เอแบคโพลล์เผย ปชช.ร้อยละ 71.9 อยากให้ขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เป็น 85% ขณะที่นักสูบยอมรับการขยายภาพมีประสิทธิผลสูงกว่า เกือบครึ่งไม่เห็นด้วยบริษัทยาสูบฟ้อง สธ.“หมอประกิต” ชี้บริษัทบุหรี่ล้มกฎหมายไทยได้ส่งผลกระทบต่อประเทศอื่นแน่
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ กทม.และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคทั้งในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ผู้เคยสูบแต่เลิกแล้ว และผู้ไม่สูบบุหรี่ ระหว่างวันที่ 23-30 ก.ค. 2556 พบว่า ร้อยละ 28.1 อยากให้ใช้ภาพคำเตือนแบบเดิมขนาด 55% ร้อยละ 36.7 อยากให้ใช้แบบใหม่ขนาด 85% และร้อยละ 35.2 อยากให้ใช้แบบใหม่ขนาด 100% รวมแล้วผู้ที่มีความคิดอยากให้ขยายภาพคำเตือนเป็น 85% หรือใหญ่กว่ามีเท่ากับร้อยละ 71.9 เมื่อถามความคิดเห็นที่มีต่อการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ผลสำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามเจาะถึงความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของภาพคำเตือนขนาด 55% กับ 85% พบว่า ประชากรกลุ่มที่สูบบุหรี่มีความเห็นว่า ภาพคำเตือนขนาด 85% มีประสิทธิผลสูงกว่าขนาด 55% ในทุกๆ ด้าน อาทิ ทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยของบุหรี่ ทำให้รู้สึกว่าตนเองเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามภาพคำเตือน ทำให้คิดที่จะเลิกสูบ ทำให้พยายามที่จะเลิก ทำให้ตัดสินใจลงมือเลิก และทำให้สูบน้อยลง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่การเพิ่มภาพคำเตือนจาก 55% เป็น 85% ทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น และทำให้ไม่คิดที่จะสูบบุหรี่สูงขึ้น
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อการที่บริษัทบุหรี่ต่างชาติออกมาฟ้องศาลเพื่อขัดขวางการเพิ่มขนาดภาพให้ใหญ่ขึ้นเป็น 85% พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.7 ไม่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลที่สำคัญคือเป็นเรื่องภายในประเทศ ต่างชาติไม่น่าเข้ามายุ่งเกี่ยว ภาพคำเตือนใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะทำให้คนเลิกสูบ ภาพใหญ่ขึ้นจะได้เห็นชัดขึ้น มีเพียงร้อยละ 6.7 ที่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลคือภาพใหญ่ดูน่ากลัว และดูยี่ห้อลำบาก เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของผู้เสียประโยชน์ที่จะฟ้อง ในขณะที่ร้อยละ 50.6 ระบุไม่รู้/ไม่ทราบ สถิติดังกล่าวแสดงว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับการฟ้องของบริษัทบุหรี่มีสัดส่วนมากกว่าคนที่เห็นด้วยถึง 6.4 ต่อ 1
ผศ.ดร.กิตติ กันภัย นักวิชาการนิเทศศาสตร์อิสระ กล่าวว่า ผลการสำรวจนี้สอดคล้องกับหลักวิชาการสื่อสารการตลาดที่ชี้ชัดว่าประสิทธิภาพของการสื่อสารจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของพื้นที่สื่อสารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในกรณีนี้คือการสื่อสารถึงพิษภัยยาสูบโดยภาพคำเตือนขนาดใหญ่ขึ้นที่มุ่งหวังให้คนสูบบุหรี่น้อยลงหรือเลิกสูบ ขณะที่บริษัทบุหรี่ก็ใช้พื้นที่บนซองบุหรี่เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวให้คนเริ่มสูบบุหรี่ หรือสูบต่อไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากพื้นที่บนซองบุหรี่มีขนาดคงที่ เมื่อพื้นที่ภาพคำเตือนเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการเตือนภัยพิษภัยเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้พลังของการสื่อสารการตลาดที่บริษัทบุหรี่ต้องการโน้มน้าวให้คนสูบบุหรี่มีประสิทธิภาพลดลง นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทบุหรี่ฟ้องศาลปกครองเพื่อล้มกฎหมายเพิ่มขนาดคำเตือนจาก 55% เป็น 85% ในขณะนี้
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังติดตามผลคดีที่บริษัทบุหรี่ข้ามชาติฟ้องให้ล้มกฎหมายไทย ซึ่งหากบริษัทบุหรี่ทำได้สำเร็จ จะมีผลทางจิตวิทยาต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้รัฐบาลหลายประเทศเกิดความลังเลในการที่จะออกกฎหมายเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน ที่สำคัญถ้าหากบริษัทบุหรี่ผู้ขายสินค้าเสพติดที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ยังสามารถยับยั้งมาตรการของรัฐที่ออกมาเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชน จะเป็นการเปิดประตูให้ธุรกิจอื่นๆ ลุกขึ้นมาฟ้องร้อง เพื่อยับยั้งกฎหมาย หรือนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลจะออกมาปกป้องประโยชน์ของประชาชน โดยอ้างแบบเดียวกับบริษัทบุหรี่ว่าเขาได้รับความเสียหาย ทั้งๆ ที่ประโยชน์สาธารณะนั้น มิอาจนำไปเทียบได้กับประโยชน์ของภาคธุรกิจ ที่เป้าหมายสูงสุดคือผลกำไรที่ส่งกลับบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยทิ้งภาระด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนไว้กับพี่น้องชาวไทย และรัฐบาลไทย
ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบคโพลล์) ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการขยายภาพคำเตือนบนซองบุหรี่ในกลุ่มผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในพื้นที่ กทม.และจังหวัดหัวเมืองในภูมิภาคทั้งในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ ผู้เคยสูบแต่เลิกแล้ว และผู้ไม่สูบบุหรี่ ระหว่างวันที่ 23-30 ก.ค. 2556 พบว่า ร้อยละ 28.1 อยากให้ใช้ภาพคำเตือนแบบเดิมขนาด 55% ร้อยละ 36.7 อยากให้ใช้แบบใหม่ขนาด 85% และร้อยละ 35.2 อยากให้ใช้แบบใหม่ขนาด 100% รวมแล้วผู้ที่มีความคิดอยากให้ขยายภาพคำเตือนเป็น 85% หรือใหญ่กว่ามีเท่ากับร้อยละ 71.9 เมื่อถามความคิดเห็นที่มีต่อการเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่จาก 55% เป็น 85% ผลสำรวจส่วนใหญ่หรือร้อยละ 67.9 ระบุเห็นด้วย ร้อยละ 17.8 ระบุไม่เห็นด้วย และร้อยละ 14.3 ไม่มีความเห็น
เมื่อถามเจาะถึงความคิดเห็นต่อประสิทธิผลของภาพคำเตือนขนาด 55% กับ 85% พบว่า ประชากรกลุ่มที่สูบบุหรี่มีความเห็นว่า ภาพคำเตือนขนาด 85% มีประสิทธิผลสูงกว่าขนาด 55% ในทุกๆ ด้าน อาทิ ทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยของบุหรี่ ทำให้รู้สึกว่าตนเองเสี่ยงที่จะเป็นโรคตามภาพคำเตือน ทำให้คิดที่จะเลิกสูบ ทำให้พยายามที่จะเลิก ทำให้ตัดสินใจลงมือเลิก และทำให้สูบน้อยลง ในขณะที่ในกลุ่มผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกแล้วกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่การเพิ่มภาพคำเตือนจาก 55% เป็น 85% ทำให้คิดถึงอันตรายและพิษภัยบุหรี่เพิ่มขึ้น และทำให้ไม่คิดที่จะสูบบุหรี่สูงขึ้น
สำหรับความคิดเห็นที่มีต่อการที่บริษัทบุหรี่ต่างชาติออกมาฟ้องศาลเพื่อขัดขวางการเพิ่มขนาดภาพให้ใหญ่ขึ้นเป็น 85% พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.7 ไม่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลที่สำคัญคือเป็นเรื่องภายในประเทศ ต่างชาติไม่น่าเข้ามายุ่งเกี่ยว ภาพคำเตือนใหญ่ขึ้นเพื่อที่จะทำให้คนเลิกสูบ ภาพใหญ่ขึ้นจะได้เห็นชัดขึ้น มีเพียงร้อยละ 6.7 ที่เห็นด้วย โดยระบุเหตุผลคือภาพใหญ่ดูน่ากลัว และดูยี่ห้อลำบาก เป็นสิทธิ์และหน้าที่ของผู้เสียประโยชน์ที่จะฟ้อง ในขณะที่ร้อยละ 50.6 ระบุไม่รู้/ไม่ทราบ สถิติดังกล่าวแสดงว่า คนที่ไม่เห็นด้วยกับการฟ้องของบริษัทบุหรี่มีสัดส่วนมากกว่าคนที่เห็นด้วยถึง 6.4 ต่อ 1
ผศ.ดร.กิตติ กันภัย นักวิชาการนิเทศศาสตร์อิสระ กล่าวว่า ผลการสำรวจนี้สอดคล้องกับหลักวิชาการสื่อสารการตลาดที่ชี้ชัดว่าประสิทธิภาพของการสื่อสารจะเพิ่มขึ้นตามขนาดของพื้นที่สื่อสารที่เพิ่มขึ้น ซึ่งในกรณีนี้คือการสื่อสารถึงพิษภัยยาสูบโดยภาพคำเตือนขนาดใหญ่ขึ้นที่มุ่งหวังให้คนสูบบุหรี่น้อยลงหรือเลิกสูบ ขณะที่บริษัทบุหรี่ก็ใช้พื้นที่บนซองบุหรี่เป็นเครื่องมือในการโน้มน้าวให้คนเริ่มสูบบุหรี่ หรือสูบต่อไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากพื้นที่บนซองบุหรี่มีขนาดคงที่ เมื่อพื้นที่ภาพคำเตือนเพิ่มขึ้นซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการเตือนภัยพิษภัยเพิ่มขึ้น ย่อมส่งผลให้พลังของการสื่อสารการตลาดที่บริษัทบุหรี่ต้องการโน้มน้าวให้คนสูบบุหรี่มีประสิทธิภาพลดลง นี่จึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้บริษัทบุหรี่ฟ้องศาลปกครองเพื่อล้มกฎหมายเพิ่มขนาดคำเตือนจาก 55% เป็น 85% ในขณะนี้
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า ประเทศต่างๆ ทั่วโลกกำลังติดตามผลคดีที่บริษัทบุหรี่ข้ามชาติฟ้องให้ล้มกฎหมายไทย ซึ่งหากบริษัทบุหรี่ทำได้สำเร็จ จะมีผลทางจิตวิทยาต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลก ทำให้รัฐบาลหลายประเทศเกิดความลังเลในการที่จะออกกฎหมายเพิ่มขนาดภาพคำเตือนบนซองบุหรี่เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน ที่สำคัญถ้าหากบริษัทบุหรี่ผู้ขายสินค้าเสพติดที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสุขภาพ ยังสามารถยับยั้งมาตรการของรัฐที่ออกมาเพื่อปกป้องสุขภาพประชาชน จะเป็นการเปิดประตูให้ธุรกิจอื่นๆ ลุกขึ้นมาฟ้องร้อง เพื่อยับยั้งกฎหมาย หรือนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลจะออกมาปกป้องประโยชน์ของประชาชน โดยอ้างแบบเดียวกับบริษัทบุหรี่ว่าเขาได้รับความเสียหาย ทั้งๆ ที่ประโยชน์สาธารณะนั้น มิอาจนำไปเทียบได้กับประโยชน์ของภาคธุรกิจ ที่เป้าหมายสูงสุดคือผลกำไรที่ส่งกลับบริษัทแม่ในต่างประเทศ โดยทิ้งภาระด้านการดูแลสุขภาพของประชาชนไว้กับพี่น้องชาวไทย และรัฐบาลไทย