ASTVผู้จัดการรายวัน-"ธีระชัย"แนะรัฐปรับเปลี่ยนรูปแบบเวทีถกสัมปทานจากโต้วาทีมาเป็นประชุมกลุ่มย่อย ให้นายกฯ นั่งหัวโต๊ะแทน "ปนัดดา" ชี้รูปแบบเดิมทำมาแล้วหลายครั้ง หากไม่พร้อมเลื่อนไปอีกหนึ่งสัปดาห์ดีกว่าทุรังจัด "หม่อมกร"เผยรัฐไม่เปิดกว้างให้ประชาชนเข้าร่วม แนะเปิดสัมปทานหลังแก้พ.ร.บ.ปิโตรเลียมเสร็จก่อนดีกว่า ด้าน "ประยุทธ์"ไม่รับลูก บอกงานเยอะ ระบุให้จัดในทำเนียบก็ทำในนามรัฐบาลแล้ว อย่ามาทะเลาะด่าทอกันก็แล้วกัน กปปส. ลอยตัว ไม่เข้าร่วม อ้างไม่มีความรู้ ปตท.วอนอย่าดึงการเมืองเอี่ยวเปิดสัมปทาน พร้อมโดดป้องนายกฯ หลังถูกสังคมออนไลน์วิพากษ์สนั่น
วานนี้ (18 ก.พ.) ที่โรงแรมดุสิตธานี กลุ่มคณะบุคคลสำคัญผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตราชการ และนักวิชาการ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านพลังงาน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดร.นพ สัตยาศัย ประธานชมรมวิศวะ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) น.ส.บุญยืน ศิริธรรม อดีต ส.ว.สมุทรสงคราม ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้ร่วมลงนามในหนังสือเปิดผนึก เสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกร้องให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปอย่างน้อย 2 ปี และเร่งให้เกิดการว่าจ้างสำรวจศักยภาพปิโตรเลียม พร้อมแก้กฎหมายเพื่อให้รัฐได้รับผลตอบแทนแบบแบ่งปันผลิตปิโตรเลียม จากปัจจุบันที่สิทธิในปิโตรเลียมเป็นของผู้ที่ได้รับสัมปทาน ได้ร่วมกันแถลงข่าว เรื่องข้อเสนอถึงรัฐบาลต่อการประชุมสัมปทานปิโตรเลียมในวันศุกร์ (20 ก.พ.) นี้
***เรียกร้อง "บิ๊กตู่"นั่งหัวโต๊ะประชุม
นายธีระชัยกล่าวว่า ทางกลุ่มได้ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อเสนอให้รัฐบาลเปลี่ยนรูปแบบการจัดเวทีกลางทำความเข้าใจการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 จากรูปแบบเวทีโต้วาที เป็นการพูดคุยกลุ่มเล็ก โดยเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน แทน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถหาทางออกร่วมกัน แทนการอภิปรายข้อมูลพลังงานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในหลายเวทีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ขอให้ภาคประชาชนกำหนดบุคคลที่จะเข้าร่วมในการหารือกับรัฐบาล ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเอง เพราะขณะนี้มีรายชื่อของบุคคลที่ไม่เคยร่วมในการเคลื่อนไหวมาเป็นตัวแทนภาคประชาชน และขอให้รัฐบาลเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วมหารือในครั้งนี้ด้วย เพราะนายอภิสิทธิ์ มีข้อมูลเรื่องสัปทานปิโตรเลียมเป็นอย่างดี
"หากรัฐบาลไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเวทีได้ทันวันศุกร์นี้ ควรเลื่อนการจัดรับฟังความเห็นออกไปก่อน 1 สัปดาห์"นายธีระชัยกล่าว
***รัฐบาลไม่เปิดกว้างให้ภาคประชาชน
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวว่า การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มีสัดส่วนของผู้เข้ารับฟังทั้งหมด 300 ที่นั่ง แต่มีตัวแทนจากภาคประชาชนที่จะเข้ารับฟังเพียง 20 ที่นั่งเท่านั้น นับว่าเป็นสัดส่วนน้อยมาก แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่เปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังข้อเสนอในการปรับรูปแบบการหารือให้เหมาะสมต่อไป
สำหรับจุดยืนของคณะบุคคลเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีปิโตรเลียมก่อน หากใช้อำนาจของ คสช. จะทำให้การร่างกฎหมายใหม่ใช้เวลาเพียง 6 เดือน ซึ่งจะไม่กระทบต่อการผลิตปิโตรเลียมในอนาคต
** นายกฯ เมินนั่งหัวโต๊ะอ้างงานยุ่ง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานเวทีกลาง เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ในวันที่ 20 ก.พ. ว่า ตนตัดสินใจเองว่าจะทำอะไรแค่ไหน มีเรื่องอื่นอีกเยอะแยะที่ต้องทำ ถ้าทั้งหมดให้นายกฯ ทำคนเดียว ก็ไม่ต้องมี ครม. หรือมีใครทั้งสิ้น ใครรับผิดชอบสายงานไหน ก็ว่ากันไป โดยตนจะเป็นคนตัดสิน ถ้าให้ตนไปนั่งฟังทุกวัน ก็ไม่ต้องทำงานแล้ว ให้ไปนั่งฟังแทนทั้ง 19 กระทรวง ก็ไม่ใช่ ทั้งนี้ ถือว่าตนให้เกียรติอยู่แล้ว เพราะจัดเวทีในทำเนียบรัฐบาล ในนามตน และห้ามมาทะเลาะเบาะแว้ง อาละวาด ด่าทอกันแถวนี้ ไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เวทีกลางในวันที่ 20 ก.พ. จะได้ข้อสรุปในการเกิดสัมปทานรอบ 21 เลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะเป็นข้อสรุปของที่ประชุมที่นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน มานั่งฟังด้วย จะนำไปรวบรวมสรุป และหาแนวทางเสนอขึ้นมาอีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งไปสรุปว่าจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอะไรกันเลย ตนก็ไม่รู้จะไปบังคับอย่างไร ซึ่งต้องไปดูเหตุผลกัน บางอย่างฟังกันเสียบ้าง ก็คงจะตั้งสติกันได้บ้าง
"วันนี้อยากให้เข้าใจว่าเราเข้ามาแก้ไข โดยในหลายๆ สัญญา หลายๆ สัมปทาน เกิดมานานแล้ว ก็ต้องไปดูว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ต้องปรับเป็นรูปแบบไหน ซึ่งมี 3 อย่าง ให้ไปช่วยกันคิดมาก่อน คือ 1.สัมปทาน 2.พีพีพี หรือการให้เอกชนร่วมกิจการของรัฐ และ 3.รัฐลงทุนเองทั้งหมด โดยที่ประชุมในเวทีกลาง วันที่ 20 ก.พ. จะแบ่งให้นั่งซ้าย ขวา และตรงกลาง ให้มีผู้มีความรู้เรื่องพลังงานมานั่งฟังด้วย จะได้มีความคิดเห็น และสรุปกันมาว่าจะเอาอย่างไร"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
**รัฐบาลให้ถ่ายทอดสดช่อง11
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปิดเวทีกลางแลกเปลี่ยนความเห็นในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันที่ 20 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า รัฐบาลได้เชิญฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยมาร่วมหารือ จากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกว่าร้อยคน
ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่สนใจจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทีวีวงจรปิดไปที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. โดยนายกรัฐมนตรี มอบหมายตนเป็นตัวแทนรัฐบาล ร่วมรับฟังความเห็นครั้งนี้
**โวยล็อกสเป็กตัวแทนฝ่ายประชาชน
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม . พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเห็นว่าการจัดเวลทีครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ควรจะมาร่วมประชุม และนั่งหัวโต๊ะด้วยตนเอง เพราะการที่รัฐบาลเลือกบุคคลในการนำเสนอฝ่ายประชาชน ทั้ง 4 คน พร้อมระบุชื่อให้ด้วยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ฝ่ายประชาชนกำหนดตัวคนผู้นำเสนอเอง ส่วนรูปแบบการจัดงาน ก็เหมือนเป็นการโต้วาที ซึ่งคล้ายกับเวทีก่อนๆ เราไม่ต้องการเถียงกับข้าราชการ แต่อยากนำเสนอการแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อเปิดทางเลือกระบบอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ล็อกสเปก แค่การให้สัมปทานเท่านั้น
"รัฐบาลจะปฏิรูปพลังงานอย่างไร ถ้าไม่แก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เปิดช่องให้รัฐเลือกทำสัญญากับเอกชนในรูปแบบอื่น นอกจากระบบสัมปทานเดิม เช่น แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตสัมปทานรอบ 21 คือ ตัววัดความตั้งใจจริงว่า กล้าให้มีทางเลือกอื่นๆหรือไม่ เพราะต่อไปปี 2565 สัมปทานเก่าแหล่งใหญ่มาก จะหมดอายุ" นายอรรถวิชช์กล่าว
**กปปส. ลอยตัว อ้างไม่มีความรู้
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวว่า การเปิดเวทีดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในเรื่องนี้ กปปส.ถือได้ว่าเป็นคนนอก เพราะจุดยืนของเรา เกิดจากการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การต่อต้านระบอบทักษิณ และการผลักดันให้เกิดการปฏิรูป แม้เรื่องพลังงานจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องมีการปฏิรูป แต่เราก็ไม่มีความชำนาญในเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ได้เห็นข้อเสนอของภาคประชาชน และภาครัฐก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย แต่เห็นว่า ข้อเสนอของประชาชนในครั้งนี้มีความน่าสนใจ และสามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งเรื่องการสำรวจก่อนที่จะมีการเปิดให้สัมปทาน และการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงาน ดังนั้น ในการหารือเวทีดังกล่าว เห็นว่า ทั้ง 2 ฝ่ายควรนำข้อมูลมาคุยกันแบบเปิดเผย สู้กันด้วยข้อมูล ไม่ควรใช้อารมณ์ในการพูดคุย และอย่าใส่ร้ายป้ายสี เพราะจะทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปพลังงานครั้งนี้ และหากภาครัฐมีความเห็นอย่างไร ก็ควรชี้แจงให้ประชาเข้าใจ
**ปตท.โวยอย่าดึงการเมืองเอี่ยวสัมปทาน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดเวทีทำความเข้าใจการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันศุกร์นี้ เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ แม้ว่าขณะนี้ทาง ปตท.ยังไม่ได้รับการติดต่อให้เข้าร่วม แต่ต้องรับฟังข้อมูลทั้ง 2 ฝ่ายแล้วตัดสินใจจากข้อมูล ไม่ใช่ตัดสินใจจากโวหาร และไม่ต้องการให้นำประเด็นเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เป็นประเด็นการเมือง เพราะจะไม่จบ และถ้าไทยไม่สามารถเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ได้ ก็จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงด้านราคาในอนาคต
"การเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่มีการเสนอให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) นั้น ยังไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะแหล่งก๊าชธรรมชาติมีขนาดเล็ก จึงมีความเสี่ยงในการลงทุน และระบบแบ่งปันผลผลิตยังเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องร่วมลงทุนในการเจาะสำรวจด้วย หากไม่พบปิโตรเลียมก็จะเสี่ยง ขณะนี้อินโดนีเซียที่เคยใช้ระบบPSC ยังหันกลับมาใช้ระบบสัมปทาน เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการเจาะสำรวจมากขึ้น หลังจากปริมาณการผลิตก๊าซฯ ลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ 10ปี"
อย่างไรก็ตาม บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. จะเข้าร่วมยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ในแหล่งปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาอัตราการผลิตปิโตรเลียมด้วย
***ป้อง"บิ๊กตู่"หลังโซเซียลวิพากษ์หนัก
นายไพรินทร์กล่าวว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานของรัฐที่นายกรัฐมนตรีพูดในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการนำมาวิพากษ์วิจารณ์ โดยนำข้อมูลมาปะติปะต่อทำให้เกิดความสับสนในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งตนมีความเป็นห่วง เนื่องจากราคาพลังงานเป็นเรื่องเทคนิคและมีรายละเอียดเยอะ หากมีการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปคนละเรื่อง จะส่งผลให้การปฏิรูปพลังงานเป๋ไปหมด และไม่ควรนำพลังงานมาเป็นประเด็นเรื่องรักชาติหรือการเมือง ปตท. จึงอยากชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อาทิ ประเด็นที่ระบุว่าข้อมูลภาครัฐบอกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดใน 7 ปี หากไม่มีการเจาะสำรวจใหม่เพิ่มเติม ทำให้รัฐต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ขัดกับข้อมูลที่ ปตท. ระบุมีก๊าซฯ ใช้ 20 ปีนั้น ขอยืนยันว่าข้อมูลจากภาครัฐเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยที่ ปตท.ไม่เคยระบุว่ามีก๊าซฯ ใช้นาน 20ปี เชื่อว่าเป็นการหยิบข้อมูลที่ระบุว่า ปตท.ได้มีการทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาตาร์ ในรูปสัญญาระยะยาว 20ปี ในปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน
ทั้งนี้ ไทยมีความต้องการใช้ก๊าซฯ ปีละ 40 ล้านตัน มาจากก๊าซฯ ในอ่าวไทย 30 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการนำเข้าจากเมียนมาร์ และพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย (JDA) 10 ล้านตัน ซึ่งปริมาณก๊าซLNGที่นำเข้าจากกาตาร์เพียง 2 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5-6% ของความต้องการใช้ทั้งหมด ซึ่งก๊าซฯที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาสูงกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทย ดังนั้นการเปิดสัมปทานรอบ 21 จะเป็นการเปิดให้มีการสำรวจเพื่อเพิ่มการผลิตก๊าซฯได้เองภายในประเทศ แต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะพบแหล่งก๊าซฯได้จริงหรือไม่
นอกจากนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ราคาน้ำมันลง ไม่ใช่ว่าก๊าซฯ จะต้องลงไป คงไม่ใช่แบบนั้น เพราะคนละส่วน คนละต้นทุนและวิธีการ” นั้น ถูกต้องแล้ว เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ที่อ้างอิงราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 6-12 เดือน จึงทำให้ราคาก๊าซฯไม่สามารถปรับลดได้ทันทีตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง และจะสะท้อนให้เห็นในอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร หรือ เอฟทีที่มีแนวโน้มปรับลง 10 กว่าสตางค์ต่อหน่วย
“สิ่งที่เกิดขึ้นในโซเชียลออนไลน์นั้นพยายามทำให้สังคมลดความเชื่อถือในข้อมูลของรัฐ ซึ่งหาไม่เชื่อมั่นข้อมูลรัฐแล้วจะเชื่อข้อมูลจากไหน ผมอยู่ในธุรกิจพลังงานมานานหลายปี ก็ยังไม่กล้ากล่าวว่าตนเองรู้เรื่องพลังงานดีที่สุด ยังต้องเรียนอยู่เลย จึงอยากจะเตือนสติกัน โดยยืนยันว่าข้อมูลปตท.กับข้อมูลรัฐไม่ได้ขัดแย้งกัน“นายไพรินทร์กล่าว
**ปิโตรเลียมต้องเป็นทรัพยากรของชาติ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านพลังงานที่จะมีการยกร่างไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่า มีการกำหนดไว้ว่าต้องบริหารจัดการพลังงานอย่างมีธรรมาภิบาลและยั่งยืน ให้ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่นเป็นทรัพยากรของชาติ และมีไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และประชาชนอย่างแท้จริง และดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ให้การสำรวจ การผลิต และการใช้ปิโตรเลียม หรือพลังงานอื่นใด ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิถีชีวิต และสุขภาพของประชาชนและชุมชน อีกทั้งต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าถึงและเข้าใจในข้อมูลด้านพลังงาน และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพลังงานทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งการติดตามและตรวจสอบการดำเนินนโยบายและแผนนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ขัดแย้งกับหลักการที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและให้ปิโตรเลียม เป็นทรัพยากรของชาติหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวเลี่ยงว่า เนื้อหาในรัฐธรรมนูญที่กำลังร่าง ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่ทุกรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงประชาชนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะเห็นด้วย ซึ่งรัฐบาลก็จะต้องชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจในการบริหารประเทศ
วานนี้ (18 ก.พ.) ที่โรงแรมดุสิตธานี กลุ่มคณะบุคคลสำคัญผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตราชการ และนักวิชาการ เช่น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลัง น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติด้านพลังงาน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตโฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ดร.นพ สัตยาศัย ประธานชมรมวิศวะ จุฬาฯ ร่วมปฏิรูปประเทศไทย (วศ.รปปท.) น.ส.บุญยืน ศิริธรรม อดีต ส.ว.สมุทรสงคราม ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยนโยบายพลังงานและทรัพยากร มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งได้ร่วมลงนามในหนังสือเปิดผนึก เสนอต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เรียกร้องให้ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปอย่างน้อย 2 ปี และเร่งให้เกิดการว่าจ้างสำรวจศักยภาพปิโตรเลียม พร้อมแก้กฎหมายเพื่อให้รัฐได้รับผลตอบแทนแบบแบ่งปันผลิตปิโตรเลียม จากปัจจุบันที่สิทธิในปิโตรเลียมเป็นของผู้ที่ได้รับสัมปทาน ได้ร่วมกันแถลงข่าว เรื่องข้อเสนอถึงรัฐบาลต่อการประชุมสัมปทานปิโตรเลียมในวันศุกร์ (20 ก.พ.) นี้
***เรียกร้อง "บิ๊กตู่"นั่งหัวโต๊ะประชุม
นายธีระชัยกล่าวว่า ทางกลุ่มได้ประชุมหารือร่วมกัน เพื่อเสนอให้รัฐบาลเปลี่ยนรูปแบบการจัดเวทีกลางทำความเข้าใจการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 จากรูปแบบเวทีโต้วาที เป็นการพูดคุยกลุ่มเล็ก โดยเสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นประธาน แทน ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อให้สามารถหาทางออกร่วมกัน แทนการอภิปรายข้อมูลพลังงานเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในหลายเวทีที่ผ่านมา
นอกจากนี้ ขอให้ภาคประชาชนกำหนดบุคคลที่จะเข้าร่วมในการหารือกับรัฐบาล ไม่ใช่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดเอง เพราะขณะนี้มีรายชื่อของบุคคลที่ไม่เคยร่วมในการเคลื่อนไหวมาเป็นตัวแทนภาคประชาชน และขอให้รัฐบาลเชิญ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรีร่วมหารือในครั้งนี้ด้วย เพราะนายอภิสิทธิ์ มีข้อมูลเรื่องสัปทานปิโตรเลียมเป็นอย่างดี
"หากรัฐบาลไม่สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดเวทีได้ทันวันศุกร์นี้ ควรเลื่อนการจัดรับฟังความเห็นออกไปก่อน 1 สัปดาห์"นายธีระชัยกล่าว
***รัฐบาลไม่เปิดกว้างให้ภาคประชาชน
ม.ล.กรกสิวัฒน์กล่าวว่า การเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มีสัดส่วนของผู้เข้ารับฟังทั้งหมด 300 ที่นั่ง แต่มีตัวแทนจากภาคประชาชนที่จะเข้ารับฟังเพียง 20 ที่นั่งเท่านั้น นับว่าเป็นสัดส่วนน้อยมาก แสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไม่เปิดกว้างในการรับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตาม หวังว่ารัฐบาลจะรับฟังข้อเสนอในการปรับรูปแบบการหารือให้เหมาะสมต่อไป
สำหรับจุดยืนของคณะบุคคลเห็นว่า รัฐบาลควรชะลอการเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบที่ 21 ออกไปก่อน จนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายพระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 และพระราชบัญญัติภาษีปิโตรเลียมก่อน หากใช้อำนาจของ คสช. จะทำให้การร่างกฎหมายใหม่ใช้เวลาเพียง 6 เดือน ซึ่งจะไม่กระทบต่อการผลิตปิโตรเลียมในอนาคต
** นายกฯ เมินนั่งหัวโต๊ะอ้างงานยุ่ง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงกรณีที่มีการเรียกร้องให้นั่งหัวโต๊ะเป็นประธานเวทีกลาง เพื่อรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ในวันที่ 20 ก.พ. ว่า ตนตัดสินใจเองว่าจะทำอะไรแค่ไหน มีเรื่องอื่นอีกเยอะแยะที่ต้องทำ ถ้าทั้งหมดให้นายกฯ ทำคนเดียว ก็ไม่ต้องมี ครม. หรือมีใครทั้งสิ้น ใครรับผิดชอบสายงานไหน ก็ว่ากันไป โดยตนจะเป็นคนตัดสิน ถ้าให้ตนไปนั่งฟังทุกวัน ก็ไม่ต้องทำงานแล้ว ให้ไปนั่งฟังแทนทั้ง 19 กระทรวง ก็ไม่ใช่ ทั้งนี้ ถือว่าตนให้เกียรติอยู่แล้ว เพราะจัดเวทีในทำเนียบรัฐบาล ในนามตน และห้ามมาทะเลาะเบาะแว้ง อาละวาด ด่าทอกันแถวนี้ ไม่ได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า เวทีกลางในวันที่ 20 ก.พ. จะได้ข้อสรุปในการเกิดสัมปทานรอบ 21 เลยหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะเป็นข้อสรุปของที่ประชุมที่นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน มานั่งฟังด้วย จะนำไปรวบรวมสรุป และหาแนวทางเสนอขึ้นมาอีกครั้ง แต่อย่าเพิ่งไปสรุปว่าจะเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยอะไรกันเลย ตนก็ไม่รู้จะไปบังคับอย่างไร ซึ่งต้องไปดูเหตุผลกัน บางอย่างฟังกันเสียบ้าง ก็คงจะตั้งสติกันได้บ้าง
"วันนี้อยากให้เข้าใจว่าเราเข้ามาแก้ไข โดยในหลายๆ สัญญา หลายๆ สัมปทาน เกิดมานานแล้ว ก็ต้องไปดูว่าเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ต้องปรับเป็นรูปแบบไหน ซึ่งมี 3 อย่าง ให้ไปช่วยกันคิดมาก่อน คือ 1.สัมปทาน 2.พีพีพี หรือการให้เอกชนร่วมกิจการของรัฐ และ 3.รัฐลงทุนเองทั้งหมด โดยที่ประชุมในเวทีกลาง วันที่ 20 ก.พ. จะแบ่งให้นั่งซ้าย ขวา และตรงกลาง ให้มีผู้มีความรู้เรื่องพลังงานมานั่งฟังด้วย จะได้มีความคิดเห็น และสรุปกันมาว่าจะเอาอย่างไร"พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
**รัฐบาลให้ถ่ายทอดสดช่อง11
ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงการเปิดเวทีกลางแลกเปลี่ยนความเห็นในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันที่ 20 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ว่า รัฐบาลได้เชิญฝ่ายที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยมาร่วมหารือ จากตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ ร่วมกว่าร้อยคน
ทั้งนี้ สำหรับประชาชนที่สนใจจะมีการถ่ายทอดสดผ่านทีวีวงจรปิดไปที่ศูนย์บริการประชาชนชั่วคราว สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ตั้งแต่เวลา 09.00-12.00 น. โดยนายกรัฐมนตรี มอบหมายตนเป็นตัวแทนรัฐบาล ร่วมรับฟังความเห็นครั้งนี้
**โวยล็อกสเป็กตัวแทนฝ่ายประชาชน
นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี อดีต ส.ส.กทม . พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนเห็นว่าการจัดเวลทีครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ควรจะมาร่วมประชุม และนั่งหัวโต๊ะด้วยตนเอง เพราะการที่รัฐบาลเลือกบุคคลในการนำเสนอฝ่ายประชาชน ทั้ง 4 คน พร้อมระบุชื่อให้ด้วยนั้น เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ควรให้ฝ่ายประชาชนกำหนดตัวคนผู้นำเสนอเอง ส่วนรูปแบบการจัดงาน ก็เหมือนเป็นการโต้วาที ซึ่งคล้ายกับเวทีก่อนๆ เราไม่ต้องการเถียงกับข้าราชการ แต่อยากนำเสนอการแก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 เพื่อเปิดทางเลือกระบบอื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ล็อกสเปก แค่การให้สัมปทานเท่านั้น
"รัฐบาลจะปฏิรูปพลังงานอย่างไร ถ้าไม่แก้ พ.ร.บ.ปิโตรเลียม เปิดช่องให้รัฐเลือกทำสัญญากับเอกชนในรูปแบบอื่น นอกจากระบบสัมปทานเดิม เช่น แบ่งปันผลผลิต หรือจ้างผลิตสัมปทานรอบ 21 คือ ตัววัดความตั้งใจจริงว่า กล้าให้มีทางเลือกอื่นๆหรือไม่ เพราะต่อไปปี 2565 สัมปทานเก่าแหล่งใหญ่มาก จะหมดอายุ" นายอรรถวิชช์กล่าว
**กปปส. ลอยตัว อ้างไม่มีความรู้
นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวว่า การเปิดเวทีดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่ดี แต่ในเรื่องนี้ กปปส.ถือได้ว่าเป็นคนนอก เพราะจุดยืนของเรา เกิดจากการต่อต้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม การต่อต้านระบอบทักษิณ และการผลักดันให้เกิดการปฏิรูป แม้เรื่องพลังงานจะเป็นหนึ่งในเรื่องที่ต้องมีการปฏิรูป แต่เราก็ไม่มีความชำนาญในเรื่องดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา ได้เห็นข้อเสนอของภาคประชาชน และภาครัฐก็เข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย แต่เห็นว่า ข้อเสนอของประชาชนในครั้งนี้มีความน่าสนใจ และสามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งเรื่องการสำรวจก่อนที่จะมีการเปิดให้สัมปทาน และการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องพลังงาน ดังนั้น ในการหารือเวทีดังกล่าว เห็นว่า ทั้ง 2 ฝ่ายควรนำข้อมูลมาคุยกันแบบเปิดเผย สู้กันด้วยข้อมูล ไม่ควรใช้อารมณ์ในการพูดคุย และอย่าใส่ร้ายป้ายสี เพราะจะทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิรูปพลังงานครั้งนี้ และหากภาครัฐมีความเห็นอย่างไร ก็ควรชี้แจงให้ประชาเข้าใจ
**ปตท.โวยอย่าดึงการเมืองเอี่ยวสัมปทาน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การจัดเวทีทำความเข้าใจการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในวันศุกร์นี้ เป็นเรื่องที่ดีที่จะได้มีการพูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ แม้ว่าขณะนี้ทาง ปตท.ยังไม่ได้รับการติดต่อให้เข้าร่วม แต่ต้องรับฟังข้อมูลทั้ง 2 ฝ่ายแล้วตัดสินใจจากข้อมูล ไม่ใช่ตัดสินใจจากโวหาร และไม่ต้องการให้นำประเด็นเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เป็นประเด็นการเมือง เพราะจะไม่จบ และถ้าไทยไม่สามารถเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ได้ ก็จะต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มากขึ้น ซึ่งมีความเสี่ยงด้านราคาในอนาคต
"การเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่มีการเสนอให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC) นั้น ยังไม่เหมาะสมกับประเทศไทย เพราะแหล่งก๊าชธรรมชาติมีขนาดเล็ก จึงมีความเสี่ยงในการลงทุน และระบบแบ่งปันผลผลิตยังเป็นภาระของรัฐบาลที่ต้องร่วมลงทุนในการเจาะสำรวจด้วย หากไม่พบปิโตรเลียมก็จะเสี่ยง ขณะนี้อินโดนีเซียที่เคยใช้ระบบPSC ยังหันกลับมาใช้ระบบสัมปทาน เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการเจาะสำรวจมากขึ้น หลังจากปริมาณการผลิตก๊าซฯ ลดลงอย่างต่อเนื่องในรอบ 10ปี"
อย่างไรก็ตาม บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท.สผ. จะเข้าร่วมยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ในแหล่งปิโตรเลียมที่เกี่ยวข้อง เพื่อรักษาอัตราการผลิตปิโตรเลียมด้วย
***ป้อง"บิ๊กตู่"หลังโซเซียลวิพากษ์หนัก
นายไพรินทร์กล่าวว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานของรัฐที่นายกรัฐมนตรีพูดในรายการ "คืนความสุขให้คนในชาติ" เมื่อวันที่ 13 ก.พ.ที่ผ่านมา โดยมีการนำมาวิพากษ์วิจารณ์ โดยนำข้อมูลมาปะติปะต่อทำให้เกิดความสับสนในสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งตนมีความเป็นห่วง เนื่องจากราคาพลังงานเป็นเรื่องเทคนิคและมีรายละเอียดเยอะ หากมีการเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปคนละเรื่อง จะส่งผลให้การปฏิรูปพลังงานเป๋ไปหมด และไม่ควรนำพลังงานมาเป็นประเด็นเรื่องรักชาติหรือการเมือง ปตท. จึงอยากชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อาทิ ประเด็นที่ระบุว่าข้อมูลภาครัฐบอกว่าก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยจะหมดใน 7 ปี หากไม่มีการเจาะสำรวจใหม่เพิ่มเติม ทำให้รัฐต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ขัดกับข้อมูลที่ ปตท. ระบุมีก๊าซฯ ใช้ 20 ปีนั้น ขอยืนยันว่าข้อมูลจากภาครัฐเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง โดยที่ ปตท.ไม่เคยระบุว่ามีก๊าซฯ ใช้นาน 20ปี เชื่อว่าเป็นการหยิบข้อมูลที่ระบุว่า ปตท.ได้มีการทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาตาร์ ในรูปสัญญาระยะยาว 20ปี ในปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี ซึ่งเป็นคนละประเด็นกัน
ทั้งนี้ ไทยมีความต้องการใช้ก๊าซฯ ปีละ 40 ล้านตัน มาจากก๊าซฯ ในอ่าวไทย 30 ล้านตัน ที่เหลือเป็นการนำเข้าจากเมียนมาร์ และพื้นที่คาบเกี่ยวไทย-มาเลเซีย (JDA) 10 ล้านตัน ซึ่งปริมาณก๊าซLNGที่นำเข้าจากกาตาร์เพียง 2 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วนเพียง 5-6% ของความต้องการใช้ทั้งหมด ซึ่งก๊าซฯที่นำเข้าจากต่างประเทศจะมีราคาสูงกว่าราคาก๊าซฯในอ่าวไทย ดังนั้นการเปิดสัมปทานรอบ 21 จะเป็นการเปิดให้มีการสำรวจเพื่อเพิ่มการผลิตก๊าซฯได้เองภายในประเทศ แต่ก็ยังไม่มีความแน่นอนว่าจะพบแหล่งก๊าซฯได้จริงหรือไม่
นอกจากนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “ราคาน้ำมันลง ไม่ใช่ว่าก๊าซฯ จะต้องลงไป คงไม่ใช่แบบนั้น เพราะคนละส่วน คนละต้นทุนและวิธีการ” นั้น ถูกต้องแล้ว เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า ที่อ้างอิงราคาน้ำมันเตาย้อนหลัง 6-12 เดือน จึงทำให้ราคาก๊าซฯไม่สามารถปรับลดได้ทันทีตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ลดลง และจะสะท้อนให้เห็นในอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติผันแปร หรือ เอฟทีที่มีแนวโน้มปรับลง 10 กว่าสตางค์ต่อหน่วย
“สิ่งที่เกิดขึ้นในโซเชียลออนไลน์นั้นพยายามทำให้สังคมลดความเชื่อถือในข้อมูลของรัฐ ซึ่งหาไม่เชื่อมั่นข้อมูลรัฐแล้วจะเชื่อข้อมูลจากไหน ผมอยู่ในธุรกิจพลังงานมานานหลายปี ก็ยังไม่กล้ากล่าวว่าตนเองรู้เรื่องพลังงานดีที่สุด ยังต้องเรียนอยู่เลย จึงอยากจะเตือนสติกัน โดยยืนยันว่าข้อมูลปตท.กับข้อมูลรัฐไม่ได้ขัดแย้งกัน“นายไพรินทร์กล่าว
**ปิโตรเลียมต้องเป็นทรัพยากรของชาติ
พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช โฆษกคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปด้านพลังงานที่จะมีการยกร่างไว้ในรัฐธรรมนูญ ว่า มีการกำหนดไว้ว่าต้องบริหารจัดการพลังงานอย่างมีธรรมาภิบาลและยั่งยืน ให้ปิโตรเลียมและเชื้อเพลิงธรรมชาติอื่นเป็นทรัพยากรของชาติ และมีไว้เพื่อประโยชน์สูงสุดของประเทศ และประชาชนอย่างแท้จริง และดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการปิโตรเลียมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับพลังงานให้สอดคล้องกับหลักการข้างต้น ให้การสำรวจ การผลิต และการใช้ปิโตรเลียม หรือพลังงานอื่นใด ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิถีชีวิต และสุขภาพของประชาชนและชุมชน อีกทั้งต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับรู้ เข้าถึงและเข้าใจในข้อมูลด้านพลังงาน และมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย และวางแผนพลังงานทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น รวมทั้งการติดตามและตรวจสอบการดำเนินนโยบายและแผนนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ขัดแย้งกับหลักการที่กำหนดในร่างรัฐธรรมนูญว่า ประชาชนต้องมีส่วนร่วมและให้ปิโตรเลียม เป็นทรัพยากรของชาติหรือไม่ พล.อ.เลิศรัตน์ กล่าวเลี่ยงว่า เนื้อหาในรัฐธรรมนูญที่กำลังร่าง ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่ทุกรัฐบาลก็ต้องฟังเสียงประชาชนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม เป็นไปไม่ได้ที่ทุกคนจะเห็นด้วย ซึ่งรัฐบาลก็จะต้องชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจในการบริหารประเทศ