วานนี้ (10 ธ.ค.) ที่โรงแรมเซ็นทรา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ และสถาบันพระปกเกล้า ร่วมจัดงานเสวนา เรื่อง "การอบรมเสริมทักษะผู้สร้างความปรองดองในกระบวนการประชาเสวนาหาทางออก เพื่อการปฎิรูประเทศไทย" โดยมี นายวุฒิสาร ตันไชย โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่ง ว่า หัวใจสำคัญสำหรับการยกร่างฯ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 - 17 ธ.ค. ที่คณะกรรมาธิการยกร่างฯ จะต้องไปรับฟังความเห็นจากที่ประชุมสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งจะมีคณะกรรมาธิการปฏิรูปทั้ง 18 คณะ คอยให้ความเห็นที่ต้องการปฏิรูปประเทศ จากนั้นคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะมาคุยกันว่า สาระสำคัญในรัฐธรรมนูญ ควรจะมีอะไรบ้าง แล้วจึงเขียนโครงร่างของรัฐธรรมนูญเบื้องต้นให้แล้วเสร็จ ในวันที่ 17 เม.ย. 58 ก่อนส่งให้ สปช.- สนช. และ ครม. พิจารณาทบทวนให้ความเห็นต่อไป จากนั้นกรรมาธิการยกร่างฯ ก็มีเวลาอีก 30 วัน สำหรับการปรับแก้
ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะรับฟังความเห็นจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 10 จุด ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญทั้งสาระและกระบวนการ เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยหัวใจสำคัญ จะอยู่ที่กระบวนการ ซึ่งเราต้องดูว่า เมื่อทำเสร็จแล้วประชาชนเชื่อถือยอมรับได้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการรับฟัง จะต้องมีความน่าเชื่อถือ ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า เป็นเจ้าของสาระที่เสนอ เป็นเจ้าของอำนาจ ก็จะเกิดกระบวนการติดตามตรวจสอบเอง ดังนั้น ทั้ง 10 เวที ต้องมีกระบวนการที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นกลางของข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ
กระบวนการดังกล่าวนี้ จะเป็นไปตามที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ย้ำมาตลอดว่า กระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชนนั้นไม่ใช่พิธีกรรมอย่างแน่นอน
"ส่วนการปฏิรูป ไม่ได้หมายความเพียงแค่รัฐธรรมนูญอย่างเดียว เพราะไม่สามารถบัญญัติให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนได้ การปฏิรูปประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของ สปช.ด้วย เนื้อหาที่ได้จากการรับฟังความเห็น บางส่วนอาจสามารถบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญได้ แต่บางส่วนต้องส่งให้ สปช. ที่เหลือเวลาทำหน้าที่อีก 1 ปี ร่วมดำเนินการ ทุกคนต้องช่วยเข็นเรือแห่งโอกาส ลงสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ เพื่อทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทุกคนเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เฉพาะแค่ สปช. 250 คน และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 36 คน ทั้งนี้ ยังต้องร่วมกันทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มั่นคงถาวร ฉีกได้ยาก อีกด้วย" นายวุฒิสาร กล่าว
**"วิษณุ"ชี้กมธ.ยกร่างฯไม่เอาเลือกนายกฯตรง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่คณะกมธ.ปฏิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ได้สรุปว่าจะให้ประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยตรง ว่า ในตอนนี้รัฐบาลยังไม่ขอพูดอะไร และตนก็ยังไม่อยากตอบเรื่องนี้ แต่เราขอรอฟังให้เขาตกผลึกของเขาก่อน ที่จริงวันนี้ต้องเข้าใจว่า สปช. มีคณะกรรมาธิการ 18 คณะ ซึ่งรวมถึง กมธ.ที่นายสมบัติ เป็นประธาน แต่กมธ.ชุดนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะทำหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งเขาก็เสนอมาว่า ให้เลือกนายกฯ โดยตรง และเพื่อสนับสนุนความเห็นของกมธ.ชุดของนายสมบัติ จึงได้มีผลสำรวจของนิด้าโพล และข้อเสนอของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ออกมาเสนอให้ประชาชนเลือกตั้งนายกฯโดยตรง แต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีอีกจุดยืนหนึ่ง ไม่ได้เอาด้วยตามนั้น
"เพราะฉะนั้น ตอนนี้ใครออกไปพูดอะไร ถ้าไปพูดว่าอยากให้เลือกนายกฯโดยตรง ก็เข้าทางของกมธ.ปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ไปเข้าทางกมธ.ยกร่างฯ ในส่วนของเราก็รอพิจารณา หลังจากที่ให้เขาเสนอมาให้จบก่อน " นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า บางฝ่ายกังวลว่าการให้เลือกนายกฯ และ ครม.โดยตรงไม่เหมาะสมกับระบบรัฐสภาที่ประเทศไทยใช้อยู่ นายวิษณุ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวว่า "อย่าเพิ่งพูดเลย ขอให้ไปถามคนอื่นก่อน ถ้าผมพูด เดี๋ยวจะทำให้เรื่องยิ่งยุ่งหนักเข้าไปอีก"
**เลือกนายกฯส่อก้าวล่วงพระราชอำนาจ
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิก สปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องแปลกที่ยังมีคนเสนอแนวทางนี้ เพราะบ้านเราเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"ตามประเพณีปฏิบัติ คือพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ในส่วนของ ส.ส.- ส.ว. พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้โปรดเกล้าฯ เพราะมาจากฐานอำนาจคนละฐาน ถ้าเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ให้พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี มันไม่เคยมีประเพณีนี้ จะเขียนได้หรือไม่ น่าจะเป็นการรบกวนพระองค์ท่านมาก เป็นเรื่องใหญ่ และใหม่มาก หากเขียนโดยไม่มีพระราชวินิจฉัยจากพระองค์ท่าน ในฐานะคนไทย ก็เกรงว่าจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ" นายเอนก กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าผู้ที่เสนอก็คงไม่ได้คิดเช่นนั้น เพียงแต่ต้องการเสนอทางเลือกออกมาให้สังคมได้ร่วมกันพิจารณา การเลือกตั้งนายกฯ ทางตรง เคยมีประเทศอิสราเอลทำเมื่อไม่นานมานี้ ทำได้ไม่กี่ปีก็เลิก เราได้ไปพูดคุยกับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ท่านก็เล่าให้ฟังว่า ไม่ค่อยได้ผลและเลิกไปแล้ว เพราะมันทำให้เกิดรัฐบาล ที่รัฐสภาขัดแย้งกับครม. ก็ต้องรอฟังการอภิปรายในสปช. จะเห็นเป็นอย่างไร
**เสี่ยงเจอปัญหาใช้อำนาจเกินขอบเขต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่กรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสนอให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยตรงว่า พรรคคงมีมติไม่ได้ เพราะไม่มีการประชุมพรรค และวันที่ตนมาให้ความเห็นกับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ความเห็นชัดเจนไปแล้ว เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่ผ่านมาว่า มีการใช้อำนาจเกินขอบเขตของฝ่ายบริหารจึงเป็นที่มาของวิกฤตบ้านเมือง ดังนั้นหากมีการเลือกฝ่ายบริหารโดยตรง มาใช้ระบบแบ่งแยกอำนาจ น่าจะทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เพราะคนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ก็จะอ้างคะแนนเสียงประชาชนตลอดเวลา ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ และจะทำให้เกิดความรับผิดชอบยากขึ้น อีกทั้งมองว่า แนวทางดังกล่าวไม่ตรงกับการแก้ไขปัญหา เว้นแต่ว่าจะออกแบบระบบให้เกิดความรับผิดชอบที่ชัดเจน
"การพยายามที่จะเปลี่ยนโครงสร้างโดยไม่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำให้เหมือนกับการเริ่มทดลองกันใหม่ แต่ถ้าคงรูปแบบของรัฐสภาเดิมไว้ และคิดว่าทำอย่างไรให้คนที่จะเข้าสู่อำนาจต้องรับผิดชอบกับการกระทำที่เกินขอบเขต การกระทำที่ผิดกฎหมาย ทุจริต คอร์รัปชัน น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นของ กมธ.ปฏิรูปกการเมืองเพียงหนึ่งคณะเท่านั้น แต่ไม่ใช่ความเห็นของสภาปฏิรูป (สปช.) และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่ากลางเดือนนี้ สปช. จะต้องหาข้อสรุป เพราะต้องส่งกรอบความคิดให้ กมธ.ยกร่างฯ ตัดสินใจ เพราะกรอบที่ส่งไปไม่ใช่ตัวร่างจริง ยังมีเวลาที่จะทบทวนและพิจารณาข้อดีข้อเสียอีกมาก ส่วนทางพรรค ไม่มีปัญหา ระบบไหนที่เป็นประชาธิปไตย ที่เป็นธรรม เราก็ลงแข่งขันอยู่แล้ว แต่ที่ตนให้ความเห็นเป็นไปนั้น เพราะเป็นห่วงในเชิงของการใช้อำนาจ และกระทบปัญหาของประเทศมากกว่า
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มีข้อเสนอที่ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี ว่า เป็นข้อเสนอที่อยู่ในระบบรัฐสภา ข้อดีคือ ทำให้คะแนนเสียงทุกเสียงที่เลือกพรรคการเมืองมีความหมาย และทำให้สัดส่วนในสภาสะท้อนเจตนาของประชาชนอย่างแท้จริง แต่จะมีความซับซ้อนพอสมควร เพราะฉะนั้นถ้าจะทำก็ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า แปลว่าอะไร วิธีการคำนวณ คืออะไร โดยหลักของระบบนี้ จำนวนของ ส.ส. จะคงที่ไม่ได้ จะมีผลกระทบกับการประชุมร่วมสองสภา ก็ต้องดูให้หมด ซึ่งถือว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเวลาเลือกส.ส. สองระบบ เราก็เลือกคู่ขนานกันไป แล้วเอาผลมารวมกัน แต่ถ้าจะใช้ระบบเยอรมัน คะแนนเสียงที่ลงให้พรรคการเมือง เป็นตัวชี้ขาดว่าใครจะเป็นรัฐบาล หรือ ใครจะมีจำนวน ส.ส.เท่าไรในสภา ซึ่งจะทำให้เกิดความซับซ้อนที่ว่า ต้องไปคำนวณว่า ถ้าส.ส.เขตเข้ามาไม่สะท้อนสัดส่วนตรงนี้ จะต้องปรับและเติมอย่างไร แต่ขอให้แก้ปัญหาการซื้อเสียง การทุจริต การเข้ามาใช้อำนาจ และพรรคการเมืองควรจะยอมรับกติกาอะไรที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมด้วย
**นิรโทษฯต้องปล่อยพวกชู3นิ้วด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนข้อเสนอของการนิรโทษกรรม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนอะไรที่จะมาพูดขณะนี้ วิกฤติรอบสุดท้าย ก็เกิดจากการผลักดันเรื่องนิรโทษกรรม วันนี้ถ้าจะมาจำกัดขอบเขตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง และทำความผิดอาญาเท่านั้น มันไม่ใช่เรื่องง่าย สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ถ้าจะพูดถึงความผิดทางการเมือง ต้องมาถามต่อว่า อย่างคนที่ฝ่าฝืนกฎอัยการศึกวันนี้ ต้องได้รับการนิรโทษกรรม ด้วยหรือไม่ ถ้าทุกคนออกมาชู 3 นิ้ว ก็ต้องนิรโทษกรรมให้หรือไม่ ถ้าไม่นิรโทษกรรมก็เท่ากับ 2 มาตรฐาน แต่ถ้านิรโทษกรรมแล้วถามว่า คสช.จะดูแลบ้านเมืองอย่างไร ซึ่งความจริงเรื่องใหญ่ที่จะต้องทำวันนี้มีมาก ถ้าจะหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณา กลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับข้อเสนอให้ปรับลดวาระการดำรงตำแหน่งขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เห็นว่าเหมาะสม เพราะตนเห็นว่า การตัดสินคดีสำคัญทางการเมือง น่าจะใช้รูปแบบองค์คณะเฉพาะกิจดีกว่าหรือไม่ คล้ายกับที่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะสำหรับคดีอาญา เพราะเวลาไปดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระนานๆ แล้วให้คุณให้โทษได้ ถูกเป็นเป้าของการล็อบบี้ได้ และถ้าล็อบบี้สำเร็จ ต้องอยู่ยาวก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น แต่ถ้าใช้องค์กรอิสระทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อเท็จจริง สอบสวนเสนอ เหมือนทำสำนวนขึ้นไป และให้องค์คณะพิจารณาเป็นกรณีไป น่า จะทำให้โอกาสจะถูกแทรกแซงลดลง
"คดีสำคัญควรพิจารณาไม่ควรเกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี ถ้าใช้เวลาพิจารณานานมากถึง 5 ปี ก็จะเกิดปัญหาขึ้นเหมือนที่ผ่านมา เกิดการประท้วง และเกิดการขัดแย้งขึ้น เพราะเมื่อมีคดีสำคัญ แต่ปรากฏว่าองค์กรเหล่านี้ ใช้เวลาทำงานนานมาก ทำให้ประชาชน และสังคมไม่พอใจ เกิดการประท้วง และภายหลังกับมาเร่งพิจารณา ก็ถูกกล่าวหาได้ว่า หลายมาตรฐาน ดังนั้นต้องพยายามลดงานองค์กรอิสระให้ทำเฉพาะเรื่องใหญ่ แต่ต้องรวดเร็ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**"ไพบูลย์"ให้รัฐสภาเลือกนายกฯ-ครม.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ข้อเสนอให้เลือกครม.โดยตรงยังไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการเมืองไทยที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานได้ และการกำหนดให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครม.ในเวลาเดียวกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ก็จะส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบการทุจริตซื้อเสียงได้ เหมือนกับการเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาตี้ลิสต์) ที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ แต่จะตรวจสอบได้เพียงการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ข้อเสนอให้จัดเลือกตั้ง ครม.และส.ส.ในเวลาเดียวกัน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถตรวจสอบเรื่องการทุจริตเลือกตั้งของครม.ได้
ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งแบบนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับ 2 พรรคการเมืองขนาดใหญ่ เพราะโครงสร้างของระบบดังกล่าว เป็นการปรับระบบ ส.ส.ปาตี้ลิสต์ ให้เป็นระบบบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี(Cabinet List)ซึ่งมีพรรคการเมือง 2 พรรคเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากระบบนี้ เมื่อเหลือแค่นี้ทำให้ไปตัดสิทธิ์ประชาชนที่ไม่ต้องการ หรือไม่ชอบคนจาก 2 พรรคการเมืองนี้ เท่ากับเป็นการบังคับกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ดังนั้น ตนจึงขอเสนอทางเลือกที่สาม ด้วยการให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง ส.ส.และส.ว. เป็นผู้เลือก โดยกระบวนการคือ ให้บุคคลที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีและครม. เข้ามาแถลงนโยบายในรัฐสภา ตอบข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาอย่างเปิดเผย และถ่ายทอดสดให้ประชาชนรับทราบด้วย เมื่อกระบวนการเสร็จสิ้น ก็ให้สมาชิกรัฐสภาลงมติลับ เลือกนายกรัฐมนตรี และครม.ที่เหมาะสม เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวน่าจะแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากระบบเดิมมีแต่ส.ส.เท่านั้นที่ทำหน้าที่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเพียงฝ่ายอย่างเดียว และดีกว่าวิธีการเลือกแบบโดยตรงด้วย
** ชี้ไม่ตอบโจทย์ แก้ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ข้อสรุปของกมธ.ปฏิรูปการเมือง สะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกสปช.บางส่วนไม่เข้าใจบริบทของประเทศไทย แต่กลับเสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ ที่สำคัญ ยังชี้ให้เห็นว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในทางการเมืองผ่านระบบเลือกตั้งอย่างถ่องแท้ เนื่องจากจะเลือกตั้งนายกฯ และครม.โดยตรง ก็ไม่ต่างปัจจุบันที่มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่แยกกับการเลือกตั้งสมาชิกอบจ. ซึ่งในหลายจังหวัดนายกฯ อบจ.มาจากคนละกลุ่มกับเสียงส่วนใหญ่ในสภา อบจ. ส่งผลให้การทำงานติดขัดโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา ขนาดพรรคที่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งมาบริหารประเทศ ยังทำหน้าที่ลำบาก นับประสาอะไรกับนายกฯ ที่ไม่มี ส.ส.หนุนหลัง หรือเป็นเสียงข้างน้อยในสภาฯ
ส่วนกรณีที่ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ระบุว่า รูปแบบการเลือกตั้งนายกฯ และ ครม.โดยตรงเป็นนวัตกรรมใหม่นั้น ตนเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะแนวคิดการเลือกตั้งนายกฯโดยตรง มีหลายประเทศเคยหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาแล้ว ทั้งประเทศอังกฤษ หรือญี่ปุ่น แต่เมื่อประเทศเหล่านั้นวิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้วก็เห็นว่า อาจจะทำให้รัฐบาลทำงานไม่ได้ จึงไม่มีการนำมาใช้ มีเพียงประเทศอิสราเอลเท่านั้นที่เคยทดลองใช้ และมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงมา 3 ครั้ง แต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปใช้ระบบรัฐสภาแบบเดิม เพราะเกิดสภาพปกครองไม่ได้ เนื่องจากนายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกโดยเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่สามารถคุมเสียงสนับสนุนในสภาฯได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จนต้องยุบสภาในที่สุด
นอกจากนี้ เหตุผลที่อ้างว่าแนวคิดนี้จะแก้ปัญหาการซื้อเสียง อยากถามว่า มีมาตรการใดมารองรับ หรือมีหลักประกันใดที่จะไม่ทำให้การซื้อเสียงระบาดหนักกว่าเดิม เพราะมีเดิมพันถึงเก้าอี้ผู้นำประเทศ
"เชื่อว่าแนวคิดนี้ จะไปไม่รอด เพราะสังคมไม่เอาด้วย เพราะแค่โยนหินถามทางออกมา ก็มีแต่เสียงวิจารณ์ในทางไม่เห็นด้วย และเป็นเค้าลางของความแตกแยก ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก หากมีการเสนอแนวทางหรือยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของประเทศเช่นนี้" นายอุเทน กล่าว
**วิปสปช.วางกรอบถกข้อเสนอร่างรธน.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยถึงกรอบการอภิปรายของสมาชิกสปช. เพื่อพิจารณาประเด็นความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 15 –17ธ.ค. นี้ว่า จากการหารือร่วมกับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. และ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. คนที่ 2 ถึงกรอบการอภิปราย ได้ข้อสรุปเบื้องต้นคือจะให้ประธานกมธ.ปฏิรูป ทั้ง 18 คณะ นำเสนอรายงาน คณะละ 30 นาที จากนั้นจะเป็นเวลาที่ให้สมาชิกสปช. อภิปราย และแสดงความเห็นโดยสมาชิก สปช. 1 คน สามารถอภิปรายเนื้อหาสาระในกรรมาธิการปฏิรูปได้ไม่เกินคนละ 2 คณะ ส่วนผู้อภิปรายจะได้เวลาอภิปรายคนละกี่นาที จะสรุปอีกครั้งภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เพราะต้องพิจารณาจำนวนผู้ที่ประสงค์จะอภิปรายในแต่ละประเด็น และเวลาที่จะจัดสรรให้กรรมาธิการปฏิรูปแต่ละคณะด้วย สำหรับระยะเวลาอภิปรายได้วางกรอบ คือวันจะเริ่มประชุมเวลา 09.30 น. และเลิกประชุมในเวลา 19.30 น. คิดเป็นเวลารวมทั้งสิ้น 29 ชั่วโมง
สำหรับกรอบการอภิปราย คาดว่าจะมีคณะกรรมาธิการปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ กมธ.ปฏิรูปพลังงาน, กมธ.ปฏิรูปการเมือง, กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม, กมธ.ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น และ กมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีเนื้อหา และสาระสำคัญจำนวนมาก และคาดว่า จะมีผู้แสดงความจำนง อภิปรายและแสดงความเห็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้น ทั้ง 5 คณะดังกล่าว อาจได้รับการจัดสรรเวลาอภิปรายมากกว่าคณะอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าวนั้น ตนจะนำเข้าสู่ที่ประชุมกมธ.วิสามัญกิจการสปช. ในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ เพื่อให้กรรมาธิการและประธานทั้ง 18 คณะ พิจารณาอีกครั้ง หากได้รับความเห็นชอบ จะประกาศให้ผู้ที่ประสงค์จะอภิปรายในประเด็นที่สนใจ ลงชื่อเพื่อแสดงเจตจำนงต่อกรรมการที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง
ขณะเดียวกัน คณะกรรมาธิการยกร่างฯ ก็จะรับฟังความเห็นจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ทั้ง 10 จุด ทั่วประเทศ ซึ่งจะมีความสำคัญทั้งสาระและกระบวนการ เพื่อนำมาประกอบการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยหัวใจสำคัญ จะอยู่ที่กระบวนการ ซึ่งเราต้องดูว่า เมื่อทำเสร็จแล้วประชาชนเชื่อถือยอมรับได้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการรับฟัง จะต้องมีความน่าเชื่อถือ ทำให้ประชาชนรู้สึกว่า เป็นเจ้าของสาระที่เสนอ เป็นเจ้าของอำนาจ ก็จะเกิดกระบวนการติดตามตรวจสอบเอง ดังนั้น ทั้ง 10 เวที ต้องมีกระบวนการที่มีมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความเป็นกลางของข้อมูลที่เป็นสาระสำคัญ
กระบวนการดังกล่าวนี้ จะเป็นไปตามที่ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างฯ ย้ำมาตลอดว่า กระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชนนั้นไม่ใช่พิธีกรรมอย่างแน่นอน
"ส่วนการปฏิรูป ไม่ได้หมายความเพียงแค่รัฐธรรมนูญอย่างเดียว เพราะไม่สามารถบัญญัติให้ครอบคลุมทุกภาคส่วนได้ การปฏิรูปประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของ สปช.ด้วย เนื้อหาที่ได้จากการรับฟังความเห็น บางส่วนอาจสามารถบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญได้ แต่บางส่วนต้องส่งให้ สปช. ที่เหลือเวลาทำหน้าที่อีก 1 ปี ร่วมดำเนินการ ทุกคนต้องช่วยเข็นเรือแห่งโอกาส ลงสู่มหาสมุทรที่กว้างใหญ่ เพื่อทำให้กระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทุกคนเป็นเจ้าของ ไม่ใช่เฉพาะแค่ สปช. 250 คน และคณะกรรมาธิการยกร่างฯ 36 คน ทั้งนี้ ยังต้องร่วมกันทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มั่นคงถาวร ฉีกได้ยาก อีกด้วย" นายวุฒิสาร กล่าว
**"วิษณุ"ชี้กมธ.ยกร่างฯไม่เอาเลือกนายกฯตรง
นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง กรณีที่คณะกมธ.ปฏิรูปการเมือง สภาปฎิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธาน ได้สรุปว่าจะให้ประชาชนเลือกตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.)โดยตรง ว่า ในตอนนี้รัฐบาลยังไม่ขอพูดอะไร และตนก็ยังไม่อยากตอบเรื่องนี้ แต่เราขอรอฟังให้เขาตกผลึกของเขาก่อน ที่จริงวันนี้ต้องเข้าใจว่า สปช. มีคณะกรรมาธิการ 18 คณะ ซึ่งรวมถึง กมธ.ที่นายสมบัติ เป็นประธาน แต่กมธ.ชุดนี้ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการร่างรัฐธรรมนูญ เพราะทำหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอแนะ ซึ่งเขาก็เสนอมาว่า ให้เลือกนายกฯ โดยตรง และเพื่อสนับสนุนความเห็นของกมธ.ชุดของนายสมบัติ จึงได้มีผลสำรวจของนิด้าโพล และข้อเสนอของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ที่ออกมาเสนอให้ประชาชนเลือกตั้งนายกฯโดยตรง แต่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ มีอีกจุดยืนหนึ่ง ไม่ได้เอาด้วยตามนั้น
"เพราะฉะนั้น ตอนนี้ใครออกไปพูดอะไร ถ้าไปพูดว่าอยากให้เลือกนายกฯโดยตรง ก็เข้าทางของกมธ.ปฏิรูปการเมือง แต่ถ้าไม่เห็นด้วย ก็ไปเข้าทางกมธ.ยกร่างฯ ในส่วนของเราก็รอพิจารณา หลังจากที่ให้เขาเสนอมาให้จบก่อน " นายวิษณุ กล่าว
เมื่อถามว่า บางฝ่ายกังวลว่าการให้เลือกนายกฯ และ ครม.โดยตรงไม่เหมาะสมกับระบบรัฐสภาที่ประเทศไทยใช้อยู่ นายวิษณุ ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม โดยกล่าวว่า "อย่าเพิ่งพูดเลย ขอให้ไปถามคนอื่นก่อน ถ้าผมพูด เดี๋ยวจะทำให้เรื่องยิ่งยุ่งหนักเข้าไปอีก"
**เลือกนายกฯส่อก้าวล่วงพระราชอำนาจ
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิก สปช. และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นเรื่องแปลกที่ยังมีคนเสนอแนวทางนี้ เพราะบ้านเราเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"ตามประเพณีปฏิบัติ คือพระเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะนายกรัฐมนตรีไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง แต่ในส่วนของ ส.ส.- ส.ว. พระเจ้าอยู่หัวไม่ได้โปรดเกล้าฯ เพราะมาจากฐานอำนาจคนละฐาน ถ้าเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญว่า ให้พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ นายกรัฐมนตรี มันไม่เคยมีประเพณีนี้ จะเขียนได้หรือไม่ น่าจะเป็นการรบกวนพระองค์ท่านมาก เป็นเรื่องใหญ่ และใหม่มาก หากเขียนโดยไม่มีพระราชวินิจฉัยจากพระองค์ท่าน ในฐานะคนไทย ก็เกรงว่าจะเป็นการก้าวล่วงพระราชอำนาจ" นายเอนก กล่าว
อย่างไรก็ตาม ตนมองว่าผู้ที่เสนอก็คงไม่ได้คิดเช่นนั้น เพียงแต่ต้องการเสนอทางเลือกออกมาให้สังคมได้ร่วมกันพิจารณา การเลือกตั้งนายกฯ ทางตรง เคยมีประเทศอิสราเอลทำเมื่อไม่นานมานี้ ทำได้ไม่กี่ปีก็เลิก เราได้ไปพูดคุยกับเอกอัครราชทูตอิสราเอลประจำประเทศไทย ท่านก็เล่าให้ฟังว่า ไม่ค่อยได้ผลและเลิกไปแล้ว เพราะมันทำให้เกิดรัฐบาล ที่รัฐสภาขัดแย้งกับครม. ก็ต้องรอฟังการอภิปรายในสปช. จะเห็นเป็นอย่างไร
**เสี่ยงเจอปัญหาใช้อำนาจเกินขอบเขต
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่กรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสนอให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยตรงว่า พรรคคงมีมติไม่ได้ เพราะไม่มีการประชุมพรรค และวันที่ตนมาให้ความเห็นกับกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้ให้ความเห็นชัดเจนไปแล้ว เกี่ยวกับปัญหาการเมืองที่ผ่านมาว่า มีการใช้อำนาจเกินขอบเขตของฝ่ายบริหารจึงเป็นที่มาของวิกฤตบ้านเมือง ดังนั้นหากมีการเลือกฝ่ายบริหารโดยตรง มาใช้ระบบแบ่งแยกอำนาจ น่าจะทำให้ปัญหารุนแรงขึ้น เพราะคนที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง ก็จะอ้างคะแนนเสียงประชาชนตลอดเวลา ทำให้การตรวจสอบการใช้อำนาจในทางที่ไม่ชอบ และจะทำให้เกิดความรับผิดชอบยากขึ้น อีกทั้งมองว่า แนวทางดังกล่าวไม่ตรงกับการแก้ไขปัญหา เว้นแต่ว่าจะออกแบบระบบให้เกิดความรับผิดชอบที่ชัดเจน
"การพยายามที่จะเปลี่ยนโครงสร้างโดยไม่ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำให้เหมือนกับการเริ่มทดลองกันใหม่ แต่ถ้าคงรูปแบบของรัฐสภาเดิมไว้ และคิดว่าทำอย่างไรให้คนที่จะเข้าสู่อำนาจต้องรับผิดชอบกับการกระทำที่เกินขอบเขต การกระทำที่ผิดกฎหมาย ทุจริต คอร์รัปชัน น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดมากกว่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวเป็นเพียงความเห็นของ กมธ.ปฏิรูปกการเมืองเพียงหนึ่งคณะเท่านั้น แต่ไม่ใช่ความเห็นของสภาปฏิรูป (สปช.) และกมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งคิดว่ากลางเดือนนี้ สปช. จะต้องหาข้อสรุป เพราะต้องส่งกรอบความคิดให้ กมธ.ยกร่างฯ ตัดสินใจ เพราะกรอบที่ส่งไปไม่ใช่ตัวร่างจริง ยังมีเวลาที่จะทบทวนและพิจารณาข้อดีข้อเสียอีกมาก ส่วนทางพรรค ไม่มีปัญหา ระบบไหนที่เป็นประชาธิปไตย ที่เป็นธรรม เราก็ลงแข่งขันอยู่แล้ว แต่ที่ตนให้ความเห็นเป็นไปนั้น เพราะเป็นห่วงในเชิงของการใช้อำนาจ และกระทบปัญหาของประเทศมากกว่า
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึง กรณีที่มีข้อเสนอที่ให้ใช้วิธีการเลือกตั้งแบบประเทศเยอรมนี ว่า เป็นข้อเสนอที่อยู่ในระบบรัฐสภา ข้อดีคือ ทำให้คะแนนเสียงทุกเสียงที่เลือกพรรคการเมืองมีความหมาย และทำให้สัดส่วนในสภาสะท้อนเจตนาของประชาชนอย่างแท้จริง แต่จะมีความซับซ้อนพอสมควร เพราะฉะนั้นถ้าจะทำก็ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนว่า แปลว่าอะไร วิธีการคำนวณ คืออะไร โดยหลักของระบบนี้ จำนวนของ ส.ส. จะคงที่ไม่ได้ จะมีผลกระทบกับการประชุมร่วมสองสภา ก็ต้องดูให้หมด ซึ่งถือว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาเวลาเลือกส.ส. สองระบบ เราก็เลือกคู่ขนานกันไป แล้วเอาผลมารวมกัน แต่ถ้าจะใช้ระบบเยอรมัน คะแนนเสียงที่ลงให้พรรคการเมือง เป็นตัวชี้ขาดว่าใครจะเป็นรัฐบาล หรือ ใครจะมีจำนวน ส.ส.เท่าไรในสภา ซึ่งจะทำให้เกิดความซับซ้อนที่ว่า ต้องไปคำนวณว่า ถ้าส.ส.เขตเข้ามาไม่สะท้อนสัดส่วนตรงนี้ จะต้องปรับและเติมอย่างไร แต่ขอให้แก้ปัญหาการซื้อเสียง การทุจริต การเข้ามาใช้อำนาจ และพรรคการเมืองควรจะยอมรับกติกาอะไรที่เป็นประชาธิปไตยและเป็นธรรมด้วย
**นิรโทษฯต้องปล่อยพวกชู3นิ้วด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ส่วนข้อเสนอของการนิรโทษกรรม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่ทราบว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนอะไรที่จะมาพูดขณะนี้ วิกฤติรอบสุดท้าย ก็เกิดจากการผลักดันเรื่องนิรโทษกรรม วันนี้ถ้าจะมาจำกัดขอบเขตเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมือง และทำความผิดอาญาเท่านั้น มันไม่ใช่เรื่องง่าย สถานการณ์ยังไม่นิ่ง ถ้าจะพูดถึงความผิดทางการเมือง ต้องมาถามต่อว่า อย่างคนที่ฝ่าฝืนกฎอัยการศึกวันนี้ ต้องได้รับการนิรโทษกรรม ด้วยหรือไม่ ถ้าทุกคนออกมาชู 3 นิ้ว ก็ต้องนิรโทษกรรมให้หรือไม่ ถ้าไม่นิรโทษกรรมก็เท่ากับ 2 มาตรฐาน แต่ถ้านิรโทษกรรมแล้วถามว่า คสช.จะดูแลบ้านเมืองอย่างไร ซึ่งความจริงเรื่องใหญ่ที่จะต้องทำวันนี้มีมาก ถ้าจะหยิบยกเรื่องนี้มาพิจารณา กลัวว่าจะไม่ได้ทำอะไรสักอย่าง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรกับข้อเสนอให้ปรับลดวาระการดำรงตำแหน่งขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เห็นว่าเหมาะสม เพราะตนเห็นว่า การตัดสินคดีสำคัญทางการเมือง น่าจะใช้รูปแบบองค์คณะเฉพาะกิจดีกว่าหรือไม่ คล้ายกับที่ศาลฎีกาเลือกองค์คณะสำหรับคดีอาญา เพราะเวลาไปดำรงตำแหน่งองค์กรอิสระนานๆ แล้วให้คุณให้โทษได้ ถูกเป็นเป้าของการล็อบบี้ได้ และถ้าล็อบบี้สำเร็จ ต้องอยู่ยาวก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้น แต่ถ้าใช้องค์กรอิสระทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อเท็จจริง สอบสวนเสนอ เหมือนทำสำนวนขึ้นไป และให้องค์คณะพิจารณาเป็นกรณีไป น่า จะทำให้โอกาสจะถูกแทรกแซงลดลง
"คดีสำคัญควรพิจารณาไม่ควรเกิน 6 เดือน หรือ 1 ปี ถ้าใช้เวลาพิจารณานานมากถึง 5 ปี ก็จะเกิดปัญหาขึ้นเหมือนที่ผ่านมา เกิดการประท้วง และเกิดการขัดแย้งขึ้น เพราะเมื่อมีคดีสำคัญ แต่ปรากฏว่าองค์กรเหล่านี้ ใช้เวลาทำงานนานมาก ทำให้ประชาชน และสังคมไม่พอใจ เกิดการประท้วง และภายหลังกับมาเร่งพิจารณา ก็ถูกกล่าวหาได้ว่า หลายมาตรฐาน ดังนั้นต้องพยายามลดงานองค์กรอิสระให้ทำเฉพาะเรื่องใหญ่ แต่ต้องรวดเร็ว" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**"ไพบูลย์"ให้รัฐสภาเลือกนายกฯ-ครม.
นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกสปช. ในฐานะคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ปฏิรูปการเมือง กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ข้อเสนอให้เลือกครม.โดยตรงยังไม่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาการเมืองไทยที่สั่งสมมาเป็นระยะเวลานานได้ และการกำหนดให้ไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งครม.ในเวลาเดียวกับการเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) ก็จะส่งผลกระทบต่อการตรวจสอบการทุจริตซื้อเสียงได้ เหมือนกับการเลือก ส.ส.บัญชีรายชื่อ (ปาตี้ลิสต์) ที่ส่วนใหญ่ไม่สามารถตรวจสอบการกระทำผิดกฎหมายเลือกตั้งได้ แต่จะตรวจสอบได้เพียงการเลือกตั้งส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ดังนั้น ข้อเสนอให้จัดเลือกตั้ง ครม.และส.ส.ในเวลาเดียวกัน ก็อาจจะทำให้เกิดปัญหาไม่สามารถตรวจสอบเรื่องการทุจริตเลือกตั้งของครม.ได้
ขณะเดียวกัน การเลือกตั้งแบบนี้เท่ากับเป็นการเพิ่มอำนาจให้กับ 2 พรรคการเมืองขนาดใหญ่ เพราะโครงสร้างของระบบดังกล่าว เป็นการปรับระบบ ส.ส.ปาตี้ลิสต์ ให้เป็นระบบบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี(Cabinet List)ซึ่งมีพรรคการเมือง 2 พรรคเท่านั้น ที่จะได้ประโยชน์จากระบบนี้ เมื่อเหลือแค่นี้ทำให้ไปตัดสิทธิ์ประชาชนที่ไม่ต้องการ หรือไม่ชอบคนจาก 2 พรรคการเมืองนี้ เท่ากับเป็นการบังคับกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง
ดังนั้น ตนจึงขอเสนอทางเลือกที่สาม ด้วยการให้สมาชิกรัฐสภาทั้ง ส.ส.และส.ว. เป็นผู้เลือก โดยกระบวนการคือ ให้บุคคลที่จะเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีและครม. เข้ามาแถลงนโยบายในรัฐสภา ตอบข้อซักถามของสมาชิกรัฐสภาอย่างเปิดเผย และถ่ายทอดสดให้ประชาชนรับทราบด้วย เมื่อกระบวนการเสร็จสิ้น ก็ให้สมาชิกรัฐสภาลงมติลับ เลือกนายกรัฐมนตรี และครม.ที่เหมาะสม เชื่อว่าวิธีการดังกล่าวน่าจะแก้ไขปัญหาได้ เนื่องจากระบบเดิมมีแต่ส.ส.เท่านั้นที่ทำหน้าที่โหวตเลือกนายกรัฐมนตรีเพียงฝ่ายอย่างเดียว และดีกว่าวิธีการเลือกแบบโดยตรงด้วย
** ชี้ไม่ตอบโจทย์ แก้ซื้อสิทธิ์ ขายเสียง
นายอุเทน ชาติภิญโญ หัวหน้าพรรคคนไทย กล่าวว่า ข้อสรุปของกมธ.ปฏิรูปการเมือง สะท้อนให้เห็นว่า สมาชิกสปช.บางส่วนไม่เข้าใจบริบทของประเทศไทย แต่กลับเสนอตัวเข้ามาทำหน้าที่ปฏิรูปประเทศ ที่สำคัญ ยังชี้ให้เห็นว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในทางการเมืองผ่านระบบเลือกตั้งอย่างถ่องแท้ เนื่องจากจะเลือกตั้งนายกฯ และครม.โดยตรง ก็ไม่ต่างปัจจุบันที่มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ที่แยกกับการเลือกตั้งสมาชิกอบจ. ซึ่งในหลายจังหวัดนายกฯ อบจ.มาจากคนละกลุ่มกับเสียงส่วนใหญ่ในสภา อบจ. ส่งผลให้การทำงานติดขัดโดยตลอด ซึ่งที่ผ่านมา ขนาดพรรคที่ได้เสียงข้างมากในการเลือกตั้งมาบริหารประเทศ ยังทำหน้าที่ลำบาก นับประสาอะไรกับนายกฯ ที่ไม่มี ส.ส.หนุนหลัง หรือเป็นเสียงข้างน้อยในสภาฯ
ส่วนกรณีที่ นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ระบุว่า รูปแบบการเลือกตั้งนายกฯ และ ครม.โดยตรงเป็นนวัตกรรมใหม่นั้น ตนเห็นว่าไม่ถูกต้อง เพราะแนวคิดการเลือกตั้งนายกฯโดยตรง มีหลายประเทศเคยหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาแล้ว ทั้งประเทศอังกฤษ หรือญี่ปุ่น แต่เมื่อประเทศเหล่านั้นวิเคราะห์กันอย่างจริงจังแล้วก็เห็นว่า อาจจะทำให้รัฐบาลทำงานไม่ได้ จึงไม่มีการนำมาใช้ มีเพียงประเทศอิสราเอลเท่านั้นที่เคยทดลองใช้ และมีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงมา 3 ครั้ง แต่ในที่สุดก็ต้องกลับไปใช้ระบบรัฐสภาแบบเดิม เพราะเกิดสภาพปกครองไม่ได้ เนื่องจากนายกฯ ไม่ได้มาจากการเลือกโดยเสียงข้างมากของสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่สามารถคุมเสียงสนับสนุนในสภาฯได้ ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินนโยบายของรัฐบาล จนต้องยุบสภาในที่สุด
นอกจากนี้ เหตุผลที่อ้างว่าแนวคิดนี้จะแก้ปัญหาการซื้อเสียง อยากถามว่า มีมาตรการใดมารองรับ หรือมีหลักประกันใดที่จะไม่ทำให้การซื้อเสียงระบาดหนักกว่าเดิม เพราะมีเดิมพันถึงเก้าอี้ผู้นำประเทศ
"เชื่อว่าแนวคิดนี้ จะไปไม่รอด เพราะสังคมไม่เอาด้วย เพราะแค่โยนหินถามทางออกมา ก็มีแต่เสียงวิจารณ์ในทางไม่เห็นด้วย และเป็นเค้าลางของความแตกแยก ที่อาจจะเกิดขึ้นอีก หากมีการเสนอแนวทางหรือยกร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของประเทศเช่นนี้" นายอุเทน กล่าว
**วิปสปช.วางกรอบถกข้อเสนอร่างรธน.
นายอลงกรณ์ พลบุตร เลขานุการ คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยถึงกรอบการอภิปรายของสมาชิกสปช. เพื่อพิจารณาประเด็นความเห็น และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 15 –17ธ.ค. นี้ว่า จากการหารือร่วมกับ นายเทียนฉาย กีระนันทน์ ประธานสปช. และ น.ส.ทัศนา บุญทอง รองประธาน สปช. คนที่ 2 ถึงกรอบการอภิปราย ได้ข้อสรุปเบื้องต้นคือจะให้ประธานกมธ.ปฏิรูป ทั้ง 18 คณะ นำเสนอรายงาน คณะละ 30 นาที จากนั้นจะเป็นเวลาที่ให้สมาชิกสปช. อภิปราย และแสดงความเห็นโดยสมาชิก สปช. 1 คน สามารถอภิปรายเนื้อหาสาระในกรรมาธิการปฏิรูปได้ไม่เกินคนละ 2 คณะ ส่วนผู้อภิปรายจะได้เวลาอภิปรายคนละกี่นาที จะสรุปอีกครั้งภายในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ เพราะต้องพิจารณาจำนวนผู้ที่ประสงค์จะอภิปรายในแต่ละประเด็น และเวลาที่จะจัดสรรให้กรรมาธิการปฏิรูปแต่ละคณะด้วย สำหรับระยะเวลาอภิปรายได้วางกรอบ คือวันจะเริ่มประชุมเวลา 09.30 น. และเลิกประชุมในเวลา 19.30 น. คิดเป็นเวลารวมทั้งสิ้น 29 ชั่วโมง
สำหรับกรอบการอภิปราย คาดว่าจะมีคณะกรรมาธิการปฏิรูป 5 คณะ ได้แก่ กมธ.ปฏิรูปพลังงาน, กมธ.ปฏิรูปการเมือง, กมธ.ปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม, กมธ.ปฏิรูปการปกครองท้องถิ่น และ กมธ.ปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดิน ที่มีเนื้อหา และสาระสำคัญจำนวนมาก และคาดว่า จะมีผู้แสดงความจำนง อภิปรายและแสดงความเห็นจำนวนมากเช่นกัน ดังนั้น ทั้ง 5 คณะดังกล่าว อาจได้รับการจัดสรรเวลาอภิปรายมากกว่าคณะอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปดังกล่าวนั้น ตนจะนำเข้าสู่ที่ประชุมกมธ.วิสามัญกิจการสปช. ในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ เพื่อให้กรรมาธิการและประธานทั้ง 18 คณะ พิจารณาอีกครั้ง หากได้รับความเห็นชอบ จะประกาศให้ผู้ที่ประสงค์จะอภิปรายในประเด็นที่สนใจ ลงชื่อเพื่อแสดงเจตจำนงต่อกรรมการที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง