นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ ประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงการพิจารณาการยกร่างรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่า ขณะนี้มีประชาชนที่ส่งข้อเสนอความเห็นต่อกระบวนการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมายังคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนเห็นว่าเป็นประเด็นสำคัญ และได้รับไปพิจารณาเขียนเป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง
สาระสำคัญ คือ นักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนเช่นเดียวกัน โดยใช้คำเรียกนักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่ง ว่า การถอดถอนบุคคลให้พ้นจากตำแหน่ง ขณะที่ผู้ที่พ้นจากการดำรงตำแหน่งไปแล้ว จะใช้คำว่า การลงมติถอดถอนเพื่อตัดสิทธิทางการเมือง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและก่อให้เกิดการตีความว่าบุคคลที่พ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจากการลาออก ยุบสภา หรือมีการเลือกตั้งใหม่ สามารถลงมติถอดถอนได้หรือไม่
สำหรับกระบวนการถอดถอนจะกระทำภายใต้รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม แทนการพิจารณาในชั้นของวุฒิสภาเท่านั้น
ทั้งนี้ การถอดถอนจะเป็นไป 2 รูปแบบ คือ กรณีบุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ ให้ดำเนินการถอดถอนพ้นจากตำแหน่งและห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี ส่วนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตาม ก็มีสิทธิถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปีเช่นกัน โดยทั้งสองรูปแบบจะใช้วิธีการให้รัฐสภา คือทั้งวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรทำงานร่วมกัน จากอดีตที่วุฒิสภามีสิทธิถอดถอนอยู่ฝ่ายเดียว เพื่อความเป็นกลางมากขึ้น โดยต้องใช้เสียงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภา และหากรัฐสภามีมติไม่ถอดถอน ก็มีสิทธิส่งเรื่องไปให้ประชาชนเป็นผู้ลงชื่อถอดถอนได้ ซึ่งประชาชนจะมีสิทธิถอดถอนได้เฉพาะช่วงเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้เสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงจะถอดถอนได้ ซี่งบุคคลที่ถูกถอดถอนโดยประชาชนจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต
สาระสำคัญ คือ นักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่ง หรือพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ต้องเข้าสู่กระบวนการถอดถอนเช่นเดียวกัน โดยใช้คำเรียกนักการเมืองที่อยู่ในตำแหน่ง ว่า การถอดถอนบุคคลให้พ้นจากตำแหน่ง ขณะที่ผู้ที่พ้นจากการดำรงตำแหน่งไปแล้ว จะใช้คำว่า การลงมติถอดถอนเพื่อตัดสิทธิทางการเมือง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและก่อให้เกิดการตีความว่าบุคคลที่พ้นจากตำแหน่ง ไม่ว่าจากการลาออก ยุบสภา หรือมีการเลือกตั้งใหม่ สามารถลงมติถอดถอนได้หรือไม่
สำหรับกระบวนการถอดถอนจะกระทำภายใต้รัฐสภา คือ สภาผู้แทนราษฎร ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง และวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งโดยอ้อม แทนการพิจารณาในชั้นของวุฒิสภาเท่านั้น
ทั้งนี้ การถอดถอนจะเป็นไป 2 รูปแบบ คือ กรณีบุคคลผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอยู่ ให้ดำเนินการถอดถอนพ้นจากตำแหน่งและห้ามดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 5 ปี ส่วนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ไม่ว่าจะวิธีการใดก็ตาม ก็มีสิทธิถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปีเช่นกัน โดยทั้งสองรูปแบบจะใช้วิธีการให้รัฐสภา คือทั้งวุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎรทำงานร่วมกัน จากอดีตที่วุฒิสภามีสิทธิถอดถอนอยู่ฝ่ายเดียว เพื่อความเป็นกลางมากขึ้น โดยต้องใช้เสียงอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมดที่มีอยู่ในสภา และหากรัฐสภามีมติไม่ถอดถอน ก็มีสิทธิส่งเรื่องไปให้ประชาชนเป็นผู้ลงชื่อถอดถอนได้ ซึ่งประชาชนจะมีสิทธิถอดถอนได้เฉพาะช่วงเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร ต้องใช้เสียงมากกว่าครึ่งหนึ่งจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจึงจะถอดถอนได้ ซี่งบุคคลที่ถูกถอดถอนโดยประชาชนจะถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต