“ณรงค์” มอบ สกศ. เป็นเจ้าภาพดูแล วางแผน กำหนดทิศทางการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ แนะรวบรวมปัญหาปลีกย่อย ต่อด้วยภาพรวม เริ่มจากโครงสร้างใหญ่ไล่ลงไปในระดับพื้นที่
วันนี้ (22 ต.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ว่า ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเห็นตรงกันว่าจะทำทั้งระบบ จึงมอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพดูแล การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยให้ตั้งทีมงานซึ่งรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาศึกษาการปฏิรูปการศึกษาในภาพรวม ให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างระบบการจัดการศึกษา บุคลากร รวมถึงระบบการบริหารจัดการองค์กร โดยได้มอบหมายให้ สกศ. ไปวางแผนว่า ศธ. จะปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางใด และได้ให้ข้อแนะนำไปว่า ควรจะเริ่มต้นจากการรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง ทั้งปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท เด็กอ่อนภาษาอังกฤษ โครงสร้าง ศธ. ไม่ดี เป็นต้น จากนั้นมาดูในภาพรวม และเริ่มจากโครงสร้างใหญ่ก่อน และไล่ลงไปในระดับพื้นที่ ว่าปัญหาที่เรารวบรวบไว้ อยู่ในส่วนใดบ้าง และควรต้องมีการปฏิรูปในส่วนใด ไล่ไปตามลำดับ
“ความจริงเรื่องปฏิรูปการศึกษาไม่ได้เพิ่งเริ่มทำ เพียงแต่ยังไม่ได้มองทั้งระบบ และไม่ได้มีการกำหนดทิศทางแก้ปัญหาในภาพรวมไว้ ที่ผ่านมา เป็นการมองบางเฉพาะเรื่องและเข้าไปแก้ตรงนั้น ดังนั้น ครั้งนี้จึงมอบหมายให้ สกศ. เป็นเจ้าภาพไปวางแผนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ และมาหารือร่วมกันอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ ขณะเดียวกัน เรื่องใดที่สามารถดำเนินได้ทันที อาทิ การพัฒนาครู และนักเรียน ก็ขอให้ปฏิรูปให้เกิดความต่อเนื่องทันที ไม่ต้องรอการปฏิรูปในภาพรวม ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน โดยขณะนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกิดขึ้นแล้ว และมีสมาชิก สปช. หลายคนอยู่ในวงการศึกษา และอยู่ใน ศธ. ดังนั้น จะขอให้ สปช. ที่อยู่ใน ศธ. เป็นตัวเชื่อมระหว่าง สปช. กับ ศธ. เพื่อให้แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะให้หน่วยงานต่างๆ นำแนวคิดการปฏิรูปต่างๆ ที่ศธ. ดำเนินการไว้ส่วนหนึ่ง มารวมกับการปฏิรูปครั้งนี้ด้วย รวมถึงแนวคิดที่ให้แยก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ออกจาก ศธ. และให้ สกศ. กลับไปอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาข้อดีข้อเสีย ก็ให้ดำเนินการต่อ และให้นำผลการศึกษาทั้งหมด มารวมไว้ที่ สกศ. เพื่อไปจัดทำแผนปฏิรูปในภาพรวมต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ต.ค.) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ. ว่า ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งเห็นตรงกันว่าจะทำทั้งระบบ จึงมอบให้สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) เป็นเจ้าภาพดูแล การปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยให้ตั้งทีมงานซึ่งรวบรวมผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาศึกษาการปฏิรูปการศึกษาในภาพรวม ให้ครอบคลุมทุกเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างระบบการจัดการศึกษา บุคลากร รวมถึงระบบการบริหารจัดการองค์กร โดยได้มอบหมายให้ สกศ. ไปวางแผนว่า ศธ. จะปฏิรูปการศึกษาไปในทิศทางใด และได้ให้ข้อแนะนำไปว่า ควรจะเริ่มต้นจากการรวบรวมประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่ามีอะไรบ้าง ทั้งปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาท เด็กอ่อนภาษาอังกฤษ โครงสร้าง ศธ. ไม่ดี เป็นต้น จากนั้นมาดูในภาพรวม และเริ่มจากโครงสร้างใหญ่ก่อน และไล่ลงไปในระดับพื้นที่ ว่าปัญหาที่เรารวบรวบไว้ อยู่ในส่วนใดบ้าง และควรต้องมีการปฏิรูปในส่วนใด ไล่ไปตามลำดับ
“ความจริงเรื่องปฏิรูปการศึกษาไม่ได้เพิ่งเริ่มทำ เพียงแต่ยังไม่ได้มองทั้งระบบ และไม่ได้มีการกำหนดทิศทางแก้ปัญหาในภาพรวมไว้ ที่ผ่านมา เป็นการมองบางเฉพาะเรื่องและเข้าไปแก้ตรงนั้น ดังนั้น ครั้งนี้จึงมอบหมายให้ สกศ. เป็นเจ้าภาพไปวางแผนการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ และมาหารือร่วมกันอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ ขณะเดียวกัน เรื่องใดที่สามารถดำเนินได้ทันที อาทิ การพัฒนาครู และนักเรียน ก็ขอให้ปฏิรูปให้เกิดความต่อเนื่องทันที ไม่ต้องรอการปฏิรูปในภาพรวม ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลานาน โดยขณะนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เกิดขึ้นแล้ว และมีสมาชิก สปช. หลายคนอยู่ในวงการศึกษา และอยู่ใน ศธ. ดังนั้น จะขอให้ สปช. ที่อยู่ใน ศธ. เป็นตัวเชื่อมระหว่าง สปช. กับ ศธ. เพื่อให้แนวคิดในการปฏิรูปการศึกษาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม จะให้หน่วยงานต่างๆ นำแนวคิดการปฏิรูปต่างๆ ที่ศธ. ดำเนินการไว้ส่วนหนึ่ง มารวมกับการปฏิรูปครั้งนี้ด้วย รวมถึงแนวคิดที่ให้แยก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ออกจาก ศธ. และให้ สกศ. กลับไปอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งตนได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปศึกษาข้อดีข้อเสีย ก็ให้ดำเนินการต่อ และให้นำผลการศึกษาทั้งหมด มารวมไว้ที่ สกศ. เพื่อไปจัดทำแผนปฏิรูปในภาพรวมต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น