ASTVผู้จัดการรายวัน - ประกันภัยลุ้นมาตรการรัฐกระตุ้นจีดีพี หนุนธุรกิจประกันวินาศภัยโต เลขาฯ คปภ.ระบุ แนวโน้มทั้งประกันชีวิต-ประกันภัย หลังน้ำท่วมยังเติบโตได้ในระดับ 14% ด้านนายกสมาคมประกันวินาศภัย ระบุยอดจ่ายสินไหมน้ำท่วมจ่อครบ 4.1 แสนล้านแล้ว เหลือเพียงแค่ 2.85% เท่านั้น พร้อมย้ำฐานะการเงินแกร่งน้ำท่วมกระทบระยะสั้นเท่านั้น
นายประเวศ องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย( คปภ.) กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ยังเติบโตได้ที่ระดับ 14% ซึ่งในปีนี้ต้องดูว่าการลงทุนจากภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของ จีดีพี ได้เท่าไร หากมีเงินลงทุนจากภาครัฐเข้าลงทุนในโครงการต่างๆ ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อการโตของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
นายอานนท์ วังสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจ่ายสินไหมของเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 จำนวน 410,421,799,544.46 บาท ปัจจุบันได้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว 90,342 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.17 เป็นจำนวนเงิน 398,726,283,695.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.15 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 2.85 เป็นประกันภัยการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) อยู่ระหว่างการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเสียหายที่ธุรกิจประกัยภัยจะต้องจ่ายจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้มีมูลค่ามหาศาลมาก ซี่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่จากการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ธุรกิจประกันภัยสามารถพลิกฟื้นสถานะทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างๆ
"ธุรกิจประกันยังเติบโตได้อีกมาก หากมองไปที่กลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่มีประกันชีวิตอีกจำนวนมาก หากเข้าไปเจาะกลุ่มเหล่านี้ก็จะทำให้ธุรกิจประกันยังเติบโตได้อีก"
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในปี 2554 จะมีทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบ้านเรือนประชาชน รวมถึงหน่วยงานและธุรกิจต่างๆ มีประชากรได้รับความเสียหายกว่า 13 ล้านคน รวมกว่า 4 ล้านครัวเรือน โดยความเสียหายในครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทซึ่งในความเสียหายนี้มีผู้เสียหายเอาประกันภัยเรียกร้องจำนวน 91,342 รายคิดเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท
โดยในจำนวนนี้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยมากที่สุดคือ ประกันการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จำนวน 392,299,311,506.24 บาท รองลงมาคือ ประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์ / SME) จำนวน 10,812,062886.60 บาท ประกันรถยนต์ 4,107,612,177.81 บาท ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย จำนวน 3,175,569,653.41 บาท และประกันภัยชีวิตและอุบัติเหตุ (PA) จำนวน 27,243,320.40 บาท และประกันภัยที่จ่ายสินไหมทดแทนครบทุกรายแล้วได้แก่การประกันชีวิตและการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) การประกันภัยรถยนต์และประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย)
ด้านนายกรกฤต คำเรืองฤทธิ์ กรรมการบริหารบริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงน้ำท่วมนั้นได้ดำเนินการจ่ายสินไหมอย่างต่อเนื่องในทันทีเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากืางบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น จำนวนกว่า 10000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากน้ำท่วมผ่านไปแล้วสถานะการเงินของบริษัทได้มีการเพิ่มทุนทำให้ปัจจุบันบริษัทสามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆในประเทศไทยมาก
นายประเวศ องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย( คปภ.) กล่าวว่า หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วม ธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัย ยังเติบโตได้ที่ระดับ 14% ซึ่งในปีนี้ต้องดูว่าการลงทุนจากภาครัฐจะสร้างความเชื่อมั่นต่อการเติบโตของ จีดีพี ได้เท่าไร หากมีเงินลงทุนจากภาครัฐเข้าลงทุนในโครงการต่างๆ ก็จะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อการโตของประกันชีวิตและประกันวินาศภัย
นายอานนท์ วังสุ นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย กล่าวว่า ความคืบหน้าการจ่ายสินไหมของเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 จำนวน 410,421,799,544.46 บาท ปัจจุบันได้มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว 90,342 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.17 เป็นจำนวนเงิน 398,726,283,695.93 บาท คิดเป็นร้อยละ 97.15 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 2.85 เป็นประกันภัยการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) อยู่ระหว่างการดำเนินการซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จเร็วๆนี้
อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเสียหายที่ธุรกิจประกัยภัยจะต้องจ่ายจากเหตุการณ์น้ำท่วมนี้มีมูลค่ามหาศาลมาก ซี่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเงินกองทุนของบริษัทประกันวินาศภัย แต่จากการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว ธุรกิจประกันภัยสามารถพลิกฟื้นสถานะทางการเงินได้อย่างรวดเร็ว สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนให้กับนักลงทุนและผู้ประกอบการต่างๆ
"ธุรกิจประกันยังเติบโตได้อีกมาก หากมองไปที่กลุ่มผู้บริโภคที่ยังไม่มีประกันชีวิตอีกจำนวนมาก หากเข้าไปเจาะกลุ่มเหล่านี้ก็จะทำให้ธุรกิจประกันยังเติบโตได้อีก"
สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นในปี 2554 จะมีทั้งภาคเกษตร อุตสาหกรรม และบ้านเรือนประชาชน รวมถึงหน่วยงานและธุรกิจต่างๆ มีประชากรได้รับความเสียหายกว่า 13 ล้านคน รวมกว่า 4 ล้านครัวเรือน โดยความเสียหายในครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาทซึ่งในความเสียหายนี้มีผู้เสียหายเอาประกันภัยเรียกร้องจำนวน 91,342 รายคิดเป็นเงินกว่า 4 แสนล้านบาท
โดยในจำนวนนี้มีจำนวนเงินเอาประกันภัยมากที่สุดคือ ประกันการเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (IAR) จำนวน 392,299,311,506.24 บาท รองลงมาคือ ประกันอัคคีภัย (อาคารพาณิชย์ / SME) จำนวน 10,812,062886.60 บาท ประกันรถยนต์ 4,107,612,177.81 บาท ประกันอัคคีภัยที่อยู่อาศัย จำนวน 3,175,569,653.41 บาท และประกันภัยชีวิตและอุบัติเหตุ (PA) จำนวน 27,243,320.40 บาท และประกันภัยที่จ่ายสินไหมทดแทนครบทุกรายแล้วได้แก่การประกันชีวิตและการประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล (PA) การประกันภัยรถยนต์และประกันอัคคีภัย (ที่อยู่อาศัย)
ด้านนายกรกฤต คำเรืองฤทธิ์ กรรมการบริหารบริษัท โตเกียวมารีนประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงน้ำท่วมนั้นได้ดำเนินการจ่ายสินไหมอย่างต่อเนื่องในทันทีเพื่อให้ผู้ประกอบการได้ฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งได้รับเงินช่วยเหลือจากืางบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น จำนวนกว่า 10000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากน้ำท่วมผ่านไปแล้วสถานะการเงินของบริษัทได้มีการเพิ่มทุนทำให้ปัจจุบันบริษัทสามารถรองรับสถานการณ์ต่างๆในประเทศไทยมาก