ไม่หวั่นบริษัทบุหรี่ข้ามชาติ! กลุ่มแพทย์ นักวิชาการ เอ็นจีโอด้านบุหรี่กว่า 450 องค์กร จับมือตั้ง “สมาพันธ์เครือข่ายเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่” หวังสู้บริษัทบุหรี่ข้ามชาติจ้องล้มกฎหมายปกป้องสุขภาพคนไทย หนุนภาพคำเตือนซองบุหรี่เป็น 85% พร้อมให้ความรู้ประชาชน หวังประสบความสำเร็จเป็นต้นแบบช่วยประเทศอื่นเดินหน้าควบคุมบุหรี่
วันนี้ (1 ต.ค.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า แพทย์ที่ทำงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบและองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการไม่สูบบุหรี่ 450 องค์กร รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาพันธ์เครือข่ายเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เพื่อต่อสู้และรณรงค์ให้ความจริงแก่สังคมและองค์กรต่างๆ ให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ในความพยายามที่จะล้มกฎหมายของไทย คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ด้วยการฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งทุเลา ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ชะลอการบังคับใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนไม่ใช่เพื่อเป้าหมายการมีพื้นที่คำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อสู้เพื่ออธิปไตยของไทยด้วย
“บริษัทบุหรี่ข้ามชาติประกาศว่าถ้าสามารถเอาชนะไทยได้ก็จะชนะทั้งโลก เพราะเรามีบุคลากรด้านการควบคุมบุหรี่ที่เข้มแข็ง ดังนั้น การจัดตั้งสมาพันธ์ฯก็คือการออกมาต่อสู้เพื่ออธิปไตยไทย ไม่ให้แทรกแซงกฎหมาย และถ้าเราชนะก็จะเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ชาติต่างๆ ที่กำลังดำเนินการเรื่องเหล่านี้เช่นกัน” ศ.พญ.สมศรี กล่าว
นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และอดีตนายกแพทยสมาคมโลก กล่าวว่า บริษัทบุหรี่อ้างว่ามาตรการของ สธ.ก่อความเสียหายแก่บริษัท ทั้งๆ ที่บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์และทำกำไรจากการขายบุหรี่ที่ทุกคนรู้ดีว่าเป็นสินค้านำมาซึ่งโรคภัยร้ายแรง และก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม หลัง สธ.อุทธรณ์คำสั่งไม่ว่าศาลจะพิจารณาออกมาในรูปแบบใด คงจะก้าวล่วงคำสั่งศาลไม่ได้ แต่ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพมีอำนาจทางวิชาชีพที่จะให้ความรู้กับประชาชนและเตือนสติผู้มีอำนาจทางกฎหมายที่มาทำให้สุขภาพประชาชนถดถอยจากสารพิษ ซึ่งมีการระบุข้อมูลว่าในบุหรี่ 1 มวน มีสารอันตรายถึง 700 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็ง 200 ชนิด และการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อผู้สูบเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวจากการรับควันบุหรี่มือสอง และคนอื่นๆ ในสังคมจากการรับควันบุหรี่มือสามด้วย
นพ.วันชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในการที่ประเทศดำเนินการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงแต่ประชาชนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ พญ.มาร์กาเรต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ ฮู และ ดร.ไมเคิล สปาร์ค ประธานสมาพันธ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ ได้ส่งจดหมายถึง รมว.สาธารณสุขไทย สนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย
อนึ่ง ก่อนหน้า สธ.ได้ออกประกาศเพิ่มภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ตุลาคม 2556 จะทำให้บุหรี่ที่นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันดังกล่าวต้องมีขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ 85% ส่วนที่มีการนำเข้าก่อนหน้านี้ให้จำหน่ายได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2556 แต่บริษัทบุหรี่ได้ดำเนินการฟ้องศาลปกครอง และศาลมีคำสั่งให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวออกไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ของ สธ.
วันนี้ (1 ต.ค.) ที่แพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ศ.พญ.สมศรี เผ่าสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ กล่าวว่า แพทย์ที่ทำงานด้านการควบคุมการบริโภคยาสูบและองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการไม่สูบบุหรี่ 450 องค์กร รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสมาพันธ์เครือข่ายเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ เพื่อต่อสู้และรณรงค์ให้ความจริงแก่สังคมและองค์กรต่างๆ ให้ตระหนักถึงกลยุทธ์ของบริษัทบุหรี่ในความพยายามที่จะล้มกฎหมายของไทย คือ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดให้เพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ด้วยการฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งทุเลา ซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้ชะลอการบังคับใช้แล้ว อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนไม่ใช่เพื่อเป้าหมายการมีพื้นที่คำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการต่อสู้เพื่ออธิปไตยของไทยด้วย
“บริษัทบุหรี่ข้ามชาติประกาศว่าถ้าสามารถเอาชนะไทยได้ก็จะชนะทั้งโลก เพราะเรามีบุคลากรด้านการควบคุมบุหรี่ที่เข้มแข็ง ดังนั้น การจัดตั้งสมาพันธ์ฯก็คือการออกมาต่อสู้เพื่ออธิปไตยไทย ไม่ให้แทรกแซงกฎหมาย และถ้าเราชนะก็จะเป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้ชาติต่างๆ ที่กำลังดำเนินการเรื่องเหล่านี้เช่นกัน” ศ.พญ.สมศรี กล่าว
นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทยฯ และอดีตนายกแพทยสมาคมโลก กล่าวว่า บริษัทบุหรี่อ้างว่ามาตรการของ สธ.ก่อความเสียหายแก่บริษัท ทั้งๆ ที่บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์และทำกำไรจากการขายบุหรี่ที่ทุกคนรู้ดีว่าเป็นสินค้านำมาซึ่งโรคภัยร้ายแรง และก่อความสูญเสียต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม หลัง สธ.อุทธรณ์คำสั่งไม่ว่าศาลจะพิจารณาออกมาในรูปแบบใด คงจะก้าวล่วงคำสั่งศาลไม่ได้ แต่ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพมีอำนาจทางวิชาชีพที่จะให้ความรู้กับประชาชนและเตือนสติผู้มีอำนาจทางกฎหมายที่มาทำให้สุขภาพประชาชนถดถอยจากสารพิษ ซึ่งมีการระบุข้อมูลว่าในบุหรี่ 1 มวน มีสารอันตรายถึง 700 ชนิด และเป็นสารก่อมะเร็ง 200 ชนิด และการสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อผู้สูบเท่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อครอบครัวจากการรับควันบุหรี่มือสอง และคนอื่นๆ ในสังคมจากการรับควันบุหรี่มือสามด้วย
นพ.วันชาติ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในการที่ประเทศดำเนินการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% ได้รับการสนับสนุนไม่เพียงแต่ประชาชนในประเทศไทยเท่านั้น แต่ พญ.มาร์กาเรต ชาน ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ ฮู และ ดร.ไมเคิล สปาร์ค ประธานสมาพันธ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพนานาชาติ ได้ส่งจดหมายถึง รมว.สาธารณสุขไทย สนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย
อนึ่ง ก่อนหน้า สธ.ได้ออกประกาศเพิ่มภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 2 ตุลาคม 2556 จะทำให้บุหรี่ที่นำเข้ามาในประเทศไทยตั้งแต่วันดังกล่าวต้องมีขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ 85% ส่วนที่มีการนำเข้าก่อนหน้านี้ให้จำหน่ายได้ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2556 แต่บริษัทบุหรี่ได้ดำเนินการฟ้องศาลปกครอง และศาลมีคำสั่งให้ชะลอการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวออกไป ขณะนี้อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ของ สธ.