นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. ด้านบริหารการเลือกตั้ง กล่าวถึง การเลือกตั้ง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ที่ร่างรัฐธรรมนูญใหม่จะเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิลงคะแนนเลือกบุคคลที่ตนเองอยากให้เป็นส.ส.ได้ หรือ Open List ว่า พยายามดูว่าในโลกนี้มีประเทศไหนทำรูปแบบนี้บ้าง เท่าที่สืบค้นดู พบว่าไม่มี ฉะนั้นถือว่าเป็นการคิดค้นใหม่สำหรับประเทศไทย เป็นนวัตกรรม คือ มีระบบบัญชีรายชื่อ แต่มีการให้เลือกคนในบัญชีรายชื่ออีกที ดังนั้น เมื่อคนไทยไปใช้สิทธิ จะรับบัตร 2 ใบ และเลือก 3 อย่าง ส่วนครั้งต่อๆไปอาจมีเรื่องลงประชามติการถอดถอนนักการเมือง ตามที่สมัชชาคุณธรรมฯ ชี้มูลความผิดจริยธรรมร้ายแรงเพิ่มเติมมาด้วย ซึ่งผลของการที่ต้องเลือกหลายอย่าง อาจเป็นภาระของประชาชนจริง แต่ถ้ามองในหลักสากล หลายประเทศก็ใช้วันเลือกตั้งเป็นโอกาสของการลงมติของประชาชนหลายๆ เรื่องในครั้งเดียว เช่น อเมริกา จะมีการโหวตถึง 20 อย่างก็มี เช่น ส.ส. สว. กรรมการการศึกษา อัยการ กรรมการท้องถิ่น ฯลฯ จนถึงการออกเสียงประชามติทั้งระดับท้องถิ่น หรือประเทศ โดยเขาใช้เครื่องลงคะแนนอัตโนมัติ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทัชสกรีน ที่สามารถเปลี่ยนหน้าจอ ไม่มีบัตรเลือกตั้ง ซึ่งก็เป็นไปได้ในอนาคตของประเทศไทย
"หลักการโอเพ่น ลิสต์ ถือเป็นหลักการที่ดี คือเพิ่มอำนาจประชาชนในการเลือก เพราะ กมธ.ยกร่างรธน. มองปัญหาที่ผ่านมาในอดีต ที่พรรคการเมืองจัดลำดับตามอำนาจ อิทธิพล เงิน หรือบทบาทของหัวหน้าพรรค จัดคนแบบไม่เกรงใจประชาชน ตามใจหัวหน้าพรรค ซึ่งบางทีอาจไม่ใช่คนมีความรู้ แต่เป็นญาติมิตรหัวหน้า หรือกรรมการบริหารพรรค การทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกนั้นคือ การเพิ่มอำนาจของประชาชน แต่จุดอ่อนคือประชาชนจะรู้หรือไม่ว่า ในบัญชีรายชื่อนั้น คนไหนดี หรือน่าเลือก ซึ่งพรรคการเมืองต้องแก้ปัญหาเอาเองว่า ทำยังไงถึงคัดคนที่ประชาชนรู้จัก มีประสบการณ์ มีความรู้ คนในบัญชีก็ต้องสร้างตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ เป็นที่รู้จัก แต่ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของฝั่งพรรคการเมืองเอง ไม่ใช่จุดอ่อนของประชาชน" นายสมชัย กล่าว
** จะใช้โอเพ่น ลิสต์ ต้องคิดให้ทะลุ
ส่วนในด้านการบริหารจัดการของ กกต. มองว่าก็มีปัญหา เพราะหากใช้ระบบโอเพ่น ลิสต์ ต้องถามว่า บัตรเลือกตั้งจะมีหน้าตายังไง ออกแบบได้กี่แบบ แตกต่างกันยังไง เช่น ถ้ามีชื่อ ส.ส. 33 คนใน 1 พรรค ส่งผู้สมัคร 50 พรรค ต้องพิมพ์บัตรตามรายชื่อ 50 ใบ ทำให้จำนวนบัตรเยอะมาก หรือจะออกแบบให้ประชาชน กาในบัตรเลือกพรรค แล้วเขียนหมายเลขคนที่ต้องการเลือกในช่องว่าง แบบนี้ก็จะใช้บัตรเพียงใบเดียว แต่อาจมีปัญหาสร้างภาระประชาชนต้องจำหมายเลขก่อน ว่าจะเลือกใคร ในพรรคที่ต้องการเลือก ทำให้ผู้สมัครเบอร์น้อย หรือ เบอร์ 1 คนอาจเลือกมาก กับมีปัญหากรณีหากประชาชนเขียนหนังสือไม่ได้ หรือแบบที่ 3 มีพื้นที่ และกล่องต่าง ๆ ตามพรรค ให้ประชาชนหยิบบัตรเอง หยิบบัตรที่เป็นบัญชีรายชื่อของพรรค ที่จะเลือก ซึ่งทำในยุโรป สแกนดิเนเวีย แต่ก็มีปัญหาการจัดการต้องมีพื้นที่กว้างพอ ให้การหยิบบัตรเป็นความลับได้ แต่ก็จะทำให้เวลาเลือกตั้งต่อคนเพิ่มขึ้น ขณะที่การนับคะแนน คงต้องมีเวลานับคะแนนมากขึ้น อาจทำให้ช้าไปอีกเป็นวัน หรือสองวัน ยิ่งจะให้นำหีบบัตรไปเทนับรวม ไม่ได้นับที่หน่วยเลือกตั้ง ยิ่งต้องทำใจว่า อาจใช้เวลานับ รู้ผลการเลือกตั้งช้าไป 2 –3วัน
" ดังนั้นหากกรรมาธิการยกร่างฯ ยืนยันจะใช้ระบบนี้ อยากให้คิดให้ทะลุทั้งหมด ว่าบัตรเป็นยังไง นับคะแนนยังไง แต่ในส่วนของการจัดการ แม้จะมีปัญหายุ่งยากบ้าง แต่ กกต.เชื่อว่าจัดการได้" นายสมชัย ยืนยัน
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่หากใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้นั้นว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วทำได้ มี 2 แบบ แบบแรกคือ เป็นคอมพิวเตอร์ทัชสกรีน ดิจิตอลร้อยเปอร์เซ็นต์ เหมือนจอไอแพด มีเมนูแนะนำ คล้ายตู้เอทีเอ็ม โดยเทคโนโลยีนี้ สามารถเลือกยังไง กี่ขั้นตอนก็ได้ ราคาต่อเครื่องไม่ต่ำกว่า หนึ่งหมื่นบาท แต่หากเป็นแบบที่สอง จะผสมแมคคานิคไปด้วย คือ แบบที่ใช้ในอินเดีย เนปาล เครื่องราคาถูกกว่าประมาณหลักพัน และกกต.ไทยเอามาพัฒนา ซึ่งแบบนี้เลือกซับซ้อนเกินไป ดังนั้นอาจยังเอามาใช้แบบโอเพ่น ลิสต์ ไม่ได้ แต่ปัญหาการนำมาใช้มีอยู่ 2 ด่าน คือ ค่าใช้จ่าย และ ความเชื่อถือ ซึ่งเชื่อว่า แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้นำเครื่องลงคะแนนมาใช้ แต่คงยังไม่เกิดขึ้นง่ายในระยะใกล้
" งบประมาณนั้นรัฐบาลต้องจัดสรร คงไม่มาเป็นล็อตใหญ่ อาจทำได้บางพื้นที่เป็นท้องถิ่น ส่วนความเชื่อถือ กกต.ต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ลองใช้เลือกประธานนักเรียน สหกรณ์ อาจต้องเชิญพรรคการเมือง สื่อ มาตรวจพิสูจน์ ผ่าดู สุ่มตรวจเครื่อง ว่าผลการกดลงคะแนนตรงกับผลที่ออกมาหรือไม่ การเลือกตั้งครั้งใหม่ ยังไม่ได้ใช้แน่นอน แต่ต้องวางรากฐาน คงกะเวลาแบบไม่เข้าข้างตัวเอง น่าจะอีก 10 ปี ถ้าไม่เริ่มทำ ก็จะเป็นแบบเดิมตลอดไป "
**คิดให้ดีก่อนให้ กจต. จัดเลือกตั้ง
นายสมชัย ยังกล่าวถึง กรณีร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ซึ่งมาจากข้าราชการระดับปลัดกระทรวงจัดการเลือกตั้งแทน กกต. ว่า ฝากให้ กมธ. ยกร่างฯ คิดให้ดีๆ คิดให้นิ่งก่อนว่ายังจะใช้ กจต. อยู่หรือไม่ เพราะการเลือกตั้งครั้งแรก หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น ฝ่ายรัฐบาลที่กำกับดูแลกระทรวงต่างๆ ยังคงเป็นรัฐบาลปัจจุบัน แต่ครั้งต่อๆไป ก็จะเป็นฝ่ายการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ หากคิดว่าไว้ใจได้ว่าการเมืองไม่เข้าแทรกแซงข้าราชการประจำ ก็ดำเนินการตามที่ออกแบบต่อไป แต่หากยังห่วงว่า อาจแทรกแซงได้ ก็ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้น และใครออกแบบ ก็ต้องรับผิดชอบ
" ความสัมพันธ์ระหว่างราชการกับฝ่ายการเมือง เป็นเส้นแบ่งที่ไม่เคยได้ผล จะออกแบบกลไกกติกายังไง ท้ายสุดราชการที่มุ่งความก้าวหน้า ก็จะวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมือง เพื่ออิงอำนาจ อย่าไปคิดว่าช่วงเลือกตั้ง ปลัดกระทรวงรักษาการแล้วปลัดฯ จะอิสระ ปลอดการเมือง ถึงแม้วันนี้ยังไม่มีการเลือกตั้ง ก็มีข้าราชการประจำหลายคนที่เล็งแล้วว่า พรรคไหนจะชนะ ช่วงที่รักษาการก็ต้องคิดแน่ ความเกรงอก เกรงใจ การดำเนินการที่เอื้อต่อพรรคใดพรรคหนึ่ง ก็อาจยังเกิดขึ้นได้ เวลานักการเมืองเดินไปไหน มีปลัดกระทรวงเดินตามกี่คน อยากให้ไปคิดทบทวน ไม่ใช่หวงอำนาจ เพราะจริง ๆกกต.ทำงานง่ายขึ้น แต่เพราะเราเราคิดบนผลประโยชน์ชาติ และการเลือกตั้งที่เป็นธรรมเป็นหลัก" นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ นายสมชัย เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26–29 มี .ค. ตนจะเดินทางไปตามคำเชิญจากรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ไปดูเลือกตั้ง นิวเซ้าต์เวล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 มี.ค. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางเลือก ที่ให้ลงคะแนนทางอินเตอร์เน็ต หรือ ‘ไอโหวต’ ซึ่งหากดูแล้ว ถ้าใช้ได้จริง ก็อาจจะเอามาทดแทนการลงคะแนนเลือกตั้งของคนไทยในต่างประเทศ จากเดิมมอบกงสุลไปดำเนินการ ให้ส่งบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ แล้วรวบรวมส่งมาทางเครื่องบิน ใช้งบประมาณกว่า 160 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นแบบ ไอโหวต ก็แค่เสียเงินลงทุนครั้งเดียว ทำโปรแกรม 5–10 ล้านบาท ที่เหลือก็เพียงค่าบริหารจัดการ หลักแสนบาท หรือหลักหมื่นบาท แค่จ้างคนทำ
"เท่าที่รู้ ผู้ใช้สิทธิ์ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สร้างพาสเวิร์ด แล้วส่งไปให้โหวต สำหรับประเทศไทย อาจต้องมีการพิสูจน์ตัวตนมากขึ้น" นายสมชัย กล่าว
**ต้องทำประชามติ ร่าง รธน.
วันเดียวกัน ในเวทีเสวนาหัวข้อ "หลักนิติธรรมกับรัฐธรรมนูญใหม่" จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด กล่าวตอนหนึ่ง ถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจัดทำอยู่นี้ ควรต้องเชื่อมโยงกับเจ้าของอำนาจอธิปไตย เมื่อยอมรับสิทธิ์ของประชาชนที่เคยผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่มีการทำประชามติ แล้วเหตุไฉนไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ไปทำประชามติ ยอมเสียเวลาอีกแค่ 3 เดือน เพราะถ้าหากไม่ทำ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีความชอบธรรมที่จะ หยิบไปถามชาวบ้านภายหลัง ซึ่งหากชาวบ้านไม่เอา ก็จะเป็นเรื่องยุ่งกันไปใหญ่
" สุดท้ายถ้ามีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เป็นของจริงที่นำไปสู่การปฏิรูป และได้ใช้ไปยาวนาน ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมีอำนาจที่จะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเองก็ได้วางหลักไว้ ในคำร้องเรื่องการล้มล้างการปกครองที่ผ่านมา อำนาจในการแก้ไขมันเป็นอำนาจของรัฐสภาก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐสภา จะไปแก้ยังไงก็ได้ ถ้าแก้แล้วไปกระทบหลักสำคัญ หรือการแก้ไขทั้งฉบับก็เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญไป กลายเป็นการยกเลิกอำนาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มันจึงต้องแยกแยะบทบัญญัติไหนเป็นหลัก" นายนพดล กล่าว
"หลักการโอเพ่น ลิสต์ ถือเป็นหลักการที่ดี คือเพิ่มอำนาจประชาชนในการเลือก เพราะ กมธ.ยกร่างรธน. มองปัญหาที่ผ่านมาในอดีต ที่พรรคการเมืองจัดลำดับตามอำนาจ อิทธิพล เงิน หรือบทบาทของหัวหน้าพรรค จัดคนแบบไม่เกรงใจประชาชน ตามใจหัวหน้าพรรค ซึ่งบางทีอาจไม่ใช่คนมีความรู้ แต่เป็นญาติมิตรหัวหน้า หรือกรรมการบริหารพรรค การทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกนั้นคือ การเพิ่มอำนาจของประชาชน แต่จุดอ่อนคือประชาชนจะรู้หรือไม่ว่า ในบัญชีรายชื่อนั้น คนไหนดี หรือน่าเลือก ซึ่งพรรคการเมืองต้องแก้ปัญหาเอาเองว่า ทำยังไงถึงคัดคนที่ประชาชนรู้จัก มีประสบการณ์ มีความรู้ คนในบัญชีก็ต้องสร้างตัวเองให้เป็นที่ยอมรับ เป็นที่รู้จัก แต่ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของฝั่งพรรคการเมืองเอง ไม่ใช่จุดอ่อนของประชาชน" นายสมชัย กล่าว
** จะใช้โอเพ่น ลิสต์ ต้องคิดให้ทะลุ
ส่วนในด้านการบริหารจัดการของ กกต. มองว่าก็มีปัญหา เพราะหากใช้ระบบโอเพ่น ลิสต์ ต้องถามว่า บัตรเลือกตั้งจะมีหน้าตายังไง ออกแบบได้กี่แบบ แตกต่างกันยังไง เช่น ถ้ามีชื่อ ส.ส. 33 คนใน 1 พรรค ส่งผู้สมัคร 50 พรรค ต้องพิมพ์บัตรตามรายชื่อ 50 ใบ ทำให้จำนวนบัตรเยอะมาก หรือจะออกแบบให้ประชาชน กาในบัตรเลือกพรรค แล้วเขียนหมายเลขคนที่ต้องการเลือกในช่องว่าง แบบนี้ก็จะใช้บัตรเพียงใบเดียว แต่อาจมีปัญหาสร้างภาระประชาชนต้องจำหมายเลขก่อน ว่าจะเลือกใคร ในพรรคที่ต้องการเลือก ทำให้ผู้สมัครเบอร์น้อย หรือ เบอร์ 1 คนอาจเลือกมาก กับมีปัญหากรณีหากประชาชนเขียนหนังสือไม่ได้ หรือแบบที่ 3 มีพื้นที่ และกล่องต่าง ๆ ตามพรรค ให้ประชาชนหยิบบัตรเอง หยิบบัตรที่เป็นบัญชีรายชื่อของพรรค ที่จะเลือก ซึ่งทำในยุโรป สแกนดิเนเวีย แต่ก็มีปัญหาการจัดการต้องมีพื้นที่กว้างพอ ให้การหยิบบัตรเป็นความลับได้ แต่ก็จะทำให้เวลาเลือกตั้งต่อคนเพิ่มขึ้น ขณะที่การนับคะแนน คงต้องมีเวลานับคะแนนมากขึ้น อาจทำให้ช้าไปอีกเป็นวัน หรือสองวัน ยิ่งจะให้นำหีบบัตรไปเทนับรวม ไม่ได้นับที่หน่วยเลือกตั้ง ยิ่งต้องทำใจว่า อาจใช้เวลานับ รู้ผลการเลือกตั้งช้าไป 2 –3วัน
" ดังนั้นหากกรรมาธิการยกร่างฯ ยืนยันจะใช้ระบบนี้ อยากให้คิดให้ทะลุทั้งหมด ว่าบัตรเป็นยังไง นับคะแนนยังไง แต่ในส่วนของการจัดการ แม้จะมีปัญหายุ่งยากบ้าง แต่ กกต.เชื่อว่าจัดการได้" นายสมชัย ยืนยัน
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกรณีที่หากใช้เครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งร่างรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้นั้นว่า ในประเทศที่พัฒนาแล้วทำได้ มี 2 แบบ แบบแรกคือ เป็นคอมพิวเตอร์ทัชสกรีน ดิจิตอลร้อยเปอร์เซ็นต์ เหมือนจอไอแพด มีเมนูแนะนำ คล้ายตู้เอทีเอ็ม โดยเทคโนโลยีนี้ สามารถเลือกยังไง กี่ขั้นตอนก็ได้ ราคาต่อเครื่องไม่ต่ำกว่า หนึ่งหมื่นบาท แต่หากเป็นแบบที่สอง จะผสมแมคคานิคไปด้วย คือ แบบที่ใช้ในอินเดีย เนปาล เครื่องราคาถูกกว่าประมาณหลักพัน และกกต.ไทยเอามาพัฒนา ซึ่งแบบนี้เลือกซับซ้อนเกินไป ดังนั้นอาจยังเอามาใช้แบบโอเพ่น ลิสต์ ไม่ได้ แต่ปัญหาการนำมาใช้มีอยู่ 2 ด่าน คือ ค่าใช้จ่าย และ ความเชื่อถือ ซึ่งเชื่อว่า แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้นำเครื่องลงคะแนนมาใช้ แต่คงยังไม่เกิดขึ้นง่ายในระยะใกล้
" งบประมาณนั้นรัฐบาลต้องจัดสรร คงไม่มาเป็นล็อตใหญ่ อาจทำได้บางพื้นที่เป็นท้องถิ่น ส่วนความเชื่อถือ กกต.ต้องทำการบ้านหนักกว่าเดิม ไม่ใช่แค่ลองใช้เลือกประธานนักเรียน สหกรณ์ อาจต้องเชิญพรรคการเมือง สื่อ มาตรวจพิสูจน์ ผ่าดู สุ่มตรวจเครื่อง ว่าผลการกดลงคะแนนตรงกับผลที่ออกมาหรือไม่ การเลือกตั้งครั้งใหม่ ยังไม่ได้ใช้แน่นอน แต่ต้องวางรากฐาน คงกะเวลาแบบไม่เข้าข้างตัวเอง น่าจะอีก 10 ปี ถ้าไม่เริ่มทำ ก็จะเป็นแบบเดิมตลอดไป "
**คิดให้ดีก่อนให้ กจต. จัดเลือกตั้ง
นายสมชัย ยังกล่าวถึง กรณีร่างรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ คณะกรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ซึ่งมาจากข้าราชการระดับปลัดกระทรวงจัดการเลือกตั้งแทน กกต. ว่า ฝากให้ กมธ. ยกร่างฯ คิดให้ดีๆ คิดให้นิ่งก่อนว่ายังจะใช้ กจต. อยู่หรือไม่ เพราะการเลือกตั้งครั้งแรก หลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญนั้น ฝ่ายรัฐบาลที่กำกับดูแลกระทรวงต่างๆ ยังคงเป็นรัฐบาลปัจจุบัน แต่ครั้งต่อๆไป ก็จะเป็นฝ่ายการเมืองร้อยเปอร์เซ็นต์ หากคิดว่าไว้ใจได้ว่าการเมืองไม่เข้าแทรกแซงข้าราชการประจำ ก็ดำเนินการตามที่ออกแบบต่อไป แต่หากยังห่วงว่า อาจแทรกแซงได้ ก็ต้องคำนึงถึงผลเสียหายที่เกิดขึ้น และใครออกแบบ ก็ต้องรับผิดชอบ
" ความสัมพันธ์ระหว่างราชการกับฝ่ายการเมือง เป็นเส้นแบ่งที่ไม่เคยได้ผล จะออกแบบกลไกกติกายังไง ท้ายสุดราชการที่มุ่งความก้าวหน้า ก็จะวิ่งเข้าหาฝ่ายการเมือง เพื่ออิงอำนาจ อย่าไปคิดว่าช่วงเลือกตั้ง ปลัดกระทรวงรักษาการแล้วปลัดฯ จะอิสระ ปลอดการเมือง ถึงแม้วันนี้ยังไม่มีการเลือกตั้ง ก็มีข้าราชการประจำหลายคนที่เล็งแล้วว่า พรรคไหนจะชนะ ช่วงที่รักษาการก็ต้องคิดแน่ ความเกรงอก เกรงใจ การดำเนินการที่เอื้อต่อพรรคใดพรรคหนึ่ง ก็อาจยังเกิดขึ้นได้ เวลานักการเมืองเดินไปไหน มีปลัดกระทรวงเดินตามกี่คน อยากให้ไปคิดทบทวน ไม่ใช่หวงอำนาจ เพราะจริง ๆกกต.ทำงานง่ายขึ้น แต่เพราะเราเราคิดบนผลประโยชน์ชาติ และการเลือกตั้งที่เป็นธรรมเป็นหลัก" นายสมชัย กล่าว
นอกจากนี้ นายสมชัย เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 26–29 มี .ค. ตนจะเดินทางไปตามคำเชิญจากรัฐบาลออสเตรเลีย ให้ไปดูเลือกตั้ง นิวเซ้าต์เวล ที่จะมีขึ้นในวันที่ 28 มี.ค. ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทางเลือก ที่ให้ลงคะแนนทางอินเตอร์เน็ต หรือ ‘ไอโหวต’ ซึ่งหากดูแล้ว ถ้าใช้ได้จริง ก็อาจจะเอามาทดแทนการลงคะแนนเลือกตั้งของคนไทยในต่างประเทศ จากเดิมมอบกงสุลไปดำเนินการ ให้ส่งบัตรเลือกตั้งทางไปรษณีย์ แล้วรวบรวมส่งมาทางเครื่องบิน ใช้งบประมาณกว่า 160 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นแบบ ไอโหวต ก็แค่เสียเงินลงทุนครั้งเดียว ทำโปรแกรม 5–10 ล้านบาท ที่เหลือก็เพียงค่าบริหารจัดการ หลักแสนบาท หรือหลักหมื่นบาท แค่จ้างคนทำ
"เท่าที่รู้ ผู้ใช้สิทธิ์ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า สร้างพาสเวิร์ด แล้วส่งไปให้โหวต สำหรับประเทศไทย อาจต้องมีการพิสูจน์ตัวตนมากขึ้น" นายสมชัย กล่าว
**ต้องทำประชามติ ร่าง รธน.
วันเดียวกัน ในเวทีเสวนาหัวข้อ "หลักนิติธรรมกับรัฐธรรมนูญใหม่" จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ นายนพดล เฮงเจริญ ตุลาการหัวหน้าคณะในศาลปกครองสูงสุด กล่าวตอนหนึ่ง ถึงการทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจัดทำอยู่นี้ ควรต้องเชื่อมโยงกับเจ้าของอำนาจอธิปไตย เมื่อยอมรับสิทธิ์ของประชาชนที่เคยผ่านร่างรัฐธรรมนูญที่มีการทำประชามติ แล้วเหตุไฉนไม่เอาร่างรัฐธรรมนูญที่ร่างใหม่ไปทำประชามติ ยอมเสียเวลาอีกแค่ 3 เดือน เพราะถ้าหากไม่ทำ รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง ก็จะมีความชอบธรรมที่จะ หยิบไปถามชาวบ้านภายหลัง ซึ่งหากชาวบ้านไม่เอา ก็จะเป็นเรื่องยุ่งกันไปใหญ่
" สุดท้ายถ้ามีรัฐธรรมนูญฉบับถาวร เป็นของจริงที่นำไปสู่การปฏิรูป และได้ใช้ไปยาวนาน ศาลรัฐธรรมนูญ ก็จะมีอำนาจที่จะตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญเองก็ได้วางหลักไว้ ในคำร้องเรื่องการล้มล้างการปกครองที่ผ่านมา อำนาจในการแก้ไขมันเป็นอำนาจของรัฐสภาก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐสภา จะไปแก้ยังไงก็ได้ ถ้าแก้แล้วไปกระทบหลักสำคัญ หรือการแก้ไขทั้งฉบับก็เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญไป กลายเป็นการยกเลิกอำนาจอธิปไตยของปวงชน ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ มันจึงต้องแยกแยะบทบัญญัติไหนเป็นหลัก" นายนพดล กล่าว