โดย...อภินันท์ สิริรัตนจิตต์
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษา กล่าวว่า การศึกษาที่ถูกต้องไม่ได้ขึ้นอยู่กับแบบเก่าหรือแบบใหม่เพียงระบบใดระบบหนึ่ง แต่เน้นประสบการณ์ที่จำเป็นต่อผู้เรียน ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ซึ่งแนวคิดทางการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ ที่กล่าวไว้คือ การศึกษา คือความเจริญงอกงาม ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม ดังนั้นประสบการณ์ จึงจำเป็นต่อการส่งเสริมความคิด โดยผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
หากพิจารณาตามนิยามของดิวอี้ ข้างต้น จะเห็นได้ว่า การศึกษาคือ กระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่ต่อเนื่องกับประสบการณ์เก่า เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ซึ่งประสบการณ์นี้ เป็นสิ่งจำเป็นต่อวิถีการเรียนรู้และเป้าหมายของการศึกษา
เมื่อวันหยุดของต้นเดือนแห่งความรักที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสนำนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วม 200 ชีวิต โดยสารรถไฟฟรีไปเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาที่จังหวัดพัทลุง ในภารกิจว่า “คดข้าวห่อ ขึ้นรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว” โดยกำหนดหัวข้อให้นักศึกษาต้องใช้ชีวิต 1 วัน โดยปราศจากการใช้จ่ายเงินทองในท้องทุ่งนา เพื่อให้นักศึกษารู้จักวางแผนและจัดการตนเอง
บรรยากาศการศึกษาในมหาวิทยาลัย นอกจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมแล้ว การเรียนรู้ในสถานที่จริง และสถานการณ์จริง ย่อมก่อให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้โดยตรงต่อนักศึกษา ซึ่งในโครงการนี้ นักศึกษาได้โดยสารรถไฟซึ่งออกจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเดินทางสู่จังหวัดพัทลุง ใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง
เมื่อเดินทางถึงสถานที่รถไฟ (บ้านต้นโดน) จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว จังหวัดพัทลุง ได้นำรถยนต์มารับคณะนักศึกษาเพื่อเดินทางต่อไปยังศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ที่ทำการของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 โดยมีผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส (ผู้ใหญ่บ้านนนท์) ซึ่งผู้เขียนยกย่องว่าเป็นปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการจัดการพื้นที่กสิกรรม ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี
กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาร่วม 200 ชีวิตในวันนั้น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พันธุ์ข้าวสำคัญของจังหวัดพัทลุง เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น ได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการลงนาเก็บข้าวด้วยแกละ (ซึ่งต้องเก็บทีละรวง) และเคียวเกี่ยวข้าว
ภายใต้อุณหภูมิที่ร้อนของกลางวันใกล้เที่ยง นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเก็บข้าวด้วยแกละ และเกี่ยวข้าวโดยเคียว ซึ่งมีชาวบ้านเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้และสอนวิธีการใช้เครื่องมือทั้งสองชนิด
หลังจากได้ประสบการณ์ในทุ่งนาแล้ว นักศึกษาได้รับความรู้จากผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส ที่ได้อธิบายถึงวิธีการสร้างชุมชนบ้านควนกุฎ หมู่ที่ 15 จังหวัดพัทลุง ให้เป็นชุมชนคัดเลือกและชุมชนตัวอย่างเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า
การสร้างหมู่บ้านพอเพียงที่บ้านควนกุฎนั้น มีจุดเริ่มต้นที่ให้การชุมชน คือชาวบ้านในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมกับการดำเนินการและได้ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาชุมชน และธรรมนูญหมู่บ้าน โดยมีกระบวนการ 3 ขั้น ดังนี้
1) การเรียนรู้อดีตของตนเอง โดยเปิดเวทีประชาชนของหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านทุกครัวเรือน ทั้งลูกเด็กเล็กแดง คนสูงอายุได้เล่าถึงความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อให้รู้จักตนเองว่า คือใคร มีวิถีชีวิตอย่างไร
2) การค้นหาปัจจุบัน โดยให้ชาวบ้านรู้จักบันทึกรายรับ รายจ่าย เป็นบัญชีครัวเรือน เพื่อทำให้ทราบสภาพปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
3) การร่วมกำหนดอนาคต โดยให้ชาวบ้านได้มองถึงอนาคตแห่งความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและจากผลกระทบของการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน ซึ่งในขั้นนี้ คือ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำเกษตรพอเพียงและการดำรงชีวิต
ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า กระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นการทำแผนพัฒนาชุมชนและการร่วมกำหนดวิถีชีวิตชุมชนของหมู่บ้านควนกุฎ จังหวัดพัทลุง ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ใหญ่บ้านยังกล่าวว่า ตอนนี้มีตัวชี้วัดดัชนีความสุขและความยั่งยืนของชุมชน คือ จำนวนเงินฝากในธนาคารหมู่บ้านที่มีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ อันแสดงให้เห็นว่า ภาคครัวเรือนที่มีเงินเก็บออมมากกว่าภาระหนี้สิน เหมือนอดีต แม้จะผ่านมาแค่เพียง 5 ปีเท่านั้น
ผู้เขียนคิดเห็นว่า ผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส เห็นว่า เป็นผู้นำชุมชนที่ควรได้รับการศึกษาแนวคิด และเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เพราะสิ่งที่สามารถเป็นเครื่องยืนยันการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คืออาหารมื้อเที่ยงที่ผู้ใหญ่บ้านและคณะต้อนรับผู้เขียนและคณะนักศึกษา ซึ่งแสดงให้ถึงความมากด้วยน้ำใจ คือแกงเลียงจากผักสดหลายชนิดในพื้นที่เกษตร 2 ไร่ ไข่เป็ดทอดอร่อยๆ และน้ำพริกปลาทูที่รสจัด พร้อมเครื่องเคียงตามประสาคนปักษ์ใต้ที่ปรุงบนเตาถ่านไม้แบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้จ่ายเงินทองในการซื้อวัตถุดิบเหล่านั้นประกอบอาหาร
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ ชวนนักศึกษาไปดู มะนาวยักษ์ ผลละ 1 กิโลกรัม หรือมะกรูดยักษ์ผลละ 1 กิโลกรัม รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการทำไข่เค็มสมุนไพร การทำปศุสัตว์ทั้งเป็ด ไก่ แพะ วัว และพืชผักสวนครัว อย่าง มะละกอย่าน ผักหวาน พริก ตะไคร้ มะกรูด มะนาว บนพื้นที่ 2 ไร่ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมการเรียนรู้ 1 วัน (ราว 6 ชั่วโมง) บนพื้นที่ 2 ไร่ที่ทำเกษตรแบบพอเพียงครบวงจร ในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านควนกุฎ หมู่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้เขียนได้สอบถามนักศึกษาว่า ได้รับการเรียนรู้อะไรบ้าง ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยนักศึกษาส่วนหนึ่งได้ตอบว่า สนุกมากค่ะ ได้ความรู้ ได้นั่งรถไฟฟรี ได้เกี่ยวข้าว ถึงพัทลุงครั้งหน้าหวังว่าจะได้มาอีกค่ะ และผู้เขียนคิดเองว่า นี่แหละ คือคำตอบที่ได้จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในวันนี้
แม้ว่าการเดินทางโดยสารด้วยรถไฟฟรีแบบไทยจะช้าไปบ้างตามสถานการณ์ แต่ถึงกระนั้น ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จากสถานที่จริง สถานการณ์จริง เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้น รวมทั้งได้รู้จักวิถีชีวิตชาวนา การปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านซึ่งเป็นของจริง ย่อมทำให้เกิดประสบการณ์ที่ติดตัว ประทับใจ นักศึกษากลุ่มดังกล่าวไปอีกนาน
บทสรุปของภารกิจการเรียนรู้ที่ว่า “คดข้าวห่อ ขึ้นรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว” ผู้เขียนประทับใจตรงที่ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านควนกุฎ เป็นชาวบ้านที่รู้จักพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ (ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน) ซึ่งเป็นหมู่บ้านแบบอย่างที่น่ายกย่องและควรศึกษาแนวคิด เผยแพร่แนวคิดที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ (ระดับหนึ่ง) และคำสอนของผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใสที่ฝากให้ผู้เขียนและนักศึกษาได้ขบคิดว่า อาชีพชาวนาถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง เพราะเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ถึงแม้ว่า จะทำอาชีพนี้แล้วไม่ร่ำรวยมากนัก แต่หากรู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในอาชีพนี้แล้ว สิ่งที่จะได้รับนอกจากความสุขในการเป็นชาวนา คือ การมีเวลาอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น ซึ่งทุกวันนี้เห็นได้แล้วว่า สังคมเมืองไม่ค่อยปรากฏภาพเหล่านี้สักเท่าใดนัก
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษา กล่าวว่า การศึกษาที่ถูกต้องไม่ได้ขึ้นอยู่กับแบบเก่าหรือแบบใหม่เพียงระบบใดระบบหนึ่ง แต่เน้นประสบการณ์ที่จำเป็นต่อผู้เรียน ผู้เรียนต้องเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ซึ่งแนวคิดทางการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ ที่กล่าวไว้คือ การศึกษา คือความเจริญงอกงาม ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม ดังนั้นประสบการณ์ จึงจำเป็นต่อการส่งเสริมความคิด โดยผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้ได้ตลอดชีวิต
หากพิจารณาตามนิยามของดิวอี้ ข้างต้น จะเห็นได้ว่า การศึกษาคือ กระบวนการสร้างสรรค์ประสบการณ์ใหม่ที่ต่อเนื่องกับประสบการณ์เก่า เพื่อให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง ซึ่งประสบการณ์นี้ เป็นสิ่งจำเป็นต่อวิถีการเรียนรู้และเป้าหมายของการศึกษา
เมื่อวันหยุดของต้นเดือนแห่งความรักที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสนำนักศึกษามหาวิทยาลัยหาดใหญ่ร่วม 200 ชีวิต โดยสารรถไฟฟรีไปเรียนรู้วิถีชีวิตชาวนาที่จังหวัดพัทลุง ในภารกิจว่า “คดข้าวห่อ ขึ้นรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว” โดยกำหนดหัวข้อให้นักศึกษาต้องใช้ชีวิต 1 วัน โดยปราศจากการใช้จ่ายเงินทองในท้องทุ่งนา เพื่อให้นักศึกษารู้จักวางแผนและจัดการตนเอง
บรรยากาศการศึกษาในมหาวิทยาลัย นอกจากห้องเรียนสี่เหลี่ยมแล้ว การเรียนรู้ในสถานที่จริง และสถานการณ์จริง ย่อมก่อให้เกิดประสบการณ์เรียนรู้โดยตรงต่อนักศึกษา ซึ่งในโครงการนี้ นักศึกษาได้โดยสารรถไฟซึ่งออกจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ตั้งแต่ 6 โมงเช้า เพื่อเดินทางสู่จังหวัดพัทลุง ใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง
เมื่อเดินทางถึงสถานที่รถไฟ (บ้านต้นโดน) จังหวัดพัทลุง ชาวบ้านควนกุฎ ตำบลควนมะพร้าว จังหวัดพัทลุง ได้นำรถยนต์มารับคณะนักศึกษาเพื่อเดินทางต่อไปยังศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ณ ที่ทำการของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 15 โดยมีผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส (ผู้ใหญ่บ้านนนท์) ซึ่งผู้เขียนยกย่องว่าเป็นปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในการจัดการพื้นที่กสิกรรม ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ให้การต้อนรับและดูแลเป็นอย่างดี
กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาร่วม 200 ชีวิตในวันนั้น ได้เรียนรู้เกี่ยวกับ พันธุ์ข้าวสำคัญของจังหวัดพัทลุง เช่น ข้าวสังข์หยด ข้าวเล็บนก เป็นต้น ได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการลงนาเก็บข้าวด้วยแกละ (ซึ่งต้องเก็บทีละรวง) และเคียวเกี่ยวข้าว
ภายใต้อุณหภูมิที่ร้อนของกลางวันใกล้เที่ยง นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเก็บข้าวด้วยแกละ และเกี่ยวข้าวโดยเคียว ซึ่งมีชาวบ้านเป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้และสอนวิธีการใช้เครื่องมือทั้งสองชนิด
หลังจากได้ประสบการณ์ในทุ่งนาแล้ว นักศึกษาได้รับความรู้จากผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส ที่ได้อธิบายถึงวิธีการสร้างชุมชนบ้านควนกุฎ หมู่ที่ 15 จังหวัดพัทลุง ให้เป็นชุมชนคัดเลือกและชุมชนตัวอย่างเป็นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงซึ่งผู้ใหญ่บ้านกล่าวว่า
การสร้างหมู่บ้านพอเพียงที่บ้านควนกุฎนั้น มีจุดเริ่มต้นที่ให้การชุมชน คือชาวบ้านในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมกับการดำเนินการและได้ทำกิจกรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อจัดทำแผนพัฒนาชุมชน และธรรมนูญหมู่บ้าน โดยมีกระบวนการ 3 ขั้น ดังนี้
1) การเรียนรู้อดีตของตนเอง โดยเปิดเวทีประชาชนของหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านทุกครัวเรือน ทั้งลูกเด็กเล็กแดง คนสูงอายุได้เล่าถึงความเป็นอยู่และวิถีชีวิตของตนเอง เพื่อให้รู้จักตนเองว่า คือใคร มีวิถีชีวิตอย่างไร
2) การค้นหาปัจจุบัน โดยให้ชาวบ้านรู้จักบันทึกรายรับ รายจ่าย เป็นบัญชีครัวเรือน เพื่อทำให้ทราบสภาพปัญหาและค่าใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยเกินความจำเป็น
3) การร่วมกำหนดอนาคต โดยให้ชาวบ้านได้มองถึงอนาคตแห่งความเปลี่ยนแปลงของหมู่บ้าน ทั้งจากปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศและจากผลกระทบของการรวมตัวกันของประชาคมอาเซียน ซึ่งในขั้นนี้ คือ การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทำเกษตรพอเพียงและการดำรงชีวิต
ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวว่า กระบวนการทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ถือว่าเป็นการทำแผนพัฒนาชุมชนและการร่วมกำหนดวิถีชีวิตชุมชนของหมู่บ้านควนกุฎ จังหวัดพัทลุง ให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผู้ใหญ่บ้านยังกล่าวว่า ตอนนี้มีตัวชี้วัดดัชนีความสุขและความยั่งยืนของชุมชน คือ จำนวนเงินฝากในธนาคารหมู่บ้านที่มีจำนวนมากขึ้นตามลำดับ อันแสดงให้เห็นว่า ภาคครัวเรือนที่มีเงินเก็บออมมากกว่าภาระหนี้สิน เหมือนอดีต แม้จะผ่านมาแค่เพียง 5 ปีเท่านั้น
ผู้เขียนคิดเห็นว่า ผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใส เห็นว่า เป็นผู้นำชุมชนที่ควรได้รับการศึกษาแนวคิด และเป็นแบบอย่างที่ดีในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต เพราะสิ่งที่สามารถเป็นเครื่องยืนยันการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คืออาหารมื้อเที่ยงที่ผู้ใหญ่บ้านและคณะต้อนรับผู้เขียนและคณะนักศึกษา ซึ่งแสดงให้ถึงความมากด้วยน้ำใจ คือแกงเลียงจากผักสดหลายชนิดในพื้นที่เกษตร 2 ไร่ ไข่เป็ดทอดอร่อยๆ และน้ำพริกปลาทูที่รสจัด พร้อมเครื่องเคียงตามประสาคนปักษ์ใต้ที่ปรุงบนเตาถ่านไม้แบบธรรมชาติ โดยไม่ต้องใช้จ่ายเงินทองในการซื้อวัตถุดิบเหล่านั้นประกอบอาหาร
นอกจากนี้ ผู้เขียนยังได้ ชวนนักศึกษาไปดู มะนาวยักษ์ ผลละ 1 กิโลกรัม หรือมะกรูดยักษ์ผลละ 1 กิโลกรัม รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับการทำไข่เค็มสมุนไพร การทำปศุสัตว์ทั้งเป็ด ไก่ แพะ วัว และพืชผักสวนครัว อย่าง มะละกอย่าน ผักหวาน พริก ตะไคร้ มะกรูด มะนาว บนพื้นที่ 2 ไร่ของศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
กิจกรรมการเรียนรู้ 1 วัน (ราว 6 ชั่วโมง) บนพื้นที่ 2 ไร่ที่ทำเกษตรแบบพอเพียงครบวงจร ในศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง บ้านควนกุฎ หมู่ 15 ตำบลควนมะพร้าว อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้เขียนได้สอบถามนักศึกษาว่า ได้รับการเรียนรู้อะไรบ้าง ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ โดยนักศึกษาส่วนหนึ่งได้ตอบว่า สนุกมากค่ะ ได้ความรู้ ได้นั่งรถไฟฟรี ได้เกี่ยวข้าว ถึงพัทลุงครั้งหน้าหวังว่าจะได้มาอีกค่ะ และผู้เขียนคิดเองว่า นี่แหละ คือคำตอบที่ได้จากการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในวันนี้
แม้ว่าการเดินทางโดยสารด้วยรถไฟฟรีแบบไทยจะช้าไปบ้างตามสถานการณ์ แต่ถึงกระนั้น ผู้เขียนก็ยังเห็นว่า นักศึกษาได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง จากสถานที่จริง สถานการณ์จริง เกิดประสบการณ์ใหม่ขึ้น รวมทั้งได้รู้จักวิถีชีวิตชาวนา การปฏิสัมพันธ์กับชาวบ้านซึ่งเป็นของจริง ย่อมทำให้เกิดประสบการณ์ที่ติดตัว ประทับใจ นักศึกษากลุ่มดังกล่าวไปอีกนาน
บทสรุปของภารกิจการเรียนรู้ที่ว่า “คดข้าวห่อ ขึ้นรถไฟ ไปเกี่ยวข้าว” ผู้เขียนประทับใจตรงที่ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านควนกุฎ เป็นชาวบ้านที่รู้จักพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และหลักคำสอนทางพุทธศาสนาที่ว่า อัตตาหิ อัตตโน นาโถ (ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน) ซึ่งเป็นหมู่บ้านแบบอย่างที่น่ายกย่องและควรศึกษาแนวคิด เผยแพร่แนวคิดที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ได้อย่างประสบความสำเร็จ (ระดับหนึ่ง) และคำสอนของผู้ใหญ่บ้านสมศักดิ์ ทองใสที่ฝากให้ผู้เขียนและนักศึกษาได้ขบคิดว่า อาชีพชาวนาถือได้ว่าเป็นอาชีพที่มีเกียรติสูง เพราะเป็นกระดูกสันหลังของชาติ ถึงแม้ว่า จะทำอาชีพนี้แล้วไม่ร่ำรวยมากนัก แต่หากรู้จักนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในอาชีพนี้แล้ว สิ่งที่จะได้รับนอกจากความสุขในการเป็นชาวนา คือ การมีเวลาอยู่กับครอบครัวอย่างอบอุ่น ซึ่งทุกวันนี้เห็นได้แล้วว่า สังคมเมืองไม่ค่อยปรากฏภาพเหล่านี้สักเท่าใดนัก