ศธ. จ่อขยายการศึกษาภาคบังคับถึงระดับอนุบาล จาก 9 ปี เป็น 11 มีพร้อมบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อเตรียมพร้อมการศึกษาตั้งแต่เด็ก ซึ่งถ้ามีผลบังคับใช้หากพ่อแม่ไม่ส่งเด็กเข้าเรียนถือว่ามีความผิด ขณะที่ สพฐ. ระบุต้องแก้ พ.ร.บ.การศึกษา และ พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ รองรับ โดยข้อกำหนดไม่รวมศูนย์เด็กเล็ก
เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเวทีเสวนา “ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เพื่อระดมความความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอจากผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา อาทิ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) ผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมกว่า 460 คน โดยมีพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน
โดย พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวระหว่างเปิดเสวนาตอนหนึ่ง ว่า ตนเชื่อว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา เห็นได้จากผลการประเมินจากองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ อาทิ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับที่ 8 หรือในระดับโลกไทยอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าแม้ทุกรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการศึกษาโดยทุ่มงบประมาณให้เป็นจำนวนมากแต่เพราะเหตุใดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กจึงไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ทั้งนี้ เราให้ความสำคัญกับการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก แต่มักจะพูดถึงแต่ระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษา แต่ให้ความสำคัญกับระดับปฐมวัย หรือ อนุบาล น้อยทั้งที่เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม โดยขณะนี้ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีการเสนอให้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากเดิม 9 ปีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขยายลงมาถึงระดับอนุบาลอีก 2 ปีรวมเป็น 11 ปี และให้บรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของ ศธ. ก็ต้องมาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เท่าที่ดูทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกัน และส่วนตัวก็เห็นด้วยเพราะหากเราต้องการสอนให้เด็กคิดดี มีจิตสำนึกที่ดี ก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยนี้ เพราะสามารถจดจำและเรียนรู้ได้เร็ว อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแนวความคิดต้องรอข้อสรุปจากทั้ง สปช. และ สนช. อีกครั้ง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในส่วนการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้นั้น ได้มีการหารือถึงข้อเสนอของสมาชิก สปช. บางท่านที่เสนอให้ลดจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่ให้มากเกินไป เพื่อให้นักเรียนและครูมีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ซึ่งได้มอบให้ สพฐ. ไปดำเนินการศึกษาส่วนจำนวนนักเรียนต่อห้องควรจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ ยังไม่สามารถตอบได้ ขอให้ผู้เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดรวมถึงศึกษาจากงานวิจัยต่าง ๆ และคงไม่ได้เริ่มทันทีในปีการศึกษา 2558 นี้ ขณะเดียวกัน ยังหารือกรณีที่จะมีการปรับโครงสร้าง ศธ. โดยแยกสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ออกไป และให้ทำหน้าที่ดูภาพรวมการจัดการศึกษาของประเทศในรูปแบบคณะกรรมการ หรือ ซูเปอร์บอร์ด ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ควรจะขยายการดูแลไปถึงเรื่องทรัพยากรบุคคลด้วย ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุปเพราะยังต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมต่อไป
ด้าน นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. กล่าวว่า แนวทางที่จะให้ขยายการศึกษาภาคบังคับลงมาถึงระดับปฐมวัย 2 ปีนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมทางการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยตามขั้นตอนแล้วเมื่อมีการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ศธ. จะต้องดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ 2547 และประกาศใช้ ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลไม่ได้บังคับว่าเด็กทุกคนต้องเรียนระดับอนุบาล แต่สำหรับผู้ที่เข้าเรียนรัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัวให้เหมือนระดับการศึกษาอื่นๆ โดยระดับอนุบาล อยู่ที่ 1,700 บาทต่อคนต่อปี เพราะฉะนั้น ในอนาคตเมื่อมีการกำหนดให้ระดับอนุบาลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ หากผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ของระดับอนุบาลจะต้องอายุย่างเข้า 4 ขวบ เพราะฉะนั้น การขยายครั้งนี้จะไม่รวมถึงศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งมีเด็กอายุตั้งแต่ 0 - 3 ขวบ ที่ปัจจุบันอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานต่างๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
เมื่อวันที่ 29 มกราคม ที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดเวทีเสวนา “ปฏิรูปการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เพื่อระดมความความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอจากผู้เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา อาทิ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพทางการศึกษา (สมศ.) ผู้แทนจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย ผู้แทนจากสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมกว่า 460 คน โดยมีพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธาน
โดย พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวระหว่างเปิดเสวนาตอนหนึ่ง ว่า ตนเชื่อว่าทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูปการศึกษา เห็นได้จากผลการประเมินจากองค์กรต่างๆ ทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ อาทิ ในกลุ่มประเทศอาเซียน ไทยอยู่ในอันดับที่ 8 หรือในระดับโลกไทยอยู่ในอันดับค่อนข้างต่ำ ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าแม้ทุกรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการศึกษาโดยทุ่มงบประมาณให้เป็นจำนวนมากแต่เพราะเหตุใดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กจึงไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง ทั้งนี้ เราให้ความสำคัญกับการศึกษาขั้นพื้นฐานมาก แต่มักจะพูดถึงแต่ระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษา แต่ให้ความสำคัญกับระดับปฐมวัย หรือ อนุบาล น้อยทั้งที่เป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญและไม่ควรมองข้าม โดยขณะนี้ทางสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ได้มีการเสนอให้ขยายการศึกษาภาคบังคับจากเดิม 9 ปีตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขยายลงมาถึงระดับอนุบาลอีก 2 ปีรวมเป็น 11 ปี และให้บรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ในส่วนของ ศธ. ก็ต้องมาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เท่าที่ดูทุกฝ่ายมีความเห็นสอดคล้องกัน และส่วนตัวก็เห็นด้วยเพราะหากเราต้องการสอนให้เด็กคิดดี มีจิตสำนึกที่ดี ก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ช่วงวัยนี้ เพราะสามารถจดจำและเรียนรู้ได้เร็ว อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ยังเป็นเพียงแนวความคิดต้องรอข้อสรุปจากทั้ง สปช. และ สนช. อีกครั้ง
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ในส่วนการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ของ ศธ. เมื่อเร็วๆ นี้นั้น ได้มีการหารือถึงข้อเสนอของสมาชิก สปช. บางท่านที่เสนอให้ลดจำนวนนักเรียนต่อห้องไม่ให้มากเกินไป เพื่อให้นักเรียนและครูมีความใกล้ชิดและมีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น ซึ่งได้มอบให้ สพฐ. ไปดำเนินการศึกษาส่วนจำนวนนักเรียนต่อห้องควรจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ ยังไม่สามารถตอบได้ ขอให้ผู้เกี่ยวข้องไปศึกษารายละเอียดรวมถึงศึกษาจากงานวิจัยต่าง ๆ และคงไม่ได้เริ่มทันทีในปีการศึกษา 2558 นี้ ขณะเดียวกัน ยังหารือกรณีที่จะมีการปรับโครงสร้าง ศธ. โดยแยกสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ออกไป และให้ทำหน้าที่ดูภาพรวมการจัดการศึกษาของประเทศในรูปแบบคณะกรรมการ หรือ ซูเปอร์บอร์ด ซึ่งที่ประชุมเห็นว่า ควรจะขยายการดูแลไปถึงเรื่องทรัพยากรบุคคลด้วย ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่มีข้อสรุปเพราะยังต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาพรวมต่อไป
ด้าน นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพฐ. กล่าวว่า แนวทางที่จะให้ขยายการศึกษาภาคบังคับลงมาถึงระดับปฐมวัย 2 ปีนั้นเพื่อเป็นการเตรียมพร้อมทางการศึกษาตั้งแต่เด็ก โดยตามขั้นตอนแล้วเมื่อมีการบรรจุเรื่องดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ศธ. จะต้องดำเนินการแก้ไข พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และ พ.ร.บ.การศึกษาภาคบังคับ 2547 และประกาศใช้ ทั้งนี้ ปัจจุบันรัฐบาลไม่ได้บังคับว่าเด็กทุกคนต้องเรียนระดับอนุบาล แต่สำหรับผู้ที่เข้าเรียนรัฐบาลก็ได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนรายหัวให้เหมือนระดับการศึกษาอื่นๆ โดยระดับอนุบาล อยู่ที่ 1,700 บาทต่อคนต่อปี เพราะฉะนั้น ในอนาคตเมื่อมีการกำหนดให้ระดับอนุบาลเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาภาคบังคับ หากผู้ปกครองไม่ส่งบุตรหลานเข้าเรียนก็ถือว่าผิดกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เกณฑ์ของระดับอนุบาลจะต้องอายุย่างเข้า 4 ขวบ เพราะฉะนั้น การขยายครั้งนี้จะไม่รวมถึงศูนย์เด็กเล็ก ซึ่งมีเด็กอายุตั้งแต่ 0 - 3 ขวบ ที่ปัจจุบันอยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานต่างๆ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่