บุหรี่ทำไทยเสียค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ถึง 1 หมื่นล้านบาท ตายก่อนวัยจนสูญเสียผลิตภาพ 77% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เสนอขึ้นภาษีบุหรี่ให้ราคาสูงขึ้น 10% เป็นยาขนานเอก ช่วยลดการบริโภคยาสูบลงได้ 8% “หมอหทัย” แฉเล่ห์บริษัทบุหรี่ขัดขวางการขึ้นภาษี
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพฯ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงข่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการ บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “ภาษีบุหรี่ ลดคนสูบ ลดคนตาย” จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การบริโภคยาสูบส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผู้สูบเองและผู้ที่สัมผัสควัน จนป่วยเป็นโรคและเสียชีวิต จากการศึกษาภาระทางเศรษฐกิจจากโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องจากการสูบบุหรี่ในปี 2552 ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพประชากรไทย พบว่า มีคนตายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไป 50,710 คน หรือประมาณ 12% ของการตายทั้งหมด โดยเป็นผู้ชาย 42,989 คน และเป็นผู้หญิง 7,721 คน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายหลัก 11,895 คน ต่อมาคือมะเร็งปอด 11,742 คน และโรคหัวใจและหลอดเลือด 11,666 คน และโรคมะเร็งอื่นๆ 7,244 คน
นพ.นพพร กล่าวอีกว่า จากการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 52.2 พันล้านบาท โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงทางการแพทย์เท่ากับ 10,137 ล้านบาท, ค่าใช้จ่ายทางอ้อมทางการแพทย์เท่ากับ 1,063 ล้านบาท, การสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานของผู้ป่วยเท่ากับ 370 ล้านบาท, การสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานของผู้ดูแลผู้ป่วยเท่ากับ 147 ล้านบาท และการสูญเสียผลิตภาพจากการตายก่อนวัยอันควร คิดเป็น 77% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และ 73% ของงบประมาณทางด้านสาธารณสุข
“ข้อมูลผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากการบริโภคยาสูบสามารถชี้ให้เห็นความรุนแรงและขนาดของปัญหาในการบริโภคยาสูบอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากมีความเข้าใจถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากการบริโภคยาสูบและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบจะสามารถประเมินถึงภาระที่ผู้ป่วยและรัฐบาลแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนความสูญเสียจากโรคที่เกิดอันเนื่องมาจากการบริโภคยาสูบและสัมผัสควันบุหรี่ได้” นพ.นพพร กล่าว
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การขึ้นภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ นับเป็นยาขนานเอกในการควบคุมยาสูบ โดยการเพิ่มภาษียาสูบให้ได้ราคาที่สูงขึ้น 10% จะลดการบริโภคลง 4% ในประเทศที่มีรายได้สูง และลดลง 8% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือปานกลาง เช่น ในประเทศไทย อีกทั้งการเพิ่มภาษีสูงขึ้นจนทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกลดลง 42 ล้านคน และช่วยให้คนไม่ตายจากยาสูบ 10 ล้านชีวิต สำหรับประเทศไทยมีอุปสรรคในการขึ้นภาษีบุหรี่ คือ 1. บริษัทบุหรี่ข้ามชาติได้พยายามอยู่ตลอดมาในการขัดขวางการขึ้นภาษียาสูบ อาทิ ผู้บริหารของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการในคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง ของวุฒิสภาเมื่อ 2551 เป็นต้น 2. บริษัทบุหรี่ให้ทุนสนับสนุนชาวไร่ยาสูบ ออกมาให้ข่าวทางสื่อมวลชน และยื่นหนังสือถึง นักการเมืองคัดค้านการขึ้นภาษีบุหรี่ของรัฐบาล และ 3. หลังการขึ้นภาษี บริษัทบุหรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ขึ้นราคา และออกบุหรี่ตราใหม่โดยมีราคาลดลง เป็นเหตุให้ผู้สูบมีความสามารถที่จะซื้อบุหรี่ได้ (affordability) ไม่ลดลง อัตราการสูบจึงไม่ลดลง ไม่เกิดผลทางสุขภาพ
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กล่าวว่า กฎกระทรวงการคลัง เรื่อง ขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะนั้นมีมติเห็นชอบการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและลดการบริโภคยาสูบที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยปรับอัตราจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจากเดิมเก็บร้อยละ 85 และไม่มีการเก็บตามปริมาณ เป็นการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 87 และให้จัดเก็บตามปริมาณ 1 บาทต่อมวนเป็นครั้งแรกด้วย โดยกรมสรรพสามิตจะนำทั้งมูลค่าและปริมาณมาคำนวณภาษี หากการคำนวณระหว่างการจัดเก็บตามมูลค่าและการจัดเก็บตามปริมาณตัวใดสูงกว่ากันก็ให้เก็บภาษีในส่วนนั้น เพื่อแก้ปัญหาบุหรี่ราคาถูกเข้ามาตีตลาดและผู้ประกอบการแสดงมูลค่าต้นทุนบุหรี่ต่ำกว่าราคาจริง ทำให้ราคาบุหรี่ทั้งบุหรี่ในและต่างประเทศปรับขึ้นซองละ 7 - 9 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ก.ค.) ที่ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพฯ นพ.นพพร ชื่นกลิ่น รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงข่าวภายหลังเปิดประชุมวิชาการ บุหรี่กับสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “ภาษีบุหรี่ ลดคนสูบ ลดคนตาย” จัดโดย ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมการยาสูบ (ศจย.) ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายควบคุมยาสูบ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การบริโภคยาสูบส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งผู้สูบเองและผู้ที่สัมผัสควัน จนป่วยเป็นโรคและเสียชีวิต จากการศึกษาภาระทางเศรษฐกิจจากโรคที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องจากการสูบบุหรี่ในปี 2552 ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพประชากรไทย พบว่า มีคนตายจากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ในกลุ่มคนอายุ 30 ปีขึ้นไป 50,710 คน หรือประมาณ 12% ของการตายทั้งหมด โดยเป็นผู้ชาย 42,989 คน และเป็นผู้หญิง 7,721 คน โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นสาเหตุการตายหลัก 11,895 คน ต่อมาคือมะเร็งปอด 11,742 คน และโรคหัวใจและหลอดเลือด 11,666 คน และโรคมะเร็งอื่นๆ 7,244 คน
นพ.นพพร กล่าวอีกว่า จากการประมาณการความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์จากโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่ พบว่า ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดจากความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์เท่ากับ 52.2 พันล้านบาท โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายทางตรงทางการแพทย์เท่ากับ 10,137 ล้านบาท, ค่าใช้จ่ายทางอ้อมทางการแพทย์เท่ากับ 1,063 ล้านบาท, การสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานของผู้ป่วยเท่ากับ 370 ล้านบาท, การสูญเสียผลิตภาพจากการขาดงานของผู้ดูแลผู้ป่วยเท่ากับ 147 ล้านบาท และการสูญเสียผลิตภาพจากการตายก่อนวัยอันควร คิดเป็น 77% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด และ 73% ของงบประมาณทางด้านสาธารณสุข
“ข้อมูลผลกระทบทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากการบริโภคยาสูบสามารถชี้ให้เห็นความรุนแรงและขนาดของปัญหาในการบริโภคยาสูบอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากมีความเข้าใจถึงต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จากการบริโภคยาสูบและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบจะสามารถประเมินถึงภาระที่ผู้ป่วยและรัฐบาลแบกรับค่าใช้จ่ายต่างๆ ตลอดจนความสูญเสียจากโรคที่เกิดอันเนื่องมาจากการบริโภคยาสูบและสัมผัสควันบุหรี่ได้” นพ.นพพร กล่าว
นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย กล่าวว่า การขึ้นภาษีสรรพสามิตผลิตภัณฑ์ยาสูบ นับเป็นยาขนานเอกในการควบคุมยาสูบ โดยการเพิ่มภาษียาสูบให้ได้ราคาที่สูงขึ้น 10% จะลดการบริโภคลง 4% ในประเทศที่มีรายได้สูง และลดลง 8% ในประเทศที่มีรายได้ต่ำ หรือปานกลาง เช่น ในประเทศไทย อีกทั้งการเพิ่มภาษีสูงขึ้นจนทำให้ราคาบุหรี่เพิ่มขึ้น 10% จะทำให้ผู้สูบบุหรี่ทั่วโลกลดลง 42 ล้านคน และช่วยให้คนไม่ตายจากยาสูบ 10 ล้านชีวิต สำหรับประเทศไทยมีอุปสรรคในการขึ้นภาษีบุหรี่ คือ 1. บริษัทบุหรี่ข้ามชาติได้พยายามอยู่ตลอดมาในการขัดขวางการขึ้นภาษียาสูบ อาทิ ผู้บริหารของบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอนุกรรมการในคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง ของวุฒิสภาเมื่อ 2551 เป็นต้น 2. บริษัทบุหรี่ให้ทุนสนับสนุนชาวไร่ยาสูบ ออกมาให้ข่าวทางสื่อมวลชน และยื่นหนังสือถึง นักการเมืองคัดค้านการขึ้นภาษีบุหรี่ของรัฐบาล และ 3. หลังการขึ้นภาษี บริษัทบุหรี่พยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ขึ้นราคา และออกบุหรี่ตราใหม่โดยมีราคาลดลง เป็นเหตุให้ผู้สูบมีความสามารถที่จะซื้อบุหรี่ได้ (affordability) ไม่ลดลง อัตราการสูบจึงไม่ลดลง ไม่เกิดผลทางสุขภาพ
นายณัฐกร อุเทนสุต ผู้อำนวยการสำนักแผนภาษี กล่าวว่า กฎกระทรวงการคลัง เรื่อง ขึ้นภาษีสรรพสามิตบุหรี่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และบังคับใช้ทันทีตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2555 ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในขณะนั้นมีมติเห็นชอบการขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 3 ปี มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและลดการบริโภคยาสูบที่มีผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยปรับอัตราจัดเก็บภาษีตามมูลค่าของบุหรี่ซิกาแรตจากเดิมเก็บร้อยละ 85 และไม่มีการเก็บตามปริมาณ เป็นการจัดเก็บตามมูลค่าร้อยละ 87 และให้จัดเก็บตามปริมาณ 1 บาทต่อมวนเป็นครั้งแรกด้วย โดยกรมสรรพสามิตจะนำทั้งมูลค่าและปริมาณมาคำนวณภาษี หากการคำนวณระหว่างการจัดเก็บตามมูลค่าและการจัดเก็บตามปริมาณตัวใดสูงกว่ากันก็ให้เก็บภาษีในส่วนนั้น เพื่อแก้ปัญหาบุหรี่ราคาถูกเข้ามาตีตลาดและผู้ประกอบการแสดงมูลค่าต้นทุนบุหรี่ต่ำกว่าราคาจริง ทำให้ราคาบุหรี่ทั้งบุหรี่ในและต่างประเทศปรับขึ้นซองละ 7 - 9 บาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่