วานนี้ (24 ก.พ.) คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้มีการพิจารณา ร่าง รัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา โดยพิจารณาบทบัญญัติ ภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้นำการเมืองที่ดี ในหมวด 3 ว่า ด้วยรัฐสภา เริ่มต้นจาก มาตรา 78 ว่าด้วยสภาผู้แทนราษฎร โดยอนุ กมธ. พิจารณายกร่างบทบัญญัติเป็นรายมาตรา นำความจาก มาตรา 93 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาพิจารณา แต่ปรับสาระสำคัญ คือ สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิก 450 คน มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 250 คน และ สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม 200 คน จากเดิมที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 กำหนดให้มีส.ส.จำนวน 500 คน มาจากแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง 375 คน และจากส.ส.บัญชีรายชื่อ125 คน
นอกจากนั้น ได้ปรับเกณฑ์ ส.ส.ที่ประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร และสามารถเปิดประชุมสภาฯ เป็นร้อยละ 85 จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ร้อยละ 95 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการอภิปราย และขอให้แก้ไขบทบัญญัติที่เสนอเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการตีความ โดยเฉพาะระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่ต้องนำคะแนนนิยมที่แท้จริงของประชาชนผู้มาลงเลือกตั้ง ที่อาจทำให้ได้จำนวน ส.ส. ที่เกินจากที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มี 450 คน ไปอีก 20 คน
ทั้งนี้ มีผู้ที่เสนอให้ปรับจำนวน ส.ส.เขต ให้เป็น 300 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 150 คน โดยให้เป็นไปตามข้อเสนอของภาคประชาชน และพรรคการเมือง ที่ต้องการให้ส.ส.เขต ที่เข้าถึงประชาชน และพื้นที่ให้มากกว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เกิดกลุ่มนายทุนพรรคการเมืองใช้เป็นช่องทางหาผลประโยชน์ โดยในประเด็นดังกล่าว กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ควรปรับตัวเลขส.ส. ที่ได้คุยกันไว้ในหลักการ เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่ใช้การคำนวณจำนวน ส.ส.ตามคะแนนนิยมที่แท้จริงของประชาชน อีกทั้งต้องยอมรับว่า การแก้ปัญหานายทุนพรรคการเมือง ไม่สามารถทำได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวได้ใช้เวลาอภิปรายกันนานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อชี้แจงในรายละเอียดหลังจากที่มี กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุออกมาว่า การพยายามแก้ไขสัดส่วน ส.ส. ดังกล่าวนั้น มาจากการล็อบบี้ของนักการเมือง ทั้งนี้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสนอแก้ไขยืนยันว่ไม่มีการล็อบบี้ แต่เป็นการวิเคราะห์จากเหตุผลทางวิชาการ
นอกจากนั้น ที่ประชุมได้มีการหารือถึงรายละเอียดในความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม กลับไปเป็นการเลือกตั้งแบบเดิมที่ใช้เมื่อปี 2550 แต่ได้รับการทักท้วงว่า การเลือกตั้งแบบเดิมไม่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง แต่การเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ซึ่งแนวโน้มจะได้รัฐบาลผสม จะทำให้เกิดความปรองดอง เป็นรัฐบาลปรองดอง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคม ที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน รวมถึงคะแนนเสียงของประชาชนทุกคนได้ไม่ถูกตัดทิ้ง ถือเป็นการให้ความสำคัญของประชาชน และการสะท้อนคะแนนที่แท้จริงดังกล่าวจะทำให้ได้ส.ส.ในสภาที่ตรงกับความเป็นจริง โดยมีการยอมรับว่าหากใช้วิธีเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส.เพิ่มขึ้นอีก 50 คน จากบัญชีรายชื่อภาคใต้ หากคิดตามคะแนนนิยมในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา
ในการสรุปตอนท้าย ที่ประชุมจึงได้มีมติว่า ให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกไม่น้อยกว่า 450 คน แต่ไม่เกิน 470 คน โดยเป็นสมาชิกจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 250 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คน
** ตัดโอกาส ลงสมัครส.ส. อิสระ
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมกรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี ในหมวดของพรรคการเมือง และรัฐสภา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เปิดช่องให้กลุ่มสมาคม หรือผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันด้านใดด้านหนึ่ง สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มการเมือง จดทะเบียนกับคณะกรรมการเลือกตั้งแล้วสามารถส่งผู้สมัครเข้าสู่การเลือกตั้งได้
"รัฐธรรมนูญฉบับก่อนบังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรค แต่ฉบับนี้จะเปิดโอกาสให้มีกลุ่มการเมือง ซึ่งหมายถึงจัดตั้งโดยคณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเดียวกัน และจดแจ้งไว้กับกกต. สามารถส่งผู้สมัครได้ทั้งระบบบัญชี และเขตเลือกตั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในภาคประชาสังคม มีผู้แทนฯเข้าไปในสภาได้โดยไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคการเมือง ซึ่งมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่า" นายคำนูณ กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เพิ่มหลักประกันกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พ.ร.บ.ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถูกเพิกเฉยบ่ายเบี่ยง ด้วยการกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสนอ หรือพิจารณากฎหมายนั้นต้องรับผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 และหากเกิดความเสียหาย ผู้เสียหายสามารถฟ้องรัฐให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
"คณะผู้ยกร่างเองก็ต้องพยายามทำกฎหมายลูก หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เสร็จก่อน แต่ก็ยังมีกรณีที่ต้องมีผู้ทำหน้าที่เสนอกฎหมายต่อ ซึ่งอาจหมายถึงรัฐบาลใหม่ ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรับผิดชอบต่อการผลักดันกฎหมายที่กำหนดเวลาออกโดยรัฐธรรมนูญ" นายคำนูณกล่าว
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า กรรมาธิการยกร่างฯ ยังได้ขยายเงื่อนไขของการเป็นประธานรัฐสภา กรณีประธานสภาผู้แทนฯ ซึ่งเป็นประธานรัฐสภา กับประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เหมือนอย่างกรณีที่ผ่านมาตอนที่ยุบสภาแล้ว ปรากฏว่า นายนิคม ไวยรัชพานิช ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็จะมีทางออกด้วยการให้ รองประธานสภาผู้แทน และรองประธานวุฒิสภา สามารถทำหน้าที่ประธานรัฐสภาได้
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงเหตุผลให้กลุ่มการเมืองสามารถส่งผู้สมัครส.ส.ได้ว่า ในอดีตพอเราบังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรค กลับกลายเป็นว่า พรรคการเมืองกลายเป็นฐานของกลุ่มทุน และก่อปัญหากับระบบการเมืองไทย จึงเปิดพื้นที่ให้มีกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์แนวคิดตรงกัน หรือมีผลประโยชน์ทางอาชีพเดียวกันที่จะพัฒนาไปเป็นพรรคการเมืองในอนาคต ประกอบกับระบบการเลือกตั้งแบบผสม หรือ MMP จะเอื้อให้พรรคเล็ก หรือกลุ่มมีตัวแทนในสภาได้
"พรรคการเมืองจะเข้มแข็งโดยการเขียนกฎหมายให้เข้มแข็งไม่ได้ แต่ต้องมาจากพัฒนาการของกลุ่มการเมือง มาเป็นพรรคการเมือง โดยเงื่อนไขของกลุ่มการเมือง จะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เช่น ไม่ต้องมีเกณฑ์จำนวนสมาชิก จำนวนสาขาขั้นต่ำ แต่ก็ต้องมีโครงสร้างในระบบกฎหมาย เช่นเป็นนิติบุคคล มีระบบสมาชิก มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง”นายบรรเจิดกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนประเด็นผู้สมัครอิสระ ที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ ได้มีข้อยุติว่า การเลือกตั้งส.ส. จะไม่เปิดให้ลงสมัครในนามอิสระได้
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กมธ.ยกร่างฯ เคาะจำนวนส.ส. 450-470 คน ว่า ในฐานะนักการเมือง การแบ่งจำนวน ส.ส.แบบนี้ ตนรับได้ และเคารพในความเห็นของกมธ.ยกร่างฯ เพราะมีทั้ง ส.ส.เขต ที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่จะดำเนินงานทางการเมืองในภาพรวม แสดงว่า กมธ.ยกร่างฯ ยอมรับการมีอยู่ของส.ส.บัญชีรายชื่อ แม้สังคมส่วนหนึ่งจะกล่าวหาว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นนายทุนพรรค แต่สำหรับ ส.ส.บัญชีรายชื่อในพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีชื่อเป็นนายทุนพรรค เป็นน้ำดีมากมาย ส่วนส.ส.เขต 250 คน ทำให้ ส.ส.เดิมที่ม่จำนวน 375 คน หายไป 125 เขต ก็ทำให้เขต ส.ส.ใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส.ส.เขต จะต้องทำงานมากขึ้น เพราะต้องให้บริการประชาชนในพื้นที่มากชึ้น
ส่วนการแบ่งเขตที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้การจัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีปัญหาหรือไม่ นายวิรัตน์ กล่าวว่า ในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีปัญหา เราพร้อมน้อมรับ และปฏิบัติตามมติของ กมธ.ยกร่างฯ แต่ส่วนใดที่ไม่เห็นด้วย เราก็แย้งอยู่แล้ว เมื่อมติของ กมธ.ยกร่างฯ ออกมาอย่างนี้ โดยส่วนตัวรับได้ ส่วนคนอื่นในพรรคจะเห็นอย่างไรนั้น ตนไม่ทราบ
นอกจากนั้น ได้ปรับเกณฑ์ ส.ส.ที่ประกอบเป็นสภาผู้แทนราษฎร และสามารถเปิดประชุมสภาฯ เป็นร้อยละ 85 จากเดิมที่ใช้เกณฑ์ร้อยละ 95 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการอภิปราย และขอให้แก้ไขบทบัญญัติที่เสนอเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่อาจก่อให้เกิดการตีความ โดยเฉพาะระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่ต้องนำคะแนนนิยมที่แท้จริงของประชาชนผู้มาลงเลือกตั้ง ที่อาจทำให้ได้จำนวน ส.ส. ที่เกินจากที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ให้มี 450 คน ไปอีก 20 คน
ทั้งนี้ มีผู้ที่เสนอให้ปรับจำนวน ส.ส.เขต ให้เป็น 300 คน และส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 150 คน โดยให้เป็นไปตามข้อเสนอของภาคประชาชน และพรรคการเมือง ที่ต้องการให้ส.ส.เขต ที่เข้าถึงประชาชน และพื้นที่ให้มากกว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้เกิดกลุ่มนายทุนพรรคการเมืองใช้เป็นช่องทางหาผลประโยชน์ โดยในประเด็นดังกล่าว กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญส่วนใหญ่เห็นว่า ไม่ควรปรับตัวเลขส.ส. ที่ได้คุยกันไว้ในหลักการ เพราะอาจเกิดผลกระทบต่อการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ที่ใช้การคำนวณจำนวน ส.ส.ตามคะแนนนิยมที่แท้จริงของประชาชน อีกทั้งต้องยอมรับว่า การแก้ปัญหานายทุนพรรคการเมือง ไม่สามารถทำได้อย่างแท้จริง
ทั้งนี้ประเด็นดังกล่าวได้ใช้เวลาอภิปรายกันนานกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที เพื่อชี้แจงในรายละเอียดหลังจากที่มี กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ระบุออกมาว่า การพยายามแก้ไขสัดส่วน ส.ส. ดังกล่าวนั้น มาจากการล็อบบี้ของนักการเมือง ทั้งนี้ กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่เสนอแก้ไขยืนยันว่ไม่มีการล็อบบี้ แต่เป็นการวิเคราะห์จากเหตุผลทางวิชาการ
นอกจากนั้น ที่ประชุมได้มีการหารือถึงรายละเอียดในความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม กลับไปเป็นการเลือกตั้งแบบเดิมที่ใช้เมื่อปี 2550 แต่ได้รับการทักท้วงว่า การเลือกตั้งแบบเดิมไม่ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง แต่การเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม ซึ่งแนวโน้มจะได้รัฐบาลผสม จะทำให้เกิดความปรองดอง เป็นรัฐบาลปรองดอง ซึ่งเหมาะสมกับสภาพสังคม ที่มีความขัดแย้งในปัจจุบัน รวมถึงคะแนนเสียงของประชาชนทุกคนได้ไม่ถูกตัดทิ้ง ถือเป็นการให้ความสำคัญของประชาชน และการสะท้อนคะแนนที่แท้จริงดังกล่าวจะทำให้ได้ส.ส.ในสภาที่ตรงกับความเป็นจริง โดยมีการยอมรับว่าหากใช้วิธีเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ได้ส.ส.เพิ่มขึ้นอีก 50 คน จากบัญชีรายชื่อภาคใต้ หากคิดตามคะแนนนิยมในการเลือกตั้งรอบที่ผ่านมา
ในการสรุปตอนท้าย ที่ประชุมจึงได้มีมติว่า ให้สภาผู้แทนราษฎร ประกอบด้วยสมาชิกไม่น้อยกว่า 450 คน แต่ไม่เกิน 470 คน โดยเป็นสมาชิกจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งจำนวน 250 คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อไม่น้อยกว่า 200 คน แต่ไม่เกิน 220 คน
** ตัดโอกาส ลงสมัครส.ส. อิสระ
นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมกรรมาธิการยกร่างฯ ได้พิจารณาในภาค 2 ผู้นำการเมืองที่ดี และระบบผู้แทนที่ดี ในหมวดของพรรคการเมือง และรัฐสภา โดยมีประเด็นที่น่าสนใจคือ เปิดช่องให้กลุ่มสมาคม หรือผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันด้านใดด้านหนึ่ง สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มการเมือง จดทะเบียนกับคณะกรรมการเลือกตั้งแล้วสามารถส่งผู้สมัครเข้าสู่การเลือกตั้งได้
"รัฐธรรมนูญฉบับก่อนบังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรค แต่ฉบับนี้จะเปิดโอกาสให้มีกลุ่มการเมือง ซึ่งหมายถึงจัดตั้งโดยคณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ทางการเมืองเดียวกัน และจดแจ้งไว้กับกกต. สามารถส่งผู้สมัครได้ทั้งระบบบัญชี และเขตเลือกตั้ง เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนในภาคประชาสังคม มีผู้แทนฯเข้าไปในสภาได้โดยไม่จำเป็นต้องตั้งพรรคการเมือง ซึ่งมีเงื่อนไขที่ซับซ้อนกว่า" นายคำนูณ กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบให้เพิ่มหลักประกันกรณีที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องตรา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ หรือ พ.ร.บ.ภายในระยะเวลาที่กำหนด แต่ถูกเพิกเฉยบ่ายเบี่ยง ด้วยการกำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสนอ หรือพิจารณากฎหมายนั้นต้องรับผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอาญา มาตรา 157 และหากเกิดความเสียหาย ผู้เสียหายสามารถฟ้องรัฐให้รับผิดชดใช้ค่าเสียหายได้
"คณะผู้ยกร่างเองก็ต้องพยายามทำกฎหมายลูก หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เสร็จก่อน แต่ก็ยังมีกรณีที่ต้องมีผู้ทำหน้าที่เสนอกฎหมายต่อ ซึ่งอาจหมายถึงรัฐบาลใหม่ ข้าราชการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรับผิดชอบต่อการผลักดันกฎหมายที่กำหนดเวลาออกโดยรัฐธรรมนูญ" นายคำนูณกล่าว
นายคำนูณ กล่าวด้วยว่า กรรมาธิการยกร่างฯ ยังได้ขยายเงื่อนไขของการเป็นประธานรัฐสภา กรณีประธานสภาผู้แทนฯ ซึ่งเป็นประธานรัฐสภา กับประธานวุฒิสภา ซึ่งเป็นรองประธานรัฐสภาไม่อยู่ หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เหมือนอย่างกรณีที่ผ่านมาตอนที่ยุบสภาแล้ว ปรากฏว่า นายนิคม ไวยรัชพานิช ถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ก็จะมีทางออกด้วยการให้ รองประธานสภาผู้แทน และรองประธานวุฒิสภา สามารถทำหน้าที่ประธานรัฐสภาได้
ด้านนายบรรเจิด สิงคะเนติ กมธ.ยกร่างฯ ชี้แจงเหตุผลให้กลุ่มการเมืองสามารถส่งผู้สมัครส.ส.ได้ว่า ในอดีตพอเราบังคับให้ผู้สมัครต้องสังกัดพรรค กลับกลายเป็นว่า พรรคการเมืองกลายเป็นฐานของกลุ่มทุน และก่อปัญหากับระบบการเมืองไทย จึงเปิดพื้นที่ให้มีกลุ่มการเมืองที่มีอุดมการณ์แนวคิดตรงกัน หรือมีผลประโยชน์ทางอาชีพเดียวกันที่จะพัฒนาไปเป็นพรรคการเมืองในอนาคต ประกอบกับระบบการเลือกตั้งแบบผสม หรือ MMP จะเอื้อให้พรรคเล็ก หรือกลุ่มมีตัวแทนในสภาได้
"พรรคการเมืองจะเข้มแข็งโดยการเขียนกฎหมายให้เข้มแข็งไม่ได้ แต่ต้องมาจากพัฒนาการของกลุ่มการเมือง มาเป็นพรรคการเมือง โดยเงื่อนไขของกลุ่มการเมือง จะมีความเข้มข้นน้อยกว่า เช่น ไม่ต้องมีเกณฑ์จำนวนสมาชิก จำนวนสาขาขั้นต่ำ แต่ก็ต้องมีโครงสร้างในระบบกฎหมาย เช่นเป็นนิติบุคคล มีระบบสมาชิก มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง”นายบรรเจิดกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในส่วนประเด็นผู้สมัครอิสระ ที่ประชุมกมธ.ยกร่างฯ ได้มีข้อยุติว่า การเลือกตั้งส.ส. จะไม่เปิดให้ลงสมัครในนามอิสระได้
นายวิรัตน์ กัลยาศิริ หัวหน้าทีมกฎหมาย พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่ กมธ.ยกร่างฯ เคาะจำนวนส.ส. 450-470 คน ว่า ในฐานะนักการเมือง การแบ่งจำนวน ส.ส.แบบนี้ ตนรับได้ และเคารพในความเห็นของกมธ.ยกร่างฯ เพราะมีทั้ง ส.ส.เขต ที่ทำหน้าที่ดูแลประชาชน และ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่จะดำเนินงานทางการเมืองในภาพรวม แสดงว่า กมธ.ยกร่างฯ ยอมรับการมีอยู่ของส.ส.บัญชีรายชื่อ แม้สังคมส่วนหนึ่งจะกล่าวหาว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ เป็นนายทุนพรรค แต่สำหรับ ส.ส.บัญชีรายชื่อในพรรคประชาธิปัตย์ ที่มีชื่อเป็นนายทุนพรรค เป็นน้ำดีมากมาย ส่วนส.ส.เขต 250 คน ทำให้ ส.ส.เดิมที่ม่จำนวน 375 คน หายไป 125 เขต ก็ทำให้เขต ส.ส.ใหญ่ขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ ส.ส.เขต จะต้องทำงานมากขึ้น เพราะต้องให้บริการประชาชนในพื้นที่มากชึ้น
ส่วนการแบ่งเขตที่ใหญ่ขึ้น จะทำให้การจัดสรรผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีปัญหาหรือไม่ นายวิรัตน์ กล่าวว่า ในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีปัญหา เราพร้อมน้อมรับ และปฏิบัติตามมติของ กมธ.ยกร่างฯ แต่ส่วนใดที่ไม่เห็นด้วย เราก็แย้งอยู่แล้ว เมื่อมติของ กมธ.ยกร่างฯ ออกมาอย่างนี้ โดยส่วนตัวรับได้ ส่วนคนอื่นในพรรคจะเห็นอย่างไรนั้น ตนไม่ทราบ