ปัญญาพลวัตร
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ขณะนี้เป็นที่แน่นอนแล้วว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2558 ตัดสินใจเลือกใช้ระบบการเมืองแบบรัฐสภาแบบเดิมที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี หรือให้ฝ่ายนิติบัญญัติเลือกฝ่ายบริหารนั่นเอง โดยให้เหตุผลว่าสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับระบบนี้มานาน ส่วนระบบการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนที่กรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสนอนั้น ถูกมองเป็นระบบที่มีความเสี่ยงสูง เป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่คุ้นเคยจึงไม่ควรนำมาใช้
เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีทางเลือกเกิดขึ้น กลุ่มคณะที่มีอำนาจมากกว่าย่อมประสบชัยชนะเสมอ ไม่ว่าเหตุผลที่ให้จะมีน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม ความปรารถนาของผู้มีอำนาจมากกว่า ไม่ว่าจะไร้ความสมเหตุสมผล หรือไร้หลักการพียงใดย่อมชนะความปรารถนาของผู้มีอำนาจน้อยกว่าที่มีความสมเหตุสมผลและหลักการหลักแน่นเป็นประจำ ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจนเป็นแบบแผนในทุกอาณาบริเวณของสังคมไทยตั้งแต่ระดับกลุ่มเล็กๆของชาวบ้านธรรมดาไปจนถึงกลุ่มของบรรดาผู้ที่มองมองว่าเป็นปัญญาชนอย่างมหาวิทยาลัย
ใคร กลุ่มใดมีอำนาจน้อยกว่าก็ต้องทำใจยอมรับเพื่อความสงบครับ หากกลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่าทำใจไม่ได้ สิ่งที่ตามมาคือพวกเขาก็อาจจะใช้วิธีการต่างๆนาๆเพื่อให้บรรลุความปรารถนาของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นความไม่สงบก็อาจเกิดขึ้นและมีต้นทุนที่ต้องสูญเสียไปอีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับระบบเลือกตั้ง กรรมาธิการร่างฯเลือกใช้ “ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม” (Mixed-Member Proportional : MMP) อันมีที่มาจากประเทศเยอรมนีซึ่งให้สภาผู้แทนราษฎรมีผู้แทนจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน กรรมาธิการร่างฯมองว่าระบบนี้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยที่ควรมีทั้งผู้แทนที่มาจากพื้นที่เขตจังหวัดหรือการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และผู้แทนที่ไม่มีฐานเสียงในเขตจังหวัดหรือการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ด้านจำนวน ส.ส. กำหนดให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตพื้นที่ 250 คน และแบบระบบสัดส่วน 200 คน รวม 450 คน
กรรมาธิการร่างฯอ้างเสียสวยหรูว่าระบบเลือกแบบนี้เป็นการคำนึงถึงเสียงสะท้อนของภาคประชาชนสังคม
บางคนอาจบอกว่าระบบการเลือกตั้งแบบนี้ก็มีใช้กันแล้วในสังคมไทยไม่ใช่หรือ อันที่จริงก็มีอยู่แล้วที่เรียกว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ นั่นแหละครับ แต่ระบบการเลือกตั้งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นนี้มีความแตกต่างจากเดิมอยู่ 2 จุดใหญ่ๆ
จุดแรก คือจำนวนส.ส.เขตกับส.ส.แบบสัดส่วน ในอดีตส.ส.แบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อมีจำนวนน้อยกว่าส.ส.เขตมาก อย่างในรัฐธรรมนูญปี 2550 ตอนแรกกำหนดให้มี ส.ส.แบบสัดส่วน 100 คน ส.ส.เขต 400 คน ต่อมามีการแก้ไขในปี 2554 ให้มี ส.ส.แบบสัดส่วน 125 คน ส.ส.เขตเหลือ 375 คน ส่วนในปัจจุบันที่กำลังร่างอยู่กำหนดในขั้นต้นให้มีส.ส.แบบสัดส่วน 200 คน ส.ส.แบ่งเขต 250 คน เรียกว่าเวลาผ่านไป จำนวน ส.ส.แบบสัดส่วนก็เพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับส.ส.แบบแบ่งเขตแล้ว
จุดที่สองคือวิธีการคิดจำนวนของผู้สมัครที่ได้เป็น ส.ส. ในอดีตเป็นแบบคิดคะแนนแยกจากกัน เลือกแบบไหนก็เอาคะแนนแบบนั้นมาคิด ถ้าเลือกแบบแบ่งเขต เขตไหนผู้สมัครได้คะแนนมากที่สุดก็ได้รับการเลือกตั้งไปเลย ไม่ต้องไปดูคะแนนแบบระบบสัดส่วน (คะแนนพรรค) ส่วนระบบสัดส่วนก็เอาคะแนนพรรคในภาพรวมมาคิดว่าแต่ละพรรคได้คะแนนเท่าไร คิดเป็นจำนวนส.ส. กี่คน จากนั้นก็ไปดูลำดับที่ในบัญชีของพรรคนั้นว่าจะได้ถึงลำดับที่เท่าไร ก็ได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่แต่ละพรรคได้ก็คือเอาจำนวนส.ส.ที่ชนะจากระบบแบ่งเขตบวกกับจำนวนส.ส.จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง
แต่วิธีคิดจำนวน ส.ส.แบบใหม่ ที่กรรมาธิการร่างฯกำลังชื่นชอบอยู่นี้ เป็นวิธีคิดแบบเอาคะแนนพรรคเป็นใหญ่ ในการเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ลงคะแนนบัตรเลือกตั้ง 2 ใบนั่นแหละ คือ เลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตใบหนึ่ง กับเลือกพรรคการเมืองอีกใบหนึ่ง ส่วนจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่พรรคใดพรรคหนึ่งจะได้ขึ้นอยู่กับคะแนนภาพรวมที่พรรคนั้นได้รับ เช่น หากพรรค ก. ได้คะแนนแบบบัญชีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 อาจได้รับการจัดสรรจำนวน ส.ส. 45 คน
คำถามถัดไปคือ แล้วจะหยิบเอาใครมาเป็น ส.ส. ก่อน จะเอาจากบัญชีรายชื่อพรรคก่อนหรือเอามาจากผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งในเขตก่อน กรรมาธิการร่างฯก็บอกว่า ขั้นแรกคือเลือกผู้สมัครจากเขตที่ชนะการเลือกตั้งก่อน และหากยังไม่ครบตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรก็ไปเอามาจากบัญชีรายชื่อพรรคมาสมทบ
ทีนี้ลองดูตัวอย่างแรกที่อาจเกิดขึ้นหากใช้ระบบนี้ อันเป็นความเสี่ยงของคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อแบบสัดส่วน สมมติว่า พรรค ก. ได้คะแนนแบบบัญชีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 ได้รับการจัดสรรจำนวน ส.ส. 45 คน และพรรค ก. ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตอีก 45 เขต ผลก็คือ พรรค ก. จะมี ส.ส.ในสภาทั้งสิ้นเพียง 45 คน ที่มาจากระบบเขตเท่านั้น ในกรณีนี้จะไม่มีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อคนใดที่ได้เป็นส.ส.เลย เพราะฉะนั้นใครที่อยู่ในบัญชีรายชื่อก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เป็น ส.ส.
กรณีที่สอง มีความเป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองจะมีส.ส.ทั้งที่มาจากบัญชีรายชื่อกับแบบแบ่งเขต สมมติว่า พรรค ข.ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 ของทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวน ส.ส.ที่ควรจะมี 45 คน แต่พรรค ข. ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 30 เขต ผลก็คือ พรรค ข. จะมี ส.ส. 45 คน ที่มาจากแบบแบ่งเขต 30 คน และจะได้ ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อเข้ามาอีก 15 คน รวมเป็น 45 คน
ส่วนกรณีที่สาม มีความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองหนึ่งจะมีแต่ส.ส.ที่มาจากระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อแต่อย่างเดียว สมมติว่าพรรค ค. ได้คะแนนแบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 ได้รับการจัดสรร ส.ส. 45 คน แต่ไม่มีผู้สมัครแบบเขตเลือกตั้งใดเลยที่ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น เพราะฉะนั้นพรรคนี้ก็จะมีแต่ ส.ส.ที่มาจากบัญชีรายชื่อเท่านั้น
กรรมาธิการร่างฯระบุว่า ระบบการเลือกตั้งแบบนี้เสียงประชาชนไม่สูญเปล่าซึ่งก็เป็นจริงครึ่งหนึ่ง นั่นคือคะแนนเสียงที่เลือกพรรค ส่วนเสียงที่เลือกตัวบุคคลก็คงสูญเปล่าเหมือนเดิมนั่นแหละ หากจะไม่ให้เสียงของประชาชนสูญเปล่าจริงตามหลักการก็น่าจะใช้ระบบสัดส่วนอย่างเดียวให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลยไม่ดีกว่าหรือ
ตามประวัติศาสตร์ระบบการเลือกตั้งแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการเมืองเยอรมัน ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเยอรมันใช้การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างเดียวทำให้พรรคนาซีซึ่งมีระบบการจัดตั้งที่เข้มแข็งในพื้นที่ได้เปรียบ สามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างท่วมท้น และควบคุมรัฐสภาของเยอรมันได้อย่างเบ็ดเสร็จ ต่อมาเมื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบนี้ก็ทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดมีเสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดดังในอดีต รัฐบาลที่ได้มักจะเป็นรัฐบาลผสมเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นการทำให้รัฐบาลไม่แข็งตัวเกินไป ต้องมีความยืดหยุ่นและประนีประนอมต่อกลุ่มพลังต่างๆมากขึ้น
ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญไทยยุคปัจจุบันก็คงคิดแบบนี้ แต่ลืมไปในประเด็นหนึ่งว่า คนเยอรมันและนักการเมืองเยอรมันนั้นมีความตรงไปตรงไป ไม่ทุจริตฉ้อฉลเหมือนนักการเมืองไทย ดังนั้นเวลานักการเมืองต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน เขาใช้อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นฐานในการต่อรองเชิงนโยบาย ไม่ใช่ใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเป็นฐานแบบบ้านเรา ดังนั้นปัญหาหลังจากการนำระบบนี้ไปใช้จึงมีไม่มากนัก
อีกประเด็นหนึ่งที่กรรมาธิการยกร่างฯประสงค์ให้เกิดคือ ผู้สมัคร ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการทำงานในสภา แต่สามารถสมัครเป็นกลุ่มได้ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบวิธีการลงทะเบียนกลุ่มอีกครั้ง
การที่ผู้สมัครส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้วในสังคมไทย แต่ถูกมองว่าส.ส.ใช้ความเป็นอิสระของตัวเองเป็นเครื่องมือต่อรองเพื่อประโยชน์ส่วนตน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จึงระบุให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค หวังจะให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง แต่ปรากฏว่าทำให้ ส.ส.กลายเป็นทาสในเรือนเบี้ยของนายทุนเจ้าของพรรคจนนำไปสู่วิกฤติทางการเมือง ดังนั้นในคราวนี้ผู้ร่างจึงหันไปใช้ระบบเดิมอีกที
การแก้ปัญหาแบบไทยๆ ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ มักมองอะไรในเชิงแก้ปัญหาระยะสั้น รีบสรุปตัดบทเอาตามที่ตนเองปรารถนา ตั้งธงเอาไว้ก่อนว่าจะเอาแบบนั้นเอาแบบนี้ โดยไม่สนใจเหตุผลและข้อมูลที่ได้รับภายหลังเท่าไรนัก พอเจอปัญหาหนึ่งก็ออกแบบแนวทางใหม่โดยหวังให้แก้ปัญหานั้น แต่ก็มักกลายเป็นว่า แนวทางใหม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาภายหลังกลายมาเป็นปัญหาเสียเอง เลยกลับไปหยิบเอาแนวทางเก่ามาใช้อีกครั้ง วนเวียนไปมาเรื่อยๆ
หลายคนถามผมว่าระบบการเลือกตั้งแบบใหม่แก้ปัญหาการเมืองไทยได้หรือไม่ ง่ายๆ ก็คือแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงและการทุจริตของนักการเมืองได้หรือไม่ ก็คงตอบว่าไม่ได้ครับ เพราะระบบการเลือกตั้งที่เขาออกแบบมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้รัฐบาลเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากเกินไป ไม่ใช่เอาไว้แก้ปัญหาการทุจริตหรือซื้อขายเสียง
แล้วถ้าถามว่าระบบนี้จะทำให้ปัญหาที่นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองควบคุมส.ส.ได้หรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ได้เหมือนกัน เพราะ ส.ส.ไทยก็ยังคงถูกซื้อด้วยเงินและผลประโยชน์อยู่ต่อไปอีกยาวนาน และหากนายทุนพรรคการเมืองใดมีเงินหนาก็ยังคงใช้เงินเป็นตัวควบคุมส.ส.ได้อยู่ดี
อีกคำถามหนึ่ง ระบบนี้จะทำให้ได้นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถมีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศหรือไม่ ก็ตอบว่ามีโอกาส แต่น้อยครับ นายกฯที่เกิดจากระบบนี้จะเป็นนักต่อรองประสานผลประโยชน์ หรือไม่ก็เป็นหุ่นเชิดเอาคนหน้าตาดีๆ แต่ไร้สมองมานั่งเป็นนายกฯก็ได้ แล้วแต่นายทุนพรรคการเมืองจะกำหนด
อ้าวอย่างนั้น โอกาสที่รัฐบาลจะผลักดันการปฏิรูปประเทศละมีมากน้อยขนาดไหน มีครับ แต่เป็นแบบเลือนราง ค่อยๆคลานไป เพราะโดยระบบทำให้ต้องมีการประนีประนอมสูง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเกิดขึ้นได้ยาก และยิ่งภายใต้ระบบการเมืองไทยที่นักการเมืองมุ่งประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ส่วนประโยชน์สาธารณะเป็นรองแล้ว โอกาสการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนทำได้ยากครับ
โดย...พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ขณะนี้เป็นที่แน่นอนแล้วว่ากรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2558 ตัดสินใจเลือกใช้ระบบการเมืองแบบรัฐสภาแบบเดิมที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เลือกตั้งนายกรัฐมนตรี หรือให้ฝ่ายนิติบัญญัติเลือกฝ่ายบริหารนั่นเอง โดยให้เหตุผลว่าสังคมไทยมีความคุ้นเคยกับระบบนี้มานาน ส่วนระบบการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรงจากประชาชนที่กรรมาธิการปฏิรูปการเมืองเสนอนั้น ถูกมองเป็นระบบที่มีความเสี่ยงสูง เป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่คุ้นเคยจึงไม่ควรนำมาใช้
เป็นเรื่องธรรมดาเมื่อมีทางเลือกเกิดขึ้น กลุ่มคณะที่มีอำนาจมากกว่าย่อมประสบชัยชนะเสมอ ไม่ว่าเหตุผลที่ให้จะมีน้ำหนักหรือไม่ก็ตาม ความปรารถนาของผู้มีอำนาจมากกว่า ไม่ว่าจะไร้ความสมเหตุสมผล หรือไร้หลักการพียงใดย่อมชนะความปรารถนาของผู้มีอำนาจน้อยกว่าที่มีความสมเหตุสมผลและหลักการหลักแน่นเป็นประจำ ปรากฏการณ์แบบนี้เกิดขึ้นจนเป็นแบบแผนในทุกอาณาบริเวณของสังคมไทยตั้งแต่ระดับกลุ่มเล็กๆของชาวบ้านธรรมดาไปจนถึงกลุ่มของบรรดาผู้ที่มองมองว่าเป็นปัญญาชนอย่างมหาวิทยาลัย
ใคร กลุ่มใดมีอำนาจน้อยกว่าก็ต้องทำใจยอมรับเพื่อความสงบครับ หากกลุ่มที่มีอำนาจน้อยกว่าทำใจไม่ได้ สิ่งที่ตามมาคือพวกเขาก็อาจจะใช้วิธีการต่างๆนาๆเพื่อให้บรรลุความปรารถนาของตนเอง เมื่อเป็นเช่นนั้นความไม่สงบก็อาจเกิดขึ้นและมีต้นทุนที่ต้องสูญเสียไปอีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับระบบเลือกตั้ง กรรมาธิการร่างฯเลือกใช้ “ระบบการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม” (Mixed-Member Proportional : MMP) อันมีที่มาจากประเทศเยอรมนีซึ่งให้สภาผู้แทนราษฎรมีผู้แทนจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมทั้งแบบแบ่งเขตและแบบสัดส่วน กรรมาธิการร่างฯมองว่าระบบนี้เหมาะสมกับสภาพสังคมไทยที่ควรมีทั้งผู้แทนที่มาจากพื้นที่เขตจังหวัดหรือการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต และผู้แทนที่ไม่มีฐานเสียงในเขตจังหวัดหรือการเลือกตั้งแบบสัดส่วน ด้านจำนวน ส.ส. กำหนดให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตพื้นที่ 250 คน และแบบระบบสัดส่วน 200 คน รวม 450 คน
กรรมาธิการร่างฯอ้างเสียสวยหรูว่าระบบเลือกแบบนี้เป็นการคำนึงถึงเสียงสะท้อนของภาคประชาชนสังคม
บางคนอาจบอกว่าระบบการเลือกตั้งแบบนี้ก็มีใช้กันแล้วในสังคมไทยไม่ใช่หรือ อันที่จริงก็มีอยู่แล้วที่เรียกว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ นั่นแหละครับ แต่ระบบการเลือกตั้งใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นนี้มีความแตกต่างจากเดิมอยู่ 2 จุดใหญ่ๆ
จุดแรก คือจำนวนส.ส.เขตกับส.ส.แบบสัดส่วน ในอดีตส.ส.แบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อมีจำนวนน้อยกว่าส.ส.เขตมาก อย่างในรัฐธรรมนูญปี 2550 ตอนแรกกำหนดให้มี ส.ส.แบบสัดส่วน 100 คน ส.ส.เขต 400 คน ต่อมามีการแก้ไขในปี 2554 ให้มี ส.ส.แบบสัดส่วน 125 คน ส.ส.เขตเหลือ 375 คน ส่วนในปัจจุบันที่กำลังร่างอยู่กำหนดในขั้นต้นให้มีส.ส.แบบสัดส่วน 200 คน ส.ส.แบ่งเขต 250 คน เรียกว่าเวลาผ่านไป จำนวน ส.ส.แบบสัดส่วนก็เพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับส.ส.แบบแบ่งเขตแล้ว
จุดที่สองคือวิธีการคิดจำนวนของผู้สมัครที่ได้เป็น ส.ส. ในอดีตเป็นแบบคิดคะแนนแยกจากกัน เลือกแบบไหนก็เอาคะแนนแบบนั้นมาคิด ถ้าเลือกแบบแบ่งเขต เขตไหนผู้สมัครได้คะแนนมากที่สุดก็ได้รับการเลือกตั้งไปเลย ไม่ต้องไปดูคะแนนแบบระบบสัดส่วน (คะแนนพรรค) ส่วนระบบสัดส่วนก็เอาคะแนนพรรคในภาพรวมมาคิดว่าแต่ละพรรคได้คะแนนเท่าไร คิดเป็นจำนวนส.ส. กี่คน จากนั้นก็ไปดูลำดับที่ในบัญชีของพรรคนั้นว่าจะได้ถึงลำดับที่เท่าไร ก็ได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่แต่ละพรรคได้ก็คือเอาจำนวนส.ส.ที่ชนะจากระบบแบ่งเขตบวกกับจำนวนส.ส.จากบัญชีรายชื่อพรรคการเมือง
แต่วิธีคิดจำนวน ส.ส.แบบใหม่ ที่กรรมาธิการร่างฯกำลังชื่นชอบอยู่นี้ เป็นวิธีคิดแบบเอาคะแนนพรรคเป็นใหญ่ ในการเลือกตั้งผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็ลงคะแนนบัตรเลือกตั้ง 2 ใบนั่นแหละ คือ เลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตใบหนึ่ง กับเลือกพรรคการเมืองอีกใบหนึ่ง ส่วนจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่พรรคใดพรรคหนึ่งจะได้ขึ้นอยู่กับคะแนนภาพรวมที่พรรคนั้นได้รับ เช่น หากพรรค ก. ได้คะแนนแบบบัญชีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 อาจได้รับการจัดสรรจำนวน ส.ส. 45 คน
คำถามถัดไปคือ แล้วจะหยิบเอาใครมาเป็น ส.ส. ก่อน จะเอาจากบัญชีรายชื่อพรรคก่อนหรือเอามาจากผู้สมัครที่ชนะการเลือกตั้งในเขตก่อน กรรมาธิการร่างฯก็บอกว่า ขั้นแรกคือเลือกผู้สมัครจากเขตที่ชนะการเลือกตั้งก่อน และหากยังไม่ครบตามจำนวนที่ได้รับการจัดสรรก็ไปเอามาจากบัญชีรายชื่อพรรคมาสมทบ
ทีนี้ลองดูตัวอย่างแรกที่อาจเกิดขึ้นหากใช้ระบบนี้ อันเป็นความเสี่ยงของคนที่อยู่ในบัญชีรายชื่อแบบสัดส่วน สมมติว่า พรรค ก. ได้คะแนนแบบบัญชีสัดส่วนคิดเป็นร้อยละ 10 ได้รับการจัดสรรจำนวน ส.ส. 45 คน และพรรค ก. ชนะการเลือกตั้ง ส.ส.แบบแบ่งเขตอีก 45 เขต ผลก็คือ พรรค ก. จะมี ส.ส.ในสภาทั้งสิ้นเพียง 45 คน ที่มาจากระบบเขตเท่านั้น ในกรณีนี้จะไม่มีผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อคนใดที่ได้เป็นส.ส.เลย เพราะฉะนั้นใครที่อยู่ในบัญชีรายชื่อก็มีความเสี่ยงที่จะไม่ได้เป็น ส.ส.
กรณีที่สอง มีความเป็นไปได้ว่าพรรคการเมืองจะมีส.ส.ทั้งที่มาจากบัญชีรายชื่อกับแบบแบ่งเขต สมมติว่า พรรค ข.ได้คะแนนแบบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 ของทั้งหมด หรือคิดเป็นจำนวน ส.ส.ที่ควรจะมี 45 คน แต่พรรค ข. ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต 30 เขต ผลก็คือ พรรค ข. จะมี ส.ส. 45 คน ที่มาจากแบบแบ่งเขต 30 คน และจะได้ ส.ส.จากระบบบัญชีรายชื่อเข้ามาอีก 15 คน รวมเป็น 45 คน
ส่วนกรณีที่สาม มีความเป็นไปได้ที่พรรคการเมืองหนึ่งจะมีแต่ส.ส.ที่มาจากระบบสัดส่วนบัญชีรายชื่อแต่อย่างเดียว สมมติว่าพรรค ค. ได้คะแนนแบบัญชีรายชื่อคิดเป็นร้อยละ 10 ได้รับการจัดสรร ส.ส. 45 คน แต่ไม่มีผู้สมัครแบบเขตเลือกตั้งใดเลยที่ชนะการเลือกตั้งในเขตนั้น เพราะฉะนั้นพรรคนี้ก็จะมีแต่ ส.ส.ที่มาจากบัญชีรายชื่อเท่านั้น
กรรมาธิการร่างฯระบุว่า ระบบการเลือกตั้งแบบนี้เสียงประชาชนไม่สูญเปล่าซึ่งก็เป็นจริงครึ่งหนึ่ง นั่นคือคะแนนเสียงที่เลือกพรรค ส่วนเสียงที่เลือกตัวบุคคลก็คงสูญเปล่าเหมือนเดิมนั่นแหละ หากจะไม่ให้เสียงของประชาชนสูญเปล่าจริงตามหลักการก็น่าจะใช้ระบบสัดส่วนอย่างเดียวให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลยไม่ดีกว่าหรือ
ตามประวัติศาสตร์ระบบการเลือกตั้งแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาการเมืองเยอรมัน ก่อนสงครามโลกครั้งที่สองเยอรมันใช้การเลือกตั้งแบบแบ่งเขตอย่างเดียวทำให้พรรคนาซีซึ่งมีระบบการจัดตั้งที่เข้มแข็งในพื้นที่ได้เปรียบ สามารถชนะการเลือกตั้งได้อย่างท่วมท้น และควบคุมรัฐสภาของเยอรมันได้อย่างเบ็ดเสร็จ ต่อมาเมื่อเปลี่ยนไปใช้ระบบนี้ก็ทำให้ไม่มีพรรคการเมืองใดมีเสียงข้างมากแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดดังในอดีต รัฐบาลที่ได้มักจะเป็นรัฐบาลผสมเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นการทำให้รัฐบาลไม่แข็งตัวเกินไป ต้องมีความยืดหยุ่นและประนีประนอมต่อกลุ่มพลังต่างๆมากขึ้น
ผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญไทยยุคปัจจุบันก็คงคิดแบบนี้ แต่ลืมไปในประเด็นหนึ่งว่า คนเยอรมันและนักการเมืองเยอรมันนั้นมีความตรงไปตรงไป ไม่ทุจริตฉ้อฉลเหมือนนักการเมืองไทย ดังนั้นเวลานักการเมืองต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กัน เขาใช้อุดมการณ์ทางการเมืองเป็นฐานในการต่อรองเชิงนโยบาย ไม่ใช่ใช้ผลประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้องเป็นฐานแบบบ้านเรา ดังนั้นปัญหาหลังจากการนำระบบนี้ไปใช้จึงมีไม่มากนัก
อีกประเด็นหนึ่งที่กรรมาธิการยกร่างฯประสงค์ให้เกิดคือ ผู้สมัคร ส.ส.ไม่จำเป็นต้องสังกัดพรรคการเมืองก็ได้ โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เกิดความเป็นอิสระในการทำงานในสภา แต่สามารถสมัครเป็นกลุ่มได้ ซึ่งจะต้องมีการออกแบบวิธีการลงทะเบียนกลุ่มอีกครั้ง
การที่ผู้สมัครส.ส.ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมืองเป็นเรื่องที่เคยมีมาแล้วในสังคมไทย แต่ถูกมองว่าส.ส.ใช้ความเป็นอิสระของตัวเองเป็นเครื่องมือต่อรองเพื่อประโยชน์ส่วนตน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จึงระบุให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค หวังจะให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง แต่ปรากฏว่าทำให้ ส.ส.กลายเป็นทาสในเรือนเบี้ยของนายทุนเจ้าของพรรคจนนำไปสู่วิกฤติทางการเมือง ดังนั้นในคราวนี้ผู้ร่างจึงหันไปใช้ระบบเดิมอีกที
การแก้ปัญหาแบบไทยๆ ก็เป็นอย่างนี้แหละครับ มักมองอะไรในเชิงแก้ปัญหาระยะสั้น รีบสรุปตัดบทเอาตามที่ตนเองปรารถนา ตั้งธงเอาไว้ก่อนว่าจะเอาแบบนั้นเอาแบบนี้ โดยไม่สนใจเหตุผลและข้อมูลที่ได้รับภายหลังเท่าไรนัก พอเจอปัญหาหนึ่งก็ออกแบบแนวทางใหม่โดยหวังให้แก้ปัญหานั้น แต่ก็มักกลายเป็นว่า แนวทางใหม่ที่ใช้ในการแก้ปัญหาภายหลังกลายมาเป็นปัญหาเสียเอง เลยกลับไปหยิบเอาแนวทางเก่ามาใช้อีกครั้ง วนเวียนไปมาเรื่อยๆ
หลายคนถามผมว่าระบบการเลือกตั้งแบบใหม่แก้ปัญหาการเมืองไทยได้หรือไม่ ง่ายๆ ก็คือแก้ปัญหาการซื้อขายเสียงและการทุจริตของนักการเมืองได้หรือไม่ ก็คงตอบว่าไม่ได้ครับ เพราะระบบการเลือกตั้งที่เขาออกแบบมานั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อไม่ให้รัฐบาลเข้มแข็งและมีเสถียรภาพมากเกินไป ไม่ใช่เอาไว้แก้ปัญหาการทุจริตหรือซื้อขายเสียง
แล้วถ้าถามว่าระบบนี้จะทำให้ปัญหาที่นายทุนเจ้าของพรรคการเมืองควบคุมส.ส.ได้หรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ได้เหมือนกัน เพราะ ส.ส.ไทยก็ยังคงถูกซื้อด้วยเงินและผลประโยชน์อยู่ต่อไปอีกยาวนาน และหากนายทุนพรรคการเมืองใดมีเงินหนาก็ยังคงใช้เงินเป็นตัวควบคุมส.ส.ได้อยู่ดี
อีกคำถามหนึ่ง ระบบนี้จะทำให้ได้นายกรัฐมนตรีที่มีความรู้ความสามารถมีวิสัยทัศน์ในการบริหารประเทศหรือไม่ ก็ตอบว่ามีโอกาส แต่น้อยครับ นายกฯที่เกิดจากระบบนี้จะเป็นนักต่อรองประสานผลประโยชน์ หรือไม่ก็เป็นหุ่นเชิดเอาคนหน้าตาดีๆ แต่ไร้สมองมานั่งเป็นนายกฯก็ได้ แล้วแต่นายทุนพรรคการเมืองจะกำหนด
อ้าวอย่างนั้น โอกาสที่รัฐบาลจะผลักดันการปฏิรูปประเทศละมีมากน้อยขนาดไหน มีครับ แต่เป็นแบบเลือนราง ค่อยๆคลานไป เพราะโดยระบบทำให้ต้องมีการประนีประนอมสูง การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงเกิดขึ้นได้ยาก และยิ่งภายใต้ระบบการเมืองไทยที่นักการเมืองมุ่งประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ส่วนประโยชน์สาธารณะเป็นรองแล้ว โอกาสการเปลี่ยนแปลงในทางที่จะสร้างประโยชน์แก่ประเทศชาติและประชาชนทำได้ยากครับ