การทุจริตประพฤติมิชอบเป็นหนึ่งในรากฐานสำคัญของวิกฤต
และแน่นอน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับคนทุจริตประพฤติมิชอบก็เป็นอีกรากฐานหนึ่งของวิกฤตเช่นกัน
การดำเนินการเพื่อเอาผิดผู้ทุจริตประพฤตผิดมิชอบในระดับต่าง ๆ นั้นรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่ผ่านมามอบให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ดำเนินการสอบสวนเพื่อชี้มูลความผิด แล้วมีที่ไป 2 ทาง
ทางที่หนึ่ง – ไปสู่กระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา
ทางที่สอง – ไปสู่การดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นในทั้ง 2 ทาง ทางถอดถอนนั้นมีปัญหาอยู่ 2 ประการ ประการหนึ่งคือวุฒิสภาไม่เคยถอดถอนผู้ใดได้เพราะเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 3 ใน 5 และอีกประการหนึ่งคือกว่าจะไปถึงวุฒิสภาผู้ถูกกล่าวหาก็พ้นจากตำแหน่งไปเสียแล้วเป็นส่วนใหญ่ แม้วุฒิสภาในช่วงปี 2553 จะได้สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาว่าแม้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการลงมติถอดถอนต่อไป เพราะยังมีโทษตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ 5 ปีอยู่อีก แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็มักจะกล่าวอ้างว่าไม่มีตำแหน่งให้ถอดถอนแล้ว ยังจะมาถอดถอนอะไรอีก ดังที่เราก็เพิ่งได้ยินได้ฟังอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนกับประชาชนทั่วไปพอสมควร
ส่วนทางการดำเนินคดีอาญานั้น มักจะมีปัญหาระหว่างป.ป.ช.ผู้ทำสำนวนสอบสวนจนชี้มูลความผิด กับสำนักงานอัยการสูงสุดที่ถูกกำหนดให้รับสำนวนมาทำหน้าที่เป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สาเหตุหนึ่งก็เพราะอัยการจะพิจารณาตามมาตรฐานของคดีอาญาที่ต้องมีหลักฐานชัดเจนจนปราศจากข้อสงสัยเป็นสำคัญ ในขณะที่ป.ป.ช.พิจารณาจากมาตรฐานของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นสำคัญ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแก้ปัญหาเป็น 2 ทาง
ทางหนึ่งคือเพิ่มช่องทางให้ ป.ป.ช. (และสตง.) อีก 1 ช่อง
คือบัญญัติความผิดฐานผิดวินัยการเงินการคลังและงบประมาณขึ้นมา และจัดตั้งศาลวินัยการเงินการคลังและงบประมาณแยกออกมาจาก คตง.
ให้พิจารณาคดีที่นักการเมืองและข้าราชการทุจริตเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐเสียหายมหาศาล อาทิเช่นกรณีคลองด่านหรือนโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าตลาดโลกมาก ซึ่งพิสูจน์ให้ปราศจากข้อสงสัยเพื่อดำเนินคดีอาญาได้ยากดังที่เป็นปัญหาอยู่ในเวลานี้ระหว่างป.ป.ช.กับอัยการ โดยฐานความผิดในคดีวินัยการเงินการคลังและงบประมาณให้พิสูจน์เพียงแค่ “มีหลักฐานอันน่าเชื่อได้ว่า” ก็พอ และทำให้ผู้นั้นและผู้รับผิดชอบทุกระดับต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับทางปกครองและค่าเสียหาย โดยให้ป.ป.ช.และสตง.ฟ้องได้โดยตรงไม่ต้องผ่านสำนักงานอัยการสูงสุด
ถ้าเป็นเช่นนี้ ต่อไปก็จะมีคดี 3 ประเภท 3 ช่อง คือ คดีถอดถอนเป็นคดีกึ่งการเมือง, คดีวินัยการเงินการคลังและงบประมาณเป็นคดีที่พิสูจน์เพียง “มีหลักฐานอันน่าเชื่อได้ว่า" ก็พอ ป.ป.ชและสตง.ฟ้องได้เองไม่ต้องผ่นสำนักงานอัยการสูงสุด และคดีอาญานักการเมืองซึ่งต้องพิสูจน์ “โดยปราศจากข้อสงสัย” ดังเช่นคดีอาญาทั่วไปซึ่งต้องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาและเป็นผู้ฟ้องก่อน
ถ้าเป็นเช่นนี้ ต่อไปสิ่งที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบายก็ไม่ต้องรอเป็นคดีอาญาเสมอไป
คดีถอดถอนเสนอง่ายแต่ลงมติจริงยาก คดีอาญานักการเมืองก็เอาผิดไม่ได้จนกว่าจะพิสูจน์ “โดยปราศจากข้อสงสัย” ถ้ามีคดีวินัยการคลังและงบประมาณอยู่ตรงกลางปัญหาภาระการพิสูจน์ที่เข้มมาก ๆ อย่างในคดีอาญาก็จะหมดไป และป.ป.ช.กับสตง.ฟ้องเองได้ คดีจะเร็วขึ้น และนักการเมืองกับข้าราชการจะไม่กล้ากระทำการง่าย ๆ อีกต่อไป และที่สำคัญคือไม่เสียระบบการดำเนินคดีอาญาด้วย
อีกทางหนึ่งก็คือการปรับกระบวนการถอดถอนเสียใหม่
และเพิ่มอำนาจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินได้โดยตรง ไม่จำกัดให้เป็นอำนาจของสภาเท่านั้น
ในการนี้ เราปรับรวม 3 ขั้น
ขั้นแรกทีเดียวเราจะแยกกระบวนการถอดถอนออกเป็น 2 ประเภท โดยเรียกชื่อแตกต่างกันให้ชัดเจนไปเลย เพื่อไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาคนใดมาตะแบงแกล้งไม่ฉลาดได้อีกว่าไม่มีตำแหน่งเหลือแล้วจะมาถอดถอนอีกได้ยังไง
หนึ่งคือถอดถอนออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังอยู่ในตำแหน่ง
อีกหนึ่งคือลงมติเพื่อตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
ขั้นต่อมา เราปรับการลงมติถอดถอนจากเดิมที่ให้เป็นอำนาจของวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 เป็นอำนาจของรัฐสภา คือการประชุมร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ด้วยเสียงเพียงเกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น
และขั้นสุดท้าย เรายังมีแนวคิดที่ต่อยอดสูงขึ้นไปอีกโดย คือการลงมติถอดถอนหรือตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการเดิมจะกระทำเป็น 2 ทาง ทางแรกคือลงมติในรัฐสภา ถ้าถึงเกณฑ์เกินกึ่งหนึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็พ้นจากตำแหน่งบวกตัดสิทธิ 5 ปี หรือเพียงตัดสิทธิ 5 ปีแล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ ตามรัฐธรรมนูญเก่าก็ถือว่าจบกันไป แต่ในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่จบ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรอดจากการลงมติในรัฐสภาแต่จะต้องถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อที่จะนำไปให้ประชาชนโหวตในการเลือกตั้งครั้งต่อไปว่าจะเห็นชอบให้ถอดถอนและตัดสิทธิหรือตัดสิทธิในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงให้ชัดเจน ถ้าประชาชนโหวตให้ถอดถอนและตัดสิทธิไม่ถึงเกณฑ์จึงจะรอดอย่างแท้จริง แต่ถ้าประชาชนโหวตถึงเกณฑ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อรายนั้นก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิหรือเพียงแต่ถูกตัดสิทธิแล้วแต่กรณี
ในกรณีถูกประชาชนโหวตเช่นนี้ การตัดสิทธิจะไม่ใช่แค่ 5 ปี หากแต่เป็นตลอดชีวิต
บัญชีรายชื่อนี้แหละที่อาจเรียกว่า Impeachment list !
ยังไม่ได้สรุปชัดเจนว่าจะใช้ภาษาไทยอย่างเป็นทางการในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่ว่าอะไร เกณฑ์การลงคะแนนเสียงของประชาชนจะมีตัวเลขอย่างไร และจะนำไปให้ประชาชนลงคะแนนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในเขตเลือกตั้งประเภทไหน แต่น่าจะเป็นเขตเลือกตั้งประเภทส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของภาคที่มีแนวคิดเบื้องต้นแบ่งประเทศออกเป็น 6 ภาค
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การเลือกบัญชีรายชื่อของประชาชนก็จะมี 2 บัญชี บัญชีหนึ่งเป็นการเลือกส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง อีกประเภทเป็นบัญชีรายชื่อของผู้ที่ประชาชนต้องการตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการตลอดชีวิต
พูดภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่าเป็นบัญชีเลือกเข้าและบัญชีเลือกออก
สรุปว่าในการเลือกตั้งต่อไป ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องใช้สิทธิ 3 ประการ หนึ่งคือเลือกส.ส.เขต 1 คน สองคือเลือกส.ส.บัญชีรายชื่อบัญชีใดบัญชีหนึ่ง โดยกา 1 ชื่อในบัญชีนั้นเพื่อเป็นการจัดลำดับเอง และสามเลือกลงคะแนนในบัญชีรายชื่อผู้ที่ต้องการให้พ้นจากตำแหน่งและตัดสิทธิตลอดชีวิต
มาตรการสุดท้ายนี้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดขึ้นมาเองแต่แรก แต่มาจากการเสนอของประชาชนโดยตรง และเรานำมาพิจารณาและมีฉันทมติร่วมกัน
ขอทำหน้าที่รายงานความคืบหน้าให้ทราบโดยทั่วไปกันครับพี่น้อง
และแน่นอน การบังคับใช้กฎหมายเพื่อเอาผิดกับคนทุจริตประพฤติมิชอบก็เป็นอีกรากฐานหนึ่งของวิกฤตเช่นกัน
การดำเนินการเพื่อเอาผิดผู้ทุจริตประพฤตผิดมิชอบในระดับต่าง ๆ นั้นรัฐธรรมนูญ 2 ฉบับที่ผ่านมามอบให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือป.ป.ช. ดำเนินการสอบสวนเพื่อชี้มูลความผิด แล้วมีที่ไป 2 ทาง
ทางที่หนึ่ง – ไปสู่กระบวนการถอดถอนโดยวุฒิสภา
ทางที่สอง – ไปสู่การดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ที่ผ่านมามีปัญหาเกิดขึ้นในทั้ง 2 ทาง ทางถอดถอนนั้นมีปัญหาอยู่ 2 ประการ ประการหนึ่งคือวุฒิสภาไม่เคยถอดถอนผู้ใดได้เพราะเสียงไม่ถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้คือ 3 ใน 5 และอีกประการหนึ่งคือกว่าจะไปถึงวุฒิสภาผู้ถูกกล่าวหาก็พ้นจากตำแหน่งไปเสียแล้วเป็นส่วนใหญ่ แม้วุฒิสภาในช่วงปี 2553 จะได้สร้างบรรทัดฐานขึ้นมาว่าแม้พ้นจากตำแหน่งไปแล้วก็จะต้องเข้าสู่กระบวนการลงมติถอดถอนต่อไป เพราะยังมีโทษตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ 5 ปีอยู่อีก แต่ผู้ถูกกล่าวหาก็มักจะกล่าวอ้างว่าไม่มีตำแหน่งให้ถอดถอนแล้ว ยังจะมาถอดถอนอะไรอีก ดังที่เราก็เพิ่งได้ยินได้ฟังอีกครั้งในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี่เอง ซึ่งก่อให้เกิดความสับสนกับประชาชนทั่วไปพอสมควร
ส่วนทางการดำเนินคดีอาญานั้น มักจะมีปัญหาระหว่างป.ป.ช.ผู้ทำสำนวนสอบสวนจนชี้มูลความผิด กับสำนักงานอัยการสูงสุดที่ถูกกำหนดให้รับสำนวนมาทำหน้าที่เป็นผู้ยื่นฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สาเหตุหนึ่งก็เพราะอัยการจะพิจารณาตามมาตรฐานของคดีอาญาที่ต้องมีหลักฐานชัดเจนจนปราศจากข้อสงสัยเป็นสำคัญ ในขณะที่ป.ป.ช.พิจารณาจากมาตรฐานของการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเป็นสำคัญ
คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้พิจารณาแก้ปัญหาเป็น 2 ทาง
ทางหนึ่งคือเพิ่มช่องทางให้ ป.ป.ช. (และสตง.) อีก 1 ช่อง
คือบัญญัติความผิดฐานผิดวินัยการเงินการคลังและงบประมาณขึ้นมา และจัดตั้งศาลวินัยการเงินการคลังและงบประมาณแยกออกมาจาก คตง.
ให้พิจารณาคดีที่นักการเมืองและข้าราชการทุจริตเชิงนโยบายที่ทำให้รัฐเสียหายมหาศาล อาทิเช่นกรณีคลองด่านหรือนโยบายรับจำนำข้าวในราคาสูงกว่าตลาดโลกมาก ซึ่งพิสูจน์ให้ปราศจากข้อสงสัยเพื่อดำเนินคดีอาญาได้ยากดังที่เป็นปัญหาอยู่ในเวลานี้ระหว่างป.ป.ช.กับอัยการ โดยฐานความผิดในคดีวินัยการเงินการคลังและงบประมาณให้พิสูจน์เพียงแค่ “มีหลักฐานอันน่าเชื่อได้ว่า” ก็พอ และทำให้ผู้นั้นและผู้รับผิดชอบทุกระดับต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับทางปกครองและค่าเสียหาย โดยให้ป.ป.ช.และสตง.ฟ้องได้โดยตรงไม่ต้องผ่านสำนักงานอัยการสูงสุด
ถ้าเป็นเช่นนี้ ต่อไปก็จะมีคดี 3 ประเภท 3 ช่อง คือ คดีถอดถอนเป็นคดีกึ่งการเมือง, คดีวินัยการเงินการคลังและงบประมาณเป็นคดีที่พิสูจน์เพียง “มีหลักฐานอันน่าเชื่อได้ว่า" ก็พอ ป.ป.ชและสตง.ฟ้องได้เองไม่ต้องผ่นสำนักงานอัยการสูงสุด และคดีอาญานักการเมืองซึ่งต้องพิสูจน์ “โดยปราศจากข้อสงสัย” ดังเช่นคดีอาญาทั่วไปซึ่งต้องไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาและเป็นผู้ฟ้องก่อน
ถ้าเป็นเช่นนี้ ต่อไปสิ่งที่เรียกว่าการทุจริตเชิงนโยบายก็ไม่ต้องรอเป็นคดีอาญาเสมอไป
คดีถอดถอนเสนอง่ายแต่ลงมติจริงยาก คดีอาญานักการเมืองก็เอาผิดไม่ได้จนกว่าจะพิสูจน์ “โดยปราศจากข้อสงสัย” ถ้ามีคดีวินัยการคลังและงบประมาณอยู่ตรงกลางปัญหาภาระการพิสูจน์ที่เข้มมาก ๆ อย่างในคดีอาญาก็จะหมดไป และป.ป.ช.กับสตง.ฟ้องเองได้ คดีจะเร็วขึ้น และนักการเมืองกับข้าราชการจะไม่กล้ากระทำการง่าย ๆ อีกต่อไป และที่สำคัญคือไม่เสียระบบการดำเนินคดีอาญาด้วย
อีกทางหนึ่งก็คือการปรับกระบวนการถอดถอนเสียใหม่
และเพิ่มอำนาจให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมตัดสินได้โดยตรง ไม่จำกัดให้เป็นอำนาจของสภาเท่านั้น
ในการนี้ เราปรับรวม 3 ขั้น
ขั้นแรกทีเดียวเราจะแยกกระบวนการถอดถอนออกเป็น 2 ประเภท โดยเรียกชื่อแตกต่างกันให้ชัดเจนไปเลย เพื่อไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหาคนใดมาตะแบงแกล้งไม่ฉลาดได้อีกว่าไม่มีตำแหน่งเหลือแล้วจะมาถอดถอนอีกได้ยังไง
หนึ่งคือถอดถอนออกจากตำแหน่งเหมือนเดิม ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหายังอยู่ในตำแหน่ง
อีกหนึ่งคือลงมติเพื่อตัดสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการ ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว
ขั้นต่อมา เราปรับการลงมติถอดถอนจากเดิมที่ให้เป็นอำนาจของวุฒิสภา ด้วยเสียง 3 ใน 5 เป็นอำนาจของรัฐสภา คือการประชุมร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ด้วยเสียงเพียงเกินกึ่งหนึ่งเท่านั้น
และขั้นสุดท้าย เรายังมีแนวคิดที่ต่อยอดสูงขึ้นไปอีกโดย คือการลงมติถอดถอนหรือตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการเดิมจะกระทำเป็น 2 ทาง ทางแรกคือลงมติในรัฐสภา ถ้าถึงเกณฑ์เกินกึ่งหนึ่งผู้ถูกกล่าวหาก็พ้นจากตำแหน่งบวกตัดสิทธิ 5 ปี หรือเพียงตัดสิทธิ 5 ปีแล้วแต่กรณี แต่ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ ตามรัฐธรรมนูญเก่าก็ถือว่าจบกันไป แต่ในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่จะยังไม่จบ แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะรอดจากการลงมติในรัฐสภาแต่จะต้องถูกบรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อที่จะนำไปให้ประชาชนโหวตในการเลือกตั้งครั้งต่อไปว่าจะเห็นชอบให้ถอดถอนและตัดสิทธิหรือตัดสิทธิในกรณีที่พ้นจากตำแหน่งแล้วหรือไม่ โดยจะมีการกำหนดเกณฑ์คะแนนเสียงให้ชัดเจน ถ้าประชาชนโหวตให้ถอดถอนและตัดสิทธิไม่ถึงเกณฑ์จึงจะรอดอย่างแท้จริง แต่ถ้าประชาชนโหวตถึงเกณฑ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่อยู่ในบัญชีรายชื่อรายนั้นก็จะต้องพ้นจากตำแหน่งและถูกตัดสิทธิหรือเพียงแต่ถูกตัดสิทธิแล้วแต่กรณี
ในกรณีถูกประชาชนโหวตเช่นนี้ การตัดสิทธิจะไม่ใช่แค่ 5 ปี หากแต่เป็นตลอดชีวิต
บัญชีรายชื่อนี้แหละที่อาจเรียกว่า Impeachment list !
ยังไม่ได้สรุปชัดเจนว่าจะใช้ภาษาไทยอย่างเป็นทางการในว่าที่รัฐธรรมนูญใหม่ว่าอะไร เกณฑ์การลงคะแนนเสียงของประชาชนจะมีตัวเลขอย่างไร และจะนำไปให้ประชาชนลงคะแนนในการเลือกตั้งครั้งต่อไปในเขตเลือกตั้งประเภทไหน แต่น่าจะเป็นเขตเลือกตั้งประเภทส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของภาคที่มีแนวคิดเบื้องต้นแบ่งประเทศออกเป็น 6 ภาค
ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การเลือกบัญชีรายชื่อของประชาชนก็จะมี 2 บัญชี บัญชีหนึ่งเป็นการเลือกส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองหรือกลุ่มการเมือง อีกประเภทเป็นบัญชีรายชื่อของผู้ที่ประชาชนต้องการตัดสิทธิการดำรงตำแหน่งทางการเมืองและทางราชการตลอดชีวิต
พูดภาษาชาวบ้านก็ต้องบอกว่าเป็นบัญชีเลือกเข้าและบัญชีเลือกออก
สรุปว่าในการเลือกตั้งต่อไป ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องใช้สิทธิ 3 ประการ หนึ่งคือเลือกส.ส.เขต 1 คน สองคือเลือกส.ส.บัญชีรายชื่อบัญชีใดบัญชีหนึ่ง โดยกา 1 ชื่อในบัญชีนั้นเพื่อเป็นการจัดลำดับเอง และสามเลือกลงคะแนนในบัญชีรายชื่อผู้ที่ต้องการให้พ้นจากตำแหน่งและตัดสิทธิตลอดชีวิต
มาตรการสุดท้ายนี้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้คิดขึ้นมาเองแต่แรก แต่มาจากการเสนอของประชาชนโดยตรง และเรานำมาพิจารณาและมีฉันทมติร่วมกัน
ขอทำหน้าที่รายงานความคืบหน้าให้ทราบโดยทั่วไปกันครับพี่น้อง