xs
xsm
sm
md
lg

ตั้งเป้าลดนักสูบแสนคนต่อปี สกัดผลเสียระยะยาว

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
นักวิชาการชี้ต้องลดนักสูบให้ได้ 100,000 คนต่อปี ช่วยลดสูญเสียการสูบบุหรี่ได้ในระยะยาว ชี้ กม.บุหรี่ฉบับใหม่จึงเป็นสิ่งจำเป็น ก่อนเด็กนับแสนตกเป็นเหยื่อ

ดร.ศรัณญา เบญจกุล อาจารย์จากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสามารถลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงได้เฉลี่ยปีละ 3 หมื่นคน แต่หากประเทศไทยต้องการลดการสูบบุหรี่ลงให้ได้ ร้อยละ 30 ภายในปี 2568 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ตามมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติเมื่อปี 2554 ประเทศไทย ต้องทำงานควบคุมยาสูบหนักขึ้นจากเดิม 3 เท่า เพื่อลดจำนวนผู้สูบบุหรี่ลงให้ได้เฉลี่ย 1 แสนคนต่อปี ทั้งนี้ จากผลการพยากรณ์อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทย ตั้งแต่ปี 2554 ถึงปี 2568 พบว่า ในอีก 15 ปีข้างหน้านี้ อัตราการสูบบุหรี่ของคนไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 17.5 หรือมีจำนวนผู้สูบบุหรี่ 10.5 ล้านคน ตามแนวโน้มที่ผ่านมาตั้งแต่ พ.ศ.2534 ถึง 2554 ซึ่งหากประเทศไทย ต้องการบรรลุเป้าหมายระดับโลก เราควรมีอัตราการสูบบุหรี่อยู่ที่ร้อยละ 15.0 หรือมีผู้สูบบุหรี่ประมาณ 9.0 ล้านคนเท่านั้นในปี 2568

ดร.ศรัณญา กล่าวว่า การมุ่งจัดการที่ต้นเหตุของปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งทางระบาดวิทยาเรียกต้นเหตุนี้ว่า พาหะนำโรค ซึ่งพาหะนำโรคของการสูบบุหรี่ มิใช่ยุง หรือแมลงใดๆ หากแต่เป็นบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่มุ่งใช้ช่องว่างทางกฎหมายเพื่อกระตุ้น และจูงใจให้เกิดนักสูบหน้าใหม่ และเพื่อทำให้ลูกค้าเก่า หรือนักสูบหน้าเดิมยังคงสูบต่อไป ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ที่กระทรวงสาธารณสุขจัดทำขึ้น ถือเป็นความพยายามที่จะอุดช่องโหว่ของกฎหมายปัจจุบันซึ่งใช้มานานหลายสิบปีแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามโฆษณาส่งเสริมการขายอย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะกลายเป็นมาตรการสำคัญที่จะช่วยลดภาระที่สังคมไทยต้องแบกรับจากการสูบบุหรี่ ซึ่งปัจจุบันทั้งรัฐบาล และคนไทยต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคจากการสูบบุหรี่ถึงปีละกว่า 50,000 ล้านบาท

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

ดูบน Instagram





กำลังโหลดความคิดเห็น