ASTVผู้จัดการรายวัน-สรรหาฯผู้ว่าฯรฟม.คนใหม่เดือด “รณชิต”ยื่นศาลปกครองกลางและศาลอาญา ฟ้องกรรมการสรรหาฯ 4 คน มาตรา 157 เหตุเลือกปฏิบัติ ผิดขั้นตอนประกาศสรรหาฯ ด้าน”ยอดยุทธ-พงษ์ภาณุ”แท็กทีมเปิดแถลงข่าวโต้ ขั้นตอนสรรหาถูกต้องไม่กีดกันใคร ยันเดินหน้าสัมภาษณ์ 7 ผู้สมัคร เร่งสรุปใน 5 ม.ค. 58 ลุ้นคำสั่งศาลคุ้มครองฉุกเฉินหรือไม่
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวานนี้ (29 ธันวาคม) นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ รฟม. จำนวนทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ส่วนกรรมการอีก 3 คน ได้แก่ นายเพิ่มศักดิ์ สัจจะเวทะ,นายสุนทรทรัพย์ตันติกุล และพล.ต.พิเชษฐ์ คงศรี โดยฟ้องทั้งศาลอาญาและศาลปกครองกลางกรณีละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 โดยระบุความผิดใน 2 ประเด็น คือ กรรมการสรรหาฯ ดำเนินการสรรหาโดยกีดกันและเลือกปฎิบัติที่กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครข้อ 3.1.12 ว่าต้องไม่เป็นผู้รักษาการฯผู้ว่า รฟม.ในวันยื่นใบสมัคร 2. กระบวนการสรรหาฯ ดำเนินการผิดขั้นตอน ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการสรรหาฯจะเชิญผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ แสดงวิสัยทัศน์ กรรมการสรรหาได้รวบรัดให้ผู้สมัครทั้ง 7 คน แสดงวิสัยทัศน์ทั้งหมดโดยไม่ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติก่อน ทั้งนี้ ได้ขอคุ้มครองฉุกเฉินต่อศาลปกครองกลางให้ระงับกระบวนการสรรหาผู้ว่าการ รฟม.ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่จะเชิญผู้ผ่านคุณสมบัติมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาในวันที่ 5 มกราคม 2558 นี้
ซึ่งในช่วงบ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พร้อมด้วยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯผู้ว่ารฟม.ได้แถลงข่าวด่วนชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยพล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า การสรรหาฯผู้ว่ารฟม. เป็นไปตามกระบวนการ ถ้ามีข้อโต้แย้งใดก็ต้องชี้แจงซึ่งศาลยังไม่มีคำสั่งใดๆจึงจะยังไม่ต้องหยุดกระบวนการสรรหา เพราะมั่นใจว่าเดินตามกฎระเบียบ กฎหมายเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมและองค์กร การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีเหตุผล ไม่มีอคติกับผู้ใด
ซึ่งปัญหาของรฟม.คือมีพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าฯรฟม.ว่าง จะต้องตั้งรองผู้ว่าฯ ที่อาวุโสสูงสุด ตามลำดับ ซึ่งมีสิทธิ์สมัครสรรหาผู้ว่าได้ด้วย ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ในขณะที่หน่วยงานอื่นสามารถแต่งตั้งรองผู้ว่าฯหรือบอร์ดทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าฯได้ทำให้ขณะนี้บอร์ดจึงได้ตั้งคณะทำงานในการแก้พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯในประเด็นดังกล่าวและรวมถึงประเด็น การพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า การบริหารจัดการและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งจะเร่งสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อแก้กฎหมายตามขั้นตอนต่อไป
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯรรฟม.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 กก.สรรหาฯได้มีการพิจารณารายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติผู้สมัคร 7 ราย แต่เนื่องจากที่ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อยืนยันคุณสมบัติแต่ละราย รวม 9 หน่วยงาน นั้น ล่าสุดยังตอบยืนยันกลับมาเพียง 6-7หน่วยทำให้การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครทั้ง 7 รายยังไม่ครบ ดังนั้นกรรมการสรรหาฯ จึงยังไม่สามารถประกาศชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติได้ และยังไม่มีการตัดสิทธิ์ผู้สมัครทั้ง 7 ราย ในขณะที่ได้กำหนดไว้ให้แสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 5 มกราคม 2558 ไว้แล้วจึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอผลตรวจสอบคุณสมบัตให้แล้วเสร็จก่อนและไม่ถือว่าผิดขั้นตอนแต่อย่างใดเนื่องจากต้องการสรุปผลการสรรหาฯให้เร็วที่สุด โดยหลังสัมภาษณ์แล้วเสร็จเย็นวันที่ 5 มกราคม 2558 จะทราบว่าผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนสูงสุด และจะเจรจารายละเอียดสัญญาจ้างและค่าตอบแทน รวมถึงเสนอกระทรวงการคลังเห็นขอบและเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2558
ส่วนกรณีที่มีการกล่าวหาคณะกรรมการสรรหาฯ มีการเลือกปฎิบัติหรือกีดกันผู้สมัครบางท่านนั้น ยืนยันว่า ประกาศรฟม.รับสมัครผู้ว่าฯรฟม.นั้นในเรื่องคุณสมบัติทั่วไป ไม่ได้มีข้อกีดกันใดๆ ทั้งสิ้นและไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะตัดสิทธิ์ใคร ไม่ว่าจะเป็นคนในหรือคนนอก ส่วนกรณีเป็นรักษาการผู้ว่าฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 3.1.12 นั้นที่ระบุว่าต้องไม่เป็นรักษาการผู้ว่าฯ ในวันยื่นใบสมัครนั้น ไม่ได้กีดกันใครทั้งสิ้นเพราะรักษาการผู้ว่าฯสามารถลาออกจากรักษาการฯ และมาลงสมัครสรรหาฯได้โดยไม่ผิดกฎหมายของรฟม. แต่อย่างใด ซึ่งพ.ร.บ.รฟม. ในมาตรา 27 ระบุว่าให้รองผู้ว่าฯรฟม.อาวุโสสูงสุดตามลำดับ เป็นผู้รักษาการ ผู้ว่าฯรฟม. ถ้าไม่มีหรือปฎิบัติหน้าที่ไม่ได้ให้แต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งรักษาการผู้ว่าฯรฟม.แทนได้
ทั้งนี้ หากมองว่าการสรรหาฯ ผู้ว่าฯ รฟม.ครั้งนี้กำหนดคุณสมบัติกีดกัน ดังนั้น กรณีที่รัฐวิสาหกิจอื่นมีข้อห้ามนักการเมือง , กรรมการบอร์ด ลงสมัครก็ถือว่าทุกรัฐวิสาหกิจกีดกันเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากศาลมีคำสั่ง กรรมการสรรหา พร้อมชี้แจง แต่ขณะนี้ยืนยันต้องเดินหน้าการสรรหาตามขั้นตอน โดยวันที่ 5 มกราคม 2558 จะทราบผู้ได้รับการสรรหาฯ
“การกำหนดคุณสมบัติ ดังกล่าวเป็นผลดี เพราะจะเป็นการเปิดกว้างในการสรรหาได้อย่างเป็นธรรมโปร่งใสและไม่มีการเอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด ซึ่งกรรมการสรรหาฯได้พิจารณาอย่างละเอียดและคำนึงถึงเหตุในอดีตที่เคยมีรักษาการผู้ว่าฯรฟม.ใช้อำนาจหน้าที่ ให้คุณให้โทษกับผู้สมัครรายอื่นที่เป็นคู่แข่ง
โดยการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.เมื่อประมาณ 4 ปีก่อน เมื่อรักษาการผู้ว่าฯ ไม่ได้รับการสรรหา จึงมีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงรองผู้ว่าฯที่ได้รับคัดเลือกทำให้ต้องล้มการสรรหาครั้งนั้นไป”
รายงานข่าวแจ้งว่า ในวานนี้ (29 ธันวาคม) นายรณชิต แย้มสอาด รองผู้ว่าการฝ่ายบริหาร ในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้ยื่นฟ้องคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าการ รฟม. จำนวนทั้งสิ้น 4 คน ได้แก่ นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหา ส่วนกรรมการอีก 3 คน ได้แก่ นายเพิ่มศักดิ์ สัจจะเวทะ,นายสุนทรทรัพย์ตันติกุล และพล.ต.พิเชษฐ์ คงศรี โดยฟ้องทั้งศาลอาญาและศาลปกครองกลางกรณีละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ ตามมาตรา 157 โดยระบุความผิดใน 2 ประเด็น คือ กรรมการสรรหาฯ ดำเนินการสรรหาโดยกีดกันและเลือกปฎิบัติที่กำหนดคุณสมบัติผู้สมัครข้อ 3.1.12 ว่าต้องไม่เป็นผู้รักษาการฯผู้ว่า รฟม.ในวันยื่นใบสมัคร 2. กระบวนการสรรหาฯ ดำเนินการผิดขั้นตอน ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการสรรหาฯจะเชิญผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามประกาศ แสดงวิสัยทัศน์ กรรมการสรรหาได้รวบรัดให้ผู้สมัครทั้ง 7 คน แสดงวิสัยทัศน์ทั้งหมดโดยไม่ประกาศผู้ผ่านคุณสมบัติก่อน ทั้งนี้ ได้ขอคุ้มครองฉุกเฉินต่อศาลปกครองกลางให้ระงับกระบวนการสรรหาผู้ว่าการ รฟม.ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่จะเชิญผู้ผ่านคุณสมบัติมาแสดงวิสัยทัศน์ต่อคณะกรรมการสรรหาในวันที่ 5 มกราคม 2558 นี้
ซึ่งในช่วงบ่ายวันเดียวกัน พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม. พร้อมด้วยนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาฯผู้ว่ารฟม.ได้แถลงข่าวด่วนชี้แจงกรณีดังกล่าว โดยพล.อ.ยอดยุทธกล่าวว่า การสรรหาฯผู้ว่ารฟม. เป็นไปตามกระบวนการ ถ้ามีข้อโต้แย้งใดก็ต้องชี้แจงซึ่งศาลยังไม่มีคำสั่งใดๆจึงจะยังไม่ต้องหยุดกระบวนการสรรหา เพราะมั่นใจว่าเดินตามกฎระเบียบ กฎหมายเป็นหลัก เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวมและองค์กร การดำเนินงานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีเหตุผล ไม่มีอคติกับผู้ใด
ซึ่งปัญหาของรฟม.คือมีพ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯ ซึ่งแตกต่างจากหน่วยงานอื่น โดยเฉพาะกรณีที่ตำแหน่งผู้ว่าฯรฟม.ว่าง จะต้องตั้งรองผู้ว่าฯ ที่อาวุโสสูงสุด ตามลำดับ ซึ่งมีสิทธิ์สมัครสรรหาผู้ว่าได้ด้วย ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ในขณะที่หน่วยงานอื่นสามารถแต่งตั้งรองผู้ว่าฯหรือบอร์ดทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าฯได้ทำให้ขณะนี้บอร์ดจึงได้ตั้งคณะทำงานในการแก้พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าฯในประเด็นดังกล่าวและรวมถึงประเด็น การพัฒนาเทคโนโลยี พัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้า การบริหารจัดการและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ซึ่งจะเร่งสรุปเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อแก้กฎหมายตามขั้นตอนต่อไป
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ รองปลัดกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการสรรหาผู้ว่าฯรรฟม.กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2557 กก.สรรหาฯได้มีการพิจารณารายชื่อผู้ที่ผ่านคุณสมบัติผู้สมัคร 7 ราย แต่เนื่องจากที่ได้ทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานต่างๆ เพื่อยืนยันคุณสมบัติแต่ละราย รวม 9 หน่วยงาน นั้น ล่าสุดยังตอบยืนยันกลับมาเพียง 6-7หน่วยทำให้การตรวจสอบคุณสมบัติผู้สมัครทั้ง 7 รายยังไม่ครบ ดังนั้นกรรมการสรรหาฯ จึงยังไม่สามารถประกาศชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติได้ และยังไม่มีการตัดสิทธิ์ผู้สมัครทั้ง 7 ราย ในขณะที่ได้กำหนดไว้ให้แสดงวิสัยทัศน์ในวันที่ 5 มกราคม 2558 ไว้แล้วจึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องรอผลตรวจสอบคุณสมบัตให้แล้วเสร็จก่อนและไม่ถือว่าผิดขั้นตอนแต่อย่างใดเนื่องจากต้องการสรุปผลการสรรหาฯให้เร็วที่สุด โดยหลังสัมภาษณ์แล้วเสร็จเย็นวันที่ 5 มกราคม 2558 จะทราบว่าผู้สมัครรายใดได้รับคะแนนสูงสุด และจะเจรจารายละเอียดสัญญาจ้างและค่าตอบแทน รวมถึงเสนอกระทรวงการคลังเห็นขอบและเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) แต่งตั้งผู้ว่าฯ รฟม.คนใหม่ให้แล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2558
ส่วนกรณีที่มีการกล่าวหาคณะกรรมการสรรหาฯ มีการเลือกปฎิบัติหรือกีดกันผู้สมัครบางท่านนั้น ยืนยันว่า ประกาศรฟม.รับสมัครผู้ว่าฯรฟม.นั้นในเรื่องคุณสมบัติทั่วไป ไม่ได้มีข้อกีดกันใดๆ ทั้งสิ้นและไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะตัดสิทธิ์ใคร ไม่ว่าจะเป็นคนในหรือคนนอก ส่วนกรณีเป็นรักษาการผู้ว่าฯ ซึ่งได้กำหนดไว้ในข้อ 3.1.12 นั้นที่ระบุว่าต้องไม่เป็นรักษาการผู้ว่าฯ ในวันยื่นใบสมัครนั้น ไม่ได้กีดกันใครทั้งสิ้นเพราะรักษาการผู้ว่าฯสามารถลาออกจากรักษาการฯ และมาลงสมัครสรรหาฯได้โดยไม่ผิดกฎหมายของรฟม. แต่อย่างใด ซึ่งพ.ร.บ.รฟม. ในมาตรา 27 ระบุว่าให้รองผู้ว่าฯรฟม.อาวุโสสูงสุดตามลำดับ เป็นผู้รักษาการ ผู้ว่าฯรฟม. ถ้าไม่มีหรือปฎิบัติหน้าที่ไม่ได้ให้แต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งรักษาการผู้ว่าฯรฟม.แทนได้
ทั้งนี้ หากมองว่าการสรรหาฯ ผู้ว่าฯ รฟม.ครั้งนี้กำหนดคุณสมบัติกีดกัน ดังนั้น กรณีที่รัฐวิสาหกิจอื่นมีข้อห้ามนักการเมือง , กรรมการบอร์ด ลงสมัครก็ถือว่าทุกรัฐวิสาหกิจกีดกันเช่นกัน อย่างไรก็ตามหากศาลมีคำสั่ง กรรมการสรรหา พร้อมชี้แจง แต่ขณะนี้ยืนยันต้องเดินหน้าการสรรหาตามขั้นตอน โดยวันที่ 5 มกราคม 2558 จะทราบผู้ได้รับการสรรหาฯ
“การกำหนดคุณสมบัติ ดังกล่าวเป็นผลดี เพราะจะเป็นการเปิดกว้างในการสรรหาได้อย่างเป็นธรรมโปร่งใสและไม่มีการเอื้อประโยชน์หรือก่อให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบแต่อย่างใด ซึ่งกรรมการสรรหาฯได้พิจารณาอย่างละเอียดและคำนึงถึงเหตุในอดีตที่เคยมีรักษาการผู้ว่าฯรฟม.ใช้อำนาจหน้าที่ ให้คุณให้โทษกับผู้สมัครรายอื่นที่เป็นคู่แข่ง
โดยการสรรหาผู้ว่าฯรฟม.เมื่อประมาณ 4 ปีก่อน เมื่อรักษาการผู้ว่าฯ ไม่ได้รับการสรรหา จึงมีการตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงรองผู้ว่าฯที่ได้รับคัดเลือกทำให้ต้องล้มการสรรหาครั้งนั้นไป”