สปส. เผย ปี 58 มี รพ.รัฐ - เอกชน ร่วมเป็นเครือข่าย 240 แห่ง ชี้แจงทำสัญญาการให้บริการทางการแพทย์ - จัดงบรองรับหัวละกว่า 2.5 พันบาท
วันนี้ (22 ต.ค.) ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการร่วมลงนามในสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประจำปี 2558 ระหว่างสถานพยาบาลเอกชนกับสำนักงานประกันสังคมว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดการลงนามสัญญาระหว่าง สปส. และสถานพยาบาล ซึ่งในปีหน้า จะมีโรงพยาบาลในเครือข่าย สปส. ที่จะให้บริการทางการแพทย์ 240 แห่ง แบ่งเป็นภาคราชการจำนวน 156 แห่ง และภาคเอกชนจำนวน 84 แห่ง ซึ่งเมื่อรวมแล้ว สปส. จะมีเครือข่ายสถานพยาบาลที่จะให้บริการผู้ประกันตนกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในการประชุมยังเป็นการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในการจัดทำสัญญา ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาของทั้งสองฝ่าย เช่น เอกสารต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และลงนามก่อนการให้บริการทางการแพทย์ เป็นต้น ยกเว้นในส่วนของรัฐที่ไม่ต้องทำสัญญา ทั้งนี้จะมีการควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาลโดยมีการประเมินมาตรฐานการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมด้วย
นางปราณิน กล่าวอีกว่า สปส. ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางด้านการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน และดำเนินการจัดหาสถานพยาบาลตามมาตรฐานที่ สปส. กำหนด โดยให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ประกันตน ส่วนค่าบริการทางการแพทย์เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน สปส. ได้พัฒนารูปแบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายตามจำนวนผู้ประกันตนที่มีชื่อขึ้นทะเบียนไว้ให้แก่สถานพยาบาลในอัตรา 1,460 บาทต่อผู้ประกันตน 1 ราย และจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากค่าเหมาจ่ายรายหัว สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีความเสี่ยงตามอัตราใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในอัตรา 432 บาท นอกจากนี้ จะจ่ายให้แก่สถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพในอัตรา 66 บาทต่อผู้ประกันตน 1 ราย รวมถึงจะจ่ายให้แก่โรคที่มีภาวะความเสี่ยงสูงอีกจำนวน 560 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมแล้ว สปส. จัดงบรองรับผู้ประกันตนเฉลี่ยรายละ 2,518 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (22 ต.ค.) ที่โรงแรมอมารี แอร์พอร์ต ดอนเมือง กรุงเทพฯ นางปราณิน มุตตาหารัช เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงการร่วมลงนามในสัญญาจ้างให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ประจำปี 2558 ระหว่างสถานพยาบาลเอกชนกับสำนักงานประกันสังคมว่า การประชุมครั้งนี้เพื่อชี้แจงรายละเอียดการลงนามสัญญาระหว่าง สปส. และสถานพยาบาล ซึ่งในปีหน้า จะมีโรงพยาบาลในเครือข่าย สปส. ที่จะให้บริการทางการแพทย์ 240 แห่ง แบ่งเป็นภาคราชการจำนวน 156 แห่ง และภาคเอกชนจำนวน 84 แห่ง ซึ่งเมื่อรวมแล้ว สปส. จะมีเครือข่ายสถานพยาบาลที่จะให้บริการผู้ประกันตนกว่า 2,000 แห่งทั่วประเทศ นอกจากนี้ ในการประชุมยังเป็นการชี้แจงเพื่อทำความเข้าใจในการจัดทำสัญญา ซึ่งต้องให้ความสำคัญกับเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการพิจารณาของทั้งสองฝ่าย เช่น เอกสารต้องครบถ้วนสมบูรณ์ และลงนามก่อนการให้บริการทางการแพทย์ เป็นต้น ยกเว้นในส่วนของรัฐที่ไม่ต้องทำสัญญา ทั้งนี้จะมีการควบคุมคุณภาพการรักษาพยาบาลโดยมีการประเมินมาตรฐานการให้บริการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคมด้วย
นางปราณิน กล่าวอีกว่า สปส. ได้กำหนดสิทธิประโยชน์ทางด้านการแพทย์ให้แก่ผู้ประกันตน และดำเนินการจัดหาสถานพยาบาลตามมาตรฐานที่ สปส. กำหนด โดยให้สถานพยาบาลมีหน้าที่ให้บริการแก่ผู้ประกันตน ส่วนค่าบริการทางการแพทย์เมื่อผู้ประกันตนประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่ไม่ใช่เนื่องจากการทำงาน สปส. ได้พัฒนารูปแบบการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์แบบเหมาจ่ายตามจำนวนผู้ประกันตนที่มีชื่อขึ้นทะเบียนไว้ให้แก่สถานพยาบาลในอัตรา 1,460 บาทต่อผู้ประกันตน 1 ราย และจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากค่าเหมาจ่ายรายหัว สำหรับสถานพยาบาลที่ต้องรับภาระกรณีโรคที่มีความเสี่ยงตามอัตราใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ประกันตนในอัตรา 432 บาท นอกจากนี้ จะจ่ายให้แก่สถานพยาบาลที่ผ่านการรับรองคุณภาพในอัตรา 66 บาทต่อผู้ประกันตน 1 ราย รวมถึงจะจ่ายให้แก่โรคที่มีภาวะความเสี่ยงสูงอีกจำนวน 560 บาท ทั้งนี้ เมื่อรวมแล้ว สปส. จัดงบรองรับผู้ประกันตนเฉลี่ยรายละ 2,518 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น