“หมอประกิต” ย้ำออก กม.คุมบุหรี่ฉบับใหม่ ไม่กระทบชาวไร่ยาสูบ แฉคนถือมีดทำร้ายจริงๆ คือ บริษัทยาสูบรายยักษ์ หันซื้อใบยาสูบจากประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาถูกกว่า ยกมาเลเซียเจอเหตุการณ์เดียวกันคาดไม่ถึง 10 ปี ไม่เหลือชาวไร่ยาสูบอีกเลย
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ยืนยันว่า การออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ไม่กระทบต่อชาวไร่ยาสูบ เพราะเนื้อหาเน้นการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการทบทวนบทเรียนของชาวไร่ยาสูบของประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย พบว่า ปี 2543 ชาวไร่ยาสูบลดจำนวนจาก 23,020 ราย เหลือ 2,428 ราย ในปี 2555 สาเหตุเกิดจากโรงงานผลิตบุหรี่ที่ตั้งอยู่ในมาเลเซียหันไปซื้อใบยาสูบที่ราคาถูกกว่าจากประเทศอื่น โดยโรงงานของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซีย หยุดซื้อใบยาในปี 2553 และโรงงานของเจแปนโทแบคโก หยุดซื้อในปี 2555 ซึ่งชาวไร่ยาสูบได้รับความช่วยเหลือจากโครงการช่วยเหลือของรัฐบาลมาเลเซียได้หันไปปลูกต้นคีนาฟ ซึ่งเป็นพืชตระกูลปอ ที่ทำรายได้ไม่น้อยกว่าการปลูกยาสูบ และคาดว่าในอีกไม่ถึงสิบปี มาเลเซียจะไม่มีชาวไร่ยาสูบเหลืออยู่อีกเลย
“กรณีที่ชาวไร่ยาสูบไทยจะได้รับผลกระทบ คือ ปัจจุบันบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทย รวมทั้งโรงงานยาสูบไทย ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากในประเทศไทย หันไปใช้ ใบยาสูบจากประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาถูกกว่าแทน เนื่องจากการปลูกใบยาสูบในประเทศไทยมีต้นทุนสูงขึ้นตามมาตรฐานการครองชีพ ทำให้ชาวไร่ยาสูบไทยที่ปลูกเพื่อใช้ในประเทศก็ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปลูกเพื่อการส่งออกก็จะถูกกระทบจากกลไกการตลาดโลกด้วย” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การที่บริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่อยู่เบื้องหลังการชักใยให้สมาคมผู้ค้ายาสูบและสมาคมชาวไร่ยาสูบ ออกหน้าเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุขต่อรัฐบาล โดยอ้างว่าร่าง พ.ร.บ. ใหม่จะถึงขั้นทำลายอาชีพเกษตรกรนั้น เป็นเรื่องที่ไม่จริง ซึ่งบริษัทบุหรี่ใช้ชาวไร่เป็นเครื่องมือเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ. ฉบับใหม่ เพราะจะช่วยปกป้องเยาวชนไม่ให้เกิดนักสูบรายใหม่ เพื่อปกป้องผลกำไรของบริษัทบุหรี่เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ลดลงจาก 12.3 ล้านคน เหลือ 10.9 ล้านคน ในปี 2556 และจำนวนบุหรี่ซิกาแรตที่จำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านซองต่อปี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ร่าง พ.ร.บ. ใหม่จะทำให้จำนวนคนสูบบุหรี่ลดลง จนถึงขนาดทำให้ชาวไร่ยาสูบเดือดร้อน ชาวไร่ยาสูบจึงต้องรู้เท่าทันว่าบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ จะเป็นศัตรูตัวจริงของชาวไร่ยาสูบในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และเลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ยืนยันว่า การออก พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ไม่กระทบต่อชาวไร่ยาสูบ เพราะเนื้อหาเน้นการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ซึ่งจากการทบทวนบทเรียนของชาวไร่ยาสูบของประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย พบว่า ปี 2543 ชาวไร่ยาสูบลดจำนวนจาก 23,020 ราย เหลือ 2,428 ราย ในปี 2555 สาเหตุเกิดจากโรงงานผลิตบุหรี่ที่ตั้งอยู่ในมาเลเซียหันไปซื้อใบยาสูบที่ราคาถูกกว่าจากประเทศอื่น โดยโรงงานของบริษัทฟิลลิป มอร์ริส มาเลเซีย หยุดซื้อใบยาในปี 2553 และโรงงานของเจแปนโทแบคโก หยุดซื้อในปี 2555 ซึ่งชาวไร่ยาสูบได้รับความช่วยเหลือจากโครงการช่วยเหลือของรัฐบาลมาเลเซียได้หันไปปลูกต้นคีนาฟ ซึ่งเป็นพืชตระกูลปอ ที่ทำรายได้ไม่น้อยกว่าการปลูกยาสูบ และคาดว่าในอีกไม่ถึงสิบปี มาเลเซียจะไม่มีชาวไร่ยาสูบเหลืออยู่อีกเลย
“กรณีที่ชาวไร่ยาสูบไทยจะได้รับผลกระทบ คือ ปัจจุบันบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่มีส่วนแบ่งการตลาดในประเทศไทย รวมทั้งโรงงานยาสูบไทย ที่มีส่วนแบ่งทางการตลาดมากในประเทศไทย หันไปใช้ ใบยาสูบจากประเทศเพื่อนบ้านที่ราคาถูกกว่าแทน เนื่องจากการปลูกใบยาสูบในประเทศไทยมีต้นทุนสูงขึ้นตามมาตรฐานการครองชีพ ทำให้ชาวไร่ยาสูบไทยที่ปลูกเพื่อใช้ในประเทศก็ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการปลูกเพื่อการส่งออกก็จะถูกกระทบจากกลไกการตลาดโลกด้วย” ศ.นพ.ประกิต กล่าว
ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า การที่บริษัทบุหรี่ข้ามชาติ ที่อยู่เบื้องหลังการชักใยให้สมาคมผู้ค้ายาสูบและสมาคมชาวไร่ยาสูบ ออกหน้าเคลื่อนไหวคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบฉบับใหม่ ที่เสนอโดยกระทรวงสาธารณสุขต่อรัฐบาล โดยอ้างว่าร่าง พ.ร.บ. ใหม่จะถึงขั้นทำลายอาชีพเกษตรกรนั้น เป็นเรื่องที่ไม่จริง ซึ่งบริษัทบุหรี่ใช้ชาวไร่เป็นเครื่องมือเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ. ฉบับใหม่ เพราะจะช่วยปกป้องเยาวชนไม่ให้เกิดนักสูบรายใหม่ เพื่อปกป้องผลกำไรของบริษัทบุหรี่เท่านั้น ซึ่งตั้งแต่ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน จำนวนคนไทยที่สูบบุหรี่ลดลงจาก 12.3 ล้านคน เหลือ 10.9 ล้านคน ในปี 2556 และจำนวนบุหรี่ซิกาแรตที่จำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านซองต่อปี จึงเป็นไปไม่ได้ที่ร่าง พ.ร.บ. ใหม่จะทำให้จำนวนคนสูบบุหรี่ลดลง จนถึงขนาดทำให้ชาวไร่ยาสูบเดือดร้อน ชาวไร่ยาสูบจึงต้องรู้เท่าทันว่าบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ จะเป็นศัตรูตัวจริงของชาวไร่ยาสูบในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่ใช่ร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่