มูลนิธิไม่สูบบุหรี่หนุน คสช. ลุยออกประกาศห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า - บารากู่ เล็งยกระดับเป็นยาเสพติดตัวใหม่ เหตุผู้ผลิตไร้ความจริงใจผลิตเพื่อช่วยคนเลิกบุหรี่ ชี้ขึ้นทะเบียนเป็นยาอดบุหรี่ มีเงื่อนไขมาก แถมส่งเสริมการขายไม่ได้
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาออกประกาศห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และ บารากู่ โดยอาศัย พ.ร.บ.นำเข้า-ส่งออกสินค้า พ.ศ. 2522 ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ คสช. : คืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. จึงขอสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวของกระทรวงพาณิชย์อย่างเต็มที่ เพราะทั้งบารากู่ และบุหรี่ไฟฟ้า แม้จะมีนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการคลัง ที่ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย แต่สิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสองชนิดก็มีการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงของปัญหาสิ่งเสพติดและยาเสพติด ทำให้สังคมสูญเสียทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ
“แม้จะมีบางฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะจะเป็นทางหนึ่งในการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ แต่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่เห็นว่าควรห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะงานวิจัยพบว่าประสิทธิภาพในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยการเลิกบุหรี่ ไม่ได้แตกต่างจากยาอดบุหรี่ที่มีอยู่แล้ว ที่สำคัญขณะนี้บริษัทบุหรี่ข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ต่างผลิตบุหรี่ไฟฟ้าออกขายพร้อมทำการตลาดส่งเสริมการขายเช่นเดียวกับที่ทำกับบุหรี่ซิกาแรต จึงเป็นที่แน่ชัดว่าเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัทบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าในระยะสั้นคือการชะลอไม่ให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ซิกาแรต คือ รู้ว่าผู้สูบบุหรี่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่ที่ห้ามสูบหรือต่อหน้าผู้คนอื่น แล้วยังคงสูบบุหรี่ซิกาแรตในที่อื่น" ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายระยะยาวคือทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งเสพติดตัวใหม่ในศตวรรษนี้ ทดแทนบุหรี่ซิกาแรตที่นับวันจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น และสุดท้ายหากบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ามีความจริงใจที่จะผลิตขึ้นเพื่อช่วยการเลิกสูบบุหรี่นั้น ในทางปฏิบัติก็สามารถที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยากับ อย. เช่นเดียวกับยาอดบุหรี่ หมากฝรั่ง หรือแผ่นกอเอี๊ยะนิโคติน ซึ่งที่บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าไม่เลือกเส้นทางนี้ เพราะหากขึ้นทะเบียนเป็นยาอดบุหรี่ จะมีเงื่อนไขการใช้ตามที่แพทย์ หรือเภสัชกร กำกับ และไม่สามารถทำการส่งเสริมการขายได้ ตลาดจะมีขนาดเล็ก ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายของบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการให้มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายเหมือนกับบุหรี่ซิกาแรต
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาออกประกาศห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และ บารากู่ โดยอาศัย พ.ร.บ.นำเข้า-ส่งออกสินค้า พ.ศ. 2522 ภายหลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ คสช. : คืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 1 ส.ค. จึงขอสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าวของกระทรวงพาณิชย์อย่างเต็มที่ เพราะทั้งบารากู่ และบุหรี่ไฟฟ้า แม้จะมีนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการคลัง ที่ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าจำหน่ายอย่างถูกกฎหมาย แต่สิ่งเสพติดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งสองชนิดก็มีการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นเมืองอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการเพิ่มความรุนแรงของปัญหาสิ่งเสพติดและยาเสพติด ทำให้สังคมสูญเสียทั้งสุขภาพและเศรษฐกิจ
“แม้จะมีบางฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะจะเป็นทางหนึ่งในการช่วยให้คนเลิกสูบบุหรี่ แต่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกส่วนใหญ่เห็นว่าควรห้ามบุหรี่ไฟฟ้า เพราะงานวิจัยพบว่าประสิทธิภาพในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าช่วยการเลิกบุหรี่ ไม่ได้แตกต่างจากยาอดบุหรี่ที่มีอยู่แล้ว ที่สำคัญขณะนี้บริษัทบุหรี่ข้ามชาติยักษ์ใหญ่ ต่างผลิตบุหรี่ไฟฟ้าออกขายพร้อมทำการตลาดส่งเสริมการขายเช่นเดียวกับที่ทำกับบุหรี่ซิกาแรต จึงเป็นที่แน่ชัดว่าเป้าหมายที่แท้จริงของบริษัทบุหรี่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้าในระยะสั้นคือการชะลอไม่ให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบบุหรี่ซิกาแรต คือ รู้ว่าผู้สูบบุหรี่จะสูบบุหรี่ไฟฟ้าในที่ที่ห้ามสูบหรือต่อหน้าผู้คนอื่น แล้วยังคงสูบบุหรี่ซิกาแรตในที่อื่น" ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า สำหรับเป้าหมายระยะยาวคือทำให้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นสิ่งเสพติดตัวใหม่ในศตวรรษนี้ ทดแทนบุหรี่ซิกาแรตที่นับวันจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมมากขึ้น และสุดท้ายหากบริษัทผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้ามีความจริงใจที่จะผลิตขึ้นเพื่อช่วยการเลิกสูบบุหรี่นั้น ในทางปฏิบัติก็สามารถที่จะขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์ยากับ อย. เช่นเดียวกับยาอดบุหรี่ หมากฝรั่ง หรือแผ่นกอเอี๊ยะนิโคติน ซึ่งที่บริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าไม่เลือกเส้นทางนี้ เพราะหากขึ้นทะเบียนเป็นยาอดบุหรี่ จะมีเงื่อนไขการใช้ตามที่แพทย์ หรือเภสัชกร กำกับ และไม่สามารถทำการส่งเสริมการขายได้ ตลาดจะมีขนาดเล็ก ซึ่งไม่ตรงกับเป้าหมายของบริษัทผู้ผลิตที่ต้องการให้มีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายเหมือนกับบุหรี่ซิกาแรต
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่