วานนี้ (25ก.พ.) นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษก กรรมาธิการ(กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมกมธ. ยกร่างฯได้พิจารณารายมาตรา ว่าด้วยที่มา ส.ส. และรัฐสภา โดยมีบทบัญญัติที่เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงจากรัฐธรรมนูญปี 2550 ด้วยการกำหนดให้การสิ้นสุดของสภาผู้แทนฯ นอกจากครบวาระ หรือนายกรัฐมนตรีให้ยุบแล้ว ในกรณีที่มีการยื่นญัตติไม่ไว้วางใจรัฐบาลทั้งคณะ หากผลโหวตฝ่ายค้านชนะ ต้องยุบสภาไปด้วย เนื่องจากประเมินแล้วว่า โครงสร้างวิธีการเลือกตั้งที่ออกแบบมาในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีแนวโน้มจะทำให้เกิดรัฐบาลผสมสูง เพื่อไม่ให้ฝ่ายบริหารอ่อนแอจนเกิน ไป จนกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลโดยไม่จำเป็น จึงกำหนดว่า หากฝ่ายค้านชนะโหวตการลงมติไม่ไว้วางใจทั้งคณะ จะมีผลให้ต้องยุบสภาตามไปด้วย
"เดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดว่า หากฝ่ายค้านชนะโหวต ก็จะให้ผู้ถูกเสนอชื่อแนบไปกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขึ้นทำหน้าที่นายกฯ แทน แต่ผลจากที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้ฝ่ายรัฐบาลเข้มแข็งจนเกินไป การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แทบไม่เกิดผล แต่เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้โครงสร้างรัฐบาลเป็นแบบผสม จึงต้องหาวิธีป้องกันฝ่ายบริหารไม่ถูกสั่นคลอนเสถียรภาพง่ายจนเกินไป"
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เปิดเผยว่า การที่ฝ่ายค้านชนะโหวต จะต้องยุบเลิกสภานั้น จะทำให้ฝ่ายค้านต้องตัดสินใจอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นที่มีน้ำหนัก และมีความสำคัญจริงๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็มีช่องทางอื่นให้เลือก คือหันไปใช้การยื่นญัตติถอดถอนนายกฯ หรือ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลแทน นอกจากนี้ ยังจะมีมาตรการอื่นที่ป้องกันพรรคร่วมรัฐบาลที่ใช้ข้ออ้าง แยกตัวเพื่อต่อรองผลประโยชน์จากพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะสั่นเทือนเสถียรภาพรัฐบาลง่ายเกินไปตามมาในการพิจารณาต่อไป
**ไม่ตัดสิทธิบ้านเลขที่ 111,109
ส่วนมาตราที่ว่าด้วยคุณสมบัติข้อห้ามของผู้ลงสมัครเป็นส.ส. ซึ่งเป็นที่จับตาของสังคม และอาจโยงไปถึงกลุ่มอดีตนักการเมืองที่ถูกคำสั่งยุบพรรค ทั้งบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 นั้น นายคำนูณ ชี้แจงว่า นอกจากคุณสมบัติข้อห้ามเดิมที่กำหนดว่าผู้ที่เคยถูกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติแล้ว ยังเพิ่มเติมส่วนที่ล้อตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35 (4) โดยระบุว่า ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือกระทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ยึดโยง คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นคุณสมบัติของผู้เป็นรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรีด้วย แต่โครงสร้างส่วนนี้ในการพิจารณาของกมธ. ยกร่างฯ จะต้องรอดูต่อไปเมื่อไปถึงหมวด ครม. ส่วนกรณีที่มองว่า จะมีผลไปถึงอดีตบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 นั้น บทบัญญัติได้ระบุว่า ต้องเป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึงผู้ถูกใบแดง เท่านั้น ส่วนผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง เพราะเป็นกรรมการบริหารด้วยนั้น น่าจะไม่เกี่ยวข้อง
สำหรับมาตราอื่นๆ ในหมวดนี้ ที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ห้ามเป็นผู้สมัครอิสระ ต้องสังกัดพรรคหรือกลุ่มการเมือง ผู้สมัครจะต้องแสดงสำเนารายการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปีต่อ กกต. ส่วนในกรณีผู้ไม่มีรายได้ก็เพียงแจ้งตามข้อเท็จจริงเท่านั้น สำหรับประเด็นใหม่อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น กำหนดให้ผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าคะแนนของผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน การกำหนดให้การเลือกตั้งนอกเขต หรือนอกราชอาณาจักร จะต้องลงทะเบียนแสดงความจำนงล่วงหน้าก่อน
** ส.ว.ไม่เกิน 200 คน วาระ 6 ปี
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบหมวดที่ว่าด้วย ที่มาของวุฒิสภา ซึ่งถูกเรียกว่า เป็นวุฒิสภาแบบพหุนิยม หรือเน้นความหลากหลาย โดยกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกไม่เกิน 200 คน มีวาระ 6 ปี ห้ามเป็นติดต่อกันเกิน 1 วาระ มาจากเลือกตั้งทางอ้อม 5 ช่องทาง เพื่อให้วุฒิสมาชิก มาจากผู้แทนหลากหลายสาขาอาชีพ จึงกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. อดีตนายกฯ ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเกิน 5 ปี เลือกกันเอง ให้ได้ไม่เกิน 10 คน
2. อดีตข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า อดีตข้าราชการทหาร ตำแหน่ง ปลัดกระทรวง ผบ.สูงสุด หรือ ผบ.เหล่าทัพ อดีตพนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตำแหน่งหัวหน้าองค์กร ทั้ง 3 ประเภทนี้ เลือกกันเองให้ได้ประเภทละไม่เกิน 10 คน
3. ผู้แทนองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง เลือกกันเองไม่เกิน 10 คน
4. องค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่นฯลฯ (ยกเว้นองค์กรสื่อมวลชน) เลือกกันเองไม่เกิน 10 คน
5. ให้มีกรรมการสรรหา สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณธรรมด้าน การเมือง ความมั่นคงการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ด้อยโอกาส ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ จำนวน 200 คน เพื่อส่งให้ สมัชชาพลเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นทุกประเภท ลงคะแนนเลือกให้เหลือ 100 คน และหากวุฒิสมาชิกเหลืออยู่เกิน 85 % หรือ 170 คน ให้สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ หากน้อยกว่านั้น ต้องดำเนินการให้ได้ในส่วนที่ขาดไป ภายใน 180 วัน
การเลือกตั้งโดยตรง ไม่จำเป็นต้องเป็นฐานของประชาธิปไตยเสมอไป การเลือกตั้งทางอ้อมโดยวิธีอื่น อย่างของอังกฤษ หรือแคนานา ก็ใช้วิธีการสรรหา หรือ แต่งตั้ง แต่เราคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของทุกฝ่าย" โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าว
** วางกรอบสกัดสภาผัว-เมีย
ส่วนคุณสมบัติ และข้อห้ามของ ส.ว. ตามที่บัญญัติไว้ มีส่วนที่เพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญปี 2550 คือ ห้ามเป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเป็นอดีตรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น อดีตผู้มีตำแหน่งในพรรค หรือกลุ่มการเมือง อดีตส.ส. ต้องพ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หากเป็นกรรมการในองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ ต้องพ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี ต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม เช่นเดียวกับผู้สมัคร ส.ส. ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นว่า ผู้มีส่วนเลือกกันเองให้เป็น ส.ว. ในส่วนข้อที่ 1 เช่น อดีตนายกฯ อดีตประธานรัฐสภา สามารถเป็นได้โดยไม่ต้องยกเว้น 5 ปี และผู้ที่เป็น ส.ว.แล้ว จะไปเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ เมื่อพ้นไปแล้วเกิน 2 ปี
นอกจากนี้ วุฒิสภาชุดใหม่ ยังมีอำนาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมจริยธรรม ของบุคคลที่ นายกฯ จะเสนอชื่อทูลเกล้าฯให้เป็นรัฐมนตรี รายชื่อปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เทียบเท่าปลัดอธิบดี จากนั้นแจ้งให้นายกฯ รับทราบ และประกาศทั่วไปภายใน 15 วัน โดยไม่มีการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ด้านนายมานิจ สุขสมจิต รองประธาน กรรมาธิการยกร่างฯ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์ แถลงว่า เหตุที่ได้เสนอให้ยกเว้นองค์กรสื่อออกจากการเลือกกันเองเป็น ส.ว. ตาม ข้อ 4 เนื่องจากหลักของสื่อมวลชน ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่การเมืองในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ส่วนที่ใน สปช. มีสื่ออยู่นั้น เพราะมีส่วนของการปฏิรูปสื่อ จึงต้องเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว
**"กลุ่มกรีน"หนุนสมัครส.ส.ไม่สังกัดพรรค
นายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ รักษาการเลขาธิการกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือ กลุ่มกรีน กล่าวว่า ทางกลุ่มสนับสนุนแนวคิดของ กมธ. ยกร่างฯ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลลงสมัครส.ส.ในนามกลุ่มการเมืองได้ โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางให้คนรุ่นใหม่ หรือผู้มีความรู้ความสามารถ เข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น แต่ส่วนตัวเชื่อว่าหลายพรรคการเมือง จะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยอ้างว่าจะทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง จึงอยากให้พรรคการเมืองทั้งหลายเปิดใจกว้าง ยอมรับสิ่งใหม่ๆ และขอให้กมธ.ยกร่างฯ มองให้ไกลกว่าบรรดานักเลือกตั้ง ซึ่งทำได้ทุกอย่างเพื่อให้มาซึ่งเสียงข้างมากในสภา โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ให้ชาวบ้าน ครู เกษตรกร หรือนักวิชาการท้องถิ่น ที่มีแนวความคิดเป็นของตัวเอง และไม่อยากสังกัดพรรคการเมือง ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีแนวความคิดเดียวกัน หรือมีโอกาสผลักดันการแก้ไขปัญหาของกลุ่มนั้นๆ
ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องการรวมตัวของกลุ่มการเมืองเพื่อลงเลือกตั้ง ถูกพูดถึงมานาน มีแต่คนกล้าคิด แต่ไม่มีใครกล้าทำ ที่ผ่านมามัวแต่ไปถกเถียง และให้ความสำคัญกันว่า จะเขตใหญ่เรียงเบอร์ เขตเดียวเบอร์เดียว แต่สุดท้ายก็แค่ไปตอบสนองความได้เปรียบทางการเมือง ครั้งนี้จึงถือเป็นการนับหนึ่ง เริ่มต้นการปฏิรูปที่มองเห็นปัญหาแล้วสะท้อนออกมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมามีผู้มีความรู้ความสามารถมากมายที่อยากเข้ามาทำงานการเมือง และเคยประสบปัญหาเดียวกันคือ เมื่อไปเสนอตัวกับพรรคการเมือง ก็จะถูกปฏิเสธ ไม่ให้ลงรับสมัครเลือกตั้งในนามพรรค เพราะไม่ใช่นายทุน ไม่ใช่ลูกหลานบุคคลสำคัญในพรรค และไม่ใช่คนดังมีชื่อเสียง โดยที่พรรคการเมืองละเลยการพิจารณาตัวตน จากความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มมีความเมื่อนักการเมืองกลับมามีอำนาจ อาจจะแก้กฏหมายให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคอีกครั้งเหมือนเดิม
สำหรับ กลุ่มกรีน ซึ่งก่อตั้งมาเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี และได้ชูแนวคิดการเมืองสะอาด รวมทั้งนำเสนอเรื่องการปฏิรูปประเทศมาตั้งแต่เริ่มกับภารกิจเดินหน้าปฏิรูปประเทศด้วยการเมืองสีเขียวนั้น ก็มักมีการสอบถามมาตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มว่า ในอนาคตจะตั้งเป็นพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งมีทั้งผู้สนับสนุนให้ตั้งพรรค และผู้ที่เห็นว่าควรทำงานในนามกลุ่มไปก่อน อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้วางโครงสร้างปลายเปิดคล้ายคลึงกับพรรคการเมือง ไม่ปิดกั้นคนที่จะเข้ามาร่วมอุดมการณ์ โดยมีบุคคลเข้ามาร่วมทำงานในตำแหน่งต่างๆ ทั้งที่ประธาน ที่ปรึกษา กรรมการ และเลขาธิการกลุ่ม โดยปัจจุบันมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถตอบรับเข้าร่วมงานด้วยหลายคน อาทิ นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา เป็นรักษาการประธานกลุ่ม นพ.ระวี มาศฉมาดล และ นายสำราญ รอดเพชร เป็นรักษาการรองประธานกลุ่ม นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์ประจำวิทยาลัย นวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นรักษาการกรรมการกลุ่ม และตนรับหน้าที่รักษาการเลขาธิการกลุ่ม เป็นต้น
"หากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้กลุ่มการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้ ทางกลุ่มกรีน ก็พร้อมที่จะบุคคลเข้าร่วม เพราะถือเป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิรูปประเทศที่ทางกลุ่มยึดถือมาโดยตลอด หรือหากมีการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก คงได้มีการประชุมหารือทิศทางอนาคตการเมืองของกลุ่มกันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" นายจาตุรันต์ ระบุ
"เดิมรัฐธรรมนูญปี 2550 กำหนดว่า หากฝ่ายค้านชนะโหวต ก็จะให้ผู้ถูกเสนอชื่อแนบไปกับการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ขึ้นทำหน้าที่นายกฯ แทน แต่ผลจากที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้ฝ่ายรัฐบาลเข้มแข็งจนเกินไป การอภิปรายไม่ไว้วางใจ แทบไม่เกิดผล แต่เมื่อรัฐธรรมนูญใหม่ ทำให้โครงสร้างรัฐบาลเป็นแบบผสม จึงต้องหาวิธีป้องกันฝ่ายบริหารไม่ถูกสั่นคลอนเสถียรภาพง่ายจนเกินไป"
โฆษก กมธ.ยกร่างฯ เปิดเผยว่า การที่ฝ่ายค้านชนะโหวต จะต้องยุบเลิกสภานั้น จะทำให้ฝ่ายค้านต้องตัดสินใจอภิปรายไม่ไว้วางใจในประเด็นที่มีน้ำหนัก และมีความสำคัญจริงๆ ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นี้ ก็มีช่องทางอื่นให้เลือก คือหันไปใช้การยื่นญัตติถอดถอนนายกฯ หรือ รัฐมนตรีเป็นรายบุคคลแทน นอกจากนี้ ยังจะมีมาตรการอื่นที่ป้องกันพรรคร่วมรัฐบาลที่ใช้ข้ออ้าง แยกตัวเพื่อต่อรองผลประโยชน์จากพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่จะสั่นเทือนเสถียรภาพรัฐบาลง่ายเกินไปตามมาในการพิจารณาต่อไป
**ไม่ตัดสิทธิบ้านเลขที่ 111,109
ส่วนมาตราที่ว่าด้วยคุณสมบัติข้อห้ามของผู้ลงสมัครเป็นส.ส. ซึ่งเป็นที่จับตาของสังคม และอาจโยงไปถึงกลุ่มอดีตนักการเมืองที่ถูกคำสั่งยุบพรรค ทั้งบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 นั้น นายคำนูณ ชี้แจงว่า นอกจากคุณสมบัติข้อห้ามเดิมที่กำหนดว่าผู้ที่เคยถูกคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลให้ทรัพย์ตกเป็นของแผ่นดิน เพราะร่ำรวยผิดปกติแล้ว ยังเพิ่มเติมส่วนที่ล้อตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2557 มาตรา 35 (4) โดยระบุว่า ผู้ที่เคยต้องคำพิพากษา หรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ว่ากระทำการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือกระทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตเที่ยงธรรม โดยรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้ยึดโยง คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง เป็นคุณสมบัติของผู้เป็นรัฐมนตรี หรือ นายกรัฐมนตรีด้วย แต่โครงสร้างส่วนนี้ในการพิจารณาของกมธ. ยกร่างฯ จะต้องรอดูต่อไปเมื่อไปถึงหมวด ครม. ส่วนกรณีที่มองว่า จะมีผลไปถึงอดีตบ้านเลขที่ 109 หรือ 111 นั้น บทบัญญัติได้ระบุว่า ต้องเป็นผู้ที่ต้องคำพิพากษาทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งหมายถึงผู้ถูกใบแดง เท่านั้น ส่วนผู้ที่ถูกเพิกถอนสิทธิ์เลือกตั้ง เพราะเป็นกรรมการบริหารด้วยนั้น น่าจะไม่เกี่ยวข้อง
สำหรับมาตราอื่นๆ ในหมวดนี้ ที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2550 ที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. ห้ามเป็นผู้สมัครอิสระ ต้องสังกัดพรรคหรือกลุ่มการเมือง ผู้สมัครจะต้องแสดงสำเนารายการเสียภาษีย้อนหลัง 3 ปีต่อ กกต. ส่วนในกรณีผู้ไม่มีรายได้ก็เพียงแจ้งตามข้อเท็จจริงเท่านั้น สำหรับประเด็นใหม่อื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่น กำหนดให้ผู้ที่ชนะการเลือกตั้ง จะต้องมีคะแนนไม่น้อยกว่าคะแนนของผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน การกำหนดให้การเลือกตั้งนอกเขต หรือนอกราชอาณาจักร จะต้องลงทะเบียนแสดงความจำนงล่วงหน้าก่อน
** ส.ว.ไม่เกิน 200 คน วาระ 6 ปี
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษก กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ แถลงว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบหมวดที่ว่าด้วย ที่มาของวุฒิสภา ซึ่งถูกเรียกว่า เป็นวุฒิสภาแบบพหุนิยม หรือเน้นความหลากหลาย โดยกำหนดให้มีวุฒิสมาชิกไม่เกิน 200 คน มีวาระ 6 ปี ห้ามเป็นติดต่อกันเกิน 1 วาระ มาจากเลือกตั้งทางอ้อม 5 ช่องทาง เพื่อให้วุฒิสมาชิก มาจากผู้แทนหลากหลายสาขาอาชีพ จึงกำหนดให้มาจากการเลือกตั้งทางอ้อม 5 กลุ่ม ประกอบด้วย
1. อดีตนายกฯ ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ซึ่งพ้นจากตำแหน่งมาแล้วเกิน 5 ปี เลือกกันเอง ให้ได้ไม่เกิน 10 คน
2. อดีตข้าราชการพลเรือน ตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า อดีตข้าราชการทหาร ตำแหน่ง ปลัดกระทรวง ผบ.สูงสุด หรือ ผบ.เหล่าทัพ อดีตพนักงาน เจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจ องค์กรมหาชน หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตำแหน่งหัวหน้าองค์กร ทั้ง 3 ประเภทนี้ เลือกกันเองให้ได้ประเภทละไม่เกิน 10 คน
3. ผู้แทนองค์กรวิชาชีพที่มีกฎหมายจัดตั้ง เลือกกันเองไม่เกิน 10 คน
4. องค์กรด้านเกษตรกรรม แรงงาน วิชาการ ชุมชน ท้องถิ่นฯลฯ (ยกเว้นองค์กรสื่อมวลชน) เลือกกันเองไม่เกิน 10 คน
5. ให้มีกรรมการสรรหา สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ และคุณธรรมด้าน การเมือง ความมั่นคงการบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา การเศรษฐกิจการสาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ผังเมือง ทรัพยากรธรรมชาติ ผู้ด้อยโอกาส ปราชญ์ชาวบ้าน ฯลฯ จำนวน 200 คน เพื่อส่งให้ สมัชชาพลเมือง ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่นทุกประเภท ลงคะแนนเลือกให้เหลือ 100 คน และหากวุฒิสมาชิกเหลืออยู่เกิน 85 % หรือ 170 คน ให้สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ หากน้อยกว่านั้น ต้องดำเนินการให้ได้ในส่วนที่ขาดไป ภายใน 180 วัน
การเลือกตั้งโดยตรง ไม่จำเป็นต้องเป็นฐานของประชาธิปไตยเสมอไป การเลือกตั้งทางอ้อมโดยวิธีอื่น อย่างของอังกฤษ หรือแคนานา ก็ใช้วิธีการสรรหา หรือ แต่งตั้ง แต่เราคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมทางการเมือง ของทุกฝ่าย" โฆษก กมธ.ยกร่างฯ กล่าว
** วางกรอบสกัดสภาผัว-เมีย
ส่วนคุณสมบัติ และข้อห้ามของ ส.ว. ตามที่บัญญัติไว้ มีส่วนที่เพิ่มเติมจากรัฐธรรมนูญปี 2550 คือ ห้ามเป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของส.ส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หากเป็นอดีตรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งอื่น อดีตผู้มีตำแหน่งในพรรค หรือกลุ่มการเมือง อดีตส.ส. ต้องพ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี หากเป็นกรรมการในองค์กรตรวจสอบตามรัฐธรรมนูญ ต้องพ้นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี ต้องไม่มีคุณสมบัติต้องห้าม เช่นเดียวกับผู้สมัคร ส.ส. ทั้งนี้ มีข้อยกเว้นว่า ผู้มีส่วนเลือกกันเองให้เป็น ส.ว. ในส่วนข้อที่ 1 เช่น อดีตนายกฯ อดีตประธานรัฐสภา สามารถเป็นได้โดยไม่ต้องยกเว้น 5 ปี และผู้ที่เป็น ส.ว.แล้ว จะไปเป็นรัฐมนตรี หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ เมื่อพ้นไปแล้วเกิน 2 ปี
นอกจากนี้ วุฒิสภาชุดใหม่ ยังมีอำนาจตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมจริยธรรม ของบุคคลที่ นายกฯ จะเสนอชื่อทูลเกล้าฯให้เป็นรัฐมนตรี รายชื่อปลัดกระทรวง หรือหัวหน้าส่วนราชการ ที่เทียบเท่าปลัดอธิบดี จากนั้นแจ้งให้นายกฯ รับทราบ และประกาศทั่วไปภายใน 15 วัน โดยไม่มีการลงมติเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
ด้านนายมานิจ สุขสมจิต รองประธาน กรรมาธิการยกร่างฯ อดีตประธานสภาการหนังสือพิมพ์ แถลงว่า เหตุที่ได้เสนอให้ยกเว้นองค์กรสื่อออกจากการเลือกกันเองเป็น ส.ว. ตาม ข้อ 4 เนื่องจากหลักของสื่อมวลชน ต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่การเมืองในฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้มีอิสระในการแสดงความคิดเห็น ส่วนที่ใน สปช. มีสื่ออยู่นั้น เพราะมีส่วนของการปฏิรูปสื่อ จึงต้องเข้ามาทำหน้าที่ดังกล่าว
**"กลุ่มกรีน"หนุนสมัครส.ส.ไม่สังกัดพรรค
นายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ รักษาการเลขาธิการกลุ่มการเมืองสีเขียว หรือ กลุ่มกรีน กล่าวว่า ทางกลุ่มสนับสนุนแนวคิดของ กมธ. ยกร่างฯ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลลงสมัครส.ส.ในนามกลุ่มการเมืองได้ โดยไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางให้คนรุ่นใหม่ หรือผู้มีความรู้ความสามารถ เข้ามาทำงานการเมืองมากขึ้น แต่ส่วนตัวเชื่อว่าหลายพรรคการเมือง จะไม่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ โดยอ้างว่าจะทำให้ระบบพรรคการเมืองไม่เข้มแข็ง จึงอยากให้พรรคการเมืองทั้งหลายเปิดใจกว้าง ยอมรับสิ่งใหม่ๆ และขอให้กมธ.ยกร่างฯ มองให้ไกลกว่าบรรดานักเลือกตั้ง ซึ่งทำได้ทุกอย่างเพื่อให้มาซึ่งเสียงข้างมากในสภา โดยการเปิดโอกาสให้ประชาชนผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ให้ชาวบ้าน ครู เกษตรกร หรือนักวิชาการท้องถิ่น ที่มีแนวความคิดเป็นของตัวเอง และไม่อยากสังกัดพรรคการเมือง ได้เข้าไปทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงเป็นตัวแทนของกลุ่มที่มีแนวความคิดเดียวกัน หรือมีโอกาสผลักดันการแก้ไขปัญหาของกลุ่มนั้นๆ
ทั้งนี้ แนวคิดเรื่องการรวมตัวของกลุ่มการเมืองเพื่อลงเลือกตั้ง ถูกพูดถึงมานาน มีแต่คนกล้าคิด แต่ไม่มีใครกล้าทำ ที่ผ่านมามัวแต่ไปถกเถียง และให้ความสำคัญกันว่า จะเขตใหญ่เรียงเบอร์ เขตเดียวเบอร์เดียว แต่สุดท้ายก็แค่ไปตอบสนองความได้เปรียบทางการเมือง ครั้งนี้จึงถือเป็นการนับหนึ่ง เริ่มต้นการปฏิรูปที่มองเห็นปัญหาแล้วสะท้อนออกมาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะที่ผ่านมามีผู้มีความรู้ความสามารถมากมายที่อยากเข้ามาทำงานการเมือง และเคยประสบปัญหาเดียวกันคือ เมื่อไปเสนอตัวกับพรรคการเมือง ก็จะถูกปฏิเสธ ไม่ให้ลงรับสมัครเลือกตั้งในนามพรรค เพราะไม่ใช่นายทุน ไม่ใช่ลูกหลานบุคคลสำคัญในพรรค และไม่ใช่คนดังมีชื่อเสียง โดยที่พรรคการเมืองละเลยการพิจารณาตัวตน จากความรู้ความสามารถ อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มมีความเมื่อนักการเมืองกลับมามีอำนาจ อาจจะแก้กฏหมายให้ผู้สมัคร ส.ส.ต้องสังกัดพรรคอีกครั้งเหมือนเดิม
สำหรับ กลุ่มกรีน ซึ่งก่อตั้งมาเป็นระยะเวลาประมาณ 4 ปี และได้ชูแนวคิดการเมืองสะอาด รวมทั้งนำเสนอเรื่องการปฏิรูปประเทศมาตั้งแต่เริ่มกับภารกิจเดินหน้าปฏิรูปประเทศด้วยการเมืองสีเขียวนั้น ก็มักมีการสอบถามมาตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่มว่า ในอนาคตจะตั้งเป็นพรรคการเมืองหรือไม่ ซึ่งมีทั้งผู้สนับสนุนให้ตั้งพรรค และผู้ที่เห็นว่าควรทำงานในนามกลุ่มไปก่อน อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มได้วางโครงสร้างปลายเปิดคล้ายคลึงกับพรรคการเมือง ไม่ปิดกั้นคนที่จะเข้ามาร่วมอุดมการณ์ โดยมีบุคคลเข้ามาร่วมทำงานในตำแหน่งต่างๆ ทั้งที่ประธาน ที่ปรึกษา กรรมการ และเลขาธิการกลุ่ม โดยปัจจุบันมีผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีความรู้ความสามารถตอบรับเข้าร่วมงานด้วยหลายคน อาทิ นายพิเชฐ พัฒนโชติ อดีตรองประธานวุฒิสภา เป็นรักษาการประธานกลุ่ม นพ.ระวี มาศฉมาดล และ นายสำราญ รอดเพชร เป็นรักษาการรองประธานกลุ่ม นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์ประจำวิทยาลัย นวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เป็นรักษาการกรรมการกลุ่ม และตนรับหน้าที่รักษาการเลขาธิการกลุ่ม เป็นต้น
"หากรัฐธรรมนูญเปิดช่องให้กลุ่มการเมืองส่งผู้สมัคร ส.ส.ได้ ทางกลุ่มกรีน ก็พร้อมที่จะบุคคลเข้าร่วม เพราะถือเป็นหนึ่งในแนวทางการปฏิรูปประเทศที่ทางกลุ่มยึดถือมาโดยตลอด หรือหากมีการยกเลิกประกาศกฎอัยการศึก คงได้มีการประชุมหารือทิศทางอนาคตการเมืองของกลุ่มกันอย่างเป็นทางการอีกครั้ง" นายจาตุรันต์ ระบุ