พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มีแนวทางเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็นส.ส. ว่า ปัญหาที่ฟังมาทางกรธ. ต้องการแก้ปัญหา ที่มีการอ้างถึง มาตรา 7 ก็ไปดูตรงนั้น อย่ามาระแวงตน ตอนนี้ต้องแยกให้ออกว่า เขาทำเพื่ออะไร เขาทำเพื่ออนาคต แล้วปัญหาที่มีการทะเลาะเบาะแว้งมาตลอด ไม่ว่าจะนายกฯ คนนอก นายกฯพระราชทาน เขาไม่อยากให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาท เขาเขียนมาก็ต้องมีกติกาชัดเจน มาจากใคร ที่ไหน อย่างไร ความเห็นชอบโดยใคร อย่างการเลือกส.ส. ก็เสนอมาว่า น่าจะมีการเลือกนายกฯ ด้วย ซึ่งทำได้หรือเปล่าไม่รู้ อย่ามากังวลกับเรื่องนี้
เมื่อถามว่า ประเด็นนายกฯคนนอก จะมีผลต่อการลงประชามติ หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ยังไม่สรุปออกมาเลย เป็นเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯ คนนอก มีผลเสียยังไง ตอบมา มันเสียอะไรกับท่าน เสียอะไรกับบ้านเมือง บอกมา ถ้ามันไม่ใช่ตน ไม่ใช่ทหาร เสียอะไรตรงไหน แล้วถ้าเป็นนายกฯคนใน มาจากการเลือกตั้ง มันจะได้หรือจะเสีย มันไม่มีอะไรแน่นอนทั้งสิ้น ตนถึงบอกว่า ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่ให้ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในวันนี้ เพื่อเดินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อปฏิรูประเทศด้านต่างๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงมากกว่า มันถึงจะกลับไปสู่คำตอบที่ว่า รัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร ไม่มีอะไรที่จะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าทุกอย่างที่เราทำยังเหมือนเดิม เราก็ได้เหมือนเดิม แต่ถ้าเราเปลี่ยนแปลงบ้างโดยไม่ผิดเพี้ยนมากนัก ก็ไปว่ามา ถ้าผ่านการลงประชามติ ก็คือผ่าน ไม่ใช่มาถามตน เพราะตนไม่ใช่เป็นคนร่าง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรพอพูดถึงเรื่องนายกฯ คนนอก พวกนักการเมืองก็ออกมาคัดค้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาคงอยากให้เป็นเหมือนเดิมมั้ง ถ้าให้เหมือนเดิม ก็อยู่ที่ท่านตัดสินใจจะเอาอย่างไร จะให้เขาทำแบบนี้ ก็ตามใจ
** "คำนูณ"ขนานนามระบบ"1กาได้3"
นายคำนูณ สิทธิสมาน สปช. และอดีตโฆษก กมธ.ยกรางฯ กล่าวว่า ขณะนี้ดูเหมือนว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีแนวโน้มจะเลือกระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ว่า อยากจะขนานนามว่า " 1กา 3ได้ " คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกาบัตรเลือกส.ส.เขต แบบเขตละคนใบเดียว ครั้งเดียว ได้ 3 ตำแหน่งเลย คือ 1.ได้ส.ส.เขตในเขตนั้นที่ได้คะแนนนิยมสูงสุด 2. ได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จากคะแนนนิยมทุกคะแนนที่ลงให้ผู้สมัครทุกคนจากทุกพรรคไปคิดคำนวณอีกที และ 3 ได้นายกรัฐมนตรี เพราะล่าสุด กรธ. โดยเฉพาะนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. มีแนวโน้มเห็นด้วยกับที่มานายก รัฐมนตรีระบบใหม่ ที่นอกจากจะให้สภาผู้แทนฯ เป็นผู้เลือกแล้ว ยังกำหนดเพิ่มต้องให้เลือกจากรายชื่อที่พรรคการเมืองทุกพรรคเสนอต่อประชาชนในการรณรงค์หาเสียง พรรคละ 5 รายชื่อ โดยไม่บังคับว่าจะต้องเป็นส.ส.หรือไม่ เพราะในขั้นตอนเสนอ 5 รายชื่อ ต่อประชาชนของทุกพรรค ยังไม่มีใครเป็นส.ส.อยู่แล้ว โดย 5 รายชื่อที่แต่ละพรรคเสนอ อาจซ้ำกันได้ ถ้าผู้ถูกเสนอยินยอม รายละเอียดยังไม่มีมากกว่านี้
แต่ก็พอเห็นข้อดีชัดเจน คือง่ายต่อประชาชนมาก จาก '2 กา' ตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2544 มาเป็น '1 กา' ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามโรดแมปปัจจุบัน ในปี 2560 ข้อต่อมาคือ ไม่ว่านายกฯ จะเป็นส.ส.หรือไม่ แต่ก็ถือว่าได้ผ่านตาประชาชนในการรณรงค์หาเสียง และในคูหาเลือกตั้งมาในระดับหนึ่งแล้ว จะถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ก็พอว่าได้
แต่ก็ยังมีข้อด้อยให้ต้องพิจารณากันแต่วันนี้ยังไม่พูดถึง เพราะบทบัญญัติจริงยังไม่ได้เผยแพร่ จึงยังไม่เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่อาจจะตอบคำถามข้อด้อยไว้หมดแล้วทั้งหมดนี้เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ในฐานะตำแหน่งใดๆ ที่ดำรงอยู่" นายคำนูณ ระบุ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง สปช. กล่าวว่า เท่าที่ดูรายละเอียดวิธีนี้ ไม่เห็นความแตกต่างจากวิธีเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงมากนัก แบบนี้ เรียกว่า ให้ประชาชนเป็นผู้รับรองตั้งแต่ก่อนหาเสียง บางประเทศก็มีใช้กัน ส่วนตัวพอรับได้กับแนวคิดนี้ ดีกว่าชงใครมาก็ไม่รู้ มาให้เสียงข้างมากของสภาฯ เลือกเป็นนายกฯ แต่ กรธ.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ดี เพราะกรณีการกาบัตรเพียง 1 ครั้ง ได้เลือกทั้งนายกฯ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และส.ส.เขต ประชาชนอาจเข้าใจยาก
"ประหลาดใจเหตุใด กรธ.ถึงเปิดช่องว่า นายกฯไม่ต้องเป็น ส.ส.ก็ได้ไว้ทำไม เพราะเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนายกฯ คนนอกมาโดยตลอด ประธานกรธ. ต้องตอบคำถามด้วย เพราะผมว่า ต่อให้เป็น ส.ส.หรือไม่ต้องเป็นส.ส. ก็ไม่เห็นแตกต่าง พรรคการเมืองจะต้องเผยแคนดิเดตนายกฯ ให้ประชาชนทราบก่อนการเลือกตั้งอยู่ดี" นายสมบัติ กล่าว
** ปชป.จวกแนวคิดวิตถาร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ข้อเสนอที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ให้พรรคการเมืองเปิดเผยรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ต่อกกต.และประชาชนว่า เป็นการคิดแบบวิตถาร มีที่ไหนที่พรรคการเมืองใด จะเสนอชื่อคนนอกพรรค เป็นนายกฯ เพราะตามธรรมชาติทั่วไปของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่ไม่วิตถาร พรรคไหนเลือกตั้งชนะ เขาเสนอจะชื่อหัวหน้าพรรคของตัวเองที่ได้เสียงมากที่สุดให้ขึ้นเป็นนายกฯ กันทั้งนั้น
" ที่ผ่านมาใช่ว่าจะไม่เคยมีคนวิตถาร ทำการเมืองให้เกิดวิตถาร เพราะประเทศไทยก็เคยทำกันมาแล้ว 2ครั้งคือ ครั้งแรก พรรคเพื่อไทยเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ที่พรรคเพื่อไทย เสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ แทนที่จะเสนอชื่อนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเป็นนายกฯ ในความเห็นของผม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เป็นนายกฯ แบบวิตถาร ดังนั้นในการจะแก้ความวิตถารทางการเมือง จึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะออกแบบ หรือจะยิ่งทำให้ระบบมันวิตถารมากกว่า แต่อยู่ที่ประชาชนคนไทยว่า ชอบและยอมรับความวิตถารนี้หรือไม่ ถ้าประชาชนชอบ แต่เราไม่ชอบ เราก็อย่าไปทำวิตถารเหมือนเขา หรือคนที่เสนอแนวคิดนี้ ก็น่าจะชอบความวิตถารอยู่เหมือนกัน ประเทศไทยนับวันยิ่งอยู่ยากเข้าทุกวัน" นายนิพิฏฐ์ กล่าว
เมื่อถามว่า ประเด็นนายกฯคนนอก จะมีผลต่อการลงประชามติ หรือไม่ นายกฯกล่าวว่า ยังไม่สรุปออกมาเลย เป็นเรื่องของการร่างรัฐธรรมนูญ นายกฯ คนนอก มีผลเสียยังไง ตอบมา มันเสียอะไรกับท่าน เสียอะไรกับบ้านเมือง บอกมา ถ้ามันไม่ใช่ตน ไม่ใช่ทหาร เสียอะไรตรงไหน แล้วถ้าเป็นนายกฯคนใน มาจากการเลือกตั้ง มันจะได้หรือจะเสีย มันไม่มีอะไรแน่นอนทั้งสิ้น ตนถึงบอกว่า ช่วงนี้เป็นช่วงสำคัญที่ให้ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับสถานการณ์ในวันนี้ เพื่อเดินยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อปฏิรูประเทศด้านต่างๆ ตรงนี้เป็นสิ่งที่ท่านต้องคำนึงถึงมากกว่า มันถึงจะกลับไปสู่คำตอบที่ว่า รัฐธรรมนูญจะออกมาอย่างไร ไม่มีอะไรที่จะได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ถ้าทุกอย่างที่เราทำยังเหมือนเดิม เราก็ได้เหมือนเดิม แต่ถ้าเราเปลี่ยนแปลงบ้างโดยไม่ผิดเพี้ยนมากนัก ก็ไปว่ามา ถ้าผ่านการลงประชามติ ก็คือผ่าน ไม่ใช่มาถามตน เพราะตนไม่ใช่เป็นคนร่าง
เมื่อถามว่า มองอย่างไรพอพูดถึงเรื่องนายกฯ คนนอก พวกนักการเมืองก็ออกมาคัดค้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เขาคงอยากให้เป็นเหมือนเดิมมั้ง ถ้าให้เหมือนเดิม ก็อยู่ที่ท่านตัดสินใจจะเอาอย่างไร จะให้เขาทำแบบนี้ ก็ตามใจ
** "คำนูณ"ขนานนามระบบ"1กาได้3"
นายคำนูณ สิทธิสมาน สปช. และอดีตโฆษก กมธ.ยกรางฯ กล่าวว่า ขณะนี้ดูเหมือนว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีแนวโน้มจะเลือกระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม ว่า อยากจะขนานนามว่า " 1กา 3ได้ " คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งกาบัตรเลือกส.ส.เขต แบบเขตละคนใบเดียว ครั้งเดียว ได้ 3 ตำแหน่งเลย คือ 1.ได้ส.ส.เขตในเขตนั้นที่ได้คะแนนนิยมสูงสุด 2. ได้ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ จากคะแนนนิยมทุกคะแนนที่ลงให้ผู้สมัครทุกคนจากทุกพรรคไปคิดคำนวณอีกที และ 3 ได้นายกรัฐมนตรี เพราะล่าสุด กรธ. โดยเฉพาะนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. มีแนวโน้มเห็นด้วยกับที่มานายก รัฐมนตรีระบบใหม่ ที่นอกจากจะให้สภาผู้แทนฯ เป็นผู้เลือกแล้ว ยังกำหนดเพิ่มต้องให้เลือกจากรายชื่อที่พรรคการเมืองทุกพรรคเสนอต่อประชาชนในการรณรงค์หาเสียง พรรคละ 5 รายชื่อ โดยไม่บังคับว่าจะต้องเป็นส.ส.หรือไม่ เพราะในขั้นตอนเสนอ 5 รายชื่อ ต่อประชาชนของทุกพรรค ยังไม่มีใครเป็นส.ส.อยู่แล้ว โดย 5 รายชื่อที่แต่ละพรรคเสนอ อาจซ้ำกันได้ ถ้าผู้ถูกเสนอยินยอม รายละเอียดยังไม่มีมากกว่านี้
แต่ก็พอเห็นข้อดีชัดเจน คือง่ายต่อประชาชนมาก จาก '2 กา' ตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2544 มาเป็น '1 กา' ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นตามโรดแมปปัจจุบัน ในปี 2560 ข้อต่อมาคือ ไม่ว่านายกฯ จะเป็นส.ส.หรือไม่ แต่ก็ถือว่าได้ผ่านตาประชาชนในการรณรงค์หาเสียง และในคูหาเลือกตั้งมาในระดับหนึ่งแล้ว จะถือว่าเป็นการเลือกตั้งทางอ้อม ก็พอว่าได้
แต่ก็ยังมีข้อด้อยให้ต้องพิจารณากันแต่วันนี้ยังไม่พูดถึง เพราะบทบัญญัติจริงยังไม่ได้เผยแพร่ จึงยังไม่เห็นรายละเอียดต่าง ๆ ที่อาจจะตอบคำถามข้อด้อยไว้หมดแล้วทั้งหมดนี้เป็นการแสดงความเห็นส่วนตัวในฐานะประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ในฐานะตำแหน่งใดๆ ที่ดำรงอยู่" นายคำนูณ ระบุ
นายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อดีตประธานกมธ.ปฏิรูปการเมือง สปช. กล่าวว่า เท่าที่ดูรายละเอียดวิธีนี้ ไม่เห็นความแตกต่างจากวิธีเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงมากนัก แบบนี้ เรียกว่า ให้ประชาชนเป็นผู้รับรองตั้งแต่ก่อนหาเสียง บางประเทศก็มีใช้กัน ส่วนตัวพอรับได้กับแนวคิดนี้ ดีกว่าชงใครมาก็ไม่รู้ มาให้เสียงข้างมากของสภาฯ เลือกเป็นนายกฯ แต่ กรธ.ต้องทำความเข้าใจกับประชาชนให้ดี เพราะกรณีการกาบัตรเพียง 1 ครั้ง ได้เลือกทั้งนายกฯ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และส.ส.เขต ประชาชนอาจเข้าใจยาก
"ประหลาดใจเหตุใด กรธ.ถึงเปิดช่องว่า นายกฯไม่ต้องเป็น ส.ส.ก็ได้ไว้ทำไม เพราะเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องนายกฯ คนนอกมาโดยตลอด ประธานกรธ. ต้องตอบคำถามด้วย เพราะผมว่า ต่อให้เป็น ส.ส.หรือไม่ต้องเป็นส.ส. ก็ไม่เห็นแตกต่าง พรรคการเมืองจะต้องเผยแคนดิเดตนายกฯ ให้ประชาชนทราบก่อนการเลือกตั้งอยู่ดี" นายสมบัติ กล่าว
** ปชป.จวกแนวคิดวิตถาร
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึง ข้อเสนอที่มาของนายกรัฐมนตรี ที่ให้พรรคการเมืองเปิดเผยรายชื่อผู้ที่จะมาเป็นนายกฯ ต่อกกต.และประชาชนว่า เป็นการคิดแบบวิตถาร มีที่ไหนที่พรรคการเมืองใด จะเสนอชื่อคนนอกพรรค เป็นนายกฯ เพราะตามธรรมชาติทั่วไปของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาที่ไม่วิตถาร พรรคไหนเลือกตั้งชนะ เขาเสนอจะชื่อหัวหน้าพรรคของตัวเองที่ได้เสียงมากที่สุดให้ขึ้นเป็นนายกฯ กันทั้งนั้น
" ที่ผ่านมาใช่ว่าจะไม่เคยมีคนวิตถาร ทำการเมืองให้เกิดวิตถาร เพราะประเทศไทยก็เคยทำกันมาแล้ว 2ครั้งคือ ครั้งแรก พรรคเพื่อไทยเสนอ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน เป็นนายกฯ ครั้งที่ 2 ที่พรรคเพื่อไทย เสนอ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นนายกฯ แทนที่จะเสนอชื่อนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ หัวหน้าพรรคเป็นนายกฯ ในความเห็นของผม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ก็เป็นนายกฯ แบบวิตถาร ดังนั้นในการจะแก้ความวิตถารทางการเมือง จึงไม่ใช่เรื่องที่เราจะออกแบบ หรือจะยิ่งทำให้ระบบมันวิตถารมากกว่า แต่อยู่ที่ประชาชนคนไทยว่า ชอบและยอมรับความวิตถารนี้หรือไม่ ถ้าประชาชนชอบ แต่เราไม่ชอบ เราก็อย่าไปทำวิตถารเหมือนเขา หรือคนที่เสนอแนวคิดนี้ ก็น่าจะชอบความวิตถารอยู่เหมือนกัน ประเทศไทยนับวันยิ่งอยู่ยากเข้าทุกวัน" นายนิพิฏฐ์ กล่าว