วานนี้ (30 มี.ค.) สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับสถาบันผู้ตรวจการแผ่นดินระหว่างประเทศ (IOI) และสมาคมผู้ตรวจการแผ่นดินแห่งเอเชีย (AOA)จัดงานสัมมนาเชิงวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 15 ปี การก่อตั้งผู้ตรวจการแผ่นดินของไทย ในหัวข้อ"ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อความเป็นธรรมของแผ่นดิน" โดยมีตัวแทนผู้ตรวจการแผ่นดินหลายประเทศเข้าร่วม พร้อมกับหัวหน้าหน่วยราชการ และองค์กรอิสระต่างๆ เดินทางมาร่วม
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความชื่นชม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจากใจจริง ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ย่อท้อตลอด15 ปีที่ผ่านมา ในการเสริมสร้างความยุติธรรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล การดำรงไว้ซึ่งธรรมาภิบาล อันประกอบด้วย ความสำนึกรับผิดชอบ ความโปร่งใส ภาระการตอบสนอง และความมีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของพันธกิจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันสืบเนื่องจากการที่ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า การขาดธรรมาภิบาลได้ฝังตัวหยั่งลึก มีการทุจริตประพฤติมิชอบที่เรื้อรัง การขาดจริยธรรมของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ และข้าราชการบางส่วน สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคม เรียกร้องให้ทำการปฏิรูปโดยเร่งด่วน และครอบคลุมทุกด้าน จากนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ธรรมาภิบาลจะเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย และขจัดวงจรอุบาทว์ของการฉ้อราษฎร์ บังหลวง
"ปัจจัยพื้นฐานของธรรมาภิบาล คือ ความสำนึกในภาระรับผิดชอบ ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรายงาน และแสดงตัวรับผิดชอบต่อผลที่ได้กระทำไปในนามของส่วนรวม ซึ่งเรื่องนี้บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องใหม่ในวัฒนธรรมการใช้อำนาจในสังคมไทย ส่วนบางคนก็ยังยืนยันที่จะปฏิเสธ ด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่ยอมรับรู้ว่าความรับผิดชอบ ย่อมจะต้องมาพร้อมกับการกระทำ และการตัดสินใจของท่านด้วย ขอย้ำ ณ ที่นี้ว่า ภาระความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับผู้ใดก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่นั้นๆ และได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นๆ การปัดความรับผิดชอบโดยผู้ใช้อำนาจ เป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง ผิดกฎหมายและศีลธรรม"
พล.อ.เปรม ยังกล่าวต่อว่า ความโปร่งใส ก็เป็นอีกส่วนของธรรมาภิบาล เพราะการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และรับรู้ขั้นตอนพื้นฐานการตัดสินใจทางการบริหาร ผู้บริหารจะต้องอธิบายได้ว่า การกระทำนั้นๆ ทำไปด้วยเหตุผลใด และอยุ่ในกรอบกฎหมาย ระเบียบต่างๆ อย่างไรบ้าง ระบบการบริหารก็ยิ่งมีความโปร่งใสมากเท่าใด ย่อมลดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงให้น้อยลงตามไปด้วย ถัดมาคือการตอบสนอง ที่หมายถึงการลดขั้นตอนความยุ่งยากใรการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ยุ่งยาก และสุดท้ายการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ให้มี ประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่าสูงสุด เพื่อให้ได้ผลลัทธ์ที่ดีที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ที่ภาครัฐต้องน้อมรับการตรวจสอบของภาคประชาสังคม
ด้านนายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์กรณีข้อเสนอเรื่องการทำประชามติ ร่างรธน.ฉบับใหม่ว่า ควรจะต้องทำเพราะไม่อย่างนั้นรธน.ฉบับใหม่ จะลอยๆ ไม่ยึดโยงกับประชาชน แต่หากมีการทำประชามติ ก็จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
ทั้งนี้ยังมองว่า การที่ร่างรธน.ฉบับแรกมี 315 มาตรานั้น เยอะเกินไป ควรมีประมาณ 100 มาตราก็พอ โดยที่เอารายละเอียดไปไว้ในกฎหมายลูกแทน เนื่องจากการเขียนรธน.ที่มีหลายมาตรา จะทำให้แก้ยาก และจะทำให้เกิดปัญหากันขึ้นมาอีก
ส่วนกรณีการควบรวมองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน นั้น หากมีการควบรวมก็คงมีปัญหาบ้างพอสมควร ทั้งเรื่องการจัดระบบ การคัดเลือกองค์อำนาจ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เคยทำข้อสังเกต เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดจากการควบรวมแล้ว แต่เมื่อกมธ.ยกร่างฯไม่ฟัง เราก็ยอมรับการตัดสินใจ เพราะสุดท้ายแล้ว ร่างรธน.จะดีหรือไม่ดี กมธ.ยกร่างฯ ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
"เราจะทำข้อสังเกตไปยัง กมธ.ยกร่างฯ อีกครั้ง หลังจากร่างรัฐธรรมนูญนิ่งแล้ว คาดว่าประมาณเดือน เม.ย.นี้ เพื่อจะชี้ให้เห็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และอาจจะมีการทำข้อสังเกตไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แม้ กมธ.ยกร่างฯ จะเป็นคนเขียนกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้เป็นคนใช้อำนาจ ดังนั้นก็อยากให้รับฟังเราให้มากขึ้น ไม่ควรเอาเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ เพราะสุดท้าย หากรวมกันแล้วมีปัญหา ก็ต้องมีการแยกกันอยู่ดี" นายศรีราชา กล่าว
พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ กล่าวเปิดงานตอนหนึ่งว่า ขอแสดงความชื่นชม สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินจากใจจริง ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ย่อท้อตลอด15 ปีที่ผ่านมา ในการเสริมสร้างความยุติธรรมให้แก่ประชาชน รวมทั้งส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล การดำรงไว้ซึ่งธรรมาภิบาล อันประกอบด้วย ความสำนึกรับผิดชอบ ความโปร่งใส ภาระการตอบสนอง และความมีประสิทธิภาพ ถือเป็นส่วนสำคัญยิ่งของพันธกิจของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ช่วงเวลาที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาความแตกแยกทางสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันสืบเนื่องจากการที่ประชาชนได้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่า การขาดธรรมาภิบาลได้ฝังตัวหยั่งลึก มีการทุจริตประพฤติมิชอบที่เรื้อรัง การขาดจริยธรรมของผู้มีตำแหน่งหน้าที่ และข้าราชการบางส่วน สิ่งเหล่านี้ได้นำไปสู่การเคลื่อนไหวทางสังคม เรียกร้องให้ทำการปฏิรูปโดยเร่งด่วน และครอบคลุมทุกด้าน จากนั้นเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า ธรรมาภิบาลจะเป็นหนทางเดียวที่จะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนของสังคมไทย และขจัดวงจรอุบาทว์ของการฉ้อราษฎร์ บังหลวง
"ปัจจัยพื้นฐานของธรรมาภิบาล คือ ความสำนึกในภาระรับผิดชอบ ที่รัฐบาลมีหน้าที่ต้องรายงาน และแสดงตัวรับผิดชอบต่อผลที่ได้กระทำไปในนามของส่วนรวม ซึ่งเรื่องนี้บางคนอาจมองว่าเป็นเรื่องใหม่ในวัฒนธรรมการใช้อำนาจในสังคมไทย ส่วนบางคนก็ยังยืนยันที่จะปฏิเสธ ด้วยเหตุผลที่ฟังไม่ขึ้น ไม่ยอมรับรู้ว่าความรับผิดชอบ ย่อมจะต้องมาพร้อมกับการกระทำ และการตัดสินใจของท่านด้วย ขอย้ำ ณ ที่นี้ว่า ภาระความรับผิดชอบย่อมตกอยู่กับผู้ใดก็ตามที่มีอำนาจหน้าที่นั้นๆ และได้ใช้อำนาจหน้าที่นั้นๆ การปัดความรับผิดชอบโดยผู้ใช้อำนาจ เป็นสิ่งที่น่าละอายอย่างยิ่ง ผิดกฎหมายและศีลธรรม"
พล.อ.เปรม ยังกล่าวต่อว่า ความโปร่งใส ก็เป็นอีกส่วนของธรรมาภิบาล เพราะการที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล และรับรู้ขั้นตอนพื้นฐานการตัดสินใจทางการบริหาร ผู้บริหารจะต้องอธิบายได้ว่า การกระทำนั้นๆ ทำไปด้วยเหตุผลใด และอยุ่ในกรอบกฎหมาย ระเบียบต่างๆ อย่างไรบ้าง ระบบการบริหารก็ยิ่งมีความโปร่งใสมากเท่าใด ย่อมลดโอกาสที่จะเกิดการฉ้อราษฎร์บังหลวงให้น้อยลงตามไปด้วย ถัดมาคือการตอบสนอง ที่หมายถึงการลดขั้นตอนความยุ่งยากใรการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อแก้ไขได้ทันท่วงที ไม่ยุ่งยาก และสุดท้ายการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐ ให้มี ประสิทธิภาพ โดยใช้ทรัพยากรและเวลาที่มีอยู่ให้คุ้มค่าสูงสุด เพื่อให้ได้ผลลัทธ์ที่ดีที่สุด เท่าที่เป็นไปได้ ถือเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ โดยเป็นแนวทางการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย ที่ภาครัฐต้องน้อมรับการตรวจสอบของภาคประชาสังคม
ด้านนายศรีราชา วงศารยางกูร ผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้สัมภาษณ์กรณีข้อเสนอเรื่องการทำประชามติ ร่างรธน.ฉบับใหม่ว่า ควรจะต้องทำเพราะไม่อย่างนั้นรธน.ฉบับใหม่ จะลอยๆ ไม่ยึดโยงกับประชาชน แต่หากมีการทำประชามติ ก็จะทำให้มีน้ำหนักมากขึ้น
ทั้งนี้ยังมองว่า การที่ร่างรธน.ฉบับแรกมี 315 มาตรานั้น เยอะเกินไป ควรมีประมาณ 100 มาตราก็พอ โดยที่เอารายละเอียดไปไว้ในกฎหมายลูกแทน เนื่องจากการเขียนรธน.ที่มีหลายมาตรา จะทำให้แก้ยาก และจะทำให้เกิดปัญหากันขึ้นมาอีก
ส่วนกรณีการควบรวมองค์กรผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินและพิทักษ์สิทธิมนุษยชน นั้น หากมีการควบรวมก็คงมีปัญหาบ้างพอสมควร ทั้งเรื่องการจัดระบบ การคัดเลือกองค์อำนาจ ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็เคยทำข้อสังเกต เพื่อชี้ให้เห็นถึงปัญหาที่อาจเกิดจากการควบรวมแล้ว แต่เมื่อกมธ.ยกร่างฯไม่ฟัง เราก็ยอมรับการตัดสินใจ เพราะสุดท้ายแล้ว ร่างรธน.จะดีหรือไม่ดี กมธ.ยกร่างฯ ก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
"เราจะทำข้อสังเกตไปยัง กมธ.ยกร่างฯ อีกครั้ง หลังจากร่างรัฐธรรมนูญนิ่งแล้ว คาดว่าประมาณเดือน เม.ย.นี้ เพื่อจะชี้ให้เห็นปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และอาจจะมีการทำข้อสังเกตไปยังสภาปฏิรูปแห่งชาติ รวมถึงสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย แม้ กมธ.ยกร่างฯ จะเป็นคนเขียนกฎหมาย แต่ก็ไม่ได้เป็นคนใช้อำนาจ ดังนั้นก็อยากให้รับฟังเราให้มากขึ้น ไม่ควรเอาเอาความคิดของตนเองเป็นใหญ่ เพราะสุดท้าย หากรวมกันแล้วมีปัญหา ก็ต้องมีการแยกกันอยู่ดี" นายศรีราชา กล่าว