http://twitter.com/indexthai2
indexthai2@gmail.com
บทความเรื่องนี้ประกอบด้วยข้อมูล แสดงให้ทราบถึงปัญหากิจการพลังงานของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือเรื่องทางด้านมหภาคและด้านจุลภาค ซึ่งจะสรุปไว้ในตอนท้ายของบทความ
ช่วงแรกนี้ให้พิจารณาข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก่อน
เห็นและได้ยินผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจการพลังงานของประเทศไทย ไม่ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หรือประธาน ปตท.พูดถึงราคาพลังงานว่า “ให้เป็นไปตามราคากลไกตลาด” ฟังแล้วข้องใจ โดยที่ไม่รู้จะดูข้อมูลตรงไหน อย่างไร จึงจะเข้าใจได้ว่ากลไกราคาตลาดเป็นอย่างไร คนพูดก็ได้สักแต่พูด แต่ไม่ได้ยกเอาข้อมูลมาแสดง ว่าราคากลไกตลาดว่าเป็นอย่างไร ดูตรงไหน ซึ่งก็ไม่ทราบว่าพูดกันไปได้อย่างไร
กลไกตลาดมีจริง แต่ทำอย่างไรจึงจะทราบถึงข้อมูลที่อธิบายถึงกลไกดังกล่าวได้
ขอเอาข้อมูลราคาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกันมาพิจารณา ต้องมีการเปรียบเทียบราคาระหว่างกัน ว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือต่างกันหรือไม่ อย่างไร มากน้อยแค่ไหน จึงจะเห็นถึงความแตกต่างกันได้ จึงจะสามารถนำมาบอกได้ ว่าเป็นไปตามกลไกตลาดหรือไม่ แค่ไหน อย่างไร
1) เปรียบเทียบ “ราคาหุ้น” ในกิจการพลังงาน (แบบเดียวกัน) ได้แก่บริษัท CHEVRON สัญชาติอเมริกา BP สัญชาติอังกฤษ และ PTT (ปตท.)สัญชาติไทย ซึ่งต่างก็เป็นบริษัททำอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมด้านพลังงานขนาดใหญ่ของโลกเช่นเดียวกัน ช่วงการเปรียบเทียบเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 (2014) ซึ่งเป็นวันที่กองทัพไทยทำรัฐประหารประเทศไทย
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ประมาณ 2 เดือน ราคาหุ้นขึ้น 9% (AB)
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ถึงต้นปี 2015 ราคาหุ้นตกลง 14% (AC)
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ประมาณ 1 เดือน ราคาหุ้นขึ้น 4% (AB)
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ถึงต้นปี 2015 ราคาหุ้นตกลง 29% (AC)
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ประมาณ 6 เดือน ราคาหุ้นขึ้น 29% (AB)
หลังวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ถึงต้นปี 2015 ราคาหุ้นขึ้น 8% (AB)
รูปแบบและทิศทางราคาหุ้นของ CHEVRON และ BP คล้ายกัน แต่ PTT ของประเทศไทย ต่างจากของ CHEVRON และ BP หรือ 1 ภาพต่างไปจาก 2 ภาพ
ธุรกิจอุตสาหกรรมแบบเดียวกัน ไม่น่าจะมีรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคาที่แตกกันมาก ภาพที่เห็น อธิบายว่า ราคาหุ้น PTT ไม่เป็นไปตามราคาตลาดโลก หรือไม่เป็นไปตามกลไกราคาในธุรกิจอุตสาหกรรมแบบเดียวกัน หลังรัฐประหารวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ราคาหุ้นปตท. ดูดีกว่าของ CHEVRON และ BP
กล่าวได้ว่า ราคาหุ้นของ PTT ไม่ได้เป็นไปตามกลไกตลาดโลก
ฝากกันไปคิดต่อ ว่าทำไมราคาหุ้นของ PTT ของไทยจึงมีรูปแบบที่แตกต่างจากของโลก
2) เปรียบเทียบการขึ้นลงของราคาน้ำมันดิบ กับการขึ้นลงของราคาน้ำมันที่ซื้อขายกันหน้าปั๊ม
ดูจาก 3 ภาพข้างต้น
ตัวอย่างนี้ เห็นชัดเจนถึงกลไกราคาพลังงาน (กลไกตลาด) ราคาน้ำมันดิบ (เบรนท์) มีความสัมพันธ์กับราคาน้ำมันสำเร็จรูป คือ ถ้าราคาน้ำมันดิบสูงขึ้น ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายหน้าปั๊มก็จะสูงขึ้นด้วย
เห็นได้จากราคาเบรนท์ขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 1997 (2540) ถึงต้นปี 2008 (2551) ราคาเบนซิน 95 และราคาดีเซลของประเทศไทยก็ขึ้นมาในรูปแบบเดียวกัน
และถ้าน้ำมันดิบเบรนท์ราคาตกลง ราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายหน้าปั๊มก็จะตกลงด้วย เห็นได้จากช่วง Hamburger crisis ปี 2008 (2551) ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ตกลง ราคาเบนซิน 95 และราคาดีเซลของประเทศไทยก็ตกลงในรูปแบบเดียวกัน
ช่วง Hamburger crisis ปตท.หยุดจำหน่าย “เบนซิน 95” เป็นเวลา 4 ปีครึ่ง คือระหว่างกรกฎาคม 2551- ธันวาคม 2555 จึงไม่เห็นกลไกตลาดของราคาเบนซิน 95 ปตท.กลับมาจำหน่ายเบนซิน 95 อีกครั้ง ตั้งแต่ปี 2556 -ปัจจุบัน
จากราคาสูงสุดช่วงก่อน Hamburger crisis ก็มีการฟื้นตัวของราคา แล้วก็มีการตกลงของราคาอีก จนถึงต้นปี 2014 (2558)
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ตกลง 68%
ราคาน้ำมันเบนซิน 95 ลดลง 23%
ราคาน้ำมันดีเซลลดลง 40%
กล่าวได้ว่า ราคาเบนซิน 95 และราคาดีเซลของไทย ลดน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์มาก ไม่เป็นไปตามกลไกตลาดโลก
เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาเบนซิน 95 กับราคาดีเซลของไทย หรือของปั๊มปตท. ช่วง 10-11 ปีแรกตามในชาร์ต ราคาแตกต่างกันไม่มาก
ปตท.หยุดจำหน่าย “เบนซิน 95” เป็นเวลา 4 ปีครึ่ง คือระหว่างกรกฎาคม 2551- ธันวาคม 2555 และกลับมาจำหน่ายเบนซิน 95 อีกครั้ง ตั้งแต่ปี 2556 -ปัจจุบัน
การกลับมาจำหน่ายเบนซิน 95 อีกครั้ง ราคากลับบวกขึ้นแรงมาก ราคาขึ้นห่างกว่าราคาของดีเซลมาก ดูเหมือนจะหาหลักเกณฑ์อะไรจาก ปตท.ได้ยาก อยากจะตั้งราคาแบบไหนก็ได้ โดยอาศัยมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงาน (กบง.)
กล่าวได้ว่า ราคาเบนซิน 95 ช่วง 2 ปีที่กลับมาจำหน่ายอีกครั้ง น่าจะเป็นการฉวยโอกาสทำราคาขายแบบ “ส่งเดช” ทำให้ราคาสูงกว่าดีเซลอย่างมาก ราคาเบนซิน 95 ช่วง 2 ปีที่กลับมาจำหน่ายอีกครั้ง ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด ราคาสูงมากกว่าดีเซลอย่างผิดปกติ
และเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2558 กบง.อนุมัติขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี (ก๊าซเพื่อการหุงต้ม และรถยนต์)โรงแยกก๊าซราคาสูงขึ้นจากราคาเดิมถึง 46.49% ต่อไปราคาก๊าซบรรจุถัง และราคาก๊าซเติมรถยนต์ก็จะต้องสูงขึ้นตามมาอีก
สัดส่วนการถือหุ้นใน ปตท.เป็นของกระทรวงการคลัง 51% เป็นของเอกชน 49% ซึ่งแตกต่างกันไม่มาก การ“ส่งเดช” ของกบง.เป็นการรับใช้เอกชน ขูดรีดประชาชน คิดถึงกำไรของเอกชนมากกว่าที่จะคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชน
หากว่าความเป็นเจ้าของ ปตท.เป็นของกระทรวงการคลัง 100% เหมือนเมื่อก่อนปี 2544 การขึ้นราคาพลังงาน ผู้คนจะไม่ข้องใจ เพราะการขึ้นราคาดังกล่าว ผลกำไรเป็นของรัฐ 100%
3) เปรียบเทียบราคาน้ำมันขายปลีกของประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน และกับประเทศต่างๆ ทั่วโลก
ราคาเบนซิน 95 ของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนมาก เช่นราคาเบนซิน 95 ของไทยช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (2556-2557) สูงกว่าของประเทศมาเลเซีย 124.83%
ราคาพลังงาน น้ำมันและก๊าซที่สูงผิดปกติช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน และหลายประเทศในโลก เป็นต้นเหตุความเดือดร้อนของประชาชนคนไทยทั้งประเทศทุกด้าน
ทำให้ต้นทุนของระบบสูงขึ้น การผลิต การขนส่ง การเดินทาง ความเป็นอยู่ การใช้ชีวิตประจำวัน ราคาสินค้า บริการ น้ำ ไฟฟ้า เพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอด “เงินเฟ้อสูงโดยตลอด” เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน คอร์รัปชันกว้างขวางในวงการข้าราชการระดับสูง
กล่าวได้ว่า ราคาเบนซิน 95 ของประเทศไทย สูงกว่าราคาเพื่อนบ้านมาก ไม่เป็นไปตามกลไกตลาด
ราคาพลังงานของประเทศไทยสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างผิดปกติ จึงทำให้เกิดตลาดมืดน้ำมันและส่วยน้ำมันตลาดมืดง่าย ยากที่จะปราบปรามตลาดมืดน้ำมันและส่วยน้ำมันเถื่อนได้ น้ำมันราคาถูกจากประเทศเพื่อนบ้านคงจะมีขายทุกตำบลทุกอำเภอในทางภาคใต้ของประเทศไทย
จบเรื่องข้อมูลการพิจารณาการเบี่ยงเบนกลไกตลาดของกิจการพลังงานประเทศไทย มาพิจารณาถึงต้นเหตุที่ทำให้กิจการพลังงานของประเทศไทยไม่เป็นไปตามกลไกตลาด
ความเบี่ยงเบนกิจการตลาดหุ้นไทย เป็นต้นเหตุให้ราคาพลังงานของประเทศไทยไม่เป็นไปตามกลไกตลาด (โลก)
ความเบี่ยงเบนกิจการตลาดหุ้นไทย เมื่อมีการนำบริษัทแม่ ปตท. (PTT) เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 (2001) ที่ทำให้โครงสร้างความเป็นเจ้าของในกิจการพลังงานเปลี่ยนไป อย่างมีนัยสำคัญ
พิจารณาจากข้อมูลต่อไปนี้
กระทรวงการคลังถือหุ้น PTT โดยตรง 51.11% และถือหุ้นบริษัทลูกต่างๆ ผ่าน PTT ยกเว้น BCP ที่กระทรวงการคลังถือหุ้นอยู่ด้วย ซึ่งก็ถือหุ้นเพียง 9.98%
กรณีไม่มีการแปรรูปเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ สัดส่วนการถือหุ้นกลุ่มพลังงานตามตารางนี้ คือถือหุ้น PTT 100% ส่วนที่กระทรวงการคลังที่ถือหุ้นผ่าน PTT คือ PTT ถือหุ้นบริษัทลูกตัวอื่นๆ เท่าใด ก็คือกระทรวงการคลังถือหุ้นเท่านั้นด้วย
เมื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก พบว่ากระทรวงการคลังถือหุ้นกิจการพลังงาน 75.97% เป็นของเอกชน 24.03%
แต่เมื่อมีการแปรรูป PTT เข้าตลาดหุ้น สัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังต่อบริษัทลูกจะเปลี่ยนไปอีกไปอีกแบบ ดังที่แสดงไว้ในชาร์ตนี้
เมื่อคำนวณหาค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก พบว่ากระทรวงการคลังถือหุ้นกิจการพลังงาน 38.90% เท่านั้น แต่เป็นของเอกชนถึง 61.10%
เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่ากิจการพลังงานของไทย ไม่ใช่ของรัฐ ไม่ใช่ของกระทรวงการคลัง หรือไม่ใช่ของประชาชนคนไทยแล้ว แต่เอกชนเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือเป็นของเอกชน
ปัญหากิจการพลังงานของประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก
1) ปัญหามหภาค ได้แก่เรื่องการจัดสรรทรัพยากรพลังงาน ที่ให้ทั้งคนไทยและต่างชาติ ซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนคนไทยในประเทศพูดกันและต่อสู้กันมาอย่างยาวนาน ทั้งก่อนรัฐประหารและหลังรัฐประหาร และสรุปออกมาว่า ระบบสัมปทานปิโตรเลียม ไม่สามารถติดตามปริมาณน้ำมันและก๊าซที่เจาะดูดขึ้นมาได้ ไม่ทราบใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศเท่าใดแน่ แบบไหน อย่างไร รวมทั้งค่าสัมปทานที่ได้รับอาจจะไม่เหมาะสม ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบ สูญเสียรายได้เข้ารัฐ รวมทั้งเรื่องการอาจจะเสียดินแดนจากกรณีการให้สัมปทานแหล่งพลังงานด้วย
หยุดสัมปทานรอบที่ 21 ให้ยกเลิก พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ. 2514 ทั้ง 6 ฉบับที่แก้ไขมา และให้มาใช้ระบบแบ่งปันผลประโยชน์แทน
2) ปัญหาจุลภาค ได้แก่เรื่องโครงการความเป็นเจ้าของกิจการพลังงานที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างที่ผู้เขียนนำเสนอมานั้น แทนที่จะเป็นของรัฐ 100% หรืออย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 75% แต่พบความจริงว่ารัฐเป็นเจ้าของเพียง 38.90% เท่านั้น คณะต่างๆที่ตั้งขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการกิจการพลังงานของชาติ เช่น คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ก็จะไม่ได้ทำงานเพื่อผลประโยชน์และความมั่นคงแห่งรัฐ แต่กลายเป็นการทำงานเพื่อผลกำไรของเอกชนเป็นส่วนใหญ่ นำความเดือดร้อน ทุกข์เข็ญ ลำเค็ญ ยากจนลง และแตกแยกมาสู่คนไทยทั้งชาติ
“ภาษี” สรรพสมิตและภาษีต่างๆ ที่เก็บจากกิจการพลังงานเป็นรายได้ของรัฐ
แต่ “เงินกองทุนน้ำมัน” จึงไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์และความมั่นคงของรัฐ แต่เป็นไปเพื่อผลกำไรของเอกชนเป็นส่วนใหญ่ ถึง 61.10%
กิจการพลังงานมีมูลค่าสูงที่สุดในบรรดากิจการต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจไทย มีผลประโยชน์มหาศาล และเกี่ยวข้องกับทุกข์สุขของสาธารณะโดยรวม ทั้งปัญหาด้านมหภาคและปัญหาด้านจุลภาค ต่างก่อปัญหาหนักและสาหัสสากรรจ์ด้วยกันทั้งคู่ การแก้ปัญหากิจการพลังงานของประเทศไทย จะแก้ที่ปัญหาอันหนึ่งอันใดอันเดียวไม่ได้ ต้องแก้ปัญหาทั้งคู่ ทั้งทางด้านมหภาค และทั้งทางด้านจุลภาค