ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้คำสั่งให้นัดประชุม สนช. ครั้งที่ 3/2558 ในวันพฤหัสบดีที่ 15 ม.ค. และครั้งที่ 4/2558 ในวันศุกร์ที่ 16 ม.ค.นี้ โดยการประชุมสนช.ในวันที่ 15 ม.ค. มีวาระที่สำคัญ คือการดำเนินกระบวนการถอดถอนนายนิคม ไวยรัชพานิช ส.ว. และ นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ส.ส. ออกจากตำแหน่ง ตาม มาตรา 6 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2547 ประกอบมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
โดยจะเป็นการซักถามประเด็นตามที่ที่ประชุมสนช. กำหนดตามญัตติของสมาชิกสนช. โดยคณะกรรมาธิการซักถาม ขณะที่การดำเนินกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งฯ ซึ่งจะเป็นการซักถามประเด็นตามที่ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติกำหนดตามญัตติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการซักถามเช่นเดียวกัน ได้กำหนดไว้ในประชุม สนช.วันที่ 16 ม.ค.นี้ และคาดว่าจะมีการลงมติในวันที่ 23 ม.ค.
**เผย"ปู"ให้ทนายมาตอบแทนได้
นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการซักถามคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า ขณะนี้มีสนช. ส่งคำถามเข้ามาให้คณะกรรมาธิการฯแล้ว ประมาณ 20 กว่าคำถาม โดยจะหมดเขตส่งคำถามในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ในวันดังกล่าวหลังจากหมดเวลาส่งคำถามแล้ว คณะกรรมาธิการซักถามฯ จะประชุมกันเพื่อวางกรอบจัดหมวดหมู่คำถามให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจต่อไป ซึ่งคำถามส่วนใหญ่ที่ สนช.ส่งมา จะมุ่งถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ มากกว่า อาทิ สอบถามว่า เหตุใดจึงไม่สามารถยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวได้ และการขอความชัดเจนเรื่องตัวเลขที่แท้จริง ในการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว เพราะตัวเลขที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุกับตัวเลขของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว ยังไม่ตรงกัน ส่วนคำถามที่ต้องการถาม ป.ป.ช. คือ จะใช้กฎหมายฉบับใดมาเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากขณะนี้รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว
ส่วนการมาตอบคำถามในวันที่ 16 ม.ค.นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ สามารถให้ทีมทนายความมาตอบคำถามแทนได้ ขึ้นอยู่กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมาตอบเอง หรือไม่ หากน.ส.ยิ่งลักษณ์มาเอง แล้วตอบได้ดี จะเป็นผลดีต่อตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่หากมาแล้วตอบไม่ดี ก็จะเป็นผลเสียต่อตัวเองเช่นกัน ส่วนตัวอยากให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาตอบคำถามเอง จะได้ไม่เป็นที่ครหาได้ในภายหลังว่า สิ่งที่ตอบไปไม่ตรงกับใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการซักถามยืนยันว่า จะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่มีอคติทางการเมือง
ด้านนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้รับผิดชอบคดีรับจำนำข้าว กล่าวถึงกรณีที่สนช. จะซักถามคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ว่า ทีมทนายความยังไม่มีข้อสรุปว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปตอบข้อซักถามในคดีถอดถอน ต่อคณะกรรมาธิการซักถามด้วยตัวเองหรือไม่ ขอรอหารือทีมทนายความ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันนี้ (12 ม.ค.)ก่อน ซึ่งทีมทนายความจะสรุปประเด็นต่างๆ และแนวทางการตอบข้อซักถามแจ้งให้อดีตนายกฯ ได้รับทราบ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะไปตอบข้อซักถามด้วยตัวเองหรือไม่ เพราะตามข้อบังคับไม่ได้ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องไปตอบข้อชี้แจงด้วยตัวเอง แต่หากเห็นว่าจำเป็น จะหารือน.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง
** ไม่ถอดถอนเท่ากับนิรโทษฯ
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า กระบวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นายนิคม ไวยรัชพานิช และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สนช.จะลงมติกันในวันที่ 23 ม.ค.นี้ กำลังถูกบางฝ่ายบิดเบือนโดยอ้างว่าหากถอดถอนทั้ง 3 คน จะกระทบกับการปรองดอง และมีความวุ่นวายตามมา
ทั้งนี้ คดีของทั้ง 3 คน เป็นคดีที่มีพฤติกรรมความผิดเกิดขึ้นชัดเจน องค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ได้ชี้มูลและตัดสินแล้วว่าผิด ที่สำคัญสังคมทั่วไปก็ประจักษ์ชัดแจ้งถึงความเสียหายที่เกิดจากนโยบายรับจำนำข้าว และปมการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาส.ว. จนเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีหน้าที่ตามกฏหมายและรัฐธรรมนูญ ที่ต้องพิจารณาและพิสูจน์การกระทำความผิดของบุคคลเหล่านั้น สนช.เปรียบเสมือนคณะลูกขุนที่ต้องชี้ถูกผิด ไม่ได้มีหน้าที่มาดูว่า จะปรองดองกันอย่างไร เพราะการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐเกิดขึ้นแล้ว
เรื่องนี้จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความเข้มแข็ง และความน่าเชื่อถือของระบบการถ่วงดุลตรวจสอบ ตามรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญการปฏิรูปจะไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ถ้าสภานิติบัญญัติกลายเป็นสภาที่ไม่มีหลัก ไม่มีศักยภาพในการแยกแยะถูกผิดได้
หากสนช.ไม่ถอดถอน โดยอ้างว่าจะเกิดความวุ่นวาย จะกระทบกับแนวทางการปรองดองนั้น การอ้างแบบนี้ต่างหากที่เป็นการทำลายหลักการปรองดอง เพราะ สนช.ไม่ต้องแยกแยะถูกผิดอะไร ให้ลืมๆกันไป ทั้งที่มีความเสียหาย และความผิดเกิดขึ้น ต้องแยกแยะว่ากระบวนการถอดถอนเป็นคนละเรื่องกับกระบวนการปรองดอง
"ผมเป็นห่วงว่าหาก มติสนช.ไม่ถอดถอน ก็จะเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรม หรือล้างผิดให้กับคนที่ทำผิด ซึ่งขัดกับหลักนิรโทษกรรม ที่คนผิดควรต้องยอมรับผิดและได้รับการลงโทษถึงจะได้รับการให้อภัยและนิรโทษกรรม ที่สำคัญคดีนี้ไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นคดีทุจริตในการใช้อำนาจ" นายสุริยยะใส กล่าว
** รธน.ใหม่เข้มลงโทษนักการเมือง
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เขียนในเพซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า ตนเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่สนช.จะมาถอดถอนอะไรอีก ว่าที่ต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้วก็เพราะยังมีโทษตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี รวมอยู่ด้วย นี่เป็นมาตรฐานสำคัญที่วุฒิสภาชุดที่แล้ววางไว้ ตั้งแต่ปี 2553 ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กำลังจะพัฒนาต่อยอดโดยมีแนวคิดว่า จะแยกกระบวนการถอดถอนออกเป็น 2 อย่าง โดยเรียกชื่อแตกต่างกันให้ชัดเจนไปเลย เพื่อไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาคนใดมาตะแบงแกล้งไม่ฉลาดได้อีกว่า ไม่มีตำแหน่งเหลือแล้วจะมาถอดถอนอีกได้ยังไง
หนึ่ง คือถอดถอนออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังอยู่ในตำแหน่ง อีกหนึ่งคือ ลงมติเพื่อตัดสิทธิทางการเมือง ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
และจะยังมีแนวคิดที่ต่อยอดสูงขึ้นไปอีก คือ การลงมติถอดถอน หรือตัดสิทธิทางการเมืองจะกระทำเป็น 2 ทาง ทางแรก คือ ลงมติในสภา (เปลี่ยนเป็นรัฐสภา) ถ้าถึงเกณฑ์ (เปลี่ยนเป็นเกินกึ่งหนึ่ง) ก็พ้นจากตำแหน่งบวกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี หรือเพียงตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี แล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ ตามรัฐธรรมนูญเก่า ก็ถือว่าจบกันไป แต่ในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่จบ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรอดจากสภา แต่จะต้องถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่จะนำไปให้ประชาชนโหวตในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ว่าจะเห็นชอบให้ถอดถอนหรือไม่ โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงให้ชัดเจน ถ้าประชาชนโหวตให้ถอดถอน ไม่ถึงเกณฑ์จึงจะรอดอย่างแท้จริง แต่ถ้าประชาชนโหวตถึงเกณฑ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อรายนั้น ก็จะต้องพ้นจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิทางการเมือง หรือเพียงแต่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองแล้วแต่กรณี
ในกรณีถูกประชาชนโหวตเช่นนี้ การตัดสิทธิทางการเมืองจะไม่ใช่แค่ 5 ปี หากเป็นตลอดชีวิต
บัญชีรายชื่อนี้เรียกว่า Impeachment list ! แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะใช้ภาษาไทยอย่างเป็นทางการในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่ ว่าอะไร
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดมาตรการนี้ขึ้นมาแต่แรก แต่มาจากการเสนอของประชาชน และเราขานรับ
** จวกตัดสิทธิฯ แผนกันท่านักเลือกตั้ง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะปรับแก้การเอาผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ใช้เสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภารวมกัน และจะให้มีการตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตว่า กติกาดังกล่าวจะทำให้การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำได้ง่ายขึ้น ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคงเนื่องจากสามารถถูกถอดถอนได้ตลอดเวลา เพราะหาก ส.ส.ฝ่ายค้าน รวมกับ ส.ว. ที่ผ่านการสรรหา ซึ่งอาจทำตามผู้ที่สรรหามา ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ ส่วนการเพิ่มโทษการตัดสิทธิ์ตลอดชีวิตนั้น นายอุดมเดช กล่าวว่า ในเมื่อกระบวนการถอดถอนอาจไม่เป็นที่ยอมรับ การมาเพิ่มโทษอีกจะทำให้ประชาชนตั้งข้อสังเกตและคาแครงใจในกระบวนการดังกล่าว อาจนำไปสู่การแตกแยกได้
เมื่อถามถึงกรณีที่เปิดช่องให้มีการตัดสิทธิทางการเมืองกับผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว นายอุดมเดช กล่าวว่า เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่จะกันนักการเมือง ที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ให้ขาดคุณสมบัติในการกลับเข้ามาเป็นตัวเลือกให้ประชาชน.
โดยจะเป็นการซักถามประเด็นตามที่ที่ประชุมสนช. กำหนดตามญัตติของสมาชิกสนช. โดยคณะกรรมาธิการซักถาม ขณะที่การดำเนินกระบวนการถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากตำแหน่งฯ ซึ่งจะเป็นการซักถามประเด็นตามที่ ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติกำหนดตามญัตติของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยคณะกรรมาธิการซักถามเช่นเดียวกัน ได้กำหนดไว้ในประชุม สนช.วันที่ 16 ม.ค.นี้ และคาดว่าจะมีการลงมติในวันที่ 23 ม.ค.
**เผย"ปู"ให้ทนายมาตอบแทนได้
นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการซักถามคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า ขณะนี้มีสนช. ส่งคำถามเข้ามาให้คณะกรรมาธิการฯแล้ว ประมาณ 20 กว่าคำถาม โดยจะหมดเขตส่งคำถามในวันที่ 13 ม.ค.นี้ ในวันดังกล่าวหลังจากหมดเวลาส่งคำถามแล้ว คณะกรรมาธิการซักถามฯ จะประชุมกันเพื่อวางกรอบจัดหมวดหมู่คำถามให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจต่อไป ซึ่งคำถามส่วนใหญ่ที่ สนช.ส่งมา จะมุ่งถาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ มากกว่า อาทิ สอบถามว่า เหตุใดจึงไม่สามารถยกเลิกโครงการรับจำนำข้าวได้ และการขอความชัดเจนเรื่องตัวเลขที่แท้จริง ในการขาดทุนโครงการรับจำนำข้าว เพราะตัวเลขที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ระบุกับตัวเลขของคณะอนุกรรมการปิดบัญชีโครงการจำนำข้าว ยังไม่ตรงกัน ส่วนคำถามที่ต้องการถาม ป.ป.ช. คือ จะใช้กฎหมายฉบับใดมาเอาผิด น.ส.ยิ่งลักษณ์ เนื่องจากขณะนี้รัฐธรรมนูญปี 50 ไม่มีผลบังคับใช้แล้ว
ส่วนการมาตอบคำถามในวันที่ 16 ม.ค.นั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ สามารถให้ทีมทนายความมาตอบคำถามแทนได้ ขึ้นอยู่กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะมาตอบเอง หรือไม่ หากน.ส.ยิ่งลักษณ์มาเอง แล้วตอบได้ดี จะเป็นผลดีต่อตัวน.ส.ยิ่งลักษณ์ แต่หากมาแล้วตอบไม่ดี ก็จะเป็นผลเสียต่อตัวเองเช่นกัน ส่วนตัวอยากให้น.ส.ยิ่งลักษณ์ มาตอบคำถามเอง จะได้ไม่เป็นที่ครหาได้ในภายหลังว่า สิ่งที่ตอบไปไม่ตรงกับใจของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ทั้งนี้คณะกรรมาธิการซักถามยืนยันว่า จะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลาง ไม่มีอคติทางการเมือง
ด้านนายนรวิชญ์ หล้าแหล่ง ทนายความผู้รับมอบอำนาจจาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ให้รับผิดชอบคดีรับจำนำข้าว กล่าวถึงกรณีที่สนช. จะซักถามคดีถอดถอน น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ว่า ทีมทนายความยังไม่มีข้อสรุปว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะเดินทางไปตอบข้อซักถามในคดีถอดถอน ต่อคณะกรรมาธิการซักถามด้วยตัวเองหรือไม่ ขอรอหารือทีมทนายความ และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ในวันนี้ (12 ม.ค.)ก่อน ซึ่งทีมทนายความจะสรุปประเด็นต่างๆ และแนวทางการตอบข้อซักถามแจ้งให้อดีตนายกฯ ได้รับทราบ ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ว่าจะไปตอบข้อซักถามด้วยตัวเองหรือไม่ เพราะตามข้อบังคับไม่ได้ระบุว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ต้องไปตอบข้อชี้แจงด้วยตัวเอง แต่หากเห็นว่าจำเป็น จะหารือน.ส.ยิ่งลักษณ์ อีกครั้ง
** ไม่ถอดถอนเท่ากับนิรโทษฯ
นายสุริยะใส กตะศิลา อาจารย์วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผู้อำนวยการสถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า กระบวนการถอดถอน นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ นายนิคม ไวยรัชพานิช และน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่สนช.จะลงมติกันในวันที่ 23 ม.ค.นี้ กำลังถูกบางฝ่ายบิดเบือนโดยอ้างว่าหากถอดถอนทั้ง 3 คน จะกระทบกับการปรองดอง และมีความวุ่นวายตามมา
ทั้งนี้ คดีของทั้ง 3 คน เป็นคดีที่มีพฤติกรรมความผิดเกิดขึ้นชัดเจน องค์กรอิสระอย่าง ป.ป.ช. และศาลรัฐธรรมนูญ ได้ชี้มูลและตัดสินแล้วว่าผิด ที่สำคัญสังคมทั่วไปก็ประจักษ์ชัดแจ้งถึงความเสียหายที่เกิดจากนโยบายรับจำนำข้าว และปมการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาส.ว. จนเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤติการเมืองในช่วงที่ผ่านมา
สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) มีหน้าที่ตามกฏหมายและรัฐธรรมนูญ ที่ต้องพิจารณาและพิสูจน์การกระทำความผิดของบุคคลเหล่านั้น สนช.เปรียบเสมือนคณะลูกขุนที่ต้องชี้ถูกผิด ไม่ได้มีหน้าที่มาดูว่า จะปรองดองกันอย่างไร เพราะการกระทำดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐเกิดขึ้นแล้ว
เรื่องนี้จะเป็นบทพิสูจน์ถึงความเข้มแข็ง และความน่าเชื่อถือของระบบการถ่วงดุลตรวจสอบ ตามรัฐธรรมนูญ ที่สำคัญการปฏิรูปจะไม่มีทางเกิดขึ้นจริง ถ้าสภานิติบัญญัติกลายเป็นสภาที่ไม่มีหลัก ไม่มีศักยภาพในการแยกแยะถูกผิดได้
หากสนช.ไม่ถอดถอน โดยอ้างว่าจะเกิดความวุ่นวาย จะกระทบกับแนวทางการปรองดองนั้น การอ้างแบบนี้ต่างหากที่เป็นการทำลายหลักการปรองดอง เพราะ สนช.ไม่ต้องแยกแยะถูกผิดอะไร ให้ลืมๆกันไป ทั้งที่มีความเสียหาย และความผิดเกิดขึ้น ต้องแยกแยะว่ากระบวนการถอดถอนเป็นคนละเรื่องกับกระบวนการปรองดอง
"ผมเป็นห่วงว่าหาก มติสนช.ไม่ถอดถอน ก็จะเท่ากับเป็นการนิรโทษกรรม หรือล้างผิดให้กับคนที่ทำผิด ซึ่งขัดกับหลักนิรโทษกรรม ที่คนผิดควรต้องยอมรับผิดและได้รับการลงโทษถึงจะได้รับการให้อภัยและนิรโทษกรรม ที่สำคัญคดีนี้ไม่ใช่คดีการเมือง แต่เป็นคดีทุจริตในการใช้อำนาจ" นายสุริยยะใส กล่าว
** รธน.ใหม่เข้มลงโทษนักการเมือง
นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ได้เขียนในเพซบุ๊กส่วนตัว ถึงกรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร กล่าวว่า ตนเองไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้ว แต่สนช.จะมาถอดถอนอะไรอีก ว่าที่ต้องดำเนินกระบวนการถอดถอนต่อ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ได้อยู่ในตำแหน่งแล้วก็เพราะยังมีโทษตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี รวมอยู่ด้วย นี่เป็นมาตรฐานสำคัญที่วุฒิสภาชุดที่แล้ววางไว้ ตั้งแต่ปี 2553 ร่างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ กำลังจะพัฒนาต่อยอดโดยมีแนวคิดว่า จะแยกกระบวนการถอดถอนออกเป็น 2 อย่าง โดยเรียกชื่อแตกต่างกันให้ชัดเจนไปเลย เพื่อไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาคนใดมาตะแบงแกล้งไม่ฉลาดได้อีกว่า ไม่มีตำแหน่งเหลือแล้วจะมาถอดถอนอีกได้ยังไง
หนึ่ง คือถอดถอนออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังอยู่ในตำแหน่ง อีกหนึ่งคือ ลงมติเพื่อตัดสิทธิทางการเมือง ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
และจะยังมีแนวคิดที่ต่อยอดสูงขึ้นไปอีก คือ การลงมติถอดถอน หรือตัดสิทธิทางการเมืองจะกระทำเป็น 2 ทาง ทางแรก คือ ลงมติในสภา (เปลี่ยนเป็นรัฐสภา) ถ้าถึงเกณฑ์ (เปลี่ยนเป็นเกินกึ่งหนึ่ง) ก็พ้นจากตำแหน่งบวกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี หรือเพียงตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี แล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ ตามรัฐธรรมนูญเก่า ก็ถือว่าจบกันไป แต่ในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่จบ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรอดจากสภา แต่จะต้องถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อ ที่จะนำไปให้ประชาชนโหวตในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ว่าจะเห็นชอบให้ถอดถอนหรือไม่ โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงให้ชัดเจน ถ้าประชาชนโหวตให้ถอดถอน ไม่ถึงเกณฑ์จึงจะรอดอย่างแท้จริง แต่ถ้าประชาชนโหวตถึงเกณฑ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อรายนั้น ก็จะต้องพ้นจากตำแหน่ง และถูกตัดสิทธิทางการเมือง หรือเพียงแต่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองแล้วแต่กรณี
ในกรณีถูกประชาชนโหวตเช่นนี้ การตัดสิทธิทางการเมืองจะไม่ใช่แค่ 5 ปี หากเป็นตลอดชีวิต
บัญชีรายชื่อนี้เรียกว่า Impeachment list ! แต่ยังไม่ได้สรุปว่าจะใช้ภาษาไทยอย่างเป็นทางการในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่ ว่าอะไร
กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดมาตรการนี้ขึ้นมาแต่แรก แต่มาจากการเสนอของประชาชน และเราขานรับ
** จวกตัดสิทธิฯ แผนกันท่านักเลือกตั้ง
นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตประธานวิปรัฐบาล กล่าวถึง กรณีที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ จะปรับแก้การเอาผิดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ใช้เสียงข้างมากของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภารวมกัน และจะให้มีการตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตว่า กติกาดังกล่าวจะทำให้การถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทำได้ง่ายขึ้น ทำให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคงเนื่องจากสามารถถูกถอดถอนได้ตลอดเวลา เพราะหาก ส.ส.ฝ่ายค้าน รวมกับ ส.ว. ที่ผ่านการสรรหา ซึ่งอาจทำตามผู้ที่สรรหามา ล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งได้ ส่วนการเพิ่มโทษการตัดสิทธิ์ตลอดชีวิตนั้น นายอุดมเดช กล่าวว่า ในเมื่อกระบวนการถอดถอนอาจไม่เป็นที่ยอมรับ การมาเพิ่มโทษอีกจะทำให้ประชาชนตั้งข้อสังเกตและคาแครงใจในกระบวนการดังกล่าว อาจนำไปสู่การแตกแยกได้
เมื่อถามถึงกรณีที่เปิดช่องให้มีการตัดสิทธิทางการเมืองกับผู้ที่พ้นจากตำแหน่งแล้ว นายอุดมเดช กล่าวว่า เป็นการแสดงเจตนารมณ์ที่จะกันนักการเมือง ที่มาจากระบอบประชาธิปไตย ให้ขาดคุณสมบัติในการกลับเข้ามาเป็นตัวเลือกให้ประชาชน.