สพฐ. เอาบ้าง! ปรับโครงสร้างเป็น “ทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน” ภายใต้กำกับ ศธ.จ่อชงกรอบโครงสร้างให้บอร์ดปฏิรูปที่มี รมว.ศึกษาธิการ นั่งหัวโต๊ะพิจารณาวันที่ 17 ธ.ค. นี้ “กมล” ระบุในส่วนของเขตพื้นที่ฯ ยังไม่มีข้อสรุป แต่แนวโน้มชัดว่าแต่ละจังหวัดต้องมีคนกลางประสาน พร้อมเผยดีใจคุรุสภาเปิดช่องตั๋วครูสาขาขาดแคลนให้ สพฐ. เร่งสรุปสาขาให้พิจารณาทันประชุมบอร์ด 18 ธ.ค. นี้
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ที่ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการนัดแรกไปแล้ว ในส่วนของ สพฐ. นั้น พล.ร.อ.ณรงค์ ให้นโยบายว่าสามารถเสนอปรับโครงสร้างภายในได้ ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้เตรียมที่จะเสนอปรับโครงสร้างใหม่เป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีฐานะเป็นทบวงสังกัด ศธ. เช่นเดียวกับข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ได้เสนอปรับโครงสร้างเป็นทบวงการอาชีวศึกษา ซึ่งภายในทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วย กรมประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และกรมการศึกษาคนพิการ ด้อยโอกาสและเด็กอัจฉริยะ โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ศธ. และคณะกรรมการอำนวยการฯ ซึ่ง สพฐ. จะนำเสนอกรอบโครงสร้างนี้ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 17 ธันวาคมนี้ ว่า จะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่
“ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นเขตพื้นที่การศึกษาระดับจังหวัดหรือเป็นเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดิมหากมีการตั้งทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่แนวโน้มที่ชัดเจนว่าในจังหวัดหนึ่งจะต้องมีคนกลางมาช่วยดูแลและสนับสนุนการจัดการศึกษา อาจจะกำหนดไว้ในรูปของสภาการศึกษาจังหวัด หรือประธานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด” นายกมล กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คุรุสภาเตรียมหาแนวทางผ่อนปรนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในสาขาขาดแคลนให้กับ สพฐ. โดยจะเปิดทางให้แก่ผู้ที่ไม่ได้จบสายครู แต่สามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้ก่อนตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น สพฐ. ดีใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ขั้นตอนต่อจากนี้ไปตนได้มอบหมายให้ นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการ กพฐ. ไปจัดทำข้อมูลต่างๆว่า มีสาขาวิชาใดบ้างที่ยังขาดแคลนอยู่ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อเสนอให้คุรุสภาพิจารณาในวันที่ 18 ธ.ค. นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้หารือในเรื่องปฏิรูปการศึกษา ที่ขณะนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ซึ่งมี พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานและได้มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการนัดแรกไปแล้ว ในส่วนของ สพฐ. นั้น พล.ร.อ.ณรงค์ ให้นโยบายว่าสามารถเสนอปรับโครงสร้างภายในได้ ซึ่งขณะนี้ สพฐ.ได้เตรียมที่จะเสนอปรับโครงสร้างใหม่เป็นทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีฐานะเป็นทบวงสังกัด ศธ. เช่นเดียวกับข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่ได้เสนอปรับโครงสร้างเป็นทบวงการอาชีวศึกษา ซึ่งภายในทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐานจะประกอบด้วย กรมประถมศึกษา กรมมัธยมศึกษา กรมวิชาการและมาตรฐานการศึกษา และกรมการศึกษาคนพิการ ด้อยโอกาสและเด็กอัจฉริยะ โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ศธ. และคณะกรรมการอำนวยการฯ ซึ่ง สพฐ. จะนำเสนอกรอบโครงสร้างนี้ในการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 17 ธันวาคมนี้ ว่า จะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าวหรือไม่
“ในส่วนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานั้น ยังไม่ได้มีข้อสรุปว่าจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นเขตพื้นที่การศึกษาระดับจังหวัดหรือเป็นเขตพื้นที่การศึกษาเช่นเดิมหากมีการตั้งทบวงการศึกษาขั้นพื้นฐานแต่แนวโน้มที่ชัดเจนว่าในจังหวัดหนึ่งจะต้องมีคนกลางมาช่วยดูแลและสนับสนุนการจัดการศึกษา อาจจะกำหนดไว้ในรูปของสภาการศึกษาจังหวัด หรือประธานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด” นายกมล กล่าว
เลขาธิการ กพฐ. กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่คุรุสภาเตรียมหาแนวทางผ่อนปรนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ในสาขาขาดแคลนให้กับ สพฐ. โดยจะเปิดทางให้แก่ผู้ที่ไม่ได้จบสายครู แต่สามารถสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูได้ก่อนตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นั้น สพฐ. ดีใจเป็นอย่างมาก ดังนั้น ขั้นตอนต่อจากนี้ไปตนได้มอบหมายให้ นางรัตนา ศรีเหรัญ รองเลขาธิการ กพฐ. ไปจัดทำข้อมูลต่างๆว่า มีสาขาวิชาใดบ้างที่ยังขาดแคลนอยู่ เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อเสนอให้คุรุสภาพิจารณาในวันที่ 18 ธ.ค. นี้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่