เมื่อวันที่ 10 ม.ค. นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ เสนอระบบการเพิกถอนสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี จะเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 มาตรา 35 (4) ที่กำหนดห้ามผู้ที่กระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือเคยกระทำการอันทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรมเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองอย่างเด็ดขาดหรือไม่ว่า ช่องทางการดำเนินการเอาผิดกับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่มีอยู่เดิมตามรัฐธรรมนูญปี 50 มี 2 ช่องทาง คือระบบการถอดถอนจากตำแหน่ง ตามมาตรา 270 และการดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 275
ทั้งนี้ในส่วนของการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรูปแบบของมาตรา 270 นั้น เป็นการถอดถอนโดยเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งกมธ.ยกร่างฯจะปรับให้ใช้เป็นเสียงข้างมากของสองสภาร่วมกัน คือทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยหากยังอยู่ในตำแหน่งก็จะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี แต่หากพ้นจากตำแหน่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือยุบสภา ก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีอย่างเดียว และหากเสียงถอดถอนไม่เกินกึ่งหนึ่ง รายชื่อผู้ถูกยื่นให้ถอดถอนหรือตัดสิทธิดังกล่าวก็จะเข้าสู่กระบวนการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนว่าจะตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิตหรือไม่
ทั้งนี้ในส่วนของการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามรูปแบบของมาตรา 270 นั้น เป็นการถอดถอนโดยเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของสมาชิกวุฒิสภา ซึ่งกมธ.ยกร่างฯจะปรับให้ใช้เป็นเสียงข้างมากของสองสภาร่วมกัน คือทั้งวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร โดยหากยังอยู่ในตำแหน่งก็จะถูกถอดถอนจากตำแหน่ง และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี แต่หากพ้นจากตำแหน่งแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการลาออกหรือยุบสภา ก็จะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปีอย่างเดียว และหากเสียงถอดถอนไม่เกินกึ่งหนึ่ง รายชื่อผู้ถูกยื่นให้ถอดถอนหรือตัดสิทธิดังกล่าวก็จะเข้าสู่กระบวนการให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งลงคะแนนว่าจะตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิตหรือไม่