ASTVผู้จัดการรายวัน-ผู้ประกอบการรถร่วมฯขสมก.และสหกรณ์แท็กซี่ บุกคมนาคม ยื่นขอปรับขึ้นค่าโดยสาร ให้สอดคล้องกะบต้นทุนค่าก๊าซ NGV ที่เพิ่มขึ้น โดยรถร่วมฯ ขอขึ้น 3 บาท แท็กซี่ขอขึ้นมิเตอร์ระยะที่2 เร็วขึ้นและเพิ่มเป็น 13% จากข้อตกลงเดิม 5% ขณะที่กลุ่มขนส่งฮึมขู่นำรถบรรทุกปิดล้อมปตท.
วานนี้ (3 ก.พ.) กลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำโดยนางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง เดินทางมายื่นหนังสือต่อพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการปรับอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (รถร้อน) อีก 3 บาท จากปัจจุบันเก็บค่าโดยสารที่ 8 บาทเป็น 11 บาท และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ(รถแอร์) ปรับขึ้นอีกระยะละ 3 บาท จากเริ่มต้น 11 บาท และ12 บาท เป็น 14 บาท และ 15 บาท เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV อีก 50 สตางค์ต่อกก. และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นถึง 16 บาทต่อกก. โดยจะขอทราบผลภายใน 1 สัปดาห์ หากไม่เป็นไปตามขอเรียกร้องทางผู้ประกอบการไม่สามารถให้บริการเดินรถต่อไปได้
ทั้งนี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง จะมีมติอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสารได้อีก 1 บาท โดยมีผลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ แต่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง. ซึ่งเมื่อปลายปี 2556 กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่ 8.50 บาทต่อ กก. พบว่าต้นทุนค่าโดยสารควรอยู่ที่ 9.61 บาท
นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ภาครัฐจัดทำตารางอัตราค่าโดยสารที่ทยอยปรับขึ้นตามราคาเชื่อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงต้นทุนที่แท้จริง
ด้านนายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง ได้เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาถึงอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม หรือหามาตรการอื่นมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น อาจจะช่วยสนับสนุนด้านราคาพลังงาน เป็นต้น
แต่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เห็นใจภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการด้วย
ขณะเดียวกันกลุ่มเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ขอให้กระทรวงคมนาคม ทบทวนการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ จากที่ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าโดยสารไปแล้วระยะแรก 8% แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาค่าครองชีพของผู้ขับรถแท็กซี่ได้จนนำไปสู่การปฏิเสธการรับผู้โดยสารและเรียกค้าโดยสารเกินราคา
โดยเรียกร้องขอให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ในระยะที่ 2 เร็วขึ้นกว่ากำหนด และขอเพิ่มอัตาาที่ปรับจากเดิม 5 % เป็นปรับขึ้น 13% และขอให้ประสานกระทรวงพลังงานให้ทบทวนนโยบายการปรับขึ้นราคาแก๊สใหม่และกำหนดมาตรเยียวยาผู้ขับรถแท็กซี่
****กลุ่มขนส่งฮึมขู่นำรถบรรทุกปิดล้อมปตท.
นายกฤษณ์ สุริยผล เลขานุการนายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) ให้สะท้อนต้นทุนโดยขอให้สิ้นสุดการปรับราคาไว้ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เท่านั้นโดยหาไม่มีคำตอบจากรัฐว่าจะยกเลิกแผนการทยอยขึ้นNGVภายในสัปดาห์นี้จะนัดรถบรรทุกมาชุมนุมที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่บมจ.ปตท.
“เราจะหันไปใช้น้ำมันแทนเพราะราคาลดลงมามากแล้ว ดังนั้นNGVไม่ควรสวนกระแสปรับขึ้นราคา ไปถึง 15-16 บาทต่อกก.ตามแผนที่ปตท.อ้างว่าสะท้อนต้นทุน ซึ่งขณะนี้เรามี สมาชิกที่เป็นรถบรรทุก 4 แสนคัน ถือเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐ พยายามส่งเสริมให้ภาคขนส่งมาเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากดีเซลมาเป็น NGV แม้จะมีปัญหาในเรื่องของปั๊ม การออกมาชุมนุมหากทหารจะเชิญผมไปปรับทัศนคติก็ไม่ว่ากัน”นายกฤษณ์ กล่าว
ทั้งนี้ในวันเดียวกันม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในนามของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางมาขอข้อมูลในเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม เนื่องจากที่ผ่านมาเคยเชิญหน่วยงานราชการไปให้ข้อเท็จจริงก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน โดยเฉพาะปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทย เหลืออีกกี่ปีกันแน่
สำหรับการพิจารณาสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่จะทยอยหมดลงในปี 2560 นั้น อยากให้ภาครัฐใช้ระบบการจ้างผลิตมากกว่าที่จะให้ต่อสัปมทานกับรายเดิม เนื่องจากการใช้ระบบสัมปทานจะมีข้อเสีย คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้เป็นของผู้รับสัมปทานทั้งหมด ทั้งๆที่เป็นทรัพยากรของไทย แต่การจ้างผลิตน้ำมันหรือก๊าซฯที่ได้จะเป็นของประเทศ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในประเทศได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้ต่อต้านเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมแต่อยากให้อยู่ภายใต้ระบบที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม
วานนี้ (3 ก.พ.) กลุ่มผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) นำโดยนางภัทรวดี กล่อมจรูญ นายกสมาคมผู้ประกอบการรถโดยสารประจำทาง เดินทางมายื่นหนังสือต่อพล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอให้พิจารณาทบทวนการปรับอัตราค่าโดยสารของรถโดยสารประจำทางธรรมดา (รถร้อน) อีก 3 บาท จากปัจจุบันเก็บค่าโดยสารที่ 8 บาทเป็น 11 บาท และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ(รถแอร์) ปรับขึ้นอีกระยะละ 3 บาท จากเริ่มต้น 11 บาท และ12 บาท เป็น 14 บาท และ 15 บาท เนื่องจากผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนจากการปรับขึ้นราคาก๊าซ NGV อีก 50 สตางค์ต่อกก. และมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นถึง 16 บาทต่อกก. โดยจะขอทราบผลภายใน 1 สัปดาห์ หากไม่เป็นไปตามขอเรียกร้องทางผู้ประกอบการไม่สามารถให้บริการเดินรถต่อไปได้
ทั้งนี้ แม้ว่าก่อนหน้านี้คณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง จะมีมติอนุมัติให้ผู้ประกอบการปรับขึ้นค่าโดยสารได้อีก 1 บาท โดยมีผลในวันที่ 10 กุมภาพันธ์นี้ แต่ยังไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง. ซึ่งเมื่อปลายปี 2556 กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ได้ศึกษาต้นทุนราคาก๊าซ NGV ที่ 8.50 บาทต่อ กก. พบว่าต้นทุนค่าโดยสารควรอยู่ที่ 9.61 บาท
นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ภาครัฐจัดทำตารางอัตราค่าโดยสารที่ทยอยปรับขึ้นตามราคาเชื่อเพลิงที่เพิ่มขึ้น เพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงต้นทุนที่แท้จริง
ด้านนายพงษ์ไชย เกษมทวีศักดิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมขนส่งทางบกกลาง ได้เป็นตัวแทนรับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการ กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมจะรับเรื่องร้องเรียนไว้พิจารณาถึงอัตราค่าโดยสารที่เหมาะสม หรือหามาตรการอื่นมาช่วยเหลือผู้ประกอบการ เช่น อาจจะช่วยสนับสนุนด้านราคาพลังงาน เป็นต้น
แต่ขอความร่วมมือผู้ประกอบการให้เห็นใจภาครัฐและประชาชนผู้ใช้บริการด้วย
ขณะเดียวกันกลุ่มเครือข่ายสหกรณ์แท็กซี่ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ขอให้กระทรวงคมนาคม ทบทวนการปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่มิเตอร์ จากที่ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้เห็นชอบให้ปรับขึ้นค่าโดยสารไปแล้วระยะแรก 8% แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาค่าครองชีพของผู้ขับรถแท็กซี่ได้จนนำไปสู่การปฏิเสธการรับผู้โดยสารและเรียกค้าโดยสารเกินราคา
โดยเรียกร้องขอให้กระทรวงคมนาคม พิจารณาปรับขึ้นค่าโดยสารแท็กซี่ในระยะที่ 2 เร็วขึ้นกว่ากำหนด และขอเพิ่มอัตาาที่ปรับจากเดิม 5 % เป็นปรับขึ้น 13% และขอให้ประสานกระทรวงพลังงานให้ทบทวนนโยบายการปรับขึ้นราคาแก๊สใหม่และกำหนดมาตรเยียวยาผู้ขับรถแท็กซี่
****กลุ่มขนส่งฮึมขู่นำรถบรรทุกปิดล้อมปตท.
นายกฤษณ์ สุริยผล เลขานุการนายกสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย กล่าวภายหลังยื่นหนังสือต่อกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้ระงับการปรับขึ้นราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) ให้สะท้อนต้นทุนโดยขอให้สิ้นสุดการปรับราคาไว้ที่ 13 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) เท่านั้นโดยหาไม่มีคำตอบจากรัฐว่าจะยกเลิกแผนการทยอยขึ้นNGVภายในสัปดาห์นี้จะนัดรถบรรทุกมาชุมนุมที่หน้าอาคารสำนักงานใหญ่บมจ.ปตท.
“เราจะหันไปใช้น้ำมันแทนเพราะราคาลดลงมามากแล้ว ดังนั้นNGVไม่ควรสวนกระแสปรับขึ้นราคา ไปถึง 15-16 บาทต่อกก.ตามแผนที่ปตท.อ้างว่าสะท้อนต้นทุน ซึ่งขณะนี้เรามี สมาชิกที่เป็นรถบรรทุก 4 แสนคัน ถือเป็นลูกค้ากลุ่มใหญ่ซึ่งที่ผ่านมาภาครัฐ พยายามส่งเสริมให้ภาคขนส่งมาเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากดีเซลมาเป็น NGV แม้จะมีปัญหาในเรื่องของปั๊ม การออกมาชุมนุมหากทหารจะเชิญผมไปปรับทัศนคติก็ไม่ว่ากัน”นายกฤษณ์ กล่าว
ทั้งนี้ในวันเดียวกันม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี ในนามของคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เดินทางมาขอข้อมูลในเรื่องสัมปทานปิโตรเลียม เนื่องจากที่ผ่านมาเคยเชิญหน่วยงานราชการไปให้ข้อเท็จจริงก็ยังไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน โดยเฉพาะปริมาณสำรองปิโตรเลียมของประเทศไทย เหลืออีกกี่ปีกันแน่
สำหรับการพิจารณาสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมที่จะทยอยหมดลงในปี 2560 นั้น อยากให้ภาครัฐใช้ระบบการจ้างผลิตมากกว่าที่จะให้ต่อสัปมทานกับรายเดิม เนื่องจากการใช้ระบบสัมปทานจะมีข้อเสีย คือ ปริมาณปิโตรเลียมที่ผลิตได้เป็นของผู้รับสัมปทานทั้งหมด ทั้งๆที่เป็นทรัพยากรของไทย แต่การจ้างผลิตน้ำมันหรือก๊าซฯที่ได้จะเป็นของประเทศ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในประเทศได้ อย่างไรก็ตามไม่ได้ต่อต้านเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมแต่อยากให้อยู่ภายใต้ระบบที่มีความโปร่งใสและเป็นธรรม