“ณรงค์” ตั้งเป้า กรอบความคิดการปฏิรูปการศึกษาในทุกด้านจะต้องเสร็จเรียบร้อยไม่เกิน 3 เดือน ส่งต่อหน่วยงานเกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียด พร้อมหาวิธีประชาพิจารณ์
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ จังหวัดชลบุรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า หลังจากมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพรวบรวมประเด็นและร่างแผนปฏิรูปการศึกษา ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สกศ.ไปศึกษาข้อดี ข้อเสียว่าทั้ง 3 หน่วยงานควรจะแยกออกจาก ศธ.หรือไม่ โดยให้เวลาศึกษาประมาณ 3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้น ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักสัปดาห์หน้า จะติดตามความคืบหน้าของทั้ง 2 เรื่องนี้เพื่อดูว่าแต่ละหน่วยงานทำข้อเสนอมาอย่างไร ทั้งนี้ ทราบว่า รศ.ดร.พินิติ รัตนะนุกูล เลขาธิการ สกศ.เตรียมจะรายงานความคืบหน้าในการตั้งทีมงานวางกรอบปฏิรูปการศึกษาในแต่ละด้าน
“สำหรับเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ผมตั้งเป้าไว้ว่าภายในไม่เกิน 3 เดือน กรอบความคิดการปฏิรูปการศึกษาในทุกด้านจะต้องเสร็จเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. การปฏิรูปการบริหารจัดการ การปฏิรูประบบบริหารบุคลากร หรือการปฏิรูปการเรียนการสอน ทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนการสอนจะต้องวางกรอบที่ชัดเจนออกมาให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปจัดทำรายละเอียดต่อไป”พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว
รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อได้กรอบแนวความคิดที่ชัดเจนแล้วจะต้องนำหารือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันคิดรวมถึงจะต้องมีการประชาพิจารณ์ด้วย เพราะเรื่องการศึกษาส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนจึงควรที่จะมีการประชาพิจารณ์ แต่จะดูว่าควรทำในลักษณะไหน ซึ่งอาจจะประชาพิจารณ์ผ่านโซเชียลมีเดียด้วย
รมว.ศึกษาธิการกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในส่วนของการปฏิรูปโครงการสร้างกระทรวงนั้น เมื่อทั้ง 3 หน่วยงานรวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รายงานผลากรศึกษามาแล้ว ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.จะร่วมกันตัดสินใจกับตน โดยตนจะไม่เป็นคนฟันธงแต่จะฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูง รวมถึงอาจจะมีการถามความเห็นไปยัง สปช. และคณะกรรมาธิการด้านการศึกษาของ สนช.ด้วย แต่จะขอย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ศธ.ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมา ศธ.ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (13 พ.ย.) ที่โรงเรียนชุมพลทหารเรือ จังหวัดชลบุรี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า หลังจากมอบหมายให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพรวบรวมประเด็นและร่างแผนปฏิรูปการศึกษา ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และ สกศ.ไปศึกษาข้อดี ข้อเสียว่าทั้ง 3 หน่วยงานควรจะแยกออกจาก ศธ.หรือไม่ โดยให้เวลาศึกษาประมาณ 3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้น ในการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักสัปดาห์หน้า จะติดตามความคืบหน้าของทั้ง 2 เรื่องนี้เพื่อดูว่าแต่ละหน่วยงานทำข้อเสนอมาอย่างไร ทั้งนี้ ทราบว่า รศ.ดร.พินิติ รัตนะนุกูล เลขาธิการ สกศ.เตรียมจะรายงานความคืบหน้าในการตั้งทีมงานวางกรอบปฏิรูปการศึกษาในแต่ละด้าน
“สำหรับเรื่องการปฏิรูปการศึกษา ผมตั้งเป้าไว้ว่าภายในไม่เกิน 3 เดือน กรอบความคิดการปฏิรูปการศึกษาในทุกด้านจะต้องเสร็จเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการปฏิรูปโครงสร้าง ศธ. การปฏิรูปการบริหารจัดการ การปฏิรูประบบบริหารบุคลากร หรือการปฏิรูปการเรียนการสอน ทุกปัจจัยที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการเรียนการสอนจะต้องวางกรอบที่ชัดเจนออกมาให้เสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปจัดทำรายละเอียดต่อไป”พล.ร.อ.ณรงค์กล่าว
รมว.ศึกษาธิการกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อได้กรอบแนวความคิดที่ชัดเจนแล้วจะต้องนำหารือกับสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ทุกฝ่ายมาช่วยกันคิดรวมถึงจะต้องมีการประชาพิจารณ์ด้วย เพราะเรื่องการศึกษาส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนจึงควรที่จะมีการประชาพิจารณ์ แต่จะดูว่าควรทำในลักษณะไหน ซึ่งอาจจะประชาพิจารณ์ผ่านโซเชียลมีเดียด้วย
รมว.ศึกษาธิการกล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ ในส่วนของการปฏิรูปโครงการสร้างกระทรวงนั้น เมื่อทั้ง 3 หน่วยงานรวมทั้งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) รายงานผลากรศึกษามาแล้ว ที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของ ศธ.จะร่วมกันตัดสินใจกับตน โดยตนจะไม่เป็นคนฟันธงแต่จะฟังความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูง รวมถึงอาจจะมีการถามความเห็นไปยัง สปช. และคณะกรรมาธิการด้านการศึกษาของ สนช.ด้วย แต่จะขอย้ำว่าการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ศธ.ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมา ศธ.ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลายครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่