นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวถึง ความคืบหน้าในการไต่สวนข้อเท็จจริง คดีกล่าวหาคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ในการจ่ายเงินเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมือง ( ตั้งแต่ปลายปี 48-พ.ค. 53 ) รอบแรกจำนวน 524 ราย วงเงินรวม 577 ล้านบาท ว่า คดีนี้ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ตั้งอนุกรรมการไต่สวนแล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการไต่สวนข้อเท็จจริงคณะรัฐมนตรีในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่า จ่ายเงินเยียวยาถูกต้องตามหลักกฎหมายหรือไม่ โดยเบื้องต้นสืบสวนพยานครบหมดแล้ว โดยภายในเดือนมี.ค.นี้ จะเสนอเรื่องให้อนุกรรมการฯ ที่มี นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช. เป็นประธาน เพื่อพิจารณาว่า จะแจ้งข้อกล่าวหาหรือไม่
“ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ โดยจะดูว่าการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว มีการจ่ายเงินแค่กลุ่มการเมืองใดการเมืองหนึ่ง และไม่ได้จ่ายอีกกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ” นายปานเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในคดีนี้ มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งคณะรัฐมนตรีเลย ใช่หรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า ใช่ ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้คือทั้งคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ประกอบไปด้วย คณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงาน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) และนายปกรณ์ พันธุ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
**สนช.ประชุมถอดถอน 38ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้นัดประชุม สนช. ครั้งที่ 14/2558 ในวันนี้ (5 มี.ค.) เวลา 10.00 น. โดยมีวาระที่สำคัญ คือ ดำเนินกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน ออกจากตำแหน่ง จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.ไม่ชอบ ซึ่งในวันนี้จะเป็นขั้นตอนการซักถามประเด็น ตามญัตติของสมาชิก สนช.ที่ได้ยื่นไว้ โดยมีคณะกรรมาธิการซักถาม เป็นผู้ถามแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวัลภล ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. ในฐานะ ประธานกรรมาธิการผู้ซักถาม ได้มีการประชุมเพื่อรวบรวบหมวดหมู่ และสรุปประเด็นคำถาม จากสมาชิกที่ได้ยื่นญัตติทั้งหมด จำนวน 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร นายสนิท อักษรแก้ว พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นพ.เจตน์ ศิริธรานนท์ นายสุธรรม พันธศักดิ์ และ นายสมชาย แสวงการ นั้น ปรากฏว่า เหลือคำถามที่คณะกรรมาธิการจะถามคู่กรณีในการประชุม สนช. วันนี้ จำนวน 19 คำถาม โดยจะถามทางฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 13 คำถาม และถามทางฝ่ายอดีต 38 ส.ว. จำนวน 6 คำถาม
สำหรับแนวคำถาม จะมีลักษณะใกล้เคียงกับกรณีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กับ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา โดยจะมุ่งถามป.ป.ช.ในประเด็นข้อกฏหมายเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว รวมถึงการนำข้อกฏหมายใดมาเป็นฐาน ในการเอาผิดในกรณีดังกล่าว เป็นต้น
ขณะที่ ข้อซักถามที่จะมุ่งถาม อดีต 38 ส.ว.นั้น จะเน้นที่เนื้อหาที่อยู่ในสำนวนชี้มูลของ ป.ป.ช. เป็นหลัก ไม่ว่า เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในการลงสมัครรับเลือกตั้งส.ว.รอบที่ 2 หรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ลงมติให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย เป็นร่างกฎหมายคนละฉบับกัน
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี หนึ่งในอดีต ส.ว.ที่ถูกยื่นถอดถอน กล่าวว่า อดีต ส.ว.ทั้ง 38 คน พร้อมที่จะชี้แจงตอบข้อซักถามโดยขณะนี้ยังไม่มีการมอบหมายใครเป็นผู้ชี้แจง เนื่องจากยังไม่ทราบความชัดเจนในประเด็นซักถามของสมาชิก สนช. และไม่ทราบว่า จะซักถามใครเฉพาะเจาะจงหรือไม่ แต่เบื้องต้นคงเป็นชุดเดิมที่เข้าชี้แจงในวันแถลงเปิดคดี คือ นายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.กำแพงแพชร นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี และตนเอง
อย่างไรก็ตาม ไม่รู้สึกกังวลต่อการชี้แจง และเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากสมาชิกสนช. เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความชั่ว แต่เป็นข้อกล่าวหาที่ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ผิดในความเข้าใจของคนเหล่านั้น ทั้งนี้ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ สมาชิก สนช. และเป็น 1 ใน 38 ส.ว. ก็ได้มอบหมายให้พวกตนชี้แจงแทนด้วย ซึ่งส่วนตัวทราบมาว่า พล.ต.กลชัย ก็จะวางตัวไม่เข้าประชุมเพื่อร่วมกระบวนการถอดถอนครั้งนี้ ถึงแม้ข้อบังคับการประชุมไม่มีการห้ามไว้ก็ตาม
นายสิงห์ชัย กล่าวด้วยว่า ทราบข่าวว่า สนช. อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงวันประชุม เพื่อแถลงปิดคดีด้วยวาจาที่เดิมกำหนดไว้วันที่ 12 มี.ค. โดยทราบว่า จะเลื่อนให้เร็วขึ้น จึงอยากให้ทาง สนช.ได้กำหนดวันที่ชัดเจน และแจ้งล่วงหน้าให้อดีต 38 ส.ว.รับทราบ เพราะทุกคนต้องเคลียร์งานประจำของตัวเอง เพื่อเตรียมแถลงปิดคดี หากมีการเลื่อนวันอาจจะไปกระทบงานของอดีต ส.ว.ได้
“ป.ป.ช. กำลังตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ โดยจะดูว่าการจ่ายเงินเยียวยาดังกล่าว มีการจ่ายเงินแค่กลุ่มการเมืองใดการเมืองหนึ่ง และไม่ได้จ่ายอีกกลุ่มหนึ่งหรือไม่ ” นายปานเทพ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในคดีนี้ มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งคณะรัฐมนตรีเลย ใช่หรือไม่ นายปานเทพ กล่าวว่า ใช่ ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้คือทั้งคณะรัฐมนตรี ในรัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ผู้ถูกกล่าวหาในคดีนี้ประกอบไปด้วย คณะรัฐมนตรีชุดที่ 1 และชุดที่ 2 ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงาน ตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) และนายปกรณ์ พันธุ อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
**สนช.ประชุมถอดถอน 38ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)ได้นัดประชุม สนช. ครั้งที่ 14/2558 ในวันนี้ (5 มี.ค.) เวลา 10.00 น. โดยมีวาระที่สำคัญ คือ ดำเนินกระบวนการถอดถอนสมาชิกวุฒิสภา จำนวน 38 คน ออกจากตำแหน่ง จากกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว.ไม่ชอบ ซึ่งในวันนี้จะเป็นขั้นตอนการซักถามประเด็น ตามญัตติของสมาชิก สนช.ที่ได้ยื่นไว้ โดยมีคณะกรรมาธิการซักถาม เป็นผู้ถามแทน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวัลภล ตังคณานุรักษ์ สมาชิก สนช. ในฐานะ ประธานกรรมาธิการผู้ซักถาม ได้มีการประชุมเพื่อรวบรวบหมวดหมู่ และสรุปประเด็นคำถาม จากสมาชิกที่ได้ยื่นญัตติทั้งหมด จำนวน 6 คน ประกอบด้วย พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร นายสนิท อักษรแก้ว พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม นพ.เจตน์ ศิริธรานนท์ นายสุธรรม พันธศักดิ์ และ นายสมชาย แสวงการ นั้น ปรากฏว่า เหลือคำถามที่คณะกรรมาธิการจะถามคู่กรณีในการประชุม สนช. วันนี้ จำนวน 19 คำถาม โดยจะถามทางฝ่ายคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) จำนวน 13 คำถาม และถามทางฝ่ายอดีต 38 ส.ว. จำนวน 6 คำถาม
สำหรับแนวคำถาม จะมีลักษณะใกล้เคียงกับกรณีถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กับ นายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา โดยจะมุ่งถามป.ป.ช.ในประเด็นข้อกฏหมายเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว รวมถึงการนำข้อกฏหมายใดมาเป็นฐาน ในการเอาผิดในกรณีดังกล่าว เป็นต้น
ขณะที่ ข้อซักถามที่จะมุ่งถาม อดีต 38 ส.ว.นั้น จะเน้นที่เนื้อหาที่อยู่ในสำนวนชี้มูลของ ป.ป.ช. เป็นหลัก ไม่ว่า เรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในการลงสมัครรับเลือกตั้งส.ว.รอบที่ 2 หรือไม่ ตลอดจนประเด็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่ลงมติให้ความเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมนูญที่เข้าชื่อเสนอแก้กฎหมาย เป็นร่างกฎหมายคนละฉบับกัน
นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง อดีต ส.ว.อุทัยธานี หนึ่งในอดีต ส.ว.ที่ถูกยื่นถอดถอน กล่าวว่า อดีต ส.ว.ทั้ง 38 คน พร้อมที่จะชี้แจงตอบข้อซักถามโดยขณะนี้ยังไม่มีการมอบหมายใครเป็นผู้ชี้แจง เนื่องจากยังไม่ทราบความชัดเจนในประเด็นซักถามของสมาชิก สนช. และไม่ทราบว่า จะซักถามใครเฉพาะเจาะจงหรือไม่ แต่เบื้องต้นคงเป็นชุดเดิมที่เข้าชี้แจงในวันแถลงเปิดคดี คือ นายกฤช อาทิตย์แก้ว อดีต ส.ว.กำแพงแพชร นายวิทยา อินาลา อดีต ส.ว.นครพนม นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี และตนเอง
อย่างไรก็ตาม ไม่รู้สึกกังวลต่อการชี้แจง และเชื่อว่าจะได้รับความเป็นธรรมจากสมาชิกสนช. เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความชั่ว แต่เป็นข้อกล่าวหาที่ฝ่ายหนึ่งเห็นว่า ผิดในความเข้าใจของคนเหล่านั้น ทั้งนี้ พล.ต.กลชัย สุวรรณบูรณ์ สมาชิก สนช. และเป็น 1 ใน 38 ส.ว. ก็ได้มอบหมายให้พวกตนชี้แจงแทนด้วย ซึ่งส่วนตัวทราบมาว่า พล.ต.กลชัย ก็จะวางตัวไม่เข้าประชุมเพื่อร่วมกระบวนการถอดถอนครั้งนี้ ถึงแม้ข้อบังคับการประชุมไม่มีการห้ามไว้ก็ตาม
นายสิงห์ชัย กล่าวด้วยว่า ทราบข่าวว่า สนช. อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงวันประชุม เพื่อแถลงปิดคดีด้วยวาจาที่เดิมกำหนดไว้วันที่ 12 มี.ค. โดยทราบว่า จะเลื่อนให้เร็วขึ้น จึงอยากให้ทาง สนช.ได้กำหนดวันที่ชัดเจน และแจ้งล่วงหน้าให้อดีต 38 ส.ว.รับทราบ เพราะทุกคนต้องเคลียร์งานประจำของตัวเอง เพื่อเตรียมแถลงปิดคดี หากมีการเลื่อนวันอาจจะไปกระทบงานของอดีต ส.ว.ได้