วานนี้ (12มี.ค.) คณะอนุกรรมาธิการพิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ ที่มีนายปรีชา วัชราภัย กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน ได้เชิญตัวแทนองค์กรอิสระ 3 องค์กร ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ มาหารือเกี่ยวกับการยกร่างรัฐธรรมนูญ
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวภายหลังชี้แจงต่อคณะอนุกมธ. ว่า มีประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจหลัก 2 เรื่องคือ กรณีที่ ร่างรธน.ใหม่จะให้มี กรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ที่ประกอบด้วย บุคคลซึ่งมาจากการคัดเลือกของปลัดกระทรวง 6 กระทรวง และ ผบ.ตร. เป็นผู้เลือกกจต. แต่ กกต.เห็นว่า ควรคงอำนาจไว้ที่ กกต.เช่นเดิม
"แม้ในบทเฉพาะกาล จะกำหนดให้การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐธรรมนูญใหม่ใช้บังคับเป็นของ กกต. แต่ในครั้งต่อๆไป ที่จะให้เป็นอำนาจของกจต.นั้น ทางกกต.ยืนยันว่า อาจเป็นหลักการที่ไม่ทำให้การเลือกตั้งเกิดความเป็นกลาง เพราะกจต.เป็นข้าราชการ มีโอกาสถูกแทรกแซงจากนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ในการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญใช้บังคับปัญหานี้อาจจะยังไม่เกิด เพราะรัฐบาลในขณะนั้น ยังคงเป็นรัฐบาล คสช. แต่การเลือกตั้งในครั้งถัดไป ที่ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นผู้บริหารแล้ว ก็ย่อมเข้ามามีบทบาทในการกำกับข้าราชการ และทำให้มีโอกาสเข้าไปแทรกแซงวางตัว กจต.ล่วงหน้าในทุกระดับของการเลือกตั้ง"
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า อาจมีข้อถกเถียงว่าในเมื่อร่างรธน.ใหม่ ให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการ ก็อยากให้เข้าใจว่า เมื่อมาเป็น กจต.แล้วไม่ได้เป็นชั่วคราว แต่จะเป็นตลอดไป ดังนั้นถ้าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นผู้เลือกกจต.อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง ก็ยากจะทำให้การเลือกตั้งเกิดความเป็นกลางได้
อย่างไรก็ตาม หากกมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้คง กจต.ไว้ ก็ได้เสนอรูปแบบว่าจะทำอย่างไรเพื่อลดอิทธิพลฝ่ายการเมืองในการแทรกแซงการแต่งตั้งกจต. โดยให้ปลัด 6 กระทรวง และผบ.ตร. เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นกจต.จำนวนสามเท่า มาให้ กกต.เป็นผู้คัดเลือก เหลือ 7 คน และให้ กกต. มีอำนาจในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกจต.ด้วย หากมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่เป็นกลาง ให้อำนาจ กกต.ปลดกจต.ได้ ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถลดอิทธิพลจากฝ่ายการเมืองได้บ้าง
นอกจากนี้ ยังเสนอว่า ร่าง รธน.ใหม่ ได้มีการปิดช่องสิ่งที่เป็นปัญหาในการเลือกตั้งที่ผ่านมาครบถ้วนหรือยัง เช่น ปัญหาการปิดล้อมการรับสมัคร การไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ การเลือกตั้งที่ไม่สามารถเกิดได้ในวันเดียวทั่วราชอาณาจักร การไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้เสนอแนวทางแก้ไข โดยมีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยอนุกมธ. รับปากว่าจะไปนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ต่อไป
ส่วนประเด็นที่กมธ.ยกร่างฯ จะให้ กกต.มีอำนาจสั่งเลือกตั้งใหม่ก่อนการรับรองผลเท่านั้น (ใบเหลือง) นายสมชัย ยืนยันว่า จำเป็นที่ก่อนการประกาศรับรองผล กกต.ต้องมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เพื่อเป็นมาตรการที่จะเอาคนผิดออกจากสนามแข่งขัน เพราะถ้าหากให้ กกต.เพียงแค่สั่งเลือกตั้งใหม่ ก็ให้ข้อมูลสถิติกับอนุกมธ.ว่า การประกาศเลือกตั้งใหม่ก่อนการรับรองผลทุกครั้งที่ผ่านมา 100 % ผู้สมัครรายเดิม จะได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สะท้อนว่า ผู้สมัครมีเงินเพียงพอที่จะลงเลือกตั้งกี่รอบก็ได้ แต่หากมองว่าการเพิกถอนสิทธิ เป็นมาตรการรุนแรงเกินไป ก็อยากเสนอว่าให้เป็นมาตรการ เฉพาะสำหรับการเลือกตั้งในครั้งที่มีปัญหาเท่านั้น ไม่ได้ถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต
นายสมชัย กล่าวว่า ข้อเสนอของ กกต.ไม่ได้เป็นเพราะเราหวงอำนาจ แต่เป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ เพราะในเมื่อ กกต.เป็นผู้ออกแบบการเลือกตั้งให้เป็นธรรม ก็จำเป็นต้องชี้ให้เห็นถึงปัญหาจากการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ โดยพูดในหลักการว่า ใครจะจัดการเลือกตั้งก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกกต. แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานว่า ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งนั้นมีความเที่ยงธรรม และเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการชี้แจงของกกต.ในประเด็นที่เห็นว่า ต้องคงอำนาจการให้ใบแดง ก่อนประกาศรับรองผลไว้ที่ กกต. เพราะถ้าเป็นอำนาจศาล จะพิจารณานานจนเกิดช่องว่างที่ผู้ทำผิดเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ เลือกผู้บริหาร ตรากฎหมาย สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติ จนไม่อาจเยียวยาได้ เป็นการเปิดช่องให้ผู้ทำผิดมีอำนาจอาจ ใช้อิทธิพลข่มขู่พยาน จนส่งผลกระทบต่อคดีในชั้นศาล และการให้ กกต.มีอำนาจให้ ใบเหลือ ก่อนการประกาศรับรองผลเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้สมัครที่มีทุนมากได้เปรียบ พร้อมลงแข่งขันโดยไม่จำกัดรอบ ยากที่จะทำให้การเลือกตั้งใหม่สุจริต เที่ยงธรรมได้ การยกเลิกอำนาจให้ใบแดง เหลือแต่ ใบเหลือง จะทำให้นักการเมืองไม่ยำเกรงกฎหมาย กล้าฝ่าฝืนกฎหมายมากขึ้น หากเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ให้อำนาจเด็ดขาดกับกกต.ในการสั่งเลือกตั้งใหม่ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ทั้งก่อนและหลังประกาศผล จะเห็นได้ว่า นักการเมืองเกรงกลัวต่อการฝ่าฝืนกฎหมายมากกว่าปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอขอให้มีการเพิ่มใน ร่างรธน. ให้ กกต.มีอำนาจเรียกเอกสาร หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด เนื่องจากในการสืบสวนวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรมต้องการอำนาจพิเศษมากกว่าการปฏิบัติราชการทางปกครองโดยปกติทั่วไป มีวิธีการและระบบที่รวดเร็วเป็นพิเศษกว่ากฎหมายทั่วไป เพื่อสกัดกั้นผู้ทำผิดไม่ให้เข้าสู่ ตำแหน่งทางการเมือง
แต่หากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว จะเป็นช่องทางให้มีการโต้แย้งขั้นตอน กระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. จนทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ต้องรับผิดชอบกฎหมาย 5 ฉบับ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน หรือความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งหากมีเหตุใดๆ ที่การเลือกตั้งไม่สามารถกระทำในวันเดียวกันได้ ให้ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้นายกรัฐมนตรี เสนอร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป โดยไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ กกต.ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหากรณีเหตุอันทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกัน
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กกต. กล่าวภายหลังชี้แจงต่อคณะอนุกมธ. ว่า มีประเด็นสำคัญที่เป็นหัวใจหลัก 2 เรื่องคือ กรณีที่ ร่างรธน.ใหม่จะให้มี กรรมการจัดการเลือกตั้ง (กจต.) ที่ประกอบด้วย บุคคลซึ่งมาจากการคัดเลือกของปลัดกระทรวง 6 กระทรวง และ ผบ.ตร. เป็นผู้เลือกกจต. แต่ กกต.เห็นว่า ควรคงอำนาจไว้ที่ กกต.เช่นเดิม
"แม้ในบทเฉพาะกาล จะกำหนดให้การเลือกตั้งครั้งแรกหลังรัฐธรรมนูญใหม่ใช้บังคับเป็นของ กกต. แต่ในครั้งต่อๆไป ที่จะให้เป็นอำนาจของกจต.นั้น ทางกกต.ยืนยันว่า อาจเป็นหลักการที่ไม่ทำให้การเลือกตั้งเกิดความเป็นกลาง เพราะกจต.เป็นข้าราชการ มีโอกาสถูกแทรกแซงจากนักการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาล ในการเลือกตั้งหลังรัฐธรรมนูญใช้บังคับปัญหานี้อาจจะยังไม่เกิด เพราะรัฐบาลในขณะนั้น ยังคงเป็นรัฐบาล คสช. แต่การเลือกตั้งในครั้งถัดไป ที่ฝ่ายการเมืองเข้ามาเป็นผู้บริหารแล้ว ก็ย่อมเข้ามามีบทบาทในการกำกับข้าราชการ และทำให้มีโอกาสเข้าไปแทรกแซงวางตัว กจต.ล่วงหน้าในทุกระดับของการเลือกตั้ง"
นายสมชัย กล่าวด้วยว่า อาจมีข้อถกเถียงว่าในเมื่อร่างรธน.ใหม่ ให้ปลัดกระทรวงทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี ในช่วงที่เป็นรัฐบาลรักษาการ ก็อยากให้เข้าใจว่า เมื่อมาเป็น กจต.แล้วไม่ได้เป็นชั่วคราว แต่จะเป็นตลอดไป ดังนั้นถ้าปลัดกระทรวง ซึ่งเป็นผู้เลือกกจต.อยู่ภายใต้อิทธิพลของฝ่ายการเมือง ก็ยากจะทำให้การเลือกตั้งเกิดความเป็นกลางได้
อย่างไรก็ตาม หากกมธ.ยกร่างฯ ต้องการให้คง กจต.ไว้ ก็ได้เสนอรูปแบบว่าจะทำอย่างไรเพื่อลดอิทธิพลฝ่ายการเมืองในการแทรกแซงการแต่งตั้งกจต. โดยให้ปลัด 6 กระทรวง และผบ.ตร. เสนอชื่อผู้ที่เหมาะสมเป็นกจต.จำนวนสามเท่า มาให้ กกต.เป็นผู้คัดเลือก เหลือ 7 คน และให้ กกต. มีอำนาจในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นกจต.ด้วย หากมีเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่เป็นกลาง ให้อำนาจ กกต.ปลดกจต.ได้ ซึ่งเชื่อว่า จะสามารถลดอิทธิพลจากฝ่ายการเมืองได้บ้าง
นอกจากนี้ ยังเสนอว่า ร่าง รธน.ใหม่ ได้มีการปิดช่องสิ่งที่เป็นปัญหาในการเลือกตั้งที่ผ่านมาครบถ้วนหรือยัง เช่น ปัญหาการปิดล้อมการรับสมัคร การไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายต่างๆ การเลือกตั้งที่ไม่สามารถเกิดได้ในวันเดียวทั่วราชอาณาจักร การไม่สามารถประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง ซึ่งก็ได้เสนอแนวทางแก้ไข โดยมีรายละเอียดค่อนข้างมาก โดยอนุกมธ. รับปากว่าจะไปนำเสนอต่อ กมธ.ยกร่างฯ ต่อไป
ส่วนประเด็นที่กมธ.ยกร่างฯ จะให้ กกต.มีอำนาจสั่งเลือกตั้งใหม่ก่อนการรับรองผลเท่านั้น (ใบเหลือง) นายสมชัย ยืนยันว่า จำเป็นที่ก่อนการประกาศรับรองผล กกต.ต้องมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง เพื่อเป็นมาตรการที่จะเอาคนผิดออกจากสนามแข่งขัน เพราะถ้าหากให้ กกต.เพียงแค่สั่งเลือกตั้งใหม่ ก็ให้ข้อมูลสถิติกับอนุกมธ.ว่า การประกาศเลือกตั้งใหม่ก่อนการรับรองผลทุกครั้งที่ผ่านมา 100 % ผู้สมัครรายเดิม จะได้รับการเลือกตั้งเข้ามา สะท้อนว่า ผู้สมัครมีเงินเพียงพอที่จะลงเลือกตั้งกี่รอบก็ได้ แต่หากมองว่าการเพิกถอนสิทธิ เป็นมาตรการรุนแรงเกินไป ก็อยากเสนอว่าให้เป็นมาตรการ เฉพาะสำหรับการเลือกตั้งในครั้งที่มีปัญหาเท่านั้น ไม่ได้ถูกตัดสิทธิตลอดชีวิต
นายสมชัย กล่าวว่า ข้อเสนอของ กกต.ไม่ได้เป็นเพราะเราหวงอำนาจ แต่เป็นเรื่องอำนาจหน้าที่ เพราะในเมื่อ กกต.เป็นผู้ออกแบบการเลือกตั้งให้เป็นธรรม ก็จำเป็นต้องชี้ให้เห็นถึงปัญหาจากการกำหนดรูปแบบการเลือกตั้งใหม่ โดยพูดในหลักการว่า ใครจะจัดการเลือกตั้งก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นกกต. แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานว่า ทำอย่างไรให้การเลือกตั้งนั้นมีความเที่ยงธรรม และเป็นกลาง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการชี้แจงของกกต.ในประเด็นที่เห็นว่า ต้องคงอำนาจการให้ใบแดง ก่อนประกาศรับรองผลไว้ที่ กกต. เพราะถ้าเป็นอำนาจศาล จะพิจารณานานจนเกิดช่องว่างที่ผู้ทำผิดเข้าไปทำหน้าที่นิติบัญญัติ เลือกผู้บริหาร ตรากฎหมาย สร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติ จนไม่อาจเยียวยาได้ เป็นการเปิดช่องให้ผู้ทำผิดมีอำนาจอาจ ใช้อิทธิพลข่มขู่พยาน จนส่งผลกระทบต่อคดีในชั้นศาล และการให้ กกต.มีอำนาจให้ ใบเหลือ ก่อนการประกาศรับรองผลเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้สมัครที่มีทุนมากได้เปรียบ พร้อมลงแข่งขันโดยไม่จำกัดรอบ ยากที่จะทำให้การเลือกตั้งใหม่สุจริต เที่ยงธรรมได้ การยกเลิกอำนาจให้ใบแดง เหลือแต่ ใบเหลือง จะทำให้นักการเมืองไม่ยำเกรงกฎหมาย กล้าฝ่าฝืนกฎหมายมากขึ้น หากเทียบกับรัฐธรรมนูญปี 40 ที่ให้อำนาจเด็ดขาดกับกกต.ในการสั่งเลือกตั้งใหม่ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ทั้งก่อนและหลังประกาศผล จะเห็นได้ว่า นักการเมืองเกรงกลัวต่อการฝ่าฝืนกฎหมายมากกว่าปัจจุบัน
นอกจากนี้ ยังได้มีการเสนอขอให้มีการเพิ่มใน ร่างรธน. ให้ กกต.มีอำนาจเรียกเอกสาร หลักฐาน ที่เกี่ยวข้องจากบุคคลใด หรือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำ ตลอดจนขอให้พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการเพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด เนื่องจากในการสืบสวนวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับการทุจริตเลือกตั้ง ที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรมต้องการอำนาจพิเศษมากกว่าการปฏิบัติราชการทางปกครองโดยปกติทั่วไป มีวิธีการและระบบที่รวดเร็วเป็นพิเศษกว่ากฎหมายทั่วไป เพื่อสกัดกั้นผู้ทำผิดไม่ให้เข้าสู่ ตำแหน่งทางการเมือง
แต่หากไม่มีบทบัญญัติดังกล่าว จะเป็นช่องทางให้มีการโต้แย้งขั้นตอน กระบวนการในการปฏิบัติหน้าที่ของกกต. จนทำให้การวินิจฉัยชี้ขาดไม่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต. ต้องรับผิดชอบกฎหมาย 5 ฉบับ จำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน หรือความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน รวมทั้งหากมีเหตุใดๆ ที่การเลือกตั้งไม่สามารถกระทำในวันเดียวกันได้ ให้ กกต.กำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ เพื่อให้นายกรัฐมนตรี เสนอร่าง พ.ร.ฎ. แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งส.ส. เป็นการเลือกตั้งทั่วไป โดยไม่กระทบกระเทือนกิจการที่ กกต.ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหากรณีเหตุอันทำให้การเลือกตั้งไม่เป็นวันเดียวกัน