รมว.ศธ. สั่ง สพฐ. ดูแลการสืบสวนกรณีทุจริตสนามฟุตซอล รายงานข้อมูลเป็นรายเขตทั้ง 34 เขตพื้นที่การศึกษาที่มีการก่อสร้าง ห่วงครูและบุคลากรของ ร.ร. อาจตกเป็นแพะรับบาป สั่ง สพฐ. เข้าไปช่วยดูแลด้านกฎหมาย
วันนี้ (22 ต.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการสอบข้อเท็จจริงกรณีการก่อสร้างสนามฟุตซอลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุตรดิตถ์ว่า ตนได้รับข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง 2 ชุดที่ได้รายงานมาแล้วส่วนใหญ่ข้อมูลจะคล้ายกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชนจะเจอสภาพปัญหาเดียวกันข้อมูลไม่ได้ผิดเพี้ยนกัน ซึ่งในเรื่องนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ได้สอบถามข้อมูลในที่ประชุมผู้บริหาร 5 องค์กร หลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และได้สั่งการให้ สพฐ. ลงไปดูแลเรื่องนี้ให้ใกล้ชิดมากขึ้นเนื่องจากว่าแม้เรื่องที่เกิดจะอยู่ในพื้นที่แต่ก็ถือว่าเกิดในพื้นที่ของ สพฐ. และ ศธ. อีกทั้งคนที่เกี่ยวข้องก็เป็นคนของ ศธ.
“รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้สพฐ. แจ้งเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งที่มีการก่อสร้างสนามฟุตซอล ทำรายงานโดยละเอียดเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาเสนอมา ทั้งนี้ ในส่วนของ สพฐ. ที่ได้ตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง 2 ชุดลงไปตรวจสอบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและอุตรดิตถ์ไปแล้วนั้น ผมได้สั่งการเพิ่มให้คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงชุดดังกล่าวไปดูข้อมูลให้ครบ 37 เขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้รับงบประมาณในการสร้างสนามฟุตซอลครั้งนี้ ด้วย” นายกมล กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ป.ป.ท. ที่จะจัดส่งรายชื่อ 727 ราย มายัง สพฐ. นั้น ยังไม่ได้รับแต่เมื่อส่งมาถึง สพฐ. จะส่งเรื่องให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาไป แต่ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า คนเหล่านี้พบกับปัญหานี้โดยที่บางคนอาจจะไม่มีความรู้ หรือมีความเข้าใจเพียงพอ สพฐ. อาจต้องไปคิดระบบเพื่อตั้งทีมงานไปช่วยดูเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะมีทีมนิติกร นักวิชาการเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนกับว่าเราปล่อยให้พวกเขาจัดการเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ข้อมูลของ ป.ป.ท. แจ้งมาว่าผู้ที่มีรายชื่อ 727 คน อาจจะเข้าข่ายมากน้อยต่างกันตามกฎหมายก็ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง เพราะถือว่าสืบหาข้อเท็จจริงแล้วสามารถตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยได้เลย เพราะเข้าใจว่าข้อมูลของ ป.ป.ท. จะแจ้งมาว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้างในแต่ละโรงเรียนและพื้นที่ ส่วนหากกรณีรายชื่อที่แจ้งมาอาจมีผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ด้วย และเป็นตำแหน่งระดับ 9 ทาง สพฐ. ก็ต้องตั้งกรรมการสอบสวนเองตามอำนาจ อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น รมว.ศธ. แสดงความเป็นห่วงว่าในการจัดซื้อจัดจ้างจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 8 พันล้านบาท ในส่วนของโรงเรียนทั่วประเทศที่จะได้รับงบซ่อมแซมอาคารเรียน ห้องน้ำ โดยตนได้แจ้งว่า สพฐ. คงไม่สามารถปล่อยให้โรงเรียนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกันเองไม่ได้แล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกตนจึงขออนุญาต พล.ร.อ.ณรงค์ ตั้งคณะกรรมการลงไปควบคุมกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดส่งวิศวกร สพฐ. ลงไปในแต่ละพื้นที่เพื่อช่วยกันตรวจการก่อสร้าง ซ่อมแซมจะได้ไม่เกิดปัญหาอีก
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า สพฐ. ได้รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบ ปัญหาการจัดสร้างสนามฟุตซอล โดยตั้งกรรมการลงไปติดตามตรวจสอบทุกเขตพื้นที่ ยืนยันว่า ศธ. ไม่ได้ละเลย แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2555 แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นประเด็นทางเราก็จะเข้าไปดูแลเรื่องนี้ ส่วนหน่วยงานอื่นที่เข้ามาตรวจสอบ ก็จะมีการประสานงานว่าดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย หรือการตรวจสอบทางวินัยจะต้องมีขั้นตอนอย่างไร ให้คณะกรรมการดำเนินการไปตามระเบียบข้อบังคับนั้นไม่ได้ละเลย ทั้งนี้ ส่วนตัวมีความเป็นห่วงครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ของเราที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะอย่างที่เรารู้ๆ กันว่า ฟุตซอลเป็นผลทางการเมือง มีการแบ่งสันปันส่วนกัน ซึ่งตนคงไม่ลงลึก เมื่อเรื่องแดงขึ้นมา คนที่ตกเป็นแพะรับบาป ก็คือ ครู บุคลากรที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมการตรวจรับ ทั้งที่บางคนไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะฟุตซอลเป็นเรื่องที่ไกลเกินตัวในขณะนั้น เกินความสามารถของคนเหล่านั้นที่จะไปรู้รายละเอียดการก่อสร้าง อาทิ พื้นสนามควรมีความหนา หรือมีคุณสมบัติอย่างไร ไม่ได้มีเจตนาที่จะทุจริต ดังนั้น สพฐ. ก็ต้องหาพี่เลี้ยงช่วยเหลือคนเหล่านี้ด้วย
“อยากให้เอาเรื่องสนามฟุตซอลเป็นบทเรียน ของการดำเนินการตามงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในส่วนของ ศธ. ได้รับงบประมาณ ซ่อมสร้างอาคารเรียนมาประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ประมาณไม่มาก และมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านงานก่อสร้างอยู่ แต่ส่วนของ สพฐ. โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก อยากให้ สพฐ. เขาไปช่วยดูแล เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาเหมือนสนามฟุตซอล และคิดว่าการซ่อมสร้างอาคารเรียนน่าจะเป็นเทคนิคที่ครู และบุคลากร น่าจะพอทราบ และตรวจสอบได้ เพราะไม่ซับซ้อนเหมือนเรื่องฟุตซอล” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวและว่า ส่วนมาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาทุจริต การจัดซื้อจัดจ้างหรือฮั้วประมูลในหน่วยงานสังกัด ศธ. นั้น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ มีระเบียบที่เป็นมาตรการที่ป้องกันอยู่แล้ว ถ้าไม่ทำก็มีคนเข้าไปตรวจสอบ หรือถ้าไม่ตรวจสอบเรื่องก็แดงเหมือนสนามฟุตซอล แต่แม้จะมีระเบียบก็อาจจะยังไม่เพียงพอ ดังนั้น สำหรับโครงการต่างๆ ที่มีปัญหา ต่อไปศธ. เองก็อาจจะตั้งทีมงานเฉพาะกิจเข้าไปดูแลติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณหากรายงานแล้วว่าไม่มีปัญหาหน่วยงานนี้ก็สลายตัวไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ต.ค.) นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยความคืบหน้าการสอบข้อเท็จจริงกรณีการก่อสร้างสนามฟุตซอลโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดอุตรดิตถ์ว่า ตนได้รับข้อมูลเบื้องต้นของคณะกรรมการสืบข้อเท็จจริง 2 ชุดที่ได้รายงานมาแล้วส่วนใหญ่ข้อมูลจะคล้ายกับข้อมูลที่ปรากฏในสื่อมวลชนจะเจอสภาพปัญหาเดียวกันข้อมูลไม่ได้ผิดเพี้ยนกัน ซึ่งในเรื่องนี้ พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ ได้สอบถามข้อมูลในที่ประชุมผู้บริหาร 5 องค์กร หลักของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และได้สั่งการให้ สพฐ. ลงไปดูแลเรื่องนี้ให้ใกล้ชิดมากขึ้นเนื่องจากว่าแม้เรื่องที่เกิดจะอยู่ในพื้นที่แต่ก็ถือว่าเกิดในพื้นที่ของ สพฐ. และ ศธ. อีกทั้งคนที่เกี่ยวข้องก็เป็นคนของ ศธ.
“รมว.ศึกษาธิการ ได้ขอให้สพฐ. แจ้งเขตพื้นที่การศึกษาทุกแห่งที่มีการก่อสร้างสนามฟุตซอล ทำรายงานโดยละเอียดเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาเสนอมา ทั้งนี้ ในส่วนของ สพฐ. ที่ได้ตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง 2 ชุดลงไปตรวจสอบในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาและอุตรดิตถ์ไปแล้วนั้น ผมได้สั่งการเพิ่มให้คณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริงชุดดังกล่าวไปดูข้อมูลให้ครบ 37 เขตพื้นที่การศึกษา ที่ได้รับงบประมาณในการสร้างสนามฟุตซอลครั้งนี้ ด้วย” นายกมล กล่าว
นายกมล กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ป.ป.ท. ที่จะจัดส่งรายชื่อ 727 ราย มายัง สพฐ. นั้น ยังไม่ได้รับแต่เมื่อส่งมาถึง สพฐ. จะส่งเรื่องให้แต่ละเขตพื้นที่การศึกษาในฐานะผู้บังคับบัญชาโดยตรงดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนตามขั้นตอนเป็นรายเขตพื้นที่การศึกษาไป แต่ รมว.ศึกษาธิการ ให้ความเห็นว่า คนเหล่านี้พบกับปัญหานี้โดยที่บางคนอาจจะไม่มีความรู้ หรือมีความเข้าใจเพียงพอ สพฐ. อาจต้องไปคิดระบบเพื่อตั้งทีมงานไปช่วยดูเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เช่น อาจจะมีทีมนิติกร นักวิชาการเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ไม่เช่นนั้นก็จะเหมือนกับว่าเราปล่อยให้พวกเขาจัดการเรื่องนี้ด้วยตัวเอง
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ข้อมูลของ ป.ป.ท. แจ้งมาว่าผู้ที่มีรายชื่อ 727 คน อาจจะเข้าข่ายมากน้อยต่างกันตามกฎหมายก็ไม่ต้องตั้งคณะกรรมการสืบหาข้อเท็จจริง เพราะถือว่าสืบหาข้อเท็จจริงแล้วสามารถตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยได้เลย เพราะเข้าใจว่าข้อมูลของ ป.ป.ท. จะแจ้งมาว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้างในแต่ละโรงเรียนและพื้นที่ ส่วนหากกรณีรายชื่อที่แจ้งมาอาจมีผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาอยู่ด้วย และเป็นตำแหน่งระดับ 9 ทาง สพฐ. ก็ต้องตั้งกรรมการสอบสวนเองตามอำนาจ อย่างไรก็ตาม จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้น รมว.ศธ. แสดงความเป็นห่วงว่าในการจัดซื้อจัดจ้างจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจประมาณ 8 พันล้านบาท ในส่วนของโรงเรียนทั่วประเทศที่จะได้รับงบซ่อมแซมอาคารเรียน ห้องน้ำ โดยตนได้แจ้งว่า สพฐ. คงไม่สามารถปล่อยให้โรงเรียนดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างกันเองไม่ได้แล้ว ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีกตนจึงขออนุญาต พล.ร.อ.ณรงค์ ตั้งคณะกรรมการลงไปควบคุมกำกับดูแลการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดส่งวิศวกร สพฐ. ลงไปในแต่ละพื้นที่เพื่อช่วยกันตรวจการก่อสร้าง ซ่อมแซมจะได้ไม่เกิดปัญหาอีก
พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวว่า สพฐ. ได้รายงานความคืบหน้าการตรวจสอบ ปัญหาการจัดสร้างสนามฟุตซอล โดยตั้งกรรมการลงไปติดตามตรวจสอบทุกเขตพื้นที่ ยืนยันว่า ศธ. ไม่ได้ละเลย แม้จะเป็นเรื่องที่เกิดตั้งแต่ พ.ศ. 2555 แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วเป็นประเด็นทางเราก็จะเข้าไปดูแลเรื่องนี้ ส่วนหน่วยงานอื่นที่เข้ามาตรวจสอบ ก็จะมีการประสานงานว่าดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมาย หรือการตรวจสอบทางวินัยจะต้องมีขั้นตอนอย่างไร ให้คณะกรรมการดำเนินการไปตามระเบียบข้อบังคับนั้นไม่ได้ละเลย ทั้งนี้ ส่วนตัวมีความเป็นห่วงครู หรือบุคลากรทางการศึกษา ของเราที่อาจจะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะอย่างที่เรารู้ๆ กันว่า ฟุตซอลเป็นผลทางการเมือง มีการแบ่งสันปันส่วนกัน ซึ่งตนคงไม่ลงลึก เมื่อเรื่องแดงขึ้นมา คนที่ตกเป็นแพะรับบาป ก็คือ ครู บุคลากรที่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งทำหน้าที่เป็นกรรมการตรวจรับ ทั้งที่บางคนไม่มีความรู้ในเรื่องนี้ เพราะฟุตซอลเป็นเรื่องที่ไกลเกินตัวในขณะนั้น เกินความสามารถของคนเหล่านั้นที่จะไปรู้รายละเอียดการก่อสร้าง อาทิ พื้นสนามควรมีความหนา หรือมีคุณสมบัติอย่างไร ไม่ได้มีเจตนาที่จะทุจริต ดังนั้น สพฐ. ก็ต้องหาพี่เลี้ยงช่วยเหลือคนเหล่านี้ด้วย
“อยากให้เอาเรื่องสนามฟุตซอลเป็นบทเรียน ของการดำเนินการตามงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยในส่วนของ ศธ. ได้รับงบประมาณ ซ่อมสร้างอาคารเรียนมาประมาณหมื่นกว่าล้านบาท ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ประมาณไม่มาก และมีบุคลากรที่มีความรู้ด้านงานก่อสร้างอยู่ แต่ส่วนของ สพฐ. โดยเฉพาะโรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมาก อยากให้ สพฐ. เขาไปช่วยดูแล เพราะไม่อยากให้เกิดปัญหาเหมือนสนามฟุตซอล และคิดว่าการซ่อมสร้างอาคารเรียนน่าจะเป็นเทคนิคที่ครู และบุคลากร น่าจะพอทราบ และตรวจสอบได้ เพราะไม่ซับซ้อนเหมือนเรื่องฟุตซอล” พล.ร.อ.ณรงค์ กล่าวและว่า ส่วนมาตรการระยะยาวในการแก้ปัญหาทุจริต การจัดซื้อจัดจ้างหรือฮั้วประมูลในหน่วยงานสังกัด ศธ. นั้น การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆ มีระเบียบที่เป็นมาตรการที่ป้องกันอยู่แล้ว ถ้าไม่ทำก็มีคนเข้าไปตรวจสอบ หรือถ้าไม่ตรวจสอบเรื่องก็แดงเหมือนสนามฟุตซอล แต่แม้จะมีระเบียบก็อาจจะยังไม่เพียงพอ ดังนั้น สำหรับโครงการต่างๆ ที่มีปัญหา ต่อไปศธ. เองก็อาจจะตั้งทีมงานเฉพาะกิจเข้าไปดูแลติดตามประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณหากรายงานแล้วว่าไม่มีปัญหาหน่วยงานนี้ก็สลายตัวไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น