อาชีพที่ได้รับการยกย่องนับถือจากสังคมมากอาชีพหนึ่งคือ ครู โดยเฉพาะอย่างยิ่งครูซึ่งสอนเด็กในโรงเรียนประถมซึ่งเป็นการศึกษาภาคบังคับ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในระดับประถมศึกษา เด็กทุกคนเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อรับการศึกษา
ดังนั้นครูในระดับนี้จึงต้องสอนเด็กทุกคนทั้งที่อยากเรียนและไม่อยากเรียน ทั้งที่ฉลาดและไม่ฉลาดโดยที่ไม่มีโอกาสเลือกสอนเด็กอยากเรียน และปฏิเสธที่จะไม่สอนเด็กที่ไม่อยากเรียน
ด้วยเหตุนี้ ครูในประถมศึกษาจึงต้องมีความอดทน และความรับผิดชอบอย่างมาก
2. เด็กในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บนดอยและในป่า ซึ่งเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน ไม่ได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียนในระดับอนุบาล ดังเช่นเด็กในเมืองที่มีพ่อแม่มีฐานะทางการเงินดี
ดังนั้น เด็กส่วนใหญ่จึงเรียนการเขียน การอ่านในโรงเรียนเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องทุ่มเทในการสอนเป็นอย่างมาก
3. โรงเรียนประถมในพื้นที่ห่างไกลหรือแม้แต่โรงเรียนในเมือง แต่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในย่านชุมชนแออัด มีงบประมาณน้อย อุปกรณ์การสอนไม่เพียงพอที่มีอยู่บ้างก็ไม่ทันสมัย เมื่อเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่และอยู่ในที่เจริญแถมมีครูจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเด็ก โดยยึดมาตรฐานของโรงเรียนในพื้นที่การศึกษาที่เจริญแล้วเช่นในเมืองใหญ่เป็นเกณฑ์
ดังนั้นครูในโรงเรียนลักษณะนี้จึงต้องอดทน และใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูงจึงจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กในโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่า
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ จะเห็นได้ว่าครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ควรได้รับการยกย่องมากเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูที่สอนในโรงเรียนที่ห่างไกล และไม่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน
ส่วนครูที่สอนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปจากประถมศึกษา และครูที่สอนในระดับอนุบาลใช่ว่าจะมีความสำคัญ และไม่สมควรแก่การยกย่อง ตรงกันข้ามครูทุกคนและในทุกระดับการศึกษา ควรได้รับการยกย่อง ถ้าเป็นครูที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีวิญญาณของความเป็นครู แต่ที่เห็นว่าครูในระดับประถมศึกษาควรได้รับการยกย่องมากกว่า ก็ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เด็กในระดับที่สูงกว่าระดับประถมศึกษาขึ้นไป จะมีความตั้งใจและมีความรับผิดชอบในการเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอายุเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีความรู้ขั้นพื้นฐานมาจากประถมศึกษาแล้วส่วนหนึ่ง จึงง่ายต่อการสอน
ดังนั้น ครูในระดับนี้จึงใช้ความพยายามน้อยลง เมื่อเทียบกับครูในระดับประถม
2. โรงเรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษา ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเมืองหรือไม่ห่างไกลจากตัวเมืองมากนัก ประกอบกับมีความพร้อมในการจัดการศึกษาในทุกด้าน ดังนั้นครูจึงมีความสะดวกในการสอน และมีความสุขสบายในการทำงานเมื่อเทียบกับครูในระดับประถม
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น ครูในระดับสูงกว่าประถมศึกษา จึงมีความสำคัญและควรแก่การยกย่องน้อยกว่าครูในระดับประถม
จริงอยู่ ครูในระดับการศึกษาที่สูงกว่าระดับประถมศึกษา จะต้องมีความรู้ในด้านวิชาการมากกว่า เนื่องจากต้องสอบในวิชาที่ยากกว่า แต่โดยหน้าที่ของความเป็นครูเหมือนกันคือ สอนให้เด็กมีความรู้มีความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และอบรมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม แต่ที่ต่างกันก็คือครูในระดับประถมศึกษาสอนเด็กที่ไม่รู้ให้รู้หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การทำศูนย์ให้เป็นหนึ่ง แต่ครูในระดับต่อจากประถมศึกษานำหนึ่งมาบวกกันกลายเป็นสิบ เป็นร้อยเป็นพันไปเรื่อยๆ และนี่เองคือเหตุผลที่ให้ความสำคัญ และให้การยกย่องครูในระดับประถมเหนือกว่าครูในระดับที่สูงขึ้นไป ตามนัยแห่งถ้อยคำที่ว่าครูที่ดีมีความรับผิดชอบคือ พ่อแม่คนที่สองของเด็กต่อเด็กมากกว่า เมื่อพิจารณาในความหมายที่ว่าครูเป็นพ่อแม่คนที่สอง
อย่างไรก็ตาม ครูในความหมายดังกล่าวข้างต้น น่าจะถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริง สำหรับครูในอดีตมากกว่าครูในปัจจุบัน ทั้งนี้อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ครูในอดีตนอกจากจะทุ่มเทในการสอนแล้ว ยังเอาใจใส่ในการที่จะให้เด็กรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองสอนในเวลาเรียนแล้ว นอกเวลาเรียนยังสนใจไต่ถามทุกข์สุขของเด็กทุกคน และเป็นพิเศษสำหรับเด็ก ทั้งในเรื่องส่วนตัวและครอบครัวซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงในขณะที่เรียนชั้นประถมปีที่ 3 และใกล้จะสอบเลื่อนชั้นขึ้นประถมปีที่ 4 คุณแม่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่คนเดียวของครอบครัวที่เหลืออยู่ หลังจากที่คุณพ่อได้เสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อนได้เสียชีวิตลง จึงจำเป็นต้องย้ายไปอยู่บ้านคุณป้าซึ่งห่างไกลจากโรงเรียน ทำให้เดินทางลำบาก คุณครูแคล้ว ศรีวิโรจน์ ซึ่งเป็นครูใหญ่ได้ทราบเรื่องและให้การช่วยเหลือจัดการย้ายโรงเรียนให้เป็นที่เรียบร้อย
จากวันนั้นถึงวันนี้ เวลาได้ผ่านไปหลายสิบปีแล้ว แต่ผู้เขียนยังคงจำเรื่องนี้ได้ดี และระลึกถึงความดีที่คุณครูท่านนี้ได้ทำ และคิดว่านี่คือตัวอย่างของครูในความหมายเป็นพ่อแม่คนที่สอง
2. ครูในอดีตมีเงินเดือนน้อย แต่ก็แก้ปัญหาด้วยการทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม ไม่แก้ปัญหานี้ด้วยการสอนพิเศษ โดยการเก็บความรู้ที่ควรจะสอนในเวลาเรียนปกติส่วนหนึ่งไว้สอนพิเศษ ดังที่ครูบางคนหรือบางกลุ่มทำอยู่ในปัจจุบัน
3. ครูในอดีตทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในบ้าน การใช้ชีวิตในสังคมไม่แสดงพฤติกรรมนอกลู่นอกทางของคำว่า ครู ซึ่งหมายถึงผู้หนักแน่นในคุณธรรมแตกต่างจากครูบางคนบางกลุ่มในปัจจุบันที่ปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่ เช่น ลวนลามทางเพศ และขอมีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกกับเกรด เป็นต้น
ทำไมครูในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างไปจากครูในอดีต และเป็นความแตกต่างในทางลบในคุณธรรมและจริยธรรม และเกี่ยวกับประเด็นนี้จะมีแนวทางแก้ไขป้องกันอย่างไร?
ในความเป็นจริง ถ้าพิจารณาครูใน 2 องค์ประกอบคือ สิ่งที่ครูเป็น และสิ่งที่ครูมี ก็จะพบว่าโดยความเป็นจริงแล้ว ครูทั้งในอดีตและปัจจุบันเหมือนกันคือ ผู้ที่เป็นครูทุกคนจะทำการสอนวิชาแขนงต่างๆ และให้การอบรมเพื่อให้เด็กเป็นคนดีมีความรู้ ความสามารถโตขึ้นเป็นทรัพยากรมนุษย์อันทรงคุณค่าของประเทศ สามารถนำความรู้ที่ได้จากครูไปใช้ประกอบอาชีพการงาน และดำรงชีวิตอยู่ดีกินดีตามอัตภาพ แต่ถ้ามองในแง่ของความดี ครูในปัจจุบันจะแตกต่างจากครูในอดีต ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สิ่งแวดล้อมในสังคมไทยปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นกับแนวทางการดำเนินชีวิตในแบบจิตนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตนิยมแนวพุทธที่สอนให้คนเชื่อเรื่องกรรมใช้ชีวิตแบบพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย
ดังนั้น การแสวงหาปัจจัยความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานจึงไม่เกิดขึ้น
แต่ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยถูกครอบงำด้วยวัตถุนิยมจากโลกตะวันตก
ดังนั้น การแสวงหาจึงเกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งศีลธรรมและจริยธรรมหรือไม่ จึงเป็นเหตุให้เกิดการเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งแข่งดีไม่เว้นแม้ในวงการศึกษา
2. จากการที่สังคมเปลี่ยนแปลงตามข้อ 1 ครูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็ได้รับอิทธิพลจากกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
ดังนั้น การสอนของครูจึงกลายเป็นธุรกิจมุ่งเน้นหารายได้มากกว่าเป็นวิทยาทาน
เมื่อครูเปลี่ยนไปพ่อแม่ของเด็กรวมถึงตัวเด็กก็เปลี่ยนทัศนคติไปตาม จากการที่มองครูเป็นผู้ให้เหมือนพ่อแม่กลายเป็นเพียงผู้รับจ้างสอน จึงทำให้การเคารพนับถือครูลดลงจากที่เคยเป็นในอดีต
จากเหตุปัจจัย 2 ประการนี้เอง ทำให้ภาพลักษณ์ของครูในปัจจุบันเป็นไปในทางลบ จากอดีตที่เคยเป็นในเชิงบวก
ส่วนประเด็นที่ว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ
1. ตัวครูเอง
เนื่องจากปัญหานี้เกิดจากครูซึ่งเป็นต้นเหตุโดยตรง ดังนั้นถ้าครูต้องการให้ตนเองเป็นที่เคารพนับถือจากสังคมดังเช่นในอดีต ครูจะต้องเป็นผู้ให้ทั้งในด้านความรู้ และการอบรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งจะต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี
2. เด็ก
ในฐานะผู้เรียน เด็กก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับที่ดีด้วยการสนใจ และใส่ใจในสิ่งที่ครูสอน รวมไปถึงให้ความเคารพครูในฐานะเป็นผู้ให้
3. นโยบายของรัฐบาล
ถ้ารัฐบาลต้องการเห็นครูเป็นพ่อแม่คนที่สองเหมือนในอดีต จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา เริ่มด้วยการคัดเลือกผู้เข้าเรียนในสถานที่ผลิตครู โดยมุ่งเน้นให้ได้คนเก่ง คนดี เพื่อจบออกมาเป็นครูที่ดี ตามมาด้วยการเพิ่มเงินเดือนค่าจ้าง และสวัสดิการเทียบเท่ากับหมอ และวิศวกรเพื่อดูดคนเก่งให้เข้ามาเรียนครู
ถ้าทำได้เช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยจะมีครูที่ดีเพิ่มขึ้น และจะทำให้การศึกษาของประเทศดีขึ้นตาม
1. ในระดับประถมศึกษา เด็กทุกคนเมื่อมีอายุถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดจะต้องเข้าโรงเรียนเพื่อรับการศึกษา
ดังนั้นครูในระดับนี้จึงต้องสอนเด็กทุกคนทั้งที่อยากเรียนและไม่อยากเรียน ทั้งที่ฉลาดและไม่ฉลาดโดยที่ไม่มีโอกาสเลือกสอนเด็กอยากเรียน และปฏิเสธที่จะไม่สอนเด็กที่ไม่อยากเรียน
ด้วยเหตุนี้ ครูในประถมศึกษาจึงต้องมีความอดทน และความรับผิดชอบอย่างมาก
2. เด็กในระดับประถมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพื้นที่ห่างไกลความเจริญ เช่น บนดอยและในป่า ซึ่งเด็กนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวยากจน ไม่ได้รับการศึกษาก่อนวัยเรียนในระดับอนุบาล ดังเช่นเด็กในเมืองที่มีพ่อแม่มีฐานะทางการเงินดี
ดังนั้น เด็กส่วนใหญ่จึงเรียนการเขียน การอ่านในโรงเรียนเป็นครั้งแรก ด้วยเหตุนี้ ครูจึงต้องทุ่มเทในการสอนเป็นอย่างมาก
3. โรงเรียนประถมในพื้นที่ห่างไกลหรือแม้แต่โรงเรียนในเมือง แต่เป็นโรงเรียนขนาดเล็กในย่านชุมชนแออัด มีงบประมาณน้อย อุปกรณ์การสอนไม่เพียงพอที่มีอยู่บ้างก็ไม่ทันสมัย เมื่อเทียบกับโรงเรียนขนาดใหญ่และอยู่ในที่เจริญแถมมีครูจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสัดส่วนของเด็ก โดยยึดมาตรฐานของโรงเรียนในพื้นที่การศึกษาที่เจริญแล้วเช่นในเมืองใหญ่เป็นเกณฑ์
ดังนั้นครูในโรงเรียนลักษณะนี้จึงต้องอดทน และใช้ความสามารถเฉพาะตัวสูงจึงจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้เท่าเทียมกับเด็กในโรงเรียนที่มีความพร้อมมากกว่า
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ จะเห็นได้ว่าครูที่สอนในโรงเรียนประถมศึกษา ควรได้รับการยกย่องมากเพียงใด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ครูที่สอนในโรงเรียนที่ห่างไกล และไม่มีความพร้อมในหลายๆ ด้าน
ส่วนครูที่สอนในระดับการศึกษาที่สูงขึ้นไปจากประถมศึกษา และครูที่สอนในระดับอนุบาลใช่ว่าจะมีความสำคัญ และไม่สมควรแก่การยกย่อง ตรงกันข้ามครูทุกคนและในทุกระดับการศึกษา ควรได้รับการยกย่อง ถ้าเป็นครูที่ดี และมีความรับผิดชอบ มีวิญญาณของความเป็นครู แต่ที่เห็นว่าครูในระดับประถมศึกษาควรได้รับการยกย่องมากกว่า ก็ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. เด็กในระดับที่สูงกว่าระดับประถมศึกษาขึ้นไป จะมีความตั้งใจและมีความรับผิดชอบในการเรียนเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอายุเพิ่มขึ้น ประกอบกับมีความรู้ขั้นพื้นฐานมาจากประถมศึกษาแล้วส่วนหนึ่ง จึงง่ายต่อการสอน
ดังนั้น ครูในระดับนี้จึงใช้ความพยายามน้อยลง เมื่อเทียบกับครูในระดับประถม
2. โรงเรียนในระดับสูงกว่าประถมศึกษา ส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ในเมืองหรือไม่ห่างไกลจากตัวเมืองมากนัก ประกอบกับมีความพร้อมในการจัดการศึกษาในทุกด้าน ดังนั้นครูจึงมีความสะดวกในการสอน และมีความสุขสบายในการทำงานเมื่อเทียบกับครูในระดับประถม
ด้วยเหตุปัจจัย 2 ประการดังกล่าวข้างต้น ครูในระดับสูงกว่าประถมศึกษา จึงมีความสำคัญและควรแก่การยกย่องน้อยกว่าครูในระดับประถม
จริงอยู่ ครูในระดับการศึกษาที่สูงกว่าระดับประถมศึกษา จะต้องมีความรู้ในด้านวิชาการมากกว่า เนื่องจากต้องสอบในวิชาที่ยากกว่า แต่โดยหน้าที่ของความเป็นครูเหมือนกันคือ สอนให้เด็กมีความรู้มีความเข้าใจในเนื้อหาวิชา และอบรมให้เป็นคนดีมีคุณธรรม จริยธรรม แต่ที่ต่างกันก็คือครูในระดับประถมศึกษาสอนเด็กที่ไม่รู้ให้รู้หรือพูดง่ายๆ ก็คือ การทำศูนย์ให้เป็นหนึ่ง แต่ครูในระดับต่อจากประถมศึกษานำหนึ่งมาบวกกันกลายเป็นสิบ เป็นร้อยเป็นพันไปเรื่อยๆ และนี่เองคือเหตุผลที่ให้ความสำคัญ และให้การยกย่องครูในระดับประถมเหนือกว่าครูในระดับที่สูงขึ้นไป ตามนัยแห่งถ้อยคำที่ว่าครูที่ดีมีความรับผิดชอบคือ พ่อแม่คนที่สองของเด็กต่อเด็กมากกว่า เมื่อพิจารณาในความหมายที่ว่าครูเป็นพ่อแม่คนที่สอง
อย่างไรก็ตาม ครูในความหมายดังกล่าวข้างต้น น่าจะถูกต้องและสอดคล้องกับความเป็นจริง สำหรับครูในอดีตมากกว่าครูในปัจจุบัน ทั้งนี้อนุมานจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ครูในอดีตนอกจากจะทุ่มเทในการสอนแล้ว ยังเอาใจใส่ในการที่จะให้เด็กรู้และเข้าใจในสิ่งที่ตนเองสอนในเวลาเรียนแล้ว นอกเวลาเรียนยังสนใจไต่ถามทุกข์สุขของเด็กทุกคน และเป็นพิเศษสำหรับเด็ก ทั้งในเรื่องส่วนตัวและครอบครัวซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียน
เกี่ยวกับประเด็นนี้ ผู้เขียนมีประสบการณ์ตรงในขณะที่เรียนชั้นประถมปีที่ 3 และใกล้จะสอบเลื่อนชั้นขึ้นประถมปีที่ 4 คุณแม่ซึ่งเป็นผู้ใหญ่คนเดียวของครอบครัวที่เหลืออยู่ หลังจากที่คุณพ่อได้เสียชีวิตเมื่อ 2 ปีก่อนได้เสียชีวิตลง จึงจำเป็นต้องย้ายไปอยู่บ้านคุณป้าซึ่งห่างไกลจากโรงเรียน ทำให้เดินทางลำบาก คุณครูแคล้ว ศรีวิโรจน์ ซึ่งเป็นครูใหญ่ได้ทราบเรื่องและให้การช่วยเหลือจัดการย้ายโรงเรียนให้เป็นที่เรียบร้อย
จากวันนั้นถึงวันนี้ เวลาได้ผ่านไปหลายสิบปีแล้ว แต่ผู้เขียนยังคงจำเรื่องนี้ได้ดี และระลึกถึงความดีที่คุณครูท่านนี้ได้ทำ และคิดว่านี่คือตัวอย่างของครูในความหมายเป็นพ่อแม่คนที่สอง
2. ครูในอดีตมีเงินเดือนน้อย แต่ก็แก้ปัญหาด้วยการทำนาทำไร่ เลี้ยงสัตว์เป็นรายได้เสริม ไม่แก้ปัญหานี้ด้วยการสอนพิเศษ โดยการเก็บความรู้ที่ควรจะสอนในเวลาเรียนปกติส่วนหนึ่งไว้สอนพิเศษ ดังที่ครูบางคนหรือบางกลุ่มทำอยู่ในปัจจุบัน
3. ครูในอดีตทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในบ้าน การใช้ชีวิตในสังคมไม่แสดงพฤติกรรมนอกลู่นอกทางของคำว่า ครู ซึ่งหมายถึงผู้หนักแน่นในคุณธรรมแตกต่างจากครูบางคนบางกลุ่มในปัจจุบันที่ปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่ เช่น ลวนลามทางเพศ และขอมีเพศสัมพันธ์เพื่อแลกกับเกรด เป็นต้น
ทำไมครูในปัจจุบันจึงมีความแตกต่างไปจากครูในอดีต และเป็นความแตกต่างในทางลบในคุณธรรมและจริยธรรม และเกี่ยวกับประเด็นนี้จะมีแนวทางแก้ไขป้องกันอย่างไร?
ในความเป็นจริง ถ้าพิจารณาครูใน 2 องค์ประกอบคือ สิ่งที่ครูเป็น และสิ่งที่ครูมี ก็จะพบว่าโดยความเป็นจริงแล้ว ครูทั้งในอดีตและปัจจุบันเหมือนกันคือ ผู้ที่เป็นครูทุกคนจะทำการสอนวิชาแขนงต่างๆ และให้การอบรมเพื่อให้เด็กเป็นคนดีมีความรู้ ความสามารถโตขึ้นเป็นทรัพยากรมนุษย์อันทรงคุณค่าของประเทศ สามารถนำความรู้ที่ได้จากครูไปใช้ประกอบอาชีพการงาน และดำรงชีวิตอยู่ดีกินดีตามอัตภาพ แต่ถ้ามองในแง่ของความดี ครูในปัจจุบันจะแตกต่างจากครูในอดีต ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. สิ่งแวดล้อมในสังคมไทยปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากที่เคยเป็นกับแนวทางการดำเนินชีวิตในแบบจิตนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จิตนิยมแนวพุทธที่สอนให้คนเชื่อเรื่องกรรมใช้ชีวิตแบบพอเพียงไม่ฟุ่มเฟือย
ดังนั้น การแสวงหาปัจจัยความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตขั้นพื้นฐานจึงไม่เกิดขึ้น
แต่ในปัจจุบันผู้คนในสังคมไทยถูกครอบงำด้วยวัตถุนิยมจากโลกตะวันตก
ดังนั้น การแสวงหาจึงเกิดขึ้นโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้องตามครรลองแห่งศีลธรรมและจริยธรรมหรือไม่ จึงเป็นเหตุให้เกิดการเห็นแก่ตัว เอารัดเอาเปรียบ แก่งแย่งแข่งดีไม่เว้นแม้ในวงการศึกษา
2. จากการที่สังคมเปลี่ยนแปลงตามข้อ 1 ครูซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ก็ได้รับอิทธิพลจากกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย
ดังนั้น การสอนของครูจึงกลายเป็นธุรกิจมุ่งเน้นหารายได้มากกว่าเป็นวิทยาทาน
เมื่อครูเปลี่ยนไปพ่อแม่ของเด็กรวมถึงตัวเด็กก็เปลี่ยนทัศนคติไปตาม จากการที่มองครูเป็นผู้ให้เหมือนพ่อแม่กลายเป็นเพียงผู้รับจ้างสอน จึงทำให้การเคารพนับถือครูลดลงจากที่เคยเป็นในอดีต
จากเหตุปัจจัย 2 ประการนี้เอง ทำให้ภาพลักษณ์ของครูในปัจจุบันเป็นไปในทางลบ จากอดีตที่เคยเป็นในเชิงบวก
ส่วนประเด็นที่ว่าจะแก้ไขอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยอันเป็นองค์ประกอบหลัก 3 ประการคือ
1. ตัวครูเอง
เนื่องจากปัญหานี้เกิดจากครูซึ่งเป็นต้นเหตุโดยตรง ดังนั้นถ้าครูต้องการให้ตนเองเป็นที่เคารพนับถือจากสังคมดังเช่นในอดีต ครูจะต้องเป็นผู้ให้ทั้งในด้านความรู้ และการอบรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม พร้อมทั้งจะต้องทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี
2. เด็ก
ในฐานะผู้เรียน เด็กก็จะต้องทำตนเป็นผู้รับที่ดีด้วยการสนใจ และใส่ใจในสิ่งที่ครูสอน รวมไปถึงให้ความเคารพครูในฐานะเป็นผู้ให้
3. นโยบายของรัฐบาล
ถ้ารัฐบาลต้องการเห็นครูเป็นพ่อแม่คนที่สองเหมือนในอดีต จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนในทุกระดับการศึกษา เริ่มด้วยการคัดเลือกผู้เข้าเรียนในสถานที่ผลิตครู โดยมุ่งเน้นให้ได้คนเก่ง คนดี เพื่อจบออกมาเป็นครูที่ดี ตามมาด้วยการเพิ่มเงินเดือนค่าจ้าง และสวัสดิการเทียบเท่ากับหมอ และวิศวกรเพื่อดูดคนเก่งให้เข้ามาเรียนครู
ถ้าทำได้เช่นนี้ในอนาคตประเทศไทยจะมีครูที่ดีเพิ่มขึ้น และจะทำให้การศึกษาของประเทศดีขึ้นตาม