ชมรมผู้ป่วยฮีโมฟีเลียร้องสิทธิการรักษาระบบประกันสังคมห่วยกว่าบัตรทอง ได้ยาคุณภาพต่ำกว่า เสี่ยงรับเชื้อเอดส์ ไวรัสตับอักเสบ คนป่วยยอมไม่ทำงานเพื่อเปลี่ยนสิทธิ เผยยื่นข้อเรียกร้องแล้วแต่ยังไร้ความคืบหน้า ให้เวลา คกก.การแพทย์ ประกันสังคมชุดใหม่ 1-2 สัปดาห์ หากไร้แววเตรียมบุกเรียกร้องอีก
นายเอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ รองประธานชมรมผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากที่ตัวแทนผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอจากภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และข้อเสนอเพิ่มเติม ไปเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง รมว.สาธารณสุขก็ได้รับเรื่องไปแล้ว คงต้องรอดูว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อข้อเสนอของภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชมรมฮีโมฟีเลียกังวลที่สุดคือ ข้อเสนอที่ยื่นต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในสิทธิประกันสังคมให้เท่าเทียมกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง)
"ทุกวันนี้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียต่างไม่ยอมทำงาน เพื่อให้มาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทน เพราะได้สิทธิประโยชน์ดีกว่า และปลอดภัยกว่า เนื่องจากสิทธิบัตรทองได้จัดโรคเรื้อรังฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่ายไว้เป็นโรคเฉพาะ มีการบริหารจัดการเฉพาะ มีการลงทะเบียนผู้ป่วย ซื้อยาตามงบประมาณเพื่อแจกจ่ายผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยา" นายเอกวัฒน์ กล่าว
นายเอกวัฒน์ กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคมยังเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวอยู่ อีกทั้งระบบการเบิกจ่ายไม่เอื้ออำนวย ทางโรงพยาบาลก็ไม่เบิกยาราคาแพงที่มีคุณภาพให้ ทั้งที่สิทธิประกันสังคมเรามีความสามารถที่จะจ่าย แต่กลับให้ยาตัวอื่น ซึ่งมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบ เนื่องจากยาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเลือด ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อแบบยาในสิทธิบัตรทอง
นายเอกวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ คงต้องรอดูความคืบหน้าของ สปส.ว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพราะล่าสุดตนเพิ่งหารือกับรองเลขาธิการ สปส.ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง และเพิ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการแพทย์ สปส. ชุดใหม่ ซึ่งเมื่อครั้งที่ชมรมฯไปยื่นข้อเสนอยังเป็นคณะกรรมการชุดเก่า ทั้งนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าอีก ก็จะรวมตัวเข้าไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการแพทย์ สปส.ชุดใหม่อีกครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายเอกวัฒน์ สุวันทโรจน์ รองประธานชมรมผู้ป่วยโรคเลือดออกง่ายฮีโมฟีเลียแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลังจากที่ตัวแทนผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอจากภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนนโยบายของ ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และข้อเสนอเพิ่มเติม ไปเมื่อวันที่ 20 ก.ย.ที่ผ่านมา ซึ่ง รมว.สาธารณสุขก็ได้รับเรื่องไปแล้ว คงต้องรอดูว่าจะมีท่าทีอย่างไรต่อข้อเสนอของภาคประชาชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ชมรมฮีโมฟีเลียกังวลที่สุดคือ ข้อเสนอที่ยื่นต่อสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ในการเพิ่มสิทธิประโยชน์การรักษาผู้ป่วยฮีโมฟีเลียในสิทธิประกันสังคมให้เท่าเทียมกับสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง)
"ทุกวันนี้ผู้ป่วยฮีโมฟีเลียต่างไม่ยอมทำงาน เพื่อให้มาอยู่ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแทน เพราะได้สิทธิประโยชน์ดีกว่า และปลอดภัยกว่า เนื่องจากสิทธิบัตรทองได้จัดโรคเรื้อรังฮีโมฟีเลีย หรือโรคเลือดออกง่ายไว้เป็นโรคเฉพาะ มีการบริหารจัดการเฉพาะ มีการลงทะเบียนผู้ป่วย ซื้อยาตามงบประมาณเพื่อแจกจ่ายผู้ป่วย ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงยา" นายเอกวัฒน์ กล่าว
นายเอกวัฒน์ กล่าวว่า สิทธิประโยชน์ในระบบประกันสังคมยังเป็นแบบเหมาจ่ายรายหัวอยู่ อีกทั้งระบบการเบิกจ่ายไม่เอื้ออำนวย ทางโรงพยาบาลก็ไม่เบิกยาราคาแพงที่มีคุณภาพให้ ทั้งที่สิทธิประกันสังคมเรามีความสามารถที่จะจ่าย แต่กลับให้ยาตัวอื่น ซึ่งมีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อเอชไอวี และไวรัสตับอักเสบ เนื่องจากยาซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเลือด ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อแบบยาในสิทธิบัตรทอง
นายเอกวัฒน์ กล่าวว่า หลังจากนี้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ คงต้องรอดูความคืบหน้าของ สปส.ว่าจะดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพราะล่าสุดตนเพิ่งหารือกับรองเลขาธิการ สปส.ทราบว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเพิ่งเข้ารับตำแหน่ง และเพิ่งมีการแต่งตั้งคณะกรรมการการแพทย์ สปส. ชุดใหม่ ซึ่งเมื่อครั้งที่ชมรมฯไปยื่นข้อเสนอยังเป็นคณะกรรมการชุดเก่า ทั้งนี้ หากยังไม่มีความคืบหน้าอีก ก็จะรวมตัวเข้าไปยื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการแพทย์ สปส.ชุดใหม่อีกครั้ง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น