ประเด็นร้อนที่กำลังท้าทายสังคมไทยอย่างรุนแรงก็คือ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่กระทรวงพลังงานภายใต้รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชาซึ่งจะปิดรับการขอสัมปทานในวันที่ 18 ก.พ.นี้
มีรายงานว่า 3 ชั่วโมงที่วงประชุมแม่น้ำ 5 สายนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวในที่ประชุมตอนหนึ่งถึงกรณีกระแสคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ของรัฐบาลว่า “มีแต่คนบอกว่าไม่ให้เปิดประมูลแล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ บอกแต่ห้ามทำ แต่ไม่มีการเสนอทางออกมาให้ด้วย ยิ่งเฉพาะประเทศไทยไม่มีบริษัทที่จะสำรวจเกี่ยวกับพลังงานทั้งเอกชนและรัฐบาลก็ไม่มี แล้วจะให้ทำยังไง ก็ให้ไปคิดกัน” (ผู้จัดการออนไลน์ 7 ก.พ.58)
ในบทความนี้นอกจากผมจะเสนอทางออกตามที่ท่านนายกฯ เรียกร้องแล้ว ผมจะนำเสนอข้อมูลซึ่งผมเชื่อว่าทั้งท่านนายกฯ และคนไทยจำนวนมากก็ไม่เคยรู้ ผมจะนำเสนอเป็นข้อๆ รวม 5 ข้อ ตั้งแต่ภาพรวมไปจนถึงรายละเอียดว่า “แล้วจะเอาที่ไหนใช้” ดังต่อไปนี้ครับ
ข้อที่หนึ่งจะปฏิรูปพลังงานเมื่อปิโตรเลียมหมดไปแล้วกระนั้นหรือ?
ในทันทีที่รัฐบาลลงนามในสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท สัญญานั้นจะมีผลบังคับใช้ไปได้ประมาณ 39 ปี โดยที่ 9 ปีแรกเป็นขั้นตอนการสำรวจ ที่เหลืออีก 30 ปีเป็นขั้นตอนการผลิตโดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 20 ปีและอีก 10 ปีหากปิโตรเลียมยังไม่หมดแม้ในช่วงหลังกระทรวงพลังงานได้ออกประกาศกระทรวง (4 ก.พ. 58) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายเพื่อนำระบบแบ่งปันผลผลิตมาใช้ก็ตาม แต่นโยบายรัฐบาลจะขัดแย้งกับพระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ได้อย่างไร
รัฐบาลนี้กำลังหลอกลวงประชาชนครับซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก
ผมมีคำถามมี 2 ข้อ คือ
(1) ทำไมรัฐบาลนี้ไม่แก้ไขพระราชบัญญัติเสียก่อนซึ่งใช้เวลาไม่นานก็แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับยังร่างได้เลย
(2) รัฐบาลนี้ได้ประกาศจะปฏิรูปประเทศอย่างแข็งขัน 11 ด้าน เรื่องพลังงานเป็นหนึ่งในนั้นซึ่งประชาชนได้ให้ความสนใจและเรียกร้องมายาวนาน ดังนั้น ถ้าเมื่อได้ให้สัมปทานไปแล้วจะมีพลังงานที่ไหนให้ปฏิรูปอีกเล่า
เหตุผลสำคัญที่ภาคประชาชนคัดค้านระบบสัมปทานก็มี 2 ข้อเช่นกัน คือ
(1) ระบบสัมปทานเป็นระบบที่ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่กฎหมายระบุชัดเจนว่าเป็นของรัฐให้กับเอกชน ทำให้รัฐหรือประชาชนสูญเสียอำนาจในการจัดการและควบคุมกิจการทั้งหมด โดยหมดสภาพอย่างสิ้นเชิงไปจากอำนาจอธิปไตย
(2) จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าบริษัทรับสัมปทานได้ผลกำไรสุทธิมากจนเกินไป ซึ่งหมายถึงว่ารัฐได้ผลประโยชน์น้อย เช่น ในปี 2556 บริษัทลงทุนรวม 193,824 ล้านบาท แต่ได้รับกำไรสุทธิหลังจากการหักต้นทุน ค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้แล้วถึง 151,998 ล้านบาท เป็นเช่นนี้มาหลายปีติดต่อกัน
ท่านนายกฯใช้คำว่า “มีแต่คนบอกว่าไม่ให้เปิดประมูล” ความจริงแล้วท่านนายกฯ เข้าใจผิดครับ เนื่องจากในระบบสัมปทานไม่มีการเปิดประมูล เพราะผลประโยชน์ก้อนใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าภาคหลวงหรือภาษีเงินได้ซึ่งมีค่ารวมกันถึงมากกว่า 99%ของรายได้ที่ควรจะได้ของรัฐนั้นได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวในกฎหมายเรียบร้อยแล้ว การพิจารณาของคณะกรรมการว่าจะเลือกรายใดให้ได้รับสัมปทานนั้นขึ้นอยู่กับการเขียนเรียงความของแต่ละบริษัทพร้อมกับเงินทุนบริจาคซึ่งมีมูลค่าระดับร้อยล้านบาทเท่านั้นเอง ตรงกันข้ามกับระบบการแบ่งปันผลผลิตที่มีการประมูลกันจริงในผลประโยชน์ก้อนใหญ่ๆ
ข้อที่สอง “แล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ บอกแต่ห้ามทำ แต่ไม่มีการเสนอทางออกมาให้ด้วย”
ผมขอแยกตอบคำถามนี้เป็น 2 เรื่อง คือเรื่องน้ำมันดิบกับเรื่องก๊าซธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เราใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า
เอาเรื่องน้ำมันดิบก่อนครับ จากการสืบค้นข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันดิบที่ผลิตในประเทศไทยกับราคาในตลาดโลก (http://www.indexmundi.com) ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยจาก 3 ตลาดใหญ่ของโลกคือ Brent, West Texas Intermediate และดูไบ พบว่า
ราคาเฉลี่ยที่ปากหลุมผลิตในประเทศไทยในปี 2557 สูงกว่าตลาด West Texas ประมาณ 90 บาทต่อบาร์เรล ในขณะที่แหล่งเบญจมาศเหนือ (สัมปทานโดยบริษัทเซฟรอน) สูงกว่าตลาด West Texas ถึง 212 บาทต่อบาร์เรลผมเขียนกราฟมาให้ดูด้วยครับ
ดังนั้น สามารถตอบคำถามท่านนายกฯ ได้ว่า ในกรณีน้ำมันดิบนั้น เรานำเข้าจากต่างประเทศดีกว่าครับ และปัจจุบันน้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยก็นำเข้าอยู่แล้ว ในขณะที่จากแหล่งเบญจมาศเหนือบางปีส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าส่งออกกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท
สำหรับเรื่องก๊าซธรรมชาติมีเรื่องแปลกๆ ที่ผมจะเล่าให้ฟังครับ ก่อนที่จะตอบท่านนายกฯ ว่าแล้วจะเอาที่ไหนใช้ ผมนำกราฟในช่วง 24 เดือน (2556-2557) มาลงให้ดูด้วยครับ
ที่ว่าแปลกมี 2 ข้อ คือ
(1) ในขณะที่ ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ที่ Henry Hub terminal in Louisiana ราคาขึ้นลงตามราคาน้ำมันดิบ แต่ราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเกือบจะคงที่ตลอดเวลา
(2) ก๊าซที่ว่านี้เป็นราคาปากหลุมนะครับ ราคาเฉลี่ยที่ผลิตในประเทศไทยอยู่ที่ 237 บาทต่อล้านบีทียู (1 ล้านบีทียูเท่ากับประมาณ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต) แต่ราคาเฉลี่ยที่ Henry Hub เท่ากับ 129 บาท มันต่างกันเยอะนะครับ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในช่วงหลังสหรัฐอเมริกาผลิตจากหินดินดาน (Shale gas) จึงมีราคาถูกมากๆ แต่ก็มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรงและกำลังได้รับการต่อต้านจากประชาชน
ประเด็นที่ผมอยากจะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาตอบก็คือ ทำไมราคาในประเทศไทยจึงคงที่ และราคาเป็นธรรมหรือไม่ แต่จากข้อมูลในข้อที่หนึ่งที่พบว่าบริษัทรับสัมปทานมีกำไรสุทธิเกือบ 100% ของเงินลงทุน ก็ทำให้เราทราบได้แล้วว่า ราคาไม่เป็นธรรมกับประชาชนแน่นอน
มาที่คำถามว่า ถ้าต้องเลื่อนการเปิดสัมปทานออกไปแล้วจะเอาก๊าซที่ไหนมาใช้ ผมขอตอบในข้อที่สามครับซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการปฏิรูปเร็ว หรือ Quick Win ที่ได้ผ่านสภาปฏิรูปและผ่านมติ ครม.ไปแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าจากข้าราชการประจำ
ข้อที่สาม ความไม่คืบหน้าจากโครงการปฏิรูปเร็ว “โซลาร์รูฟท็อปเสรี”
สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ผ่านมติเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ของฝ่ายปฏิบัติการหรือหน่วยงานของรัฐ เช่นจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์บนหลังคาในราคาหน่วยละเท่าใด จึงจะเป็นธรรมกับทุกฝ่ายทั้งการไฟฟ้าและเจ้าของหลังคาบ้าน
จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผมค้นได้ว่าก๊าซธรรมชาติจำนวน 9.4 ลูกบาศก์ฟุต สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 หน่วยไฟฟ้า (kwh)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนในเครือข่ายของผมคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีบอกผมว่า บ้านเขาได้ติดตั้งขนาด 3 กิโลวัตต์ จำนวน 12 แผ่น บนหลังคาบ้านตนเองสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละ 17.8 หน่วย (เป็นวันที่แสงแดดดีมาก แถมยังคุยอีกว่าลองเปิดแอร์ 2 ตัวแล้วมิเตอร์ไฟฟ้ายังเดินถอยหลังเลย
ซึ่งหมายความว่าไฟฟ้ามากพอ) ดังนั้นบ้านหลังนี้สามารถลดการใช้ก๊าซได้วันละ 167 ลูกบาศก์ฟุตปีหนึ่งก็ประมาณ 6 หมื่นลูกบาศก์ฟุต
หรือประมาณ 60 ล้านบีทูยู
ถ้ารัฐบาลนี้ส่งเสริมให้มีการติดตั้งสัก 1 ล้านหลังคาเรือน (จากทั้งหมดประมาณ 22 ล้านครัวเรือน) ก็สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงได้ถึง 60 ล้านล้านบีทียู ก็สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงได้ประมาณถึง 18% ของที่เคยใช้ในปี 2557 (หมายเหตุ การประเมินของผมอาจจะสูงเกินไปบ้างเพราะคิดเฉพาะวันที่แดดดีมากๆ)
นี่เป็นทางออกของประเทศในกรณีต้องล่าช้าครับท่านนายกฯ
การคิดว่าหากคนไทยติดโซลาร์เซลล์ 1 ล้านหลัง (หรือประมาณ 5% ของจำนวนหลัง) อย่าคิดว่าสูงเกินไปนะครับ เพราะเมื่อปลายปีที่แล้ว ทุกๆ 4 หลังคาเรือนในรัฐออสเตรเลียใต้ ได้มีการติดตั้งแล้วถึง 1 หลัง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับต้นทุนการติดตั้งของเพื่อนในเครือข่ายของผมขนาด 3 กิโลวัตต์ ก็ประมาณ 1 แสนบาทต้นๆ โดยไม่คิดค่าแรงเพราะลงมือทำกันเอง ลองคิดดูดีๆ นะครับ ถ้ามีการส่งเสริมกันอย่างจริงจังจะมีการจ้างงานนับแสนตำแหน่ง และเงินทุนหมุนเวียนน่าจะสูงกว่าค่าภาคหลวงจากก๊าซธรรมชาติที่ต้องลดจำนวนลง
สำหรับ ข้อมูลด้านการผลิตปิโตรเลียมประจำปี 2557 ผมได้รวบรวบจากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (รายงานของกรมฯ อาจจะต้องรอข้ามปี) ดังแสดงในตารางครับซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าปิโตรเลียมมาจากก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
อนึ่ง ราคาก๊าซแอลพีจีในตารางข้างต้น มาจากแหล่งสิริกิติ์เท่ากับ 9.90 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาต้นทุนที่ทางราชการประกาศเท่ากับ 16.54 บาท
ทำไมมันต่างกันเยอะขนาดนี้!
ข้อที่สี่ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงมาก แต่ราคาน้ำมันหน้าปั๊มของไทยจึงลดน้อยมาก
ผู้ที่ติดตามข้อมูลเรื่องพลังงานพอจะทราบกันทั่วไปว่า ราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มในประเทศไทยก็ไม่ค่อยจะแปรผันตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพ่อค้าน้ำมัน และนโยบายของรัฐบาลทั้งเรื่องภาษีและกองทุนน้ำมัน แต่ก็ไม่ค่อยมีใครศึกษาให้เป็นระบบชัดเจน
ผมพบข้อมูลจากบทความที่เขียนโดย Tom Randall ชื่อ Seven Reasons Cheap Oil Can’t Stop Renewables Now ในเว็บไซต์ของ Bloomberg
ผู้เขียนได้ยกเอาข้อมูลจากแหล่งหนึ่ง (อ้างเรียบร้อย Bernstein Research) เป็นการเปรียบเทียบราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มในประเทศต่างๆ จำนวน 15 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยเราด้วย ผมนำกราฟมาเสนอก่อนนะครับ
เขาเปรียบราคาในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาด Brent ได้ลดลงถึงประมาณ 22%
ผลการศึกษาพบว่า ราคาหน้าปั๊มในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเก็บภาษีในอัตราต่ำ) ได้ลดลงประมาณ 14% ในขณะที่ประเทศเยอรมนี และไต้หวันลดลงประมาณ 10% และออสเตรเลียลดลง 4%
แต่ราคาในประเทศไทย อินโดนีเซียและมาเลเซียไม่ได้ลดลงเลยครับ ดูกราฟ(ตามระเบียบ)
ผมเองก็ไม่เชื่อข้อมูลดังกล่าวครับ เพราะใครๆ ก็พูดกันว่าน้ำมันได้ถูกลงจริงๆ
แต่ความหมายของผู้วิจัยก็คือ เป็นการเปรียบเทียบราคาน้ำมันเฉลี่ยของรายไตรมาส นั่นคือต้องเอาราคาน้ำมันทุกวันมาเฉลี่ยของแต่ละ 3 เดือนมาเปรียบเทียบกัน แต่เนื่องจากทางราชการไทยไม่ได้ทำเอาไว้ ผมจึงนำค่าราคาของกลางเดือนไตรมาสที่ 3 (15 สิงหาคม) และที่ 4 (15 พฤศจิกายน) มาเปรียบเทียบกันอย่างง่ายๆ (โดยไม่มีการถ่วง และถือว่าเป็นการศึกษาที่หยาบมาก) พบว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยลดลงแค่ 3.9%
ข้อที่ห้า ประเทศใดที่มีน้ำมันเยอะ ประเทศนั้นจะมีประชาธิปไตยน้อย
ผลงานวิจัยของ Michael L. Ross, “Does Oil Hinder Democracy?” World Politics April 2001 ซึ่งเป็นการศึกษาจาก 133 รัฐ พบว่า ประเทศที่มีน้ำมันเยอะ ประเทศจะมีประชาธิปไตยน้อย รวมถึงความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามภายในประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแต่ในตะวันออกกลางที่เราทราบ แต่ในทวีปอื่นๆ ด้วย
บทเรียนในประเทศไทยเราเองพบว่า การให้สัมปทานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ถ้าท่านนายกฯ มีความจริงใจกับประเทศจริงเหมือนที่ท่านพูด (แต่ไม่ชอบฟังชาวบ้าน) ขอได้โปรดหยุดสัมปทานเถอะครับ สุดท้าย ผมจะไม่ขอสรุปอะไรมากไปกว่าการนำภาพแปรอักษรในวันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 มาลงเพื่อเตือนท่านว่า “ธรรมคืออำนาจ มิใช่อำนาจคือธรรม”
มีรายงานว่า 3 ชั่วโมงที่วงประชุมแม่น้ำ 5 สายนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ได้กล่าวในที่ประชุมตอนหนึ่งถึงกรณีกระแสคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ของรัฐบาลว่า “มีแต่คนบอกว่าไม่ให้เปิดประมูลแล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ บอกแต่ห้ามทำ แต่ไม่มีการเสนอทางออกมาให้ด้วย ยิ่งเฉพาะประเทศไทยไม่มีบริษัทที่จะสำรวจเกี่ยวกับพลังงานทั้งเอกชนและรัฐบาลก็ไม่มี แล้วจะให้ทำยังไง ก็ให้ไปคิดกัน” (ผู้จัดการออนไลน์ 7 ก.พ.58)
ในบทความนี้นอกจากผมจะเสนอทางออกตามที่ท่านนายกฯ เรียกร้องแล้ว ผมจะนำเสนอข้อมูลซึ่งผมเชื่อว่าทั้งท่านนายกฯ และคนไทยจำนวนมากก็ไม่เคยรู้ ผมจะนำเสนอเป็นข้อๆ รวม 5 ข้อ ตั้งแต่ภาพรวมไปจนถึงรายละเอียดว่า “แล้วจะเอาที่ไหนใช้” ดังต่อไปนี้ครับ
ข้อที่หนึ่งจะปฏิรูปพลังงานเมื่อปิโตรเลียมหมดไปแล้วกระนั้นหรือ?
ในทันทีที่รัฐบาลลงนามในสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท สัญญานั้นจะมีผลบังคับใช้ไปได้ประมาณ 39 ปี โดยที่ 9 ปีแรกเป็นขั้นตอนการสำรวจ ที่เหลืออีก 30 ปีเป็นขั้นตอนการผลิตโดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ 20 ปีและอีก 10 ปีหากปิโตรเลียมยังไม่หมดแม้ในช่วงหลังกระทรวงพลังงานได้ออกประกาศกระทรวง (4 ก.พ. 58) เพื่อเปิดโอกาสให้รัฐบาลเปลี่ยนนโยบายเพื่อนำระบบแบ่งปันผลผลิตมาใช้ก็ตาม แต่นโยบายรัฐบาลจะขัดแย้งกับพระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 ได้อย่างไร
รัฐบาลนี้กำลังหลอกลวงประชาชนครับซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่อันตรายมาก
ผมมีคำถามมี 2 ข้อ คือ
(1) ทำไมรัฐบาลนี้ไม่แก้ไขพระราชบัญญัติเสียก่อนซึ่งใช้เวลาไม่นานก็แล้วเสร็จ รัฐธรรมนูญทั้งฉบับยังร่างได้เลย
(2) รัฐบาลนี้ได้ประกาศจะปฏิรูปประเทศอย่างแข็งขัน 11 ด้าน เรื่องพลังงานเป็นหนึ่งในนั้นซึ่งประชาชนได้ให้ความสนใจและเรียกร้องมายาวนาน ดังนั้น ถ้าเมื่อได้ให้สัมปทานไปแล้วจะมีพลังงานที่ไหนให้ปฏิรูปอีกเล่า
เหตุผลสำคัญที่ภาคประชาชนคัดค้านระบบสัมปทานก็มี 2 ข้อเช่นกัน คือ
(1) ระบบสัมปทานเป็นระบบที่ยกกรรมสิทธิ์ในทรัพยากรปิโตรเลียมที่กฎหมายระบุชัดเจนว่าเป็นของรัฐให้กับเอกชน ทำให้รัฐหรือประชาชนสูญเสียอำนาจในการจัดการและควบคุมกิจการทั้งหมด โดยหมดสภาพอย่างสิ้นเชิงไปจากอำนาจอธิปไตย
(2) จากข้อมูลที่ผ่านมาพบว่าบริษัทรับสัมปทานได้ผลกำไรสุทธิมากจนเกินไป ซึ่งหมายถึงว่ารัฐได้ผลประโยชน์น้อย เช่น ในปี 2556 บริษัทลงทุนรวม 193,824 ล้านบาท แต่ได้รับกำไรสุทธิหลังจากการหักต้นทุน ค่าภาคหลวงและภาษีเงินได้แล้วถึง 151,998 ล้านบาท เป็นเช่นนี้มาหลายปีติดต่อกัน
ท่านนายกฯใช้คำว่า “มีแต่คนบอกว่าไม่ให้เปิดประมูล” ความจริงแล้วท่านนายกฯ เข้าใจผิดครับ เนื่องจากในระบบสัมปทานไม่มีการเปิดประมูล เพราะผลประโยชน์ก้อนใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าภาคหลวงหรือภาษีเงินได้ซึ่งมีค่ารวมกันถึงมากกว่า 99%ของรายได้ที่ควรจะได้ของรัฐนั้นได้ถูกกำหนดไว้อย่างตายตัวในกฎหมายเรียบร้อยแล้ว การพิจารณาของคณะกรรมการว่าจะเลือกรายใดให้ได้รับสัมปทานนั้นขึ้นอยู่กับการเขียนเรียงความของแต่ละบริษัทพร้อมกับเงินทุนบริจาคซึ่งมีมูลค่าระดับร้อยล้านบาทเท่านั้นเอง ตรงกันข้ามกับระบบการแบ่งปันผลผลิตที่มีการประมูลกันจริงในผลประโยชน์ก้อนใหญ่ๆ
ข้อที่สอง “แล้วจะเอาที่ไหนมาใช้ บอกแต่ห้ามทำ แต่ไม่มีการเสนอทางออกมาให้ด้วย”
ผมขอแยกตอบคำถามนี้เป็น 2 เรื่อง คือเรื่องน้ำมันดิบกับเรื่องก๊าซธรรมชาติซึ่งส่วนใหญ่เราใช้เพื่อการผลิตไฟฟ้า
เอาเรื่องน้ำมันดิบก่อนครับ จากการสืบค้นข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เพื่อเปรียบเทียบราคาน้ำมันดิบที่ผลิตในประเทศไทยกับราคาในตลาดโลก (http://www.indexmundi.com) ซึ่งเป็นราคาเฉลี่ยจาก 3 ตลาดใหญ่ของโลกคือ Brent, West Texas Intermediate และดูไบ พบว่า
ราคาเฉลี่ยที่ปากหลุมผลิตในประเทศไทยในปี 2557 สูงกว่าตลาด West Texas ประมาณ 90 บาทต่อบาร์เรล ในขณะที่แหล่งเบญจมาศเหนือ (สัมปทานโดยบริษัทเซฟรอน) สูงกว่าตลาด West Texas ถึง 212 บาทต่อบาร์เรลผมเขียนกราฟมาให้ดูด้วยครับ
ดังนั้น สามารถตอบคำถามท่านนายกฯ ได้ว่า ในกรณีน้ำมันดิบนั้น เรานำเข้าจากต่างประเทศดีกว่าครับ และปัจจุบันน้ำมันดิบส่วนใหญ่ที่ใช้ในประเทศไทยก็นำเข้าอยู่แล้ว ในขณะที่จากแหล่งเบญจมาศเหนือบางปีส่งออกทั้งหมด คิดเป็นมูลค่าส่งออกกว่า 4.6 หมื่นล้านบาท
สำหรับเรื่องก๊าซธรรมชาติมีเรื่องแปลกๆ ที่ผมจะเล่าให้ฟังครับ ก่อนที่จะตอบท่านนายกฯ ว่าแล้วจะเอาที่ไหนใช้ ผมนำกราฟในช่วง 24 เดือน (2556-2557) มาลงให้ดูด้วยครับ
ที่ว่าแปลกมี 2 ข้อ คือ
(1) ในขณะที่ ราคาก๊าซธรรมชาติในสหรัฐฯ ที่ Henry Hub terminal in Louisiana ราคาขึ้นลงตามราคาน้ำมันดิบ แต่ราคาก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยเกือบจะคงที่ตลอดเวลา
(2) ก๊าซที่ว่านี้เป็นราคาปากหลุมนะครับ ราคาเฉลี่ยที่ผลิตในประเทศไทยอยู่ที่ 237 บาทต่อล้านบีทียู (1 ล้านบีทียูเท่ากับประมาณ 1,000 ลูกบาศก์ฟุต) แต่ราคาเฉลี่ยที่ Henry Hub เท่ากับ 129 บาท มันต่างกันเยอะนะครับ
ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่าในช่วงหลังสหรัฐอเมริกาผลิตจากหินดินดาน (Shale gas) จึงมีราคาถูกมากๆ แต่ก็มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์อย่างรุนแรงและกำลังได้รับการต่อต้านจากประชาชน
ประเด็นที่ผมอยากจะให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมาตอบก็คือ ทำไมราคาในประเทศไทยจึงคงที่ และราคาเป็นธรรมหรือไม่ แต่จากข้อมูลในข้อที่หนึ่งที่พบว่าบริษัทรับสัมปทานมีกำไรสุทธิเกือบ 100% ของเงินลงทุน ก็ทำให้เราทราบได้แล้วว่า ราคาไม่เป็นธรรมกับประชาชนแน่นอน
มาที่คำถามว่า ถ้าต้องเลื่อนการเปิดสัมปทานออกไปแล้วจะเอาก๊าซที่ไหนมาใช้ ผมขอตอบในข้อที่สามครับซึ่งเกี่ยวข้องกับโครงการปฏิรูปเร็ว หรือ Quick Win ที่ได้ผ่านสภาปฏิรูปและผ่านมติ ครม.ไปแล้ว แต่ยังไม่มีความคืบหน้าจากข้าราชการประจำ
ข้อที่สาม ความไม่คืบหน้าจากโครงการปฏิรูปเร็ว “โซลาร์รูฟท็อปเสรี”
สภาปฏิรูปแห่งชาติได้ผ่านมติเพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีเพื่อสั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา แต่จนถึงวันนี้ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ ของฝ่ายปฏิบัติการหรือหน่วยงานของรัฐ เช่นจะรับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์บนหลังคาในราคาหน่วยละเท่าใด จึงจะเป็นธรรมกับทุกฝ่ายทั้งการไฟฟ้าและเจ้าของหลังคาบ้าน
จากข้อมูลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผมค้นได้ว่าก๊าซธรรมชาติจำนวน 9.4 ลูกบาศก์ฟุต สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 1 หน่วยไฟฟ้า (kwh)
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อนในเครือข่ายของผมคนหนึ่งซึ่งอาศัยอยู่ในจังหวัดนนทบุรีบอกผมว่า บ้านเขาได้ติดตั้งขนาด 3 กิโลวัตต์ จำนวน 12 แผ่น บนหลังคาบ้านตนเองสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้วันละ 17.8 หน่วย (เป็นวันที่แสงแดดดีมาก แถมยังคุยอีกว่าลองเปิดแอร์ 2 ตัวแล้วมิเตอร์ไฟฟ้ายังเดินถอยหลังเลย
ซึ่งหมายความว่าไฟฟ้ามากพอ) ดังนั้นบ้านหลังนี้สามารถลดการใช้ก๊าซได้วันละ 167 ลูกบาศก์ฟุตปีหนึ่งก็ประมาณ 6 หมื่นลูกบาศก์ฟุต
หรือประมาณ 60 ล้านบีทูยู
ถ้ารัฐบาลนี้ส่งเสริมให้มีการติดตั้งสัก 1 ล้านหลังคาเรือน (จากทั้งหมดประมาณ 22 ล้านครัวเรือน) ก็สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงได้ถึง 60 ล้านล้านบีทียู ก็สามารถลดการใช้ก๊าซธรรมชาติลงได้ประมาณถึง 18% ของที่เคยใช้ในปี 2557 (หมายเหตุ การประเมินของผมอาจจะสูงเกินไปบ้างเพราะคิดเฉพาะวันที่แดดดีมากๆ)
นี่เป็นทางออกของประเทศในกรณีต้องล่าช้าครับท่านนายกฯ
การคิดว่าหากคนไทยติดโซลาร์เซลล์ 1 ล้านหลัง (หรือประมาณ 5% ของจำนวนหลัง) อย่าคิดว่าสูงเกินไปนะครับ เพราะเมื่อปลายปีที่แล้ว ทุกๆ 4 หลังคาเรือนในรัฐออสเตรเลียใต้ ได้มีการติดตั้งแล้วถึง 1 หลัง และเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
สำหรับต้นทุนการติดตั้งของเพื่อนในเครือข่ายของผมขนาด 3 กิโลวัตต์ ก็ประมาณ 1 แสนบาทต้นๆ โดยไม่คิดค่าแรงเพราะลงมือทำกันเอง ลองคิดดูดีๆ นะครับ ถ้ามีการส่งเสริมกันอย่างจริงจังจะมีการจ้างงานนับแสนตำแหน่ง และเงินทุนหมุนเวียนน่าจะสูงกว่าค่าภาคหลวงจากก๊าซธรรมชาติที่ต้องลดจำนวนลง
สำหรับ ข้อมูลด้านการผลิตปิโตรเลียมประจำปี 2557 ผมได้รวบรวบจากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (รายงานของกรมฯ อาจจะต้องรอข้ามปี) ดังแสดงในตารางครับซึ่งพบว่าร้อยละ 50 ของมูลค่าปิโตรเลียมมาจากก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียว
อนึ่ง ราคาก๊าซแอลพีจีในตารางข้างต้น มาจากแหล่งสิริกิติ์เท่ากับ 9.90 บาทต่อกิโลกรัม ในขณะที่ราคาต้นทุนที่ทางราชการประกาศเท่ากับ 16.54 บาท
ทำไมมันต่างกันเยอะขนาดนี้!
ข้อที่สี่ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกลดลงมาก แต่ราคาน้ำมันหน้าปั๊มของไทยจึงลดน้อยมาก
ผู้ที่ติดตามข้อมูลเรื่องพลังงานพอจะทราบกันทั่วไปว่า ราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มในประเทศไทยก็ไม่ค่อยจะแปรผันตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพ่อค้าน้ำมัน และนโยบายของรัฐบาลทั้งเรื่องภาษีและกองทุนน้ำมัน แต่ก็ไม่ค่อยมีใครศึกษาให้เป็นระบบชัดเจน
ผมพบข้อมูลจากบทความที่เขียนโดย Tom Randall ชื่อ Seven Reasons Cheap Oil Can’t Stop Renewables Now ในเว็บไซต์ของ Bloomberg
ผู้เขียนได้ยกเอาข้อมูลจากแหล่งหนึ่ง (อ้างเรียบร้อย Bernstein Research) เป็นการเปรียบเทียบราคาน้ำมันที่หน้าปั๊มในประเทศต่างๆ จำนวน 15 ประเทศรวมทั้งประเทศไทยเราด้วย ผมนำกราฟมาเสนอก่อนนะครับ
เขาเปรียบราคาในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2557 ซึ่งเป็นช่วงที่ราคาน้ำมันดิบในตลาด Brent ได้ลดลงถึงประมาณ 22%
ผลการศึกษาพบว่า ราคาหน้าปั๊มในสหรัฐอเมริกา (ซึ่งเก็บภาษีในอัตราต่ำ) ได้ลดลงประมาณ 14% ในขณะที่ประเทศเยอรมนี และไต้หวันลดลงประมาณ 10% และออสเตรเลียลดลง 4%
แต่ราคาในประเทศไทย อินโดนีเซียและมาเลเซียไม่ได้ลดลงเลยครับ ดูกราฟ(ตามระเบียบ)
ผมเองก็ไม่เชื่อข้อมูลดังกล่าวครับ เพราะใครๆ ก็พูดกันว่าน้ำมันได้ถูกลงจริงๆ
แต่ความหมายของผู้วิจัยก็คือ เป็นการเปรียบเทียบราคาน้ำมันเฉลี่ยของรายไตรมาส นั่นคือต้องเอาราคาน้ำมันทุกวันมาเฉลี่ยของแต่ละ 3 เดือนมาเปรียบเทียบกัน แต่เนื่องจากทางราชการไทยไม่ได้ทำเอาไว้ ผมจึงนำค่าราคาของกลางเดือนไตรมาสที่ 3 (15 สิงหาคม) และที่ 4 (15 พฤศจิกายน) มาเปรียบเทียบกันอย่างง่ายๆ (โดยไม่มีการถ่วง และถือว่าเป็นการศึกษาที่หยาบมาก) พบว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยลดลงแค่ 3.9%
ข้อที่ห้า ประเทศใดที่มีน้ำมันเยอะ ประเทศนั้นจะมีประชาธิปไตยน้อย
ผลงานวิจัยของ Michael L. Ross, “Does Oil Hinder Democracy?” World Politics April 2001 ซึ่งเป็นการศึกษาจาก 133 รัฐ พบว่า ประเทศที่มีน้ำมันเยอะ ประเทศจะมีประชาธิปไตยน้อย รวมถึงความขัดแย้งจนนำไปสู่สงครามภายในประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแต่ในตะวันออกกลางที่เราทราบ แต่ในทวีปอื่นๆ ด้วย
บทเรียนในประเทศไทยเราเองพบว่า การให้สัมปทานส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร ถ้าท่านนายกฯ มีความจริงใจกับประเทศจริงเหมือนที่ท่านพูด (แต่ไม่ชอบฟังชาวบ้าน) ขอได้โปรดหยุดสัมปทานเถอะครับ สุดท้าย ผมจะไม่ขอสรุปอะไรมากไปกว่าการนำภาพแปรอักษรในวันฟุตบอลประเพณีจุฬา-ธรรมศาสตร์เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2558 มาลงเพื่อเตือนท่านว่า “ธรรมคืออำนาจ มิใช่อำนาจคือธรรม”