พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงการแก้ไขปัญหาหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือว่า ถือว่าเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน และถือเป็นปัญหาเร่งด่วน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือที่สร้างปัญหาจนเครื่องบินไม่สามารถบินได้ และบินลำบาก ซึ่งเมื่อวันที่ 16 มี.ค.ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำการบินก็ยอมรับว่าเป็นอันตรายเหมือนกัน โดยเฉพาะเฮลิคอปเตอร์ การบินนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด เพราะเป็นการเผาทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของความไม่รู้ของเกษตรกร ที่ต้องการปรับปรุงดินเตรียมการใหม่ในครั้งหน้า มีการเผาไร่ข้าวโพดต่างๆ ซึ่งต้องจัดระเบียบกันใหม่
"ห้ามให้ตายเขาก็ยังทำกันอยู่ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งระยะสั้น อยู่ระหว่างการบูรณาการ โดยจะมอบหมายให้กองทัพบก และกองทัพอากาศไปช่วยในพื้นที่ โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพย์ฯ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยนำเฮลิคอปเตอร์ และรถยนต์ต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือ ปัญหาที่มีทุกวันนี้เนื่องจากอปท.รับงานไปมาก แต่งบประมาณมีจำกัด ขีดความสามารถก็ยังไม่แข็งแรง ก็ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร เพราะการกระจายอำนาจมาก ก็ทำให้มีปัญหา ดังนั้นเราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับอปท.ให้ได้ สร้างความเชื่อมั่น หากได้รับงบประมาณไปจำนวนมาก การทำงานก็ต้องมีประสิทธิภาพ ผมจึงมอบหมายให้ไปหารือในการปฏิรูปด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีการกระจายอำนาจไปมาก ขณะที่ยังไม่มีความแข็งแรงพอ วันไหนแข็งแรง ค่อยมาว่ากัน" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องหมอกควัน ปัญหาหลักคือเรื่องการเผา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาชีพหาของป่า ตอนนี้ก็พยายามจับมาขึ้นทะเบียนทั้งหมด ซึ่งได้สั่งการไปแล้วว่า อปท. ต้องเป็นผู้รับผิดชอบว่าไม่ไกลหมู่บ้าน อบต. อบจ. จะต้องรับผิดชอบ ในอนาคตในเรื่องการบริหารจัดการป่าชุมชน พื้นที่เหล่านี้ จะยังไม่มีการอนุญาตทั้งสิ้น ถ้าดูแลจัดสรรกันได้ จึงจะให้อำนาจในการดูแล อาจจะต้องมีมาตรการวันนี้ จำเป็นจะต้องลงโทษ เมื่อมีการห้ามแล้วแต่ยังมีการเผา ก็จะต้องมีการจับกุมดำเนินคดีทั้งหมด ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายตามปกติ
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องบูรณาการงานร่วมกันเพื่ออนาคตข้างหน้า ควรจะต้องมีหน่วยงานดับไฟป่าอย่างที่ต่างประเทศทำ มาดูแลโดยตรง ที่ใช้เครื่องบินในการดำเนินการ มีเครื่องตรวจสอบพิกัดอย่างชัดเจน เพื่อเข้าไปในพื้นที่ เหมือนอย่างเช่นภาพยนตร์ต่างประเทศได้ฉายให้ดู เพียงแต่อาจใช้งบประมาณสูง แต่ก็ต้องวางแผนไว้ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ประเทศไทยจะต้องหาเครื่องบินที่มีขีดความสามารถในการดับไฟป่าได้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเครื่องบินของเราที่เป็นของเก่าโบราณ ใช้ไม่ได้แล้ว แค่เติมน้ำก็บินขึ้นไม่ได้ เนื่องจากเก่ามาก ถ้าบินขึ้นไปก็อาจจะมีอันตรายเกิดขึ้น เป็นปัญหาหมักหมมมานาน ซึ่งไม่เคยมีการคิดมาก่อน
เมื่อถามว่า หมอบควันที่มาจากต่างประเทศ จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องหารือกับประเทศที่อยู่รอบๆ บ้านเรา เนื่องจากมีการจุดเผาทั้งใน และนอกประเทศ ถ้าสามารถช่วยเหลือกันได้ทั้งสองฝ่าย ปัญหาก็จะลดลง ซึ่งตนได้สั่งการไปทั้งหมดแล้ว โดยเจ้าภาพหลักคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
**ห้ามเข้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ -ป่าสงวน
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (17 มี.ค.) ว่าได้สรุปสถานการณ์ปัญหาไฟป่าและควันไฟ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ต่อที่ประชุมครม. ขณะที่การแก้ไขปัญหา ทางกระทรวงได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าจากจังหวัดในพื้นที่อื่นๆ เข้าไปเสริมอีก 35 ชุด จำนวน 400 คน
ทั้งนี้ ตนขอร้องประชาชนว่า เราจำเป็นต้องออกประกาศห้ามเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หลังจากเคยอนุโลมให้ประชาชนเข้าไปหาของป่าได้ เพราะพบว่าประชาชนมีการมีการจุดไฟในการหาของป่า ทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ป่าขึ้นมา สำหรับพื้นที่ป่าสงวน ที่ผู้ว่าฯ มีอำนาจในการอนุญาต ตั้งแต่วันนี้ ถึงสิ้นเดือนเม.ย. หากจะเข้าไปหาของป่า ต้องขออนุญาตผู้ว่าฯก่อน เนื่องจากพบว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นครึ่งหนึ่ง เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวน โดยเฉพาะป่าสงวนพบว่าเกิดจากประชาชนเผาไร่ของตัวเอง
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. สั่งการว่า จะทำอย่างไรไม่ให้มีการเผาป่า และจะทำอย่างไรที่จะช่วยเขาได้ แต่ในช่วงนี้เป็นสถานการณ์เฉพาะหน้า เพราะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ที่วันนี้สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือจาก 10 จังหวัด ลดลงเพียง 3 จังหวัด อีก 6 จังหวัด สถานการณ์กลับหนักมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และ 1 จังหวัด สถานการณ์คงที่ ขณะที่ผู้ลักลอบเผาป่า ได้มีการจับกุมเดือน ก.พ.จับได้ 10 ราย ซึ่งการดำเนินคดีผู้เผาป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ มีบทลงโทษหนัก และจะมีการลงโทษเพื่อเป็นคดีตัวอย่าง
สำหรับการทำฝนหลวงต้องรอสภาพอากาศก่อน ส่วนการช่วยเหลือด้านอื่นๆ กระทรวงมีการหารือกันอยู่ แต่นายกฯ ก็ยังเป็นห่วงและอยากให้กลับไปคุยให้แน่ว่า จะมีมาตรการเพิ่มเติมอีกหรือไม่
เมื่อถามว่า สถานการณ์จะเบาบางลงได้เมื่อไร พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ตอบไม่ได้ อยู่ที่ชาวบ้านว่าต้องเข้าใจ ต้องขอร้องกัน เราไม่อยากใช้กฎหมาย แต่ก็ถึงเวลาที่ต้องใช้ กับเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ลาว และกัมพูชา มีการประสานกันอยู่แล้ว ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมติของปีนี้ ให้ทุกประเทศคุมจุดฮอตสปอต ให้ได้
**สั่ง"ผู้ว่าฯ-อำเภอ-อปท."ร่วมแก้ปัญหา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการประชุมที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้ขอให้ประชาชนปิดบ้านในช่วงเช้า และขอให้ช่วยกันรณรงค์ไม่เผา โดยให้ภาครัฐอย่าง องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น (อปท.) ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่ใช่รณรงค์ครั้งสองครั้ง แล้วเลิกลากันไป ช่วยกันคิดว่าหากไม่เผาจะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะถ้าใช้กฎหมายจับกุม ก็มีแต่ชาวบ้านทั้งนั้น สงสารเขา
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ อปท. ร่วมกันปรึกษาหารือ ดำเนินมาตราการอย่างรัดกุม ให้มีผลเป็นรูปธรรม และรายงานส่วนกลางทุกวัน
เมื่อถามว่า ถึงขั้นจะต้องสั่งการงานไปยังหน่วยงานภาครัฐ หรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า จากการประชุม เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมาแม่ทัพภาคที่ 3 ได้พูดชัดเจนว่า บ้านเรา เราจะให้ใครมารักษาบ้านของเรา อปท.ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน ต้องช่วยกันดูแลรักษาหวงแหน ส่วน เรื่องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ก็บังคับใช้อยู่ แต่การที่มีคนทิ้งก้นบุหรี่ไว้ แล้วไฟไหม้ จะไปจับมือใครดม ก็ไม่ได้ หรือการเผาบนดอย ก็จับใครไม่ได้ เรื่องนี้อยู่ที่ความสำนึก และความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งต้องใช้เวลา
**ทอ.จับมือก.เกษตรฯ ทำฝนหลวง
วานนี้ (17 มี.ค.) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. มอบหมายให้ พล.อ.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ รอง ผบ.ทอ. เป็นประธานพิธีส่งหน่วยบินฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 58 โดยกองทัพอากาศร่วมกับกรมฝนหลวง และการบินเกษตรจัดทำโครงการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงแบบพลุซิลเวอร์ ไอโอไดด์ และพลุสารดูดความชื้น Hygroscopic Flare เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง
ทั้งนี้ กองทัพอากาศให้การสนับสนุนเครื่องบิน 12 เครื่อง เพื่อทำฝนหลวง ประกอบด้วย เครื่องบินลำเลียงแบบบีที-67 เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ 2 (เอยู-23เอ) และเครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (อัลฟ่าเจ็ต ) ซึ่งจะขึ้นปฏิบัติการจากกองบินต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ มี.ค.จนถึง ต.ค. โดยเที่ยวบินแรกจะขึ้นบินในวันที่ 1 เม.ย.นี้
สำหรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงกับกองทัพอากาศ เริ่มครั้งแรกในปี 2515 เมื่อครั้งเกิดสภาวะแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง ทางรัฐบาล จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินตามแนวพระราชดำริ โดยให้กองทัพอากาศ สนับสนุนเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัตินับเป็นการเข้าร่วมโครงการพระราชดำริฝนหลวงครั้งแรก ของกองทัพอากาศ เพื่อสนับสนุนแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ปีที่ผ่านมาได้ปฏิบัติการบินไปแล้ว 665 เที่ยวบิน ใช้สารเคมี 936.4 ตัน ซึ่งประชาชนสามารถติดต่อขอให้ความช่วยเหลือได้ที่หมายเลข 02-534-2096
"เรายืนยันว่าปีนี้จะทำโครงการฝนหลวงให้เร็วที่สุด เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดูแลอยู่ นอกจากนี้ทางกองทัพอากาศยังได้ให้การช่วยเหลือเรื่องการกำจัดหมอกควันจากการเผาป่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วย ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนไม่เผาป่า อย่างไรก็ตามการปฏิบัติหน้าที่การทำฝนหลวง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศว่าเอื้ออำนวยต่อการทำงานมากน้อยแค่ไหน เช่น ความชื้นในอากาศ และการรวมตัวของก้อนเมฆ แต่เบื้องต้นได้จัดรถบรรทุกน้ำออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ได้ระดับหนึ่ง เพราะถือเป็นการทำงานเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่" พล.อ.อ. อานนท์ กล่าว
"ห้ามให้ตายเขาก็ยังทำกันอยู่ จึงจำเป็นต้องหาวิธีการแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งระยะสั้น อยู่ระหว่างการบูรณาการ โดยจะมอบหมายให้กองทัพบก และกองทัพอากาศไปช่วยในพื้นที่ โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงทรัพย์ฯ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) โดยนำเฮลิคอปเตอร์ และรถยนต์ต่างๆ เข้าไปช่วยเหลือ ปัญหาที่มีทุกวันนี้เนื่องจากอปท.รับงานไปมาก แต่งบประมาณมีจำกัด ขีดความสามารถก็ยังไม่แข็งแรง ก็ต้องไปดูว่าจะทำอย่างไร เพราะการกระจายอำนาจมาก ก็ทำให้มีปัญหา ดังนั้นเราต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับอปท.ให้ได้ สร้างความเชื่อมั่น หากได้รับงบประมาณไปจำนวนมาก การทำงานก็ต้องมีประสิทธิภาพ ผมจึงมอบหมายให้ไปหารือในการปฏิรูปด้วย ไม่เช่นนั้นก็จะมีการกระจายอำนาจไปมาก ขณะที่ยังไม่มีความแข็งแรงพอ วันไหนแข็งแรง ค่อยมาว่ากัน" นายกรัฐมนตรี กล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ปัญหาเรื่องหมอกควัน ปัญหาหลักคือเรื่องการเผา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีอาชีพหาของป่า ตอนนี้ก็พยายามจับมาขึ้นทะเบียนทั้งหมด ซึ่งได้สั่งการไปแล้วว่า อปท. ต้องเป็นผู้รับผิดชอบว่าไม่ไกลหมู่บ้าน อบต. อบจ. จะต้องรับผิดชอบ ในอนาคตในเรื่องการบริหารจัดการป่าชุมชน พื้นที่เหล่านี้ จะยังไม่มีการอนุญาตทั้งสิ้น ถ้าดูแลจัดสรรกันได้ จึงจะให้อำนาจในการดูแล อาจจะต้องมีมาตรการวันนี้ จำเป็นจะต้องลงโทษ เมื่อมีการห้ามแล้วแต่ยังมีการเผา ก็จะต้องมีการจับกุมดำเนินคดีทั้งหมด ซึ่งเป็นการใช้กฎหมายตามปกติ
ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะต้องบูรณาการงานร่วมกันเพื่ออนาคตข้างหน้า ควรจะต้องมีหน่วยงานดับไฟป่าอย่างที่ต่างประเทศทำ มาดูแลโดยตรง ที่ใช้เครื่องบินในการดำเนินการ มีเครื่องตรวจสอบพิกัดอย่างชัดเจน เพื่อเข้าไปในพื้นที่ เหมือนอย่างเช่นภาพยนตร์ต่างประเทศได้ฉายให้ดู เพียงแต่อาจใช้งบประมาณสูง แต่ก็ต้องวางแผนไว้ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว ประเทศไทยจะต้องหาเครื่องบินที่มีขีดความสามารถในการดับไฟป่าได้ ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะเครื่องบินของเราที่เป็นของเก่าโบราณ ใช้ไม่ได้แล้ว แค่เติมน้ำก็บินขึ้นไม่ได้ เนื่องจากเก่ามาก ถ้าบินขึ้นไปก็อาจจะมีอันตรายเกิดขึ้น เป็นปัญหาหมักหมมมานาน ซึ่งไม่เคยมีการคิดมาก่อน
เมื่อถามว่า หมอบควันที่มาจากต่างประเทศ จะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก็ต้องหารือกับประเทศที่อยู่รอบๆ บ้านเรา เนื่องจากมีการจุดเผาทั้งใน และนอกประเทศ ถ้าสามารถช่วยเหลือกันได้ทั้งสองฝ่าย ปัญหาก็จะลดลง ซึ่งตนได้สั่งการไปทั้งหมดแล้ว โดยเจ้าภาพหลักคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
**ห้ามเข้าพื้นที่ป่าอนุรักษ์ -ป่าสงวน
พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวานนี้ (17 มี.ค.) ว่าได้สรุปสถานการณ์ปัญหาไฟป่าและควันไฟ ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ต่อที่ประชุมครม. ขณะที่การแก้ไขปัญหา ทางกระทรวงได้เพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ดับไฟป่าจากจังหวัดในพื้นที่อื่นๆ เข้าไปเสริมอีก 35 ชุด จำนวน 400 คน
ทั้งนี้ ตนขอร้องประชาชนว่า เราจำเป็นต้องออกประกาศห้ามเข้าไปในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ หลังจากเคยอนุโลมให้ประชาชนเข้าไปหาของป่าได้ เพราะพบว่าประชาชนมีการมีการจุดไฟในการหาของป่า ทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ป่าขึ้นมา สำหรับพื้นที่ป่าสงวน ที่ผู้ว่าฯ มีอำนาจในการอนุญาต ตั้งแต่วันนี้ ถึงสิ้นเดือนเม.ย. หากจะเข้าไปหาของป่า ต้องขออนุญาตผู้ว่าฯก่อน เนื่องจากพบว่าไฟป่าที่เกิดขึ้นครึ่งหนึ่ง เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และป่าสงวน โดยเฉพาะป่าสงวนพบว่าเกิดจากประชาชนเผาไร่ของตัวเอง
พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ขณะที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. สั่งการว่า จะทำอย่างไรไม่ให้มีการเผาป่า และจะทำอย่างไรที่จะช่วยเขาได้ แต่ในช่วงนี้เป็นสถานการณ์เฉพาะหน้า เพราะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยวทางภาคเหนือ ที่วันนี้สถานการณ์หมอกควันในภาคเหนือจาก 10 จังหวัด ลดลงเพียง 3 จังหวัด อีก 6 จังหวัด สถานการณ์กลับหนักมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และ 1 จังหวัด สถานการณ์คงที่ ขณะที่ผู้ลักลอบเผาป่า ได้มีการจับกุมเดือน ก.พ.จับได้ 10 ราย ซึ่งการดำเนินคดีผู้เผาป่าสงวนและป่าอนุรักษ์ มีบทลงโทษหนัก และจะมีการลงโทษเพื่อเป็นคดีตัวอย่าง
สำหรับการทำฝนหลวงต้องรอสภาพอากาศก่อน ส่วนการช่วยเหลือด้านอื่นๆ กระทรวงมีการหารือกันอยู่ แต่นายกฯ ก็ยังเป็นห่วงและอยากให้กลับไปคุยให้แน่ว่า จะมีมาตรการเพิ่มเติมอีกหรือไม่
เมื่อถามว่า สถานการณ์จะเบาบางลงได้เมื่อไร พล.อ.ดาว์พงษ์ กล่าวว่า ตอบไม่ได้ อยู่ที่ชาวบ้านว่าต้องเข้าใจ ต้องขอร้องกัน เราไม่อยากใช้กฎหมาย แต่ก็ถึงเวลาที่ต้องใช้ กับเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม ลาว และกัมพูชา มีการประสานกันอยู่แล้ว ในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยมติของปีนี้ ให้ทุกประเทศคุมจุดฮอตสปอต ให้ได้
**สั่ง"ผู้ว่าฯ-อำเภอ-อปท."ร่วมแก้ปัญหา
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า จากการประชุมที่ จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ที่ผ่านมา ก็ได้ขอให้ประชาชนปิดบ้านในช่วงเช้า และขอให้ช่วยกันรณรงค์ไม่เผา โดยให้ภาครัฐอย่าง องค์กรปกครองส่วนท้อถิ่น (อปท.) ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ไม่ใช่รณรงค์ครั้งสองครั้ง แล้วเลิกลากันไป ช่วยกันคิดว่าหากไม่เผาจะทำอย่างไรได้บ้าง เพราะถ้าใช้กฎหมายจับกุม ก็มีแต่ชาวบ้านทั้งนั้น สงสารเขา
ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้ ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ อปท. ร่วมกันปรึกษาหารือ ดำเนินมาตราการอย่างรัดกุม ให้มีผลเป็นรูปธรรม และรายงานส่วนกลางทุกวัน
เมื่อถามว่า ถึงขั้นจะต้องสั่งการงานไปยังหน่วยงานภาครัฐ หรือไม่ ม.ล.ปนัดดา กล่าวว่า จากการประชุม เมื่อวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมาแม่ทัพภาคที่ 3 ได้พูดชัดเจนว่า บ้านเรา เราจะให้ใครมารักษาบ้านของเรา อปท.ซึ่งเป็นเจ้าของบ้าน ต้องช่วยกันดูแลรักษาหวงแหน ส่วน เรื่องบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ก็บังคับใช้อยู่ แต่การที่มีคนทิ้งก้นบุหรี่ไว้ แล้วไฟไหม้ จะไปจับมือใครดม ก็ไม่ได้ หรือการเผาบนดอย ก็จับใครไม่ได้ เรื่องนี้อยู่ที่ความสำนึก และความรับผิดชอบร่วมกัน ซึ่งต้องใช้เวลา
**ทอ.จับมือก.เกษตรฯ ทำฝนหลวง
วานนี้ (17 มี.ค.) ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง พล.อ.อ.ตรีทศ สนแจ้ง ผบ.ทอ. มอบหมายให้ พล.อ.อ.อานนท์ จารยะพันธุ์ รอง ผบ.ทอ. เป็นประธานพิธีส่งหน่วยบินฝนหลวงกองทัพอากาศ ประจำปี 58 โดยกองทัพอากาศร่วมกับกรมฝนหลวง และการบินเกษตรจัดทำโครงการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีการทำฝนหลวงแบบพลุซิลเวอร์ ไอโอไดด์ และพลุสารดูดความชื้น Hygroscopic Flare เพื่อช่วยเหลือ และบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน โดยเฉพาะในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง
ทั้งนี้ กองทัพอากาศให้การสนับสนุนเครื่องบิน 12 เครื่อง เพื่อทำฝนหลวง ประกอบด้วย เครื่องบินลำเลียงแบบบีที-67 เครื่องบินโจมตีและธุรการแบบที่ 2 (เอยู-23เอ) และเครื่องบินโจมตีแบบที่ 7 (อัลฟ่าเจ็ต ) ซึ่งจะขึ้นปฏิบัติการจากกองบินต่างๆ ทั่วประเทศ ตั้งแต่ มี.ค.จนถึง ต.ค. โดยเที่ยวบินแรกจะขึ้นบินในวันที่ 1 เม.ย.นี้
สำหรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงกับกองทัพอากาศ เริ่มครั้งแรกในปี 2515 เมื่อครั้งเกิดสภาวะแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง ทางรัฐบาล จึงมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินตามแนวพระราชดำริ โดยให้กองทัพอากาศ สนับสนุนเครื่องบิน และเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัตินับเป็นการเข้าร่วมโครงการพระราชดำริฝนหลวงครั้งแรก ของกองทัพอากาศ เพื่อสนับสนุนแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามนโยบายรัฐบาล ทั้งนี้ปีที่ผ่านมาได้ปฏิบัติการบินไปแล้ว 665 เที่ยวบิน ใช้สารเคมี 936.4 ตัน ซึ่งประชาชนสามารถติดต่อขอให้ความช่วยเหลือได้ที่หมายเลข 02-534-2096
"เรายืนยันว่าปีนี้จะทำโครงการฝนหลวงให้เร็วที่สุด เพื่อลดปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคอีสานและภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยแต่ละจังหวัดจะมีศูนย์บรรเทาสาธารณภัยจังหวัดดูแลอยู่ นอกจากนี้ทางกองทัพอากาศยังได้ให้การช่วยเหลือเรื่องการกำจัดหมอกควันจากการเผาป่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้ด้วย ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนไม่เผาป่า อย่างไรก็ตามการปฏิบัติหน้าที่การทำฝนหลวง ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศว่าเอื้ออำนวยต่อการทำงานมากน้อยแค่ไหน เช่น ความชื้นในอากาศ และการรวมตัวของก้อนเมฆ แต่เบื้องต้นได้จัดรถบรรทุกน้ำออกแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ได้ระดับหนึ่ง เพราะถือเป็นการทำงานเป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะช่วยเหลืออย่างเต็มที่" พล.อ.อ. อานนท์ กล่าว