พาณิชย์เล็งแบนนำเข้าบารากู่-บุหรี่ไฟฟ้าหัวหน้าหลังคสช.แสดงความกังวลแนะหน่อยงานหามาตรการดูแล ด้านกรมการค้าต่างประเทศเตรียมออกกฎหมายควบคุมการนำข้าทั้งบารากุไฟฟ้าและบุหรี่ไฟฟ้า ด้านกรมควบคุมโรคชี้อาจไม่เข้าข่ายตามนิยามของพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบของกระทรวงสาธารณสุขและพ.ร.บ.ยาสูบของกรมสรรพสามิตโยนให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล
นางสาวปานจิตต์ พิศวง รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แสดงความเป็นห่วงต่อการแพร่หลายของ บารากู่ และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการเข้ามาดูแล ล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศเตรียมออกกฎหมายควบคุมการนำเข้า บารากู่ รวมไปถึงบารากุไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้า(อี-ซิกาแรต) ภายใต้พ.ร.บ.นำเข้า-ส่งออกสินค้า พ.ศ. 2522 คาดจะมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้ ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เตรียมจัดระเบียบอุปกรณ์ดังกล่าวที่มีการนำเข้ามาก่อนหน้า โดยจัดให้มีการสัมมนาในพรุ่งนี้ นอกจากนี้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการวิจัยออกมาถึงผลเสียต่อสุขภาพจากการสูบบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าและแนวโน้มการใช้โดยผู้เสพไม่รู้ถึงอันตรายของการสูบเข้าไปที่แม้ว่าสารเหลวที่เติมเข้าไปจะเป็นผลไม้หมัก แต่กระบวนการเผาไหม้ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเกิดโรคเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่กรมการค้าต่างประเทศจึงเตรียมออกกฎหมายเข้ามากำกับดูแลในเรื่องนี้
ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความนิยม ทั้งบารากู่ และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบารากุแม้ปัจจุบันการนำเข้ามาไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่มีการกำหนดนิยามชัดเจนว่าเป็นสินค้าที่จัดให้อยู่ในกลุ่มประเภทสินค้าใด แต่หากดูที่วัตถุประสงค์ของ บารากู่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่ใช้ในการสูบเหมือนกัน ก็ถือว่าเป็นประเภทเดียวกัน สำหรับการากุที่นำเข้ามาในประเทศไทยแล้วนี้ทางสคบ.เตรียมจัดระเบียบในเรื่องนี้อีกทั้งจะมีการติดตามกำกับดูแล ภายใต้กฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ ทั้ง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ, พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และพ.ร.บ.ยาสูบแล้วแต่กรณีไป
ด้านนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารเคมี เมื่อเราไอออกมาจะมีโลหะที่เป็นอันตรายกระจายตัวอยู่ ซึ่งมีขนาดเล็กมากซึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดมะเร็ง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าจะมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีนิโคติน สารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจอยู่ด้วย และแบบไม่มีนิโคติน กลายเป็นปัญหาที่ว่าเมื่อไม่มีนิโคติน จะไม่เข้าข่ายตามนิยามของพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบของกระทรวงสาธารณสุข และพ.ร.บ.ยาสูบ ของกรมสรรพสามิต ซึ่งยังเป็นช่องว่างของกฎหมาย จึงเสนอให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล
"บุหรี่ไฟฟ้า ที่แม้ไม่มีนิโคติน แต่ก็สามารถนำนิโคตินเหลวเข้ามาเติมในภายหลังได้ ซึ่งทำให้มีการตรวจสอบได้ยากมาก โดยกรมศุลกากร ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบในการตรวจจับบ้าง แต่ก็ยังไม่เข้าข่ายกฎหมายใด รวมทั้งยังไม่มีการเก็บสถิติการนำเข้าว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด แต่ปัจจุบันเราก็พบว่ามีการแพร่หลายมาก ดังนั้นการที่ควบคุมได้ยากเราจึงต้องไม่ให้นำเข้ามาเลย ซึ่งก็มีกว่า 20 ประเทศที่ห้ามนำเข้าเลย ทั้งห้ามขายและห้ามจำหน่าย ด้วยเหตุผลเดียวกับประเทศไทยที่มี ไม่ถูกจัดให้เป็นบุหรี่ แต่ถ้าประเทศให้จัด อี-ซิกาแรต เป็นบุหรี่ ยอมให้จำหน่ายได้ ก็เพราะว่าเขามีกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบกำกับดูแลได้ แต่บ้านเราไม่ใช่บุหรี่จึงควบคุมไม่ได้"นายแพทย์นพพรกล่าว
นอกจากนี้ การที่มีโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตว่าสามารถใช้แทนเพื่อการเลิกบุหรี่ได้นั้น ถือเป็นการสร้างความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง ส่วนที่เอกชนกังวลว่าจะไม่มีอะไรมาทดแทนการช่วยลดการสูบบุหรี่ได้นั้น ก็ยังมีสินค้าอื่นที่เข้ามาทดแทนเช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะ เป็นต้น อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องปรับแก้อย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุม เช่น เรื่องบารากู่ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันการควบคุมยังไม่เข้าตามพ.ร.บ.ใดๆ ทำให้ปัจจุบันกรมศุลกากรควบคุมได้เพียงแต่ จัดให้เข้าข่ายห้ามนำเข้าเนื่องจากเป็นอุปกรณ์แบตเตอรี่ได้เท่านั้น ดังนั้น การผลักดันให้สามารถออกประกาศให้สินค้าประเภทดังกล่าว เป็นสินค้าห้ามนำเข้าในราชอาณาจักรไทย โดยวางกรอบให้รวมไปถึงอุปกรณ์ด้วย ไม่เฉพาะควบคุมนิโคตินเพียงอย่างเดียว จะเป็นวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวได้ “ นพ.นพพร กล่าว
นางสาวปานจิตต์ พิศวง รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่าหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) แสดงความเป็นห่วงต่อการแพร่หลายของ บารากู่ และต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการเข้ามาดูแล ล่าสุดกรมการค้าต่างประเทศเตรียมออกกฎหมายควบคุมการนำเข้า บารากู่ รวมไปถึงบารากุไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้า(อี-ซิกาแรต) ภายใต้พ.ร.บ.นำเข้า-ส่งออกสินค้า พ.ศ. 2522 คาดจะมีผลบังคับใช้เร็วๆนี้ ขณะเดียวกันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) เตรียมจัดระเบียบอุปกรณ์ดังกล่าวที่มีการนำเข้ามาก่อนหน้า โดยจัดให้มีการสัมมนาในพรุ่งนี้ นอกจากนี้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการวิจัยออกมาถึงผลเสียต่อสุขภาพจากการสูบบารากู่ บารากู่ไฟฟ้า และบุหรี่ไฟฟ้าและแนวโน้มการใช้โดยผู้เสพไม่รู้ถึงอันตรายของการสูบเข้าไปที่แม้ว่าสารเหลวที่เติมเข้าไปจะเป็นผลไม้หมัก แต่กระบวนการเผาไหม้ ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพและเกิดโรคเช่นเดียวกับการสูบบุหรี่กรมการค้าต่างประเทศจึงเตรียมออกกฎหมายเข้ามากำกับดูแลในเรื่องนี้
ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันพบว่ากลุ่มคนรุ่นใหม่ให้ความนิยม ทั้งบารากู่ และบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งมีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะบารากุแม้ปัจจุบันการนำเข้ามาไม่ถือว่าผิดกฎหมาย แต่ก็ไม่มีการกำหนดนิยามชัดเจนว่าเป็นสินค้าที่จัดให้อยู่ในกลุ่มประเภทสินค้าใด แต่หากดูที่วัตถุประสงค์ของ บารากู่และบุหรี่ไฟฟ้า ที่ใช้ในการสูบเหมือนกัน ก็ถือว่าเป็นประเภทเดียวกัน สำหรับการากุที่นำเข้ามาในประเทศไทยแล้วนี้ทางสคบ.เตรียมจัดระเบียบในเรื่องนี้อีกทั้งจะมีการติดตามกำกับดูแล ภายใต้กฎหมายต่างๆ ที่มีอยู่ ทั้ง พ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบ, พ.ร.บ.คุ้มครองสุขภาพผู้ไม่สูบบุหรี่และพ.ร.บ.ยาสูบแล้วแต่กรณีไป
ด้านนายแพทย์นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงผลกระทบจากการสูบบุหรี่ไฟฟ้ากระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารเคมี เมื่อเราไอออกมาจะมีโลหะที่เป็นอันตรายกระจายตัวอยู่ ซึ่งมีขนาดเล็กมากซึ่งจะมีผลกระทบทำให้เกิดมะเร็ง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าจะมี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีนิโคติน สารเสพติดที่เป็นอันตรายต่อหัวใจอยู่ด้วย และแบบไม่มีนิโคติน กลายเป็นปัญหาที่ว่าเมื่อไม่มีนิโคติน จะไม่เข้าข่ายตามนิยามของพ.ร.บ.ควบคุมการบริโภคยาสูบของกระทรวงสาธารณสุข และพ.ร.บ.ยาสูบ ของกรมสรรพสามิต ซึ่งยังเป็นช่องว่างของกฎหมาย จึงเสนอให้กระทรวงพาณิชย์เข้ามาดูแล
"บุหรี่ไฟฟ้า ที่แม้ไม่มีนิโคติน แต่ก็สามารถนำนิโคตินเหลวเข้ามาเติมในภายหลังได้ ซึ่งทำให้มีการตรวจสอบได้ยากมาก โดยกรมศุลกากร ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบในการตรวจจับบ้าง แต่ก็ยังไม่เข้าข่ายกฎหมายใด รวมทั้งยังไม่มีการเก็บสถิติการนำเข้าว่ามีปริมาณมากน้อยเพียงใด แต่ปัจจุบันเราก็พบว่ามีการแพร่หลายมาก ดังนั้นการที่ควบคุมได้ยากเราจึงต้องไม่ให้นำเข้ามาเลย ซึ่งก็มีกว่า 20 ประเทศที่ห้ามนำเข้าเลย ทั้งห้ามขายและห้ามจำหน่าย ด้วยเหตุผลเดียวกับประเทศไทยที่มี ไม่ถูกจัดให้เป็นบุหรี่ แต่ถ้าประเทศให้จัด อี-ซิกาแรต เป็นบุหรี่ ยอมให้จำหน่ายได้ ก็เพราะว่าเขามีกฎหมายควบคุมการบริโภคยาสูบกำกับดูแลได้ แต่บ้านเราไม่ใช่บุหรี่จึงควบคุมไม่ได้"นายแพทย์นพพรกล่าว
นอกจากนี้ การที่มีโฆษณาทางอินเตอร์เน็ตว่าสามารถใช้แทนเพื่อการเลิกบุหรี่ได้นั้น ถือเป็นการสร้างความเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง ส่วนที่เอกชนกังวลว่าจะไม่มีอะไรมาทดแทนการช่วยลดการสูบบุหรี่ได้นั้น ก็ยังมีสินค้าอื่นที่เข้ามาทดแทนเช่น หมากฝรั่ง แผ่นแปะ เป็นต้น อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องปรับแก้อย่างต่อเนื่องและให้ครอบคลุม เช่น เรื่องบารากู่ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันการควบคุมยังไม่เข้าตามพ.ร.บ.ใดๆ ทำให้ปัจจุบันกรมศุลกากรควบคุมได้เพียงแต่ จัดให้เข้าข่ายห้ามนำเข้าเนื่องจากเป็นอุปกรณ์แบตเตอรี่ได้เท่านั้น ดังนั้น การผลักดันให้สามารถออกประกาศให้สินค้าประเภทดังกล่าว เป็นสินค้าห้ามนำเข้าในราชอาณาจักรไทย โดยวางกรอบให้รวมไปถึงอุปกรณ์ด้วย ไม่เฉพาะควบคุมนิโคตินเพียงอย่างเดียว จะเป็นวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวได้ “ นพ.นพพร กล่าว