองค์กรเดียวกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และให้ป.ป.ช. สามารถฟ้องคดีได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรอัยการ รวมถึงมีการจัดตั้งศาลว่าด้วยคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยให้คดีทุจริตไม่มีอายุความในการดำเนินการ และให้การสู้คดีของข้าราชการประจำ และคดีนักการเมือง ดำเนินการในสองชั้นศาลเท่ากัน
ส่วนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการปฏิรูปที่มาของคณะกรรมการผู้ตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการให้มีประสิทธิภาพ ส่วนองค์กรอัยการ นอกจากต้องมีการปรับปรุงให้ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองแล้ว จะมีการห้ามมิให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ จะปรับภารกิจโดยให้การสืบสวนสอบสวนในคดีอาญา ที่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจ มาอยู่กับอัยการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้ตำรวจ มีหน้าที่เพียงจับกุมอย่างเดียว
นอกจากนั้น ให้มีการตั้งคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ (กปช.) ให้เป็นองค์กรอิสระ โดยมีหน้าที่ประเมินบุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งบริหารระดับสูงภาคพลเรือนตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไป ทั้งในส่วนภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการวิ่งเต้น รวมทั้งให้มีหน้าที่ในการประเมินผลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ว่าจะมีความคุ้มค่าในการลงทุน มีการทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ หากเห็นว่าไม่โปร่งใส ก็ให้ส่งดำเนินคดีต่อไป
**ไม่บังคับส.ส.สังกัดพรรคการเมือง
สำหรับเรื่องการปฏิรูประบบพรรคการเมือง และกลไกการเลือกตั้ง เห็นว่าต้องมีการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันที่เข้มแข็ง สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินการของพรรคได้ การยุบพรรคจะทำได้เฉพาะกรณีที่พรรคกระทำผิดร้ายแรง ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย หรือทำให้ผลประโยชน์ของชาติได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกัน กำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบจริยธรรมของพรรค และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนส.ส.จะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้
ขณะที่การเลือกตั้ง กำหนดให้เป็นสิทธิไม่ใช่เป็นหน้าที่ เหมือนในรัฐธรรมนูญปี 50 และให้แก้ไขลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะรอลงอาญาก็ไม่สามารถลงสมัครได้ เว้นแต่เป็นการรอลงอาญาในความผิดคดีหมิ่นประมาท คดีกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ หรือเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีภาษีอากรให้ชำระภาษีกับรัฐ เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็จะไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ตลอดไป และผู้ที่เคยลงสมัครจะต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมสร โดยพฤตินัย หรือนิตินัย บุตร หรือบุตรบุญธรรม หรือเคยเป็นคู่สมรส และยังมีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.- ส.ว. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
**เพิ่มอำนาจกกต.ตรวจค้น-จับกุม
ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้ลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 7 ปี เหลือ 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว และหากกรรมการคนใดพ้นจากตำแหน่งเป็นการเฉพาะตัว ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแทนสามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระของตน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการสับเปลี่ยน ไม่ใช่หมดไปทั้งคณะ และให้มีการปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ โดยช่วงที่มีการเลือกตั้ง ให้ กกต.มีอำนาจเข้าไปตรวจค้น และจับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น หรือ หมายจับ แต่หากพบว่าในการเลือกตั้งมีการกระทำทุจริต จนถึงขั้นอาจถูกเพิกถอนสิทธิให้ยื่นเรื่องต่อศาลเลือกตั้งเพื่อวินิจฉัย โดยให้ กกต.มีอำนาจเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ เท่านั้น
ส่วนเรื่องการปฏิรูป การเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เสนอว่า ให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อติดตามดูสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศ หากเห็นว่าหากประเทศเกิดปัญหาความขัดแย้งเหมือนที่ผ่านมา จนถึงขั้นเป็นภัยให้ประเทศล่มสลายให้คณะกรรการฯ มีอำนาจตามกฎหมายเชิญคู่ขัดแย้งมาพูดคุย เพื่อให้สถานการณ์สงบลงส่วนในเรื่องของการมีส่วนร่วม กำหนดให้มีการตรากฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
นายสมบัติ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น ที่กรรมาธิการจะได้เสนอรายงานต่อสภาสปช. แล้ว ซึ่งจะมีการประชุม และถกเถียงกันในวันที่ 15-17 ธ.ค. และจะมีการเสนอกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
**"บวรศักดิ์"ย้ำข้อเสนอยังไม่ใช่ข้อยุติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงข้อเสนอ และ แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ว่า ยังไม่ใช่ข้อยุติ ดังนั้น หากช่วงนี้ใครอยากจะเสนออะไร หรืออยากพูดอะไร ก็สามารถดำเนินการได้ ไม่ใช่เรื่องของคนแค่เพียง 36 คนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชาติ
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ หากเป็นไปได้ จะให้นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ แจกเอกสาร และข้อมูลที่ประชาชนได้แสดงความเห็นมา แก่สื่อมวลชนได้รับทราบด้วย
** "บิ๊กตู่"ยันไม่ลงเลือกตั้งเป็นนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง ข้อเสนอของกมธ.ปฏิรูปการเมือง เรื่องให้ประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และครม. โดยตรง ว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ ตนไม่อยู่ในคณะกมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ และเรื่องนี้ยังไม่มีการสรุปมา เมื่อถามว่า หากให้มีการเลือกตั้งโดยตรง ท่านจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่ลง ๆ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ไม่อยากเป็นนักการเมืองอยู่แล้ว"
เมื่อถามถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดถึง“แป๊ะ”คนดังกล่าวคือใคร นายกฯ กล่าวว่า เป็นคำเปรียบเทียบตามสำนวน เขาพูดไปเรื่อย แล้วใครคือ แป๊ะ ตนจะไปรู้หรือ ให้ไปถามคนพูด ตนคิดว่าเป็นสำนวนแป๊ะแจวเรือจ้าง ซึ่งคำพวกนี้ก็ไม่เคยได้ยินกัน เคยได้ยินแต่คำว่า โว โม้ ฟุ้ง อะไรพวกนี้ ซึ่งตนไม่รู้ เพราะไม่ทันสมัย รู้จักแต่คำเก่าๆ
*** “บิ๊กตู่”ไม่โกรธที่”บิ๊กจิ๋ว”เตือน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาเตือนรัฐบาลอาจเจอปฏิวัติซ้ำว่า อย่าไปตอบท่านเลย ท่านอายุมากแล้ว ท่านก็เหงาๆ แต่ตนเคารพท่านอยู่แล้วเมื่อถามว่าถือว่าเป็นคำแนะนำของผู้ใหญ่ในทางที่ดีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นคำแนะนำไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี แต่เป็นคำแนะนำทั่วๆไป อย่าไปถือเป็นกังวล เมื่อถามว่า วันนี้ความสัมพันธ์ในทหารยังปึ๊กดีอยู่ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทำไมล่ะ มันไม่ปึ๊กตรงไหน ทหารไม่มีทะเลาะกัน
เมื่อถามว่า เสถียรภาพรัฐบาลวันนี้ยังดีอยู่หรือไม่ในเรื่องเศรษฐกิจ นายกฯ กล่าวว่า ดี ไม่เห็นมีอะไร ทุกคนก็ทำงาน ตนคิดว่าวันนี้อย่าไปวิพากษ์จารณ์ให้เสียหาย ในที่ประชุมครม.แต่ละคนมีการแสดงความคิดเห็น บางคนอาจจะพูดไม่ค่อยเก่ง แต่ก็ทำงาน ให้คะแนนผลการทำงานของรัฐมนตรีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อถามว่า ก่อนปีใหม่และหลังปีใหม่จะมีการปรับครม.หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีการปรับครม.
เมื่อถามว่า นายกฯลองพูดชัดๆ แบบมั่นใจว่าจะไม่มีการปฏิวัติซ้ำ ปฏิวัติซ้อน ในยุคนี้ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีหรอก ใครจะปฏิวัติ หามาสิใคร ปฏิวัติมันง่ายนักหรือไง เมื่อถามว่าในแง่การบริหารงาน อาจไม่โดนใจ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ ถ้าอยากโดนใจ ก็ไปรอรัฐบาลหน้า ไปหาเอาเอง ใครจะทำให้อย่างที่ตนทำหรือเปล่า ไปดูสิว่าตนทำอะไรไปบ้าง หลายอย่างแล้วที่ทำไป แต่พวกเราไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจว่าเขาทำอะไรไป ไปดูสิว่าทำงานหรือไม่ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ถ้ามายืนตรงนี้ สั่งตรงนี้ แล้วเขาทำเลยคงถูกใจท่านแน่นอน แต่ถามว่ากระบวนการมันไปอย่างไร ทั้งเรื่องกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ต้องออกไหม ลองไปนั่งดู จะรู้ว่าไม่ง่าย ไม่งั้น ครม.จะประชุมกันที 4-5 ชั่วโมงได้อย่างไร มันยากนะ ไม่ได้ทำงานกันปากเปล่า ถ้าทำงานแบบปากเปล่าก็ทำแบบตามใจ ใครขออะไรก็ให้ การจะอนุมัติเรื่องต่างๆ จะต้องดูว่ามีเงินและหนี้สาธารณะเท่าไหร่ ใช้ได้แค่ไหน ทุกอย่างมันตามกันไปหมด ถ้าไปเทเรื่องยาง เรื่องข้าว แล้วคนอื่นทำอะไร เอางบประมาณที่ไหนใช้ มันเดือดร้อนหมด มันต้องช่วยกันลดระดับความเดือดร้อนลงมา ทุกคนเดือดร้อน เขาเรียกว่าแบ่งปันความทุกข์ ถึงเวลามีสุขก็แบ่งปันความสุข วันนี้ต้องยอมรับกติกากันได้ เพราะมีการปล่อยปะละเลยเรื่องเหล่านี้มานานมาก จึงต้องวางระบบระเบียบมาให้ได้ นี่คือสิ่งที่จะยั่งยืน แล้วคิดว่าถ้าทำแบบฉาบฉวย ทุกคนพอใจยิ้มแย้มแจ่มใส แต่สุดท้ายปัญหาไปหนักในอนาคต ลูกหลานต้องมาใช้หนี้
เมื่อถามว่า โอกาสที่กองทัพจะมีศักยภาพในการกดดันให้เปลี่ยนตัวนายกฯมีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ฮู้ ไร้สาระ ไม่มีหรอก เมื่อถามว่า ปีใหม่ไปเคาต์ดาวน์ที่ไหน นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ไป
วานนี้ ( 9 ธ.ค.) คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง สภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ได้ร่วมกันแถลงประเด็นความเห็น และข้อเสนอแนะการยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่จะเสนอต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีประเด็นสำคัญทั้งสิ้น 20 ประเด็น แยกเป็นในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างทางการเมือง และองค์กรอิสระ เห็นว่าจะต้องมีการแบ่งแยกอำนาจระหว่างฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติให้ชัดเจน โดยเสนอให้ประชาชนเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้โดยตรง โดยผู้สมัครในบัญชีครม. ต้องได้รับการเสนอชื่อโดยพรรคการเมือง ที่มีสมาชิกพรรคตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้การบริหารงานได้รับการสนับสนุนจากพรรคการเมือง และฝ่ายนิติบัญญัติ และหากการเลือกตั้งรอบแรก ไม่มีผู้สมัครคณะใดได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ให้นำคณะที่ได้รับคะแนนอันดับหนึ่ง และสอง มาเลือกตั้งใหม่ ซึ่งเชื่อว่าวิธีการนี้ จะทำให้การซื้อสิทธิ์ ขายเสียง ทำได้ยากขึ้น เพราะถ้าซื้อต้องซื้อทั้งสองรอบ ก็จะเป็นปัญหาในเรื่องการเมืองของพรรค
ส่วนช่วงที่มีการเลือกตั้ง ให้มีรัฐบาลรักษาการคณะหนึ่งที่ประกอบไปด้วย ปลัดกระทรวงทุกกระทรวง โดยเลือกปลัดกระทรวงหนึ่งทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีรักษาการ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริต ไม่มีการใช้อำนาจของรัฐบาลไปเพื่อประโยชน์ต่อการเลือกตั้งของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและให้นายกรัฐมนตรีรักษาการ เป็นผู้นำความกราบบังคมทูล แต่งตั้งนายกฯคนใหม่
"แม้จะมีเสียงวิจารณ์ว่า การเลือกตั้งนายกฯโดยตรงเป็นระบบประธานาธิบดี ขอยืนยันว่าไม่ใช่ เพราะระบบประธานาธิบดี ถ้าเลือกแล้วต้องเป็นประมุข แต่บ้านเรายังใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เลือกนายกฯ โดยตรงก็มาทำหน้าที่ตามระบบรัฐสภา ที่ผ่านมาเวลาอเมริกาคิดรูปแบบขึ้นมาใหม่ ก็จะบอกว่าเราเป็นประเทศแรกที่ใช้รูปแบบนี้ แล้วประเทศอื่นๆ ก็ไปลอกมา ไทยก็ไปลอกรูปแบบการปกครองจากประเทศอื่นมา พอใช้แล้วก็มีปัญหามาเยอะ ครั้งนี้อาจเรียกได้ว่า เป็นนวัตกรรมทางการเมืองที่เราเสนอขึ้นมาเอง" นายสมบัติ กล่าว
นอกจากนี้ ในส่วนของที่มาส.ส. เห็นว่าเมื่อให้ประชาชนเลือกนายกฯ และครม.โดยตรงแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องมีส.ส.บัญชีรายชื่อ จึงกำหนดให้มีแต่ส.ส.ที่มาจากการเลือกตั้ง โดยให้มีทั้งหมด 350 คน แบ่งเป็นเขตเลือกตั้งเขตละไม่เกิน 3 คน โดยให้ประชาชน 1 คน เลือกส.ส.ได้ 1 คน และให้นำคะแนนของผู้สมัครมาเรียงลำดับจากมากสุดไปน้อยสุด ผู้ที่ได้รับคะแนนอันดับหนึ่งถึงสาม จะได้รับเลือกให้เป็นส.ส.ในเขตเลือกตั้งนั้น และกำหนดให้ ส.ส.มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมาย ตรวจสอบฝ่ายบริหาร และแต่งตั้งกรรมาธิการ ตรวจสอบการประพฤติมิชอบของนักการเมืองร่วมกันอัยการอิสระ เพื่อยื่นฟ้องต่อศาลคดีการเมืองโดยตรง
** ป.ป.ช.ฟ้องคดีได้เองไม่ต้องผ่านอัยการ
ส่วนวุฒิสภาให้มีจำนวนทั้งหมด 154 คน มาจากการเลือกตั้งสองทาง โดย 77 คน มาจากการเลือกตั้งจังหวัดละ 1 คน และอีก77 คน มาจากการเลือกตั้งของกลุ่มองค์กรวิชาชีพ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย เช่น องค์กรวิชาชีพครู กลุ่มชุมนุมสหกรณ์การเกษตกร เป็นต้น
สำหรับองค์กรอิสระนั้น ได้มีการเสนอให้ปรับปรุงวาระการดำรงตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 9 ปี เหลือ 5 ปี โดยดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว และให้เพื่อเพิ่มความเข้มข้นในการสอบสวนเอาผิดกับผู้กระทำการทุจริต โดยจะมีการรวมเอาคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) เข้าไว้เป็นองค์กรเดียวกัน เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพ และให้ป.ป.ช. สามารถฟ้องคดีได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านองค์กรอัยการ รวมถึงมีการจัดตั้งศาลว่าด้วยคดีทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ โดยให้คดีทุจริตไม่มีอายุความในการดำเนินการ และให้การสู้คดีของข้าราชการประจำ และคดีนักการเมือง ดำเนินการในสองชั้นศาลเท่ากัน
ส่วนคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีการปฏิรูปที่มาของคณะกรรมการผู้ตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ให้ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการให้มีประสิทธิภาพ ส่วนองค์กรอัยการ นอกจากต้องมีการปรับปรุงให้ปราศจากการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองแล้ว จะมีการห้ามมิให้พนักงานอัยการไปดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจต่างๆ จะปรับภารกิจโดยให้การสืบสวนสอบสวนในคดีอาญา ที่เดิมเป็นอำนาจหน้าที่ของตำรวจ มาอยู่กับอัยการ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสากล โดยให้ตำรวจ มีหน้าที่เพียงจับกุมอย่างเดียว
นอกจากนั้น ให้มีการตั้งคณะกรรมการประเมินผลแห่งชาติ (กปช.) ให้เป็นองค์กรอิสระ โดยมีหน้าที่ประเมินบุคคลที่จะเข้าสู่ตำแหน่งบริหารระดับสูงภาคพลเรือนตั้งแต่ระดับ 10 ขึ้นไป ทั้งในส่วนภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เพื่อแก้ไขปัญหาการวิ่งเต้น รวมทั้งให้มีหน้าที่ในการประเมินผลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ว่าจะมีความคุ้มค่าในการลงทุน มีการทุจริตคอร์รัปชันหรือไม่ หากเห็นว่าไม่โปร่งใส ก็ให้ส่งดำเนินคดีต่อไป
**ไม่บังคับส.ส.สังกัดพรรคการเมือง
สำหรับเรื่องการปฏิรูประบบพรรคการเมือง และกลไกการเลือกตั้ง เห็นว่าต้องมีการพัฒนาพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันที่เข้มแข็ง สมาชิกพรรคต้องมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการดำเนินการของพรรคได้ การยุบพรรคจะทำได้เฉพาะกรณีที่พรรคกระทำผิดร้ายแรง ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ล้มล้างระบอบประชาธิปไตย หรือทำให้ผลประโยชน์ของชาติได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกัน กำหนดให้มีองค์กรตรวจสอบจริยธรรมของพรรค และผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ส่วนส.ส.จะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้
ขณะที่การเลือกตั้ง กำหนดให้เป็นสิทธิไม่ใช่เป็นหน้าที่ เหมือนในรัฐธรรมนูญปี 50 และให้แก้ไขลักษณะต้องห้ามในการลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยผู้ที่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก แม้จะรอลงอาญาก็ไม่สามารถลงสมัครได้ เว้นแต่เป็นการรอลงอาญาในความผิดคดีหมิ่นประมาท คดีกระทำโดยประมาท หรือ ความผิดลหุโทษ หรือเคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีภาษีอากรให้ชำระภาษีกับรัฐ เคยถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็จะไม่มีสิทธิลงสมัครรับเลือกตั้งได้ตลอดไป และผู้ที่เคยลงสมัครจะต้องไม่เป็นบุพการี คู่สมสร โดยพฤตินัย หรือนิตินัย บุตร หรือบุตรบุญธรรม หรือเคยเป็นคู่สมรส และยังมีความสัมพันธ์ฉันสามีภรรยา ของผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.- ส.ว. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็จะไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
**เพิ่มอำนาจกกต.ตรวจค้น-จับกุม
ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เสนอให้ลดวาระการดำรงตำแหน่งจาก 7 ปี เหลือ 5 ปี และดำรงตำแหน่งได้วาระเดียว และหากกรรมการคนใดพ้นจากตำแหน่งเป็นการเฉพาะตัว ผู้ที่มาดำรงตำแหน่งแทนสามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระของตน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการสับเปลี่ยน ไม่ใช่หมดไปทั้งคณะ และให้มีการปรับบทบาทอำนาจหน้าที่ โดยช่วงที่มีการเลือกตั้ง ให้ กกต.มีอำนาจเข้าไปตรวจค้น และจับกุมผู้กระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ โดยไม่ต้องมีหมายค้น หรือ หมายจับ แต่หากพบว่าในการเลือกตั้งมีการกระทำทุจริต จนถึงขั้นอาจถูกเพิกถอนสิทธิให้ยื่นเรื่องต่อศาลเลือกตั้งเพื่อวินิจฉัย โดยให้ กกต.มีอำนาจเพียงสั่งเลือกตั้งใหม่ เท่านั้น
ส่วนเรื่องการปฏิรูป การเรียนรู้ การปรองดอง และการมีส่วนร่วมของประชาชนนั้น เสนอว่า ให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาหนึ่งชุด เพื่อติดตามดูสถานการณ์ความขัดแย้งในประเทศ หากเห็นว่าหากประเทศเกิดปัญหาความขัดแย้งเหมือนที่ผ่านมา จนถึงขั้นเป็นภัยให้ประเทศล่มสลายให้คณะกรรการฯ มีอำนาจตามกฎหมายเชิญคู่ขัดแย้งมาพูดคุย เพื่อให้สถานการณ์สงบลงส่วนในเรื่องของการมีส่วนร่วม กำหนดให้มีการตรากฎหมายการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
นายสมบัติ กล่าวว่า ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อเสนอเบื้องต้น ที่กรรมาธิการจะได้เสนอรายงานต่อสภาสปช. แล้ว ซึ่งจะมีการประชุม และถกเถียงกันในวันที่ 15-17 ธ.ค. และจะมีการเสนอกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
**"บวรศักดิ์"ย้ำข้อเสนอยังไม่ใช่ข้อยุติ
นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธาน กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงข้อเสนอ และ แนวทางที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นต่างๆที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่ในขณะนี้ ว่า ยังไม่ใช่ข้อยุติ ดังนั้น หากช่วงนี้ใครอยากจะเสนออะไร หรืออยากพูดอะไร ก็สามารถดำเนินการได้ ไม่ใช่เรื่องของคนแค่เพียง 36 คนเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของคนทั้งชาติ
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ หากเป็นไปได้ จะให้นางถวิลวดี บุรีกุล กมธ.ยกร่างฯ แจกเอกสาร และข้อมูลที่ประชาชนได้แสดงความเห็นมา แก่สื่อมวลชนได้รับทราบด้วย
** "บิ๊กตู่"ยันไม่ลงเลือกตั้งเป็นนายกฯ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวถึง ข้อเสนอของกมธ.ปฏิรูปการเมือง เรื่องให้ประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และครม. โดยตรง ว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ ตนไม่อยู่ในคณะกมธ.ร่างรัฐธรรมนูญ และเรื่องนี้ยังไม่มีการสรุปมา เมื่อถามว่า หากให้มีการเลือกตั้งโดยตรง ท่านจะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า "ไม่ลง ๆ ไม่มีอะไรทั้งนั้น ไม่อยากเป็นนักการเมืองอยู่แล้ว"
เมื่อถามถึงกรณี นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาพูดถึง“แป๊ะ”คนดังกล่าวคือใคร นายกฯ กล่าวว่า เป็นคำเปรียบเทียบตามสำนวน เขาพูดไปเรื่อย แล้วใครคือ แป๊ะ ตนจะไปรู้หรือ ให้ไปถามคนพูด ตนคิดว่าเป็นสำนวนแป๊ะแจวเรือจ้าง ซึ่งคำพวกนี้ก็ไม่เคยได้ยินกัน เคยได้ยินแต่คำว่า โว โม้ ฟุ้ง อะไรพวกนี้ ซึ่งตนไม่รู้ เพราะไม่ทันสมัย รู้จักแต่คำเก่าๆ
*** “บิ๊กตู่”ไม่โกรธที่”บิ๊กจิ๋ว”เตือน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ออกมาเตือนรัฐบาลอาจเจอปฏิวัติซ้ำว่า อย่าไปตอบท่านเลย ท่านอายุมากแล้ว ท่านก็เหงาๆ แต่ตนเคารพท่านอยู่แล้วเมื่อถามว่าถือว่าเป็นคำแนะนำของผู้ใหญ่ในทางที่ดีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เป็นคำแนะนำไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี แต่เป็นคำแนะนำทั่วๆไป อย่าไปถือเป็นกังวล เมื่อถามว่า วันนี้ความสัมพันธ์ในทหารยังปึ๊กดีอยู่ใช่หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ทำไมล่ะ มันไม่ปึ๊กตรงไหน ทหารไม่มีทะเลาะกัน
เมื่อถามว่า เสถียรภาพรัฐบาลวันนี้ยังดีอยู่หรือไม่ในเรื่องเศรษฐกิจ นายกฯ กล่าวว่า ดี ไม่เห็นมีอะไร ทุกคนก็ทำงาน ตนคิดว่าวันนี้อย่าไปวิพากษ์จารณ์ให้เสียหาย ในที่ประชุมครม.แต่ละคนมีการแสดงความคิดเห็น บางคนอาจจะพูดไม่ค่อยเก่ง แต่ก็ทำงาน ให้คะแนนผลการทำงานของรัฐมนตรีเกินร้อยเปอร์เซ็นต์ เมื่อถามว่า ก่อนปีใหม่และหลังปีใหม่จะมีการปรับครม.หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีการปรับครม.
เมื่อถามว่า นายกฯลองพูดชัดๆ แบบมั่นใจว่าจะไม่มีการปฏิวัติซ้ำ ปฏิวัติซ้อน ในยุคนี้ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีหรอก ใครจะปฏิวัติ หามาสิใคร ปฏิวัติมันง่ายนักหรือไง เมื่อถามว่าในแง่การบริหารงาน อาจไม่โดนใจ นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ทราบ ถ้าอยากโดนใจ ก็ไปรอรัฐบาลหน้า ไปหาเอาเอง ใครจะทำให้อย่างที่ตนทำหรือเปล่า ไปดูสิว่าตนทำอะไรไปบ้าง หลายอย่างแล้วที่ทำไป แต่พวกเราไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจว่าเขาทำอะไรไป ไปดูสิว่าทำงานหรือไม่ที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ถ้ามายืนตรงนี้ สั่งตรงนี้ แล้วเขาทำเลยคงถูกใจท่านแน่นอน แต่ถามว่ากระบวนการมันไปอย่างไร ทั้งเรื่องกฎหมาย พระราชบัญญัติ กฎกระทรวง ต้องออกไหม ลองไปนั่งดู จะรู้ว่าไม่ง่าย ไม่งั้น ครม.จะประชุมกันที 4-5 ชั่วโมงได้อย่างไร มันยากนะ ไม่ได้ทำงานกันปากเปล่า ถ้าทำงานแบบปากเปล่าก็ทำแบบตามใจ ใครขออะไรก็ให้ การจะอนุมัติเรื่องต่างๆ จะต้องดูว่ามีเงินและหนี้สาธารณะเท่าไหร่ ใช้ได้แค่ไหน ทุกอย่างมันตามกันไปหมด ถ้าไปเทเรื่องยาง เรื่องข้าว แล้วคนอื่นทำอะไร เอางบประมาณที่ไหนใช้ มันเดือดร้อนหมด มันต้องช่วยกันลดระดับความเดือดร้อนลงมา ทุกคนเดือดร้อน เขาเรียกว่าแบ่งปันความทุกข์ ถึงเวลามีสุขก็แบ่งปันความสุข วันนี้ต้องยอมรับกติกากันได้ เพราะมีการปล่อยปะละเลยเรื่องเหล่านี้มานานมาก จึงต้องวางระบบระเบียบมาให้ได้ นี่คือสิ่งที่จะยั่งยืน แล้วคิดว่าถ้าทำแบบฉาบฉวย ทุกคนพอใจยิ้มแย้มแจ่มใส แต่สุดท้ายปัญหาไปหนักในอนาคต ลูกหลานต้องมาใช้หนี้
เมื่อถามว่า โอกาสที่กองทัพจะมีศักยภาพในการกดดันให้เปลี่ยนตัวนายกฯมีหรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า ฮู้ ไร้สาระ ไม่มีหรอก เมื่อถามว่า ปีใหม่ไปเคาต์ดาวน์ที่ไหน นายกฯ กล่าวว่า ไม่รู้ ไม่ไป