โดย...ไพรัตน์ แย้มโกสุม
ณ สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เมื่ออาจารย์แสดงธรรมเสร็จ ก็นั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ สัมผัสลมเย็นเบาๆ ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเข้ามาทักทาย แล้วระบายสิ่งที่ค้างคาใจให้ฟัง...
นักศึกษา : อาจารย์ขา หนูรู้ตัวดีว่า ไม่อาจไปนิพพานได้ แต่หนูก็ไม่อยากไปนรก หนูอยากไปสวรรค์นะ ทำอย่างไรจะไปได้คะ
อาจารย์ : ก็ถามใจเธอดูสิ
นักศึกษาเอามือขวาตบเบาๆ ที่อกซ้าย และกระซิบแผ่วๆ ว่า ว่าไงใจจ๋า ช่วยตอบหน่อยซิ อยากไปสวรรค์น่ะ จะทำไงดี
นักศึกษา : ไม่มีเสียงตอบจากใจเลย ท่านอาจารย์
อาจารย์ : นั่นมันหน้าอกซ้าย ภายในหน้าอกมันคือหัวใจ ไม่ใช่จิตใจ หัวใจมันเป็นรูป จิตใจมันเป็นนาม อย่างนี้ต้องถอน จึงจะหายเมา
นักศึกษา : ใครเมาคะ
อาจารย์ : เธอนั่นแหละเมา
นักศึกษา : หนูเปล่า ไม่ได้เมา
อาจารย์ : ใช่ เธอไม่ได้เมาเหล้า แต่เธอเมาความคิด เลยติดคุกความคิด
...........ฯลฯ..............
ถาม-ตอบอย่างนี้ ปุจฉา-วิสัชนาอย่างนี้ มีให้พบเห็นบ่อยๆ ในสังคม ไม่เฉพาะเวทีเสวนาหรอก ไม่เฉพาะสถานปฏิบัติธรรมดอก มันมีอยู่ทั่วไป อย่าปรามาสอย่าดูถูกความสงสัยว่าโง่ เพราะการสงสัยคือเหตุแห่งปัญญา เมื่อสงสัยหมดไป ปัญญาก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อความมืดหายไป ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันหมดไป ความโปร่งใสก็เกิดขึ้น ความทุจริตจะหมดไปได้ก็ต้องมีเหตุปัจจัยทำให้มันหมด (มิใช่อยู่เฉยๆ อ้อนวอน ขอร้อง ปรองดองกันนะ แล้วมันก็จะหมดไปเอง ไม่มีทาง) ฉันใดก็ฉันนั้น
● อายชั่วกลัวบาป...
เป็นธรรมคุ้มครองโลก ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวายได้แก่...
1. หิริ คือความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว
2. โอตตัปปะ คือความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่ว
ธรรม 2 อย่างนี้ก็คือ “เทวธรรม” เป็นธรรมสำหรับเทวดี เป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนธรรมดากลายเป็นเทวดาได้ เทวดาอยู่ที่ไหน? เทวดาอยู่ที่สวรรค์ ดังนั้น...ถ้าอยากไปสวรรค์ก็จงทำตัวให้เป็นเทวดา ตามหลักธรรมที่กล่าวมาคือ “อายชั่วกลัวบาป” หรือ “หิริโอตตัปปะ”
หลักธรรมอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา มีสวรรค์เป็นที่อยู่คือ มหากุศลจิต หรือสเหตุกามาวจรกุศลจิต 8 คือจิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือกุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ ได้แก่
1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา
5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
มหาวิบากจิต หรือสเหตุกามาวจรวิบากจิต 8 คือจิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)
มหากิริยาจิต หรือสเหตุกามาวจรกิริยาจิต 8 คือจิตอันเป็นกิริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)
...(ดูเพิ่มเติมที่ 356-จิต 89 หรือ 121 ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต)
ที่ไปเกิดของสัตว์ หรือแบบการดำเนินชีวิตมี 6 อย่างหรือ 6 ทางเรียกว่า “คติ 6” ดังนี้
1. นรก
2. ดิรัจฉาน (ใช้เดรัจฉานหรือเดียรัจฉาน ก็มี)
3. เปรต
4. อสุรกาย (อสูร)
5. มนุษย์
6. เทพ
(ถ้าคติ 5 ก็สงเคราะห์อสูร ลงในเปรต)... (1-4 = ทุคติ, 5-6 = สุคติ)
อยากไปเกิดเป็นสัตว์ 6 ประเภท หรืออยากมีชีวิต 6 แบบจะทำอย่างไร หรือไปทางไหน?
ไปตามทาง 7 สายดังนี้
สายที่ 1 ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ คือความโกรธ
สายที่ 2 ทางไปเปรต และอสุรกาย (อสูร) ได้แก่ โลภะ คือความโลภ
สายที่ 3 ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ หรือความหลง
สายที่ 4 ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
สายที่ 5 ทางไปสวรรค์ ได้แก่ เทวธรรม และมหากุศลจิต 8
สายที่ 6 ทางไปพรหมโลก ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน
สายที่ 7 ทางไปนิพพาน ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ขอขยายความทางสายที่ 4 และสายที่ 5 ที่คนเราอยากไปกันมากที่สุด
ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องง่าย และรู้กันโดยทั่วไป ถึงจะง่ายและรู้แล้วอย่างไร ก็จำเป็นต้องตอกย้ำอยู่บ่อยๆ จึงจะหยั่งรากฝังลึกได้
ศีลห้า คือความประพฤติชอบทางกายและวาจา หรือการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมีอยู่ 5 ข้อ
กุศลกรรมบถสิบ คือทางแห่งกุศลกรรม หรือทางทำความดีมีอยู่ 10 ข้อ (ทางกาย 3, ทางวาจา 4, ทางใจ 3)
ทั้งศีลห้า และกุศลกรรมบถสิบ มีส่วนที่เหมือนกันอยู่หลายข้อ ผมนำหลักธรรมทั้งสองรวมกันเข้ากลายเป็นหัวข้อธรรมใหม่ว่า
“11 ไม่-ให้มรรคผล” หรือ “11 ไม่-ให้ทางดี” มีดังนี้
1. ไม่ปลงชีวิต
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
4. ไม่พูดเท็จ
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบ
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
8. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. ไม่คิดร้ายผู้อื่น
10. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
11. ไม่เสพสุราเมรัย
(ข้อ 1-4 และ 11 คือศีล 5, ข้อ 1-10 คือ กุศลกรรมบถ 10)...(ธรรมที่ตรงกันข้ามกับ 11 ไม่ นี่ก็เป็นทางชั่วหรือทุคติ เช่น ปลงชีวิต ลักทรัพย์ พูดเท็จ เป็นต้น)
อันว่ามนุษย์เราซึ่งอยู่ทางสาย 4 แต่พากันไปหลงอยู่ในทางสาย 3-2-1 กันมากมาย และพากันไปถูกอยู่ในทางสายที่ 5-6-7 กันน้อยมาก ยิ่งสายสุดท้ายที่ 7 ทางไปนิพพานนั้น มีน้อยที่สุด และหาคนไปยากที่สุด
ที่บอกว่าเราเป็นมนุษย์ บางทีก็ใช่ (ถ้าถึงพร้อมด้วยศีลห้า และกุศลกรรมบถสิบ) บางทีก็ไม่ใช่อาจเป็นอย่างอื่นก็ได้ในทางสายต่างๆ เช่น เป็นนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน เป็นต้น
การเป็นอะไรคือผลซึ่งเกิดจากเหตุว่าไปทำอะไรมา “ทำสิ่งใด ได้สิ่งนั้น” ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำอะไรต้องให้มันขาว อย่าทำแบบดำๆ เทาๆ คนเขาสงสัย
มีเรื่องเล่าว่า...มีห้องอยู่สองห้อง ห้องหนึ่งเปิด คนเข้าดูได้ อีกห้องหนึ่งปิด ห้ามเปิดให้คนดู คนเขาก็สงสัย ปิดทำไม มีสิ่งผิดกฎหมายหรือเปล่า วางแผนจะทำอะไร คนเฝ้าห้องก็บอกว่า ไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมายอย่าสงสัยเลย เชื่อใจเถอะ คนเฝ้าห้องเป็นคนดี คนในห้องก็เป็นคนดี ไม่ทำอะไรที่ไม่ดีหรอก หยุดพูด หยุดวิจารณ์เสียที ไว้ใจกันบ้างซิ ใครเขาจะเชื่อ ปิดทำไม ถ้าบริสุทธิ์หรือดีจริง เปิดให้ดูซิ จะได้หายสงสัยว่าคุณกำลังทำอะไร กำลังเล่นบททุคติ หรือสุคติอยากรู้จัง
เรื่องเล่าทำนองนี้มีอยู่บ่อยๆ แทบทุกที่ทุกแห่ง ถ้าเกิดตามบ้านนอกคอกนา ก็ไม่เป็นอะไร มีผลกระทบน้อย สมมติเกิดในเมืองหลวง จะมีผลกระทบแบบมืดๆ เทาๆ คือไม่ดีไปทั่วประเทศ
คนเราถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนอื่นนั่นแหละจะคุมคุณได้ ให้หายจากหลับ ตื่นรู้ดูความจริงของสรรพสิ่ง และดูความจริงของตนว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้น มันถูกหรือผิด เสียงจากคนอื่นมันคือห้ามล้อชีวิตเรา ไม่ให้ตกลงเหวลึก
การปฏิบัติธรรม หรือการดำรงชีวิตอยู่ที่... “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด” ว่าแต่ละวันเวลา เราไปเกิดเป็นอะไรบ้าง เป็นทุคติ หรือสุคติ ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มิใช่รอให้กายดับตายไปแล้ว ผู้ยังไม่ตายก็อวยพรอวยชัยให้ไปเกิดในสุคติ บนสวรรค์ชั้นฟ้า
วิถีเช่นนี้ มันเป็นเพียงประเพณีที่สืบๆ กันมา ไม่ค่อยสมเหตุสมผล
ขณะยังมีชีวิตอยู่ ยังทำให้เป็นสวรรค์ไม่ได้ เมื่อตายไปแล้วจะทำได้อย่างไร? หัดคิดหัดทำตอนในผ่องใสบ้าง หยุดคิดหยุดทำตอนใจขุ่นมัวได้แล้ว
ท่านผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ มีอิทธิพลล้นฟ้าล้นแผ่นดินทั้งหลายทั้งปวง หากท่านพากัน “อายชั่วกลัวบาป” กันมากๆ หัดเป็น “เทวดา” กันมากๆ (เทวดาในที่นี้หมายถึงผู้มีหิริโอตตัปปะ ไม่ได้หมายถึงคำประชด พวกที่ทำตัวเอาแต่สุขสบายเหนือคนอื่น) สังคมประเทศชาติหรือบ้านเมือง คงจะไม่มืดมิดจิตบอดเฉกเช่นทุกวันนี้ รู้จัก “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน” กันบ้าง เมืองมนุษย์ก็จะกลายเป็นเมืองสวรรค์ ตามทำนองคลองธรรม ตามผู้นำที่มีจิตใจอย่างเทวดา คือมีหิริโอตตัปปะ หรืออายชั่วกลัวบาป อะไรๆ ก็จะดีขึ้น มีสุคติมากขึ้น
● พึงกราบตัวเอง...
โลกเราทุกวันนี้หาคนกราบไหว้อย่างสนิทใจได้ยากจริงๆ เพราะสิ่งที่อยู่ภายใต้หน้ากากอันสวยหรู เชิดชูด้วยเกียรติยศอันสูงส่งนั้น มันเต็มไปด้วยนรก เปรต อสูร ดิรัจฉาน ส่วนมนุษย์และเทวดานั้นแทบไม่มีเลย หรือมีบ้างเราไม่อาจรู้ได้ นอกจากรู้ตัวเอง ว่าเราเป็นอะไรกันแน่ ทุคติ หรือสุคติ
ถ้าเรารู้ว่า เรายังหลงอยู่กับทุคติก็แก้ไขปรับปรุงตัว ถ้าเราเป็นสุคติแล้ว เราย่อมภาคภูมิใจในตัวเรา กราบไหว้ตัวเองได้ เคารพตัวเองได้ นับถือตัวเองได้ นี่คือความปีติภาคภูมิใจอันประเสริฐ ที่ตัวเราต้องทำเอา คนอื่นทำแทนไม่ได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าทั้งหลายก็ทำแทนไม่ได้ หยุดเพ้อฝันได้แล้ว
เพียบด้วยดีเก่ง...
ทุกสังคมในโลกทุกวันนี้ คนดีแต่ไม่เก่งมีเยอะ และคนเก่งแต่ไม่ดี ก็เยอะเช่นกัน จะหาคนประเภททั้ง “ดีและเก่ง” ได้ยากมาก มีน้อยจริงๆ เปรียบเหมือน “เขาควาย” มีน้อยกว่า “ขนควาย”
สังคมบ้านเมืองหรือประเทศต่างๆ จึงเกิดวิกฤตซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เพราะคนเก่งที่ไม่สนใจความดี ไม่สนใจส่วนรวม เอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง
เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันโกงกินทุกรูปแบบทั้งอย่างหยาบ-กลาง-ประณีต สวีตเขาละเขมือบอย่างสะอาด โปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายซะด้วย (แก้กฎหมายจากผิดให้เป็นถูก) มันเป็นผลพวงของคนที่ขาดไร้อายชั่วกลัวบาป ขนาดขายชาติขายแผ่นดิน ขายทรัพยากรของชาติ เขายังทำได้ กฎหมายเอาผิดเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้ทำชั่วอย่างนั้น เขาทำเพื่อความอยู่รอดของชาติ เห็นแก่ประชาชนคนทั้งชาติ เขามีสิทธิที่จะรักชาติ เช่นเดียวกับทุกๆ คนที่รักชาติของตัวเอง เอากับเขาสิ เขาเก่งจริงๆ เรื่องลมปาก เก่งจนคนตามไม่ทัน คนมีปัญญาน้อยจึงเชื่อเขา เคารพนับถือเขา และปกป้องเขาอีกด้วย
ดังนั้น อย่าเห่อคนเก่งให้มากนัก จงสร้างคนดีนำคนเก่งหรือสร้างคนประเภท “ดี เก่ง กล้า โรจน์” จึงจะขจัดคนชั่ว ส่งเสริมคนดีให้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองได้ นั่นคือการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองที่ถูกต้องชอบธรรม
● บรรเลงเพลงธรรม...
ท่านอาจารย์ระพี สาคริก ปัจจุบันอายุขึ้นเลข 9 นำหน้าแล้ว ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทคนิคการทำงานว่า... “จงทำงานให้สนุก” ไม่ว่างานใดหน้าที่ใด จงรักมัน ชอบมัน และสนุกกับมัน ก็จะได้ทั้งงานได้ทั้งสุขภาพ
ครับ...แม้แต่ต้นไม้ ซึ่งมีจิตวิญญาณน้อยกว่าสัตว์มาก ชาวสวนก็ยังเปิดเพลงให้ฟังเลย และเจริญงอกงามได้ไวอย่างเห็นได้ชัด คนเรามีจิตวิญญาณมากกว่าไม้ดอกไม้ผล ยามทำงานฟังเพลงไปด้วย หรือร้องเพลงไปด้วย ไม่ผิดกติกา เพียงแต่ให้ถูกกาลเทศะบ้างเท่านั้น
อีกความหมายหนึ่งของ “บรรเลงเพลงธรรม” ก็คือ “ทำไปตามแบบอย่างที่เป็นธรรม”
แบบอย่างที่เป็นธรรม อย่างเห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ...คำสั่งของพ่อหลวงซึ่งเป็นคำศักดิ์สิทธิ์
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
(พระปฐมบรมราชโองการ พ.ศ. 2489)
ลูกที่ดี พสกนิกรที่ฉลาด ย่อมยึดเอาคำสั่งนี้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เอาธรรมเป็นเครื่องอยู่ เอาธรรมประจำใจ ทำอะไรต้องทำด้วยธรรม มีธรรมเป็นเป้าหมาย มีธรรมเป็นจุดหมายปลายทาง ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องตระหนักเรื่องนี้เป็นที่สุด
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล นักสู้ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ก็เอาธรรมนำหน้า ทุกอย่างในการทำหน้าที่หรือต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชาติบ้านเมืองและประชาชน
อย่างนี้ อย่างนี้เท่านั้น ความเป็นคน ความเป็นมนุษย์จึงจะยืนยง “เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน”
เป็นการบรรเลงเพลงธรรม ที่ไพเราะเสนาะใจ เลื่อนไหลดั่งใสธาร
● อายชั่วกลัวบาป
พึงกราบตัวเอง
เพียบด้วยดีเก่ง
บรรเลงเพลงธรรม...
ชีวิตคนเรา แม้จะปรุงแต่งให้เลิศหรูอย่างไร ก็ไม่พ้นชั่ว-ดี ชั่วคือทุคติ ดีคือสุคติ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอนให้ละชั่ว ให้ทำดี ให้ทำจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง
แต่เราๆ ท่านๆ ก็ทำดีได้ ส่วนมากเพียงหน้ากาก ภายใต้หน้ากากนั้นยังชั่วอยู่ ยังเดินสาย นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กันอยู่ ดูได้จากคนเราทุกวันนี้ ไม่อายชั่ว ไม่กลัวบาปกันบ้างเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือผู้ถูกปกครอง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หนุ่ม คนแก่ ต่างก็แห่ก็ไหลไปตามปาปะนิยม
แล้วอย่างนี้ จะไปอบรมสั่งสอนใครได้ จะไปปกครองบ้านเมืองให้มีความสุขความเจริญที่ไหนได้?
ณ สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง เมื่ออาจารย์แสดงธรรมเสร็จ ก็นั่งพักผ่อนที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ สัมผัสลมเย็นเบาๆ ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป มีนักศึกษากลุ่มหนึ่งเข้ามาทักทาย แล้วระบายสิ่งที่ค้างคาใจให้ฟัง...
นักศึกษา : อาจารย์ขา หนูรู้ตัวดีว่า ไม่อาจไปนิพพานได้ แต่หนูก็ไม่อยากไปนรก หนูอยากไปสวรรค์นะ ทำอย่างไรจะไปได้คะ
อาจารย์ : ก็ถามใจเธอดูสิ
นักศึกษาเอามือขวาตบเบาๆ ที่อกซ้าย และกระซิบแผ่วๆ ว่า ว่าไงใจจ๋า ช่วยตอบหน่อยซิ อยากไปสวรรค์น่ะ จะทำไงดี
นักศึกษา : ไม่มีเสียงตอบจากใจเลย ท่านอาจารย์
อาจารย์ : นั่นมันหน้าอกซ้าย ภายในหน้าอกมันคือหัวใจ ไม่ใช่จิตใจ หัวใจมันเป็นรูป จิตใจมันเป็นนาม อย่างนี้ต้องถอน จึงจะหายเมา
นักศึกษา : ใครเมาคะ
อาจารย์ : เธอนั่นแหละเมา
นักศึกษา : หนูเปล่า ไม่ได้เมา
อาจารย์ : ใช่ เธอไม่ได้เมาเหล้า แต่เธอเมาความคิด เลยติดคุกความคิด
...........ฯลฯ..............
ถาม-ตอบอย่างนี้ ปุจฉา-วิสัชนาอย่างนี้ มีให้พบเห็นบ่อยๆ ในสังคม ไม่เฉพาะเวทีเสวนาหรอก ไม่เฉพาะสถานปฏิบัติธรรมดอก มันมีอยู่ทั่วไป อย่าปรามาสอย่าดูถูกความสงสัยว่าโง่ เพราะการสงสัยคือเหตุแห่งปัญญา เมื่อสงสัยหมดไป ปัญญาก็เกิดขึ้น เหมือนเมื่อความมืดหายไป ความสว่างก็เกิดขึ้น เหมือนการทุจริตคอร์รัปชันหมดไป ความโปร่งใสก็เกิดขึ้น ความทุจริตจะหมดไปได้ก็ต้องมีเหตุปัจจัยทำให้มันหมด (มิใช่อยู่เฉยๆ อ้อนวอน ขอร้อง ปรองดองกันนะ แล้วมันก็จะหมดไปเอง ไม่มีทาง) ฉันใดก็ฉันนั้น
● อายชั่วกลัวบาป...
เป็นธรรมคุ้มครองโลก ช่วยให้โลกมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่เดือดร้อนและสับสนวุ่นวายได้แก่...
1. หิริ คือความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว
2. โอตตัปปะ คือความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่ว
ธรรม 2 อย่างนี้ก็คือ “เทวธรรม” เป็นธรรมสำหรับเทวดี เป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนธรรมดากลายเป็นเทวดาได้ เทวดาอยู่ที่ไหน? เทวดาอยู่ที่สวรรค์ ดังนั้น...ถ้าอยากไปสวรรค์ก็จงทำตัวให้เป็นเทวดา ตามหลักธรรมที่กล่าวมาคือ “อายชั่วกลัวบาป” หรือ “หิริโอตตัปปะ”
หลักธรรมอีกข้อหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา มีสวรรค์เป็นที่อยู่คือ มหากุศลจิต หรือสเหตุกามาวจรกุศลจิต 8 คือจิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือกุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ ได้แก่
1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา
5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
มหาวิบากจิต หรือสเหตุกามาวจรวิบากจิต 8 คือจิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)
มหากิริยาจิต หรือสเหตุกามาวจรกิริยาจิต 8 คือจิตอันเป็นกิริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)
...(ดูเพิ่มเติมที่ 356-จิต 89 หรือ 121 ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดย พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ.ปยุตฺโต)
ที่ไปเกิดของสัตว์ หรือแบบการดำเนินชีวิตมี 6 อย่างหรือ 6 ทางเรียกว่า “คติ 6” ดังนี้
1. นรก
2. ดิรัจฉาน (ใช้เดรัจฉานหรือเดียรัจฉาน ก็มี)
3. เปรต
4. อสุรกาย (อสูร)
5. มนุษย์
6. เทพ
(ถ้าคติ 5 ก็สงเคราะห์อสูร ลงในเปรต)... (1-4 = ทุคติ, 5-6 = สุคติ)
อยากไปเกิดเป็นสัตว์ 6 ประเภท หรืออยากมีชีวิต 6 แบบจะทำอย่างไร หรือไปทางไหน?
ไปตามทาง 7 สายดังนี้
สายที่ 1 ทางไปนรก ได้แก่ โทสะ คือความโกรธ
สายที่ 2 ทางไปเปรต และอสุรกาย (อสูร) ได้แก่ โลภะ คือความโลภ
สายที่ 3 ทางไปเดรัจฉาน ได้แก่ โมหะ หรือความหลง
สายที่ 4 ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10
สายที่ 5 ทางไปสวรรค์ ได้แก่ เทวธรรม และมหากุศลจิต 8
สายที่ 6 ทางไปพรหมโลก ได้แก่ การเจริญสมถกรรมฐาน
สายที่ 7 ทางไปนิพพาน ได้แก่ การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน
ขอขยายความทางสายที่ 4 และสายที่ 5 ที่คนเราอยากไปกันมากที่สุด
ทางไปมนุษย์ ได้แก่ ศีล 5 และกุศลกรรมบถ 10 ทั้งสองอย่างเป็นเรื่องง่าย และรู้กันโดยทั่วไป ถึงจะง่ายและรู้แล้วอย่างไร ก็จำเป็นต้องตอกย้ำอยู่บ่อยๆ จึงจะหยั่งรากฝังลึกได้
ศีลห้า คือความประพฤติชอบทางกายและวาจา หรือการควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมีอยู่ 5 ข้อ
กุศลกรรมบถสิบ คือทางแห่งกุศลกรรม หรือทางทำความดีมีอยู่ 10 ข้อ (ทางกาย 3, ทางวาจา 4, ทางใจ 3)
ทั้งศีลห้า และกุศลกรรมบถสิบ มีส่วนที่เหมือนกันอยู่หลายข้อ ผมนำหลักธรรมทั้งสองรวมกันเข้ากลายเป็นหัวข้อธรรมใหม่ว่า
“11 ไม่-ให้มรรคผล” หรือ “11 ไม่-ให้ทางดี” มีดังนี้
1. ไม่ปลงชีวิต
2. ไม่ลักทรัพย์
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
4. ไม่พูดเท็จ
5. ไม่พูดส่อเสียด
6. ไม่พูดคำหยาบ
7. ไม่พูดเพ้อเจ้อ
8. ไม่คิดเพ่งเล็งอยากได้ของเขา
9. ไม่คิดร้ายผู้อื่น
10. ไม่เห็นผิดจากคลองธรรม
11. ไม่เสพสุราเมรัย
(ข้อ 1-4 และ 11 คือศีล 5, ข้อ 1-10 คือ กุศลกรรมบถ 10)...(ธรรมที่ตรงกันข้ามกับ 11 ไม่ นี่ก็เป็นทางชั่วหรือทุคติ เช่น ปลงชีวิต ลักทรัพย์ พูดเท็จ เป็นต้น)
อันว่ามนุษย์เราซึ่งอยู่ทางสาย 4 แต่พากันไปหลงอยู่ในทางสาย 3-2-1 กันมากมาย และพากันไปถูกอยู่ในทางสายที่ 5-6-7 กันน้อยมาก ยิ่งสายสุดท้ายที่ 7 ทางไปนิพพานนั้น มีน้อยที่สุด และหาคนไปยากที่สุด
ที่บอกว่าเราเป็นมนุษย์ บางทีก็ใช่ (ถ้าถึงพร้อมด้วยศีลห้า และกุศลกรรมบถสิบ) บางทีก็ไม่ใช่อาจเป็นอย่างอื่นก็ได้ในทางสายต่างๆ เช่น เป็นนรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน เป็นต้น
การเป็นอะไรคือผลซึ่งเกิดจากเหตุว่าไปทำอะไรมา “ทำสิ่งใด ได้สิ่งนั้น” ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำอะไรต้องให้มันขาว อย่าทำแบบดำๆ เทาๆ คนเขาสงสัย
มีเรื่องเล่าว่า...มีห้องอยู่สองห้อง ห้องหนึ่งเปิด คนเข้าดูได้ อีกห้องหนึ่งปิด ห้ามเปิดให้คนดู คนเขาก็สงสัย ปิดทำไม มีสิ่งผิดกฎหมายหรือเปล่า วางแผนจะทำอะไร คนเฝ้าห้องก็บอกว่า ไม่มีอะไรที่ผิดกฎหมายอย่าสงสัยเลย เชื่อใจเถอะ คนเฝ้าห้องเป็นคนดี คนในห้องก็เป็นคนดี ไม่ทำอะไรที่ไม่ดีหรอก หยุดพูด หยุดวิจารณ์เสียที ไว้ใจกันบ้างซิ ใครเขาจะเชื่อ ปิดทำไม ถ้าบริสุทธิ์หรือดีจริง เปิดให้ดูซิ จะได้หายสงสัยว่าคุณกำลังทำอะไร กำลังเล่นบททุคติ หรือสุคติอยากรู้จัง
เรื่องเล่าทำนองนี้มีอยู่บ่อยๆ แทบทุกที่ทุกแห่ง ถ้าเกิดตามบ้านนอกคอกนา ก็ไม่เป็นอะไร มีผลกระทบน้อย สมมติเกิดในเมืองหลวง จะมีผลกระทบแบบมืดๆ เทาๆ คือไม่ดีไปทั่วประเทศ
คนเราถ้าควบคุมตัวเองไม่ได้ เสียงวิพากษ์วิจารณ์จากคนอื่นนั่นแหละจะคุมคุณได้ ให้หายจากหลับ ตื่นรู้ดูความจริงของสรรพสิ่ง และดูความจริงของตนว่า สิ่งที่เราทำอยู่นั้น มันถูกหรือผิด เสียงจากคนอื่นมันคือห้ามล้อชีวิตเรา ไม่ให้ตกลงเหวลึก
การปฏิบัติธรรม หรือการดำรงชีวิตอยู่ที่... “ดูกายเคลื่อนไหว ดูใจนึกคิด” ว่าแต่ละวันเวลา เราไปเกิดเป็นอะไรบ้าง เป็นทุคติ หรือสุคติ ณ ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ มิใช่รอให้กายดับตายไปแล้ว ผู้ยังไม่ตายก็อวยพรอวยชัยให้ไปเกิดในสุคติ บนสวรรค์ชั้นฟ้า
วิถีเช่นนี้ มันเป็นเพียงประเพณีที่สืบๆ กันมา ไม่ค่อยสมเหตุสมผล
ขณะยังมีชีวิตอยู่ ยังทำให้เป็นสวรรค์ไม่ได้ เมื่อตายไปแล้วจะทำได้อย่างไร? หัดคิดหัดทำตอนในผ่องใสบ้าง หยุดคิดหยุดทำตอนใจขุ่นมัวได้แล้ว
ท่านผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ มีอิทธิพลล้นฟ้าล้นแผ่นดินทั้งหลายทั้งปวง หากท่านพากัน “อายชั่วกลัวบาป” กันมากๆ หัดเป็น “เทวดา” กันมากๆ (เทวดาในที่นี้หมายถึงผู้มีหิริโอตตัปปะ ไม่ได้หมายถึงคำประชด พวกที่ทำตัวเอาแต่สุขสบายเหนือคนอื่น) สังคมประเทศชาติหรือบ้านเมือง คงจะไม่มืดมิดจิตบอดเฉกเช่นทุกวันนี้ รู้จัก “เปลี่ยนความคิด ชีวิตเปลี่ยน” กันบ้าง เมืองมนุษย์ก็จะกลายเป็นเมืองสวรรค์ ตามทำนองคลองธรรม ตามผู้นำที่มีจิตใจอย่างเทวดา คือมีหิริโอตตัปปะ หรืออายชั่วกลัวบาป อะไรๆ ก็จะดีขึ้น มีสุคติมากขึ้น
● พึงกราบตัวเอง...
โลกเราทุกวันนี้หาคนกราบไหว้อย่างสนิทใจได้ยากจริงๆ เพราะสิ่งที่อยู่ภายใต้หน้ากากอันสวยหรู เชิดชูด้วยเกียรติยศอันสูงส่งนั้น มันเต็มไปด้วยนรก เปรต อสูร ดิรัจฉาน ส่วนมนุษย์และเทวดานั้นแทบไม่มีเลย หรือมีบ้างเราไม่อาจรู้ได้ นอกจากรู้ตัวเอง ว่าเราเป็นอะไรกันแน่ ทุคติ หรือสุคติ
ถ้าเรารู้ว่า เรายังหลงอยู่กับทุคติก็แก้ไขปรับปรุงตัว ถ้าเราเป็นสุคติแล้ว เราย่อมภาคภูมิใจในตัวเรา กราบไหว้ตัวเองได้ เคารพตัวเองได้ นับถือตัวเองได้ นี่คือความปีติภาคภูมิใจอันประเสริฐ ที่ตัวเราต้องทำเอา คนอื่นทำแทนไม่ได้ สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือเทพเจ้าทั้งหลายก็ทำแทนไม่ได้ หยุดเพ้อฝันได้แล้ว
เพียบด้วยดีเก่ง...
ทุกสังคมในโลกทุกวันนี้ คนดีแต่ไม่เก่งมีเยอะ และคนเก่งแต่ไม่ดี ก็เยอะเช่นกัน จะหาคนประเภททั้ง “ดีและเก่ง” ได้ยากมาก มีน้อยจริงๆ เปรียบเหมือน “เขาควาย” มีน้อยกว่า “ขนควาย”
สังคมบ้านเมืองหรือประเทศต่างๆ จึงเกิดวิกฤตซ้ำแล้วซ้ำเล่า ก็เพราะคนเก่งที่ไม่สนใจความดี ไม่สนใจส่วนรวม เอาแต่ผลประโยชน์ของตัวเองเป็นที่ตั้ง
เรื่องการทุจริตคอร์รัปชันโกงกินทุกรูปแบบทั้งอย่างหยาบ-กลาง-ประณีต สวีตเขาละเขมือบอย่างสะอาด โปร่งใส ถูกต้องตามกฎหมายซะด้วย (แก้กฎหมายจากผิดให้เป็นถูก) มันเป็นผลพวงของคนที่ขาดไร้อายชั่วกลัวบาป ขนาดขายชาติขายแผ่นดิน ขายทรัพยากรของชาติ เขายังทำได้ กฎหมายเอาผิดเขาไม่ได้ เพราะเขาไม่ได้ทำชั่วอย่างนั้น เขาทำเพื่อความอยู่รอดของชาติ เห็นแก่ประชาชนคนทั้งชาติ เขามีสิทธิที่จะรักชาติ เช่นเดียวกับทุกๆ คนที่รักชาติของตัวเอง เอากับเขาสิ เขาเก่งจริงๆ เรื่องลมปาก เก่งจนคนตามไม่ทัน คนมีปัญญาน้อยจึงเชื่อเขา เคารพนับถือเขา และปกป้องเขาอีกด้วย
ดังนั้น อย่าเห่อคนเก่งให้มากนัก จงสร้างคนดีนำคนเก่งหรือสร้างคนประเภท “ดี เก่ง กล้า โรจน์” จึงจะขจัดคนชั่ว ส่งเสริมคนดีให้มีอำนาจปกครองบ้านเมืองได้ นั่นคือการแก้ปัญหาชาติบ้านเมืองที่ถูกต้องชอบธรรม
● บรรเลงเพลงธรรม...
ท่านอาจารย์ระพี สาคริก ปัจจุบันอายุขึ้นเลข 9 นำหน้าแล้ว ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเทคนิคการทำงานว่า... “จงทำงานให้สนุก” ไม่ว่างานใดหน้าที่ใด จงรักมัน ชอบมัน และสนุกกับมัน ก็จะได้ทั้งงานได้ทั้งสุขภาพ
ครับ...แม้แต่ต้นไม้ ซึ่งมีจิตวิญญาณน้อยกว่าสัตว์มาก ชาวสวนก็ยังเปิดเพลงให้ฟังเลย และเจริญงอกงามได้ไวอย่างเห็นได้ชัด คนเรามีจิตวิญญาณมากกว่าไม้ดอกไม้ผล ยามทำงานฟังเพลงไปด้วย หรือร้องเพลงไปด้วย ไม่ผิดกติกา เพียงแต่ให้ถูกกาลเทศะบ้างเท่านั้น
อีกความหมายหนึ่งของ “บรรเลงเพลงธรรม” ก็คือ “ทำไปตามแบบอย่างที่เป็นธรรม”
แบบอย่างที่เป็นธรรม อย่างเห็นเด่นชัดที่สุดก็คือ...คำสั่งของพ่อหลวงซึ่งเป็นคำศักดิ์สิทธิ์
“เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม”
(พระปฐมบรมราชโองการ พ.ศ. 2489)
ลูกที่ดี พสกนิกรที่ฉลาด ย่อมยึดเอาคำสั่งนี้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เอาธรรมเป็นเครื่องอยู่ เอาธรรมประจำใจ ทำอะไรต้องทำด้วยธรรม มีธรรมเป็นเป้าหมาย มีธรรมเป็นจุดหมายปลายทาง ผู้ปกครองบ้านเมืองต้องตระหนักเรื่องนี้เป็นที่สุด
คุณสนธิ ลิ้มทองกุล นักสู้ธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ก็เอาธรรมนำหน้า ทุกอย่างในการทำหน้าที่หรือต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมของชาติบ้านเมืองและประชาชน
อย่างนี้ อย่างนี้เท่านั้น ความเป็นคน ความเป็นมนุษย์จึงจะยืนยง “เงยหน้าไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน”
เป็นการบรรเลงเพลงธรรม ที่ไพเราะเสนาะใจ เลื่อนไหลดั่งใสธาร
● อายชั่วกลัวบาป
พึงกราบตัวเอง
เพียบด้วยดีเก่ง
บรรเลงเพลงธรรม...
ชีวิตคนเรา แม้จะปรุงแต่งให้เลิศหรูอย่างไร ก็ไม่พ้นชั่ว-ดี ชั่วคือทุคติ ดีคือสุคติ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงสอนให้ละชั่ว ให้ทำดี ให้ทำจิตใจบริสุทธิ์ผุดผ่อง
แต่เราๆ ท่านๆ ก็ทำดีได้ ส่วนมากเพียงหน้ากาก ภายใต้หน้ากากนั้นยังชั่วอยู่ ยังเดินสาย นรก เปรต อสุรกาย ดิรัจฉาน กันอยู่ ดูได้จากคนเราทุกวันนี้ ไม่อายชั่ว ไม่กลัวบาปกันบ้างเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองหรือผู้ถูกปกครอง ไม่ว่าจะเป็นเด็ก หนุ่ม คนแก่ ต่างก็แห่ก็ไหลไปตามปาปะนิยม
แล้วอย่างนี้ จะไปอบรมสั่งสอนใครได้ จะไปปกครองบ้านเมืองให้มีความสุขความเจริญที่ไหนได้?