บอร์ดอำนวยการปฏิรูปนัดแรก ตั้งอนุฯ 7 ชุดดูแลปฏิรูปแต่ละด้าน “ณรงค์” มั่นปฏิรูปครั้งนี้แตกต่าง ชี้ปฏิรูปจากภาคปฏิบัติตั้งแต่ นร. ครู ผอ.ร.ร. และสู่นโยบาย ชูใช้กลไกกระจายอำนาจบริหารพัฒนาคุณภาพหากเดือน ม.ค. 58 ระบุได้ผลดีจะขยายต่อ เห็นด้วยมี “ซูเปอร์บอร์ด” ดูแลกำกับการศึกษาภาพรวม ส่วนการปรับโครงสร้างยังไม่มีข้อยุติ ด้าน “พินิติ” ชี้บอร์ดสนใจการปฏิรูปพัฒนาคุณภาพมากกว่าโครงสร้าง ระบุวางกรอบไว้ 1 ปีพร้อมรับแนวคิดปฏิรูป สปช.สนช.มาวางแผนปฏิรูปด้วย
วันนี้ (18 ธ.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ครั้งที่ 1/2557 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการ 7 ชุด พร้อมประธานเพื่อดูแลการปฏิรูปแต่ละด้าน ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการดูแลการปรับแก้ไขกฎหมายภาพรวมของ ศธ.มี ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. คณะอนุฯดูแลด้านงบประมาณ มี ศ.(พิเศษ) ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาสยาม 3. คณะอนุฯระบบสารสนเทศและจัดฐานข้อมูลการศึกษา ให้ รศ.ดร.จีระเดช อู่สวัสดิ์ อดีตอธิการมหาวิทยาลัยหอการค้า 4. คณะอนุฯ ดูแลการกระจายอำนาจ มี รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ 5. คณะอนุฯปฏิรูปหลักสูตร มี นางสิริกร มณีรินทร์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ ส่วนคณะที่ 6 และ 7 เป็นคณะอนุฯ ดูแลเกี่ยวกับการปฏิรูปการผลิตครูและพัฒนาครู ที่ประชุมมอบให้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก รมว.ศึกษาธิการให้ดูแลเรื่องครูทั้งระบบเป็นผู้ตั้งประธานคณะอนุฯ
“เพราะเป็นการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมจึงหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบทำงานวางกรอบปฏิรูปการศึกษา และเห็นชอบกับการตั้งคณะอนุฯ ทั้ง 7 ชุด ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้นยังไม่ได้หารือลงลึกและไม่มีข้อยุติ แค่ให้ 3 องค์กรหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) นำเสนอผลการศึกษาผลการศึกษาของตนเองต่อที่ประชุมและที่ประชุมก็ให้ข้อคิดเห็นเท่านั้น ผมมั่นใจว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะแตกต่างกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการปฏิรูปจากภาคปฏิบัติซึ่งก็คือ เด็ก ครู ผอ.โรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมกับการปฏิรูปด้วยนับว่านี้มีความสำคัญยิ่งกว่าการปรับโครงสร้าง และ ศธ. จะทำโครงการนำร่องกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต และแต่ละเขตพื้นที่ฯจะคัดเลือกโรงเรียน 15 แห่งเริ่มเดือนมกราคม 2558 ซึ่งโครงการนี้ช่วยให้โรงเรียนและเขตพื้นที่ฯ มีอำนาจบริหารตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยหากการนำร่องได้ผลในทางบวกก็จะขยายโครงการเพิ่ม” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุมพูดคุยในประเด็นที่มีการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด เพื่อดูแลการศึกษาในภาพรวมด้วย เพราะว่าที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีหน่วยงานระดับชาติที่มาทำหน้าที่กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการทำงานการศึกษา ในอดีตสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ช่วงที่สังกัดสำนักนายกฯเคยทำหน้าที่วางนโยบายการศึกษาในภาพรวม แต่ภายหลังจากที่ปรับโครงสร้างและมาสังกัด ศธ. นั้น สกศ. ก็เปลี่ยนมาดูแลแค่นโยบายของ ศธ.เท่านั้น ทำให้ขาดหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาในภาพรวมจึงมีความจำเป็นที่ต้องตั้งหน่วยงานระดับชาติขึ้น
ด้าน รศ.ดร.พินิติ รตะนุกูล เลขาธิการ สกศ. กล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้กำหนดกรอบเวลาในการปฏิรูปการศึกษาไว้ 1 ปีแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย เพราะ ศธ.ต้องรับเอาแนวคิดของ สปช. และ สนช. มากำหนดร่วมในแผนการปฏิรูปการศึกษาด้วย ขณะเดียวกัน การปฏิรูปการศึกษาในบางประเด็นจะถูกบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกำหนดให้คณะอนุกรรมการทั้ง 7 ชุดจะต้องรายงานความก้าวหน้าในการปฏิรูปต่อที่ประชุมทุกครั้ง ซึ่งคาดว่าบางเรื่อง เช่น ระบบการผลิตและพัฒนาครูจะเห็นผลชัดเจน ใน 3 เดือน
“การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากกว่าการปรับโครงสร้าง เราจะตั้งโจทย์ขึ้นมาก่อนว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องทำอย่างไรบ้าง หากไปกระทบกับโครงสร้างจึงจะมีการปรับโครงสร้างในจุดนั้น นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นพ้องว่าเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาลไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลจะได้ดำเนินการตามกรอบนั้น จึงควรกำหนดกรอบปฏิรูปให้ชัดเจนและตั้งคณะกรรมการระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิรูปการศึกษาทั้งระยะเร่งด่วน 1 ปี ระยะปานกลาง 1 - 3 ปี และระยะยาว 5 - 10 ปี เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทยเกิดความต่อเนื่องยั่งยืนและไม่ถูกแทรกแซงจากระบบการเมือง” รศ.ดร.พินิติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ธ.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษา ศธ. ครั้งที่ 1/2557 เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตั้งคณะอนุกรรมการ 7 ชุด พร้อมประธานเพื่อดูแลการปฏิรูปแต่ละด้าน ดังนี้ 1. คณะอนุกรรมการดูแลการปรับแก้ไขกฎหมายภาพรวมของ ศธ.มี ศ.วิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2. คณะอนุฯดูแลด้านงบประมาณ มี ศ.(พิเศษ) ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาสยาม 3. คณะอนุฯระบบสารสนเทศและจัดฐานข้อมูลการศึกษา ให้ รศ.ดร.จีระเดช อู่สวัสดิ์ อดีตอธิการมหาวิทยาลัยหอการค้า 4. คณะอนุฯ ดูแลการกระจายอำนาจ มี รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อดีต รมช.ศึกษาธิการ 5. คณะอนุฯปฏิรูปหลักสูตร มี นางสิริกร มณีรินทร์ อดีต รมช.ศึกษาธิการ ส่วนคณะที่ 6 และ 7 เป็นคณะอนุฯ ดูแลเกี่ยวกับการปฏิรูปการผลิตครูและพัฒนาครู ที่ประชุมมอบให้ ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ ซึ่งได้รับมอบหมายจาก รมว.ศึกษาธิการให้ดูแลเรื่องครูทั้งระบบเป็นผู้ตั้งประธานคณะอนุฯ
“เพราะเป็นการประชุมครั้งแรก ที่ประชุมจึงหารือเบื้องต้นเกี่ยวกับกรอบทำงานวางกรอบปฏิรูปการศึกษา และเห็นชอบกับการตั้งคณะอนุฯ ทั้ง 7 ชุด ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างของกระทรวงนั้นยังไม่ได้หารือลงลึกและไม่มีข้อยุติ แค่ให้ 3 องค์กรหลัก คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) นำเสนอผลการศึกษาผลการศึกษาของตนเองต่อที่ประชุมและที่ประชุมก็ให้ข้อคิดเห็นเท่านั้น ผมมั่นใจว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะแตกต่างกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นการปฏิรูปจากภาคปฏิบัติซึ่งก็คือ เด็ก ครู ผอ.โรงเรียน ผอ.เขตพื้นที่การศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมกับการปฏิรูปด้วยนับว่านี้มีความสำคัญยิ่งกว่าการปรับโครงสร้าง และ ศธ. จะทำโครงการนำร่องกระจายอำนาจให้เขตพื้นที่การศึกษา 20 เขต และแต่ละเขตพื้นที่ฯจะคัดเลือกโรงเรียน 15 แห่งเริ่มเดือนมกราคม 2558 ซึ่งโครงการนี้ช่วยให้โรงเรียนและเขตพื้นที่ฯ มีอำนาจบริหารตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนของโรงเรียน โดยหากการนำร่องได้ผลในทางบวกก็จะขยายโครงการเพิ่ม” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าว
รมว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกัน ที่ประชุมพูดคุยในประเด็นที่มีการเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการระดับชาติ หรือ ซุปเปอร์บอร์ด เพื่อดูแลการศึกษาในภาพรวมด้วย เพราะว่าที่ผ่านมาประเทศไทยไม่มีหน่วยงานระดับชาติที่มาทำหน้าที่กำหนดทิศทางและยุทธศาสตร์ในการทำงานการศึกษา ในอดีตสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ช่วงที่สังกัดสำนักนายกฯเคยทำหน้าที่วางนโยบายการศึกษาในภาพรวม แต่ภายหลังจากที่ปรับโครงสร้างและมาสังกัด ศธ. นั้น สกศ. ก็เปลี่ยนมาดูแลแค่นโยบายของ ศธ.เท่านั้น ทำให้ขาดหน่วยงานที่ดูแลการศึกษาในภาพรวมจึงมีความจำเป็นที่ต้องตั้งหน่วยงานระดับชาติขึ้น
ด้าน รศ.ดร.พินิติ รตะนุกูล เลขาธิการ สกศ. กล่าวว่า เบื้องต้นที่ประชุมได้กำหนดกรอบเวลาในการปฏิรูปการศึกษาไว้ 1 ปีแต่ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย เพราะ ศธ.ต้องรับเอาแนวคิดของ สปช. และ สนช. มากำหนดร่วมในแผนการปฏิรูปการศึกษาด้วย ขณะเดียวกัน การปฏิรูปการศึกษาในบางประเด็นจะถูกบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมกำหนดให้คณะอนุกรรมการทั้ง 7 ชุดจะต้องรายงานความก้าวหน้าในการปฏิรูปต่อที่ประชุมทุกครั้ง ซึ่งคาดว่าบางเรื่อง เช่น ระบบการผลิตและพัฒนาครูจะเห็นผลชัดเจน ใน 3 เดือน
“การปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากกว่าการปรับโครงสร้าง เราจะตั้งโจทย์ขึ้นมาก่อนว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องทำอย่างไรบ้าง หากไปกระทบกับโครงสร้างจึงจะมีการปรับโครงสร้างในจุดนั้น นอกจากนั้น ที่ประชุมยังเห็นพ้องว่าเพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาเป็นนโยบายพื้นฐานของทุกรัฐบาลไม่ว่าใครเข้ามาเป็นรัฐบาลจะได้ดำเนินการตามกรอบนั้น จึงควรกำหนดกรอบปฏิรูปให้ชัดเจนและตั้งคณะกรรมการระดับชาติทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิรูปการศึกษาทั้งระยะเร่งด่วน 1 ปี ระยะปานกลาง 1 - 3 ปี และระยะยาว 5 - 10 ปี เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาของไทยเกิดความต่อเนื่องยั่งยืนและไม่ถูกแทรกแซงจากระบบการเมือง” รศ.ดร.พินิติ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่