นางวราภรณ์ นะมาตร์ ผู้อำนวยการสมาคมการค้ายาสูบไทย กล่าวถึงกรณี นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนพาดพิงถึงการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ. ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ของสมาคมการค้ายาสูบไทย ว่า ในสังคมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลข่าวสารมากมายในทุกวันนี้ เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่สาธารณชนควรจะมีสิทธิ์ในการรับรู้ข้อมูลรอบด้านจากทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม และ มีสิทธิ์ที่จะแสดงความคิดเห็น และจุดยืนของตัวเอง ต่อประเด็นการคัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ที่กระทรวงสาธารณสุข กำลังผลักดันในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมาคมฯ ที่มีสมาชิกเป็นร้านค้าโชห่วยทั่วประเทศ 1,400 ราย ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงถูกกีดกันออกจากกระบวนการแสดงความคิดเห็นมาตลอด 3 ปี ที่มีการดำเนินการยกร่างนี้ขึ้นมา
" เราเชื่อว่ากฎหมายที่ดีควรจะมาจากการรับฟังความคิดเห็นกันอย่างรอบด้าน และทุกฝ่ายเห็นชอบและปรองดองกัน ไม่ใช่กฎหมายที่ขาดความสมดุล และนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวแบบที่ฝ่ายรณรงค์กำลังผลักดันอยู่ บวกกับความพยายามกีดกันพื้นที่สื่อต่างๆ นี้เป็นไปได้หรือไม่ ว่าท่านกำลังเบี่ยงเบนประเด็นไปจากการถกเนื้อหา พ.ร.บ.ที่มีความสุดโต่งนี้อย่างแท้จริง" นางวราภรณ์ กล่าว
** แนะเปิดพื้นที่ถกเถียงข้อขัดแย้ง
นางวราภรณ์ กล่าวอีกว่า สมาคมฯ ยืนยันจะไม่สนับสนุนการขายยาสูบให้แก่เยาวชน แต่ฝ่ายรณรงค์ออกมากล่าวอ้างถึงเหตุผลการปกป้องเยาวชนต่างๆ นานา และนำเยาวชนเข้ามาเกี่ยวพันในเวทีดีเบตเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ร่างกฎหมายนี้ มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนโดยตรงน้อยมาก และมีกฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้ออยู่แล้ว แต่ในส่วนอื่นของ ร่าง พ.ร.บ. เต็มไปด้วยมาตรการที่บีบคั้นการทำมาหากินของ ร้านค้าโชห่วย เช่น บังคับใช้ซองเรียบที่มีหน้าตาเหมือนกันหมดทุกยี่ห้อ ห้ามตั้งวางผลิตภัณฑ์ในร้าน จำกัดการติดต่อกับภาครัฐ รวมถึงการห้ามทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์นั้น ร้านค้าก็มีสิทธิโดยชอบธรรมในการนำเสนอข้อมูลจากฝั่งอุตสาหกรรม ให้สาธารณชนพิจารณาเช่นเดียวกัน เพราะเราเชื่อในการเปิดพื้นที่ถกประเด็นกันอย่างแท้จริง
ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า สมาคมการค้ายาสูบไทย จัดตั้งและได้รับการสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่ข้ามชาตินั้น นางวราภรณ์ กล่าวว่า สมาคมฯเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ค้าส่ง และค้าปลีกยาสูบรายย่อย และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 สมาชิกของเราประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็ก (โชห่วย) และบริษัทที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะมีสมาชิกเป็นบริษัทเอกชนผู้ให้การสนับสนุน บริษัทเอกชนเอง ก็มีนโยบายในการเปิดเผยการเข้าร่วม และเป็นสมาชิกต่อหน่วยงานใดๆ ที่เขาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่กลับเป็นฝ่ายรณรงค์ที่พยายามอย่างหนักในการทำให้เรื่องนี้มีเลศนัยโดยไร้มูล จะดีกว่าหรือไม่หาก นพ.ประกิต จะให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างกฎหมายที่อยู่บนหลักการ และเหตุผล มากกว่าจะมุ่งเป้าไปที่บริษัทที่เป็นสมาชิกของเรา
" เราเชื่อว่ากฎหมายที่ดีควรจะมาจากการรับฟังความคิดเห็นกันอย่างรอบด้าน และทุกฝ่ายเห็นชอบและปรองดองกัน ไม่ใช่กฎหมายที่ขาดความสมดุล และนำเสนอข้อมูลฝ่ายเดียวแบบที่ฝ่ายรณรงค์กำลังผลักดันอยู่ บวกกับความพยายามกีดกันพื้นที่สื่อต่างๆ นี้เป็นไปได้หรือไม่ ว่าท่านกำลังเบี่ยงเบนประเด็นไปจากการถกเนื้อหา พ.ร.บ.ที่มีความสุดโต่งนี้อย่างแท้จริง" นางวราภรณ์ กล่าว
** แนะเปิดพื้นที่ถกเถียงข้อขัดแย้ง
นางวราภรณ์ กล่าวอีกว่า สมาคมฯ ยืนยันจะไม่สนับสนุนการขายยาสูบให้แก่เยาวชน แต่ฝ่ายรณรงค์ออกมากล่าวอ้างถึงเหตุผลการปกป้องเยาวชนต่างๆ นานา และนำเยาวชนเข้ามาเกี่ยวพันในเวทีดีเบตเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ทั้งๆ ที่ร่างกฎหมายนี้ มีมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนโดยตรงน้อยมาก และมีกฎหมายกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ซื้ออยู่แล้ว แต่ในส่วนอื่นของ ร่าง พ.ร.บ. เต็มไปด้วยมาตรการที่บีบคั้นการทำมาหากินของ ร้านค้าโชห่วย เช่น บังคับใช้ซองเรียบที่มีหน้าตาเหมือนกันหมดทุกยี่ห้อ ห้ามตั้งวางผลิตภัณฑ์ในร้าน จำกัดการติดต่อกับภาครัฐ รวมถึงการห้ามทำกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์นั้น ร้านค้าก็มีสิทธิโดยชอบธรรมในการนำเสนอข้อมูลจากฝั่งอุตสาหกรรม ให้สาธารณชนพิจารณาเช่นเดียวกัน เพราะเราเชื่อในการเปิดพื้นที่ถกประเด็นกันอย่างแท้จริง
ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า สมาคมการค้ายาสูบไทย จัดตั้งและได้รับการสนับสนุนจากบริษัทบุหรี่ข้ามชาตินั้น นางวราภรณ์ กล่าวว่า สมาคมฯเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ค้าส่ง และค้าปลีกยาสูบรายย่อย และเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2555 สมาชิกของเราประกอบด้วย ผู้ค้าส่ง ผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดเล็ก (โชห่วย) และบริษัทที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก ที่เราจะมีสมาชิกเป็นบริษัทเอกชนผู้ให้การสนับสนุน บริษัทเอกชนเอง ก็มีนโยบายในการเปิดเผยการเข้าร่วม และเป็นสมาชิกต่อหน่วยงานใดๆ ที่เขาต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด แต่กลับเป็นฝ่ายรณรงค์ที่พยายามอย่างหนักในการทำให้เรื่องนี้มีเลศนัยโดยไร้มูล จะดีกว่าหรือไม่หาก นพ.ประกิต จะให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกัน เพื่อสร้างกฎหมายที่อยู่บนหลักการ และเหตุผล มากกว่าจะมุ่งเป้าไปที่บริษัทที่เป็นสมาชิกของเรา