นอกเหนือจากข้อเสนอเรื่องการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรในระบบเยอรมนีแล้ว ข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองที่ถูกโยนหินออกมาถามทางจากทางฝ่ายกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง คือ “การเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง”
รูปแบบการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ประมวลจากหลายๆ ทาง คือการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารแยกออกจากการเลือกตั้ง ส.ส.
โดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งวิธีนี้ จะมีวาระ 4 ปี เท่ากับ ส.ส.แต่ให้เลือกตั้งแบบเหลื่อมปีกัน เช่น เลือกนายกฯ ปีที่ 1 ปีที่ 5 ปีที่ 9 ก็จะให้เลือก ส.ส.ในปีที่ 3 ปีที่ 7 ปีที่ 11
วิธีการนั้น มีทั้งแนวที่ว่าให้เลือกนายกฯ คนเดียว กับรองนายกฯ อีกคนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นแบบการเลือก “บัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี” หรือ Cabinet list กันเลยก็ได้
ก่อนหน้าเดิมที การเลือกตั้งของเราเป็นระบบรัฐสภาที่คล้ายของอังกฤษ คือ การเลือกตั้งทั่วไปมีครั้งเดียว (ไม่นับ ส.ว.) คือเลือก ส.ส.จากนั้นพรรคที่ได้คะแนนเสียงชนะการเลือกตั้งมากที่สุดก็จะจัดตั้งรัฐบาล จะเป็นรัฐบาลเดี่ยวหรือรัฐบาลผสมก็ขึ้นกับที่นั่งในสภาฯ จากนั้น สภาฯ ก็จะเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็จะได้แก่หัวหน้าพรรค หรือผู้ที่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งสนับสนุน จากนั้นผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็จะจัดตั้งรัฐบาล ตั้งคณะรัฐมนตรีต่อไป
จึงอาจกล่าวได้ว่า เลือก ส.ส.เท่ากับเลือกนายกฯ ไปในตัว ซึ่งพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็จะชูตัว “หัวหน้าพรรค” ควบคู่ไปกับชื่อผู้ที่ส่งไปสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ด้วย
แต่ในการเลือกตั้งครั้งก่อนนี้อาจจะแปลกไปนิดหน่อย คือพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส.ที่ไม่ใช่หัวหน้าพรรคขึ้นมาขาย เพื่อป้องกันว่าหากพลาดพลั้งอะไรถูกยุบพรรคไปจะได้ไม่หลุดจากตำแหน่ง หรือไม่ถูกห้ามลงเล่นการเมืองอีกเพราะไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค เรียกว่ามี “หัวหน้าพรรคตามกฎหมาย” เอาไว้เป็นเจว็ด ปัจจุบันไปถามแฟนๆ ชาวเสื้อแดงว่าหัวหน้าพรรคเพื่อไทยชื่ออะไร ก็ไม่มีใครรู้จักว่าได้แก่ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (ก่อนหน้านี้เป็นนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ) เพราะนี่เป็นตำแหน่งที่เอาไว้เผื่อพลาดโดนเชือดเท่านั้นเอง
ปัญหาของการเมืองในรูปแบบรัฐสภานี้ ก็ได้แก่การที่ไม่ว่าจะอย่างไร “สภาฯ” ก็เป็นพวกเดียวกับ “คณะรัฐมนตรี” การถ่วงดุลอำนาจตามทฤษฎีว่า คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภาฯ สภาฯ มีสิทธิไม่ไว้วางใจให้พ้นหน้าที่ เอาเข้าจริงๆ แล้ว ในทางปฏิบัติแทบไม่ปรากฏกรณีที่สภาฯ จะลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเลย ก็เพราะว่าสภาฯ ก็มาจากพรรคเดียวฟากเดียวกับนายกฯ นั่นเองตามวิธีการ และก็ยังมีวิปที่คอยควบคุมเสียงไม่ให้แตก หรือถ้าเสียงแตกก็มีสิทธิลงโทษจากพรรค แม้ว่ารัฐธรรมนูญในระยะหลังจะพยายามบัญญัติว่า สิทธิในการให้ความเห็นชอบเป็นเอกสิทธิของสมาชิกสภาฯ แต่ละคน แต่ในทางปฏิบัติ ก็เป็นระบบวิปคุม ส.ส.ยกมือตะบันไปเท่านั้นเอง (ยิ่งหลังๆ มีเรื่องเสียบบัตรแทนกันด้วย ยิ่งหวานคอแร้ง ตัวไม่ต้องมาประชุมก็ได้ ฝากบัตรไว้ให้หัวคิวเสียบกดให้ก็พอ)
ปัญหาเช่นนี้ จึงทำให้มีแนวคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเลือกนายกฯ โดยตรงไปเลยจะดีกว่าไหม ให้แยกจากการเลือก ส.ส.ไป เพราะในทางความเป็นจริง ก็ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เลือกตั้งด้วย เหมือนกับที่บางคนอาจจะอยากได้นายกฯ เป็น ก. จากพรรค A แต่ก็อยากได้ผู้แทนในพื้นที่เป็นนาย ข. ที่อยู่พรรค B เป็น ส.ส.หรือผู้แทนของท้องถิ่นตัวเองในสภาฯ ซึ่งถ้าการเลือกแบบเดิม ผู้เลือกก็อาจจะต้องตัดใจไม่เลือกนาย ข. เพราะคิดว่าต้องไปเลือกผู้แทนจากพรรค A เพื่อให้นาย ก.ได้เป็นนายกฯ เช่นนี้การเลือก ส.ส.ที่ควรเป็นผู้แทนราษฎรในสภาฯ ก็อาจจะไม่สะท้อนภาพความเป็น “ผู้แทน” ที่แท้จริง เพราะเหมือนเป็นการเลือก “รัฐบาล” มากกว่า
อีกทั้งการเลือกแบบแยกเลือกนายกฯ กับ ส.ส.ก็จะทำให้การถ่วงดุลกันของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้นเป็นไปได้จริงจังมากขึ้นด้วย ซึ่งแนวทางก็อาจจะเป็นอย่างในต่างประเทศที่มีการเลือกฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารแยกกัน ก็ปรากฏว่าถ้าในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พรรคหนึ่งชนะเป็นรัฐบาล พอในรอบการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว.ก็จะเป็นพรรคคู่แข่งที่ชนะได้ที่นั่งมากกว่า ซึ่งเป็นการถ่วงดุลกัน วิธีนี้จึงทำให้สภาฯ กับฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง
หรือถ้าใช้ระบบบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรีจริงๆ ก็จะยิ่งดี คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะได้เห็นชัดๆ ว่า เลือกคนนี้เป็นนายกฯ ได้ใครแถมมาเป็นรัฐมนตรีบ้าง ซึ่งก็จะทำให้การตั้งรัฐมนตรีจะต้องจัด “ของดีๆ” มาอวดกันตั้งแต่หาเสียงเลย หากยัดพวก “ยี้” เข้ามา ก็จะเสียฐานคะแนน ซึ่งน่าจะดีกว่าการเลือกนายกฯ คนเดียว หรือพ่วงกับรองนายกฯ อีกคน เพราะในตอนหลังเมื่อนายกฯ ได้รับการเลือกตั้งไปแล้ว อาจจะมีการต่อรองและเอารัฐมนตรีที่มีผลประโยชน์ร่วมกันมาไว้ใน ครม.หักหลังประชาชนคนเลือกก็ได้
แต่การเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงก็ยังมีปัญหาหรือข้อที่ทำให้คนไม่เห็นด้วย ส่วนสำคัญก็คือรูปแบบการเลือกฝ่ายบริหารโดยตรงนี้จะมีในประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีกัน จึงมีหลายฝ่ายกังวลเนื่องจากประเทศเราเป็นราชอาณาจักรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ข้อนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตำแหน่งนายกฯ อย่างไรก็คือนายกรัฐมนตรีหัวหน้าฝ่ายบริหาร คงไม่มีอำนาจอย่างประมุขรัฐไปได้ เช่น พระราชอำนาจในการไม่เห็นลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย (หรืออำนาจวีโต้) พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ พระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ฯลฯ อันเป็นอำนาจโดยแท้ขององค์พระประมุขรัฐ รวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีก็จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ด้วย ในเชิงอำนาจและสถานะแล้ว ต่อให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็ไม่อาจทำให้นายกฯ ที่ได้รับเลือกมานั้นกลายเป็น “ประมุขรัฐ” หรือประธานาธิบดีไปได้
ส่วนเรื่องไม่มีใครเขาทำกันนั้นก็ไม่อยากจะให้น้ำหนักมาก เพราะการออกแบบรูปแบบการเมืองการปกครองนั้นแม้จะมีรูปแบบหลักๆ แต่ก็ใช่ว่าการออกแบบรูปแบบใหม่นั้นจะเป็นการต้องห้าม เหมือนเช่นที่ฝรั่งเศสออกแบบระบบกึ่งประธานาธิบดีขึ้นมา แตกต่างจากระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ประธานาธิบดีของอเมริกา กับเยอรมนี หรือสิงคโปร์ก็ไม่เหมือนกัน เช่นนี้หากไทยเราจะมีนายกฯ ที่เลือกตั้งโดยตรงบ้างก็อาจจะแปลก แต่ก็ไม่น่าถือเป็นเรื่องผิดอะไร
อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลนั้นก็ยังมี คือ นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้นจะเท่ากับมาจากเสียงของประชาชนโดยตรงที่เลือก “คนคนนั้น” ขึ้นมาเป็นนายกฯ ซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จล้นพ้นได้ โดยอ้างว่าได้รับฉันทานุมัติจากเสียงข้างมากโดยตรงได้ ... ขนาดระบบปัจจุบันที่มีการเลือกมาโดยอ้อม ยังมีการอ้างกันบ่อยๆ เนืองๆ ว่าตัวเองมาจากการเลือกตั้งกี่สิบล้านเสียงเลย เช่นนี้ก็เป็นเรื่องน่าระวัง
กับอีกประการหนึ่งคือความเชื่อมโยงกับฝ่ายรัฐสภา เมื่อฝ่ายบริหารนั้นไม่ได้มีที่มาจากทางสภาฯ อีกแล้ว ก็น่าเป็นห่วงว่า ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่จะต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ การผ่านโครงการ การผ่านงบประมาณจะมีปัญหาหรือไม่ หากสภาฯ เป็นคนละพรรคและเล่นแง่ไม่ยอมกันเข้าจริงๆ ในที่สุดการบริหารที่มีอำนาจ แต่ไม่มีงบประมาณ ไม่มีเครื่องมือทางกฎหมาย จะกระทำได้แค่ไหนเพียงไร
ก็เป็นการบ้านที่ฝ่ายสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะประชุมใหญ่กันในวันที่ 15 – 17 นี้จะเอาคิด ไปถก ไปแถลงกันให้สะเด็ดน้ำ เพื่อส่งต่อให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำไปร่างให้เป็นตัวบทอันเป็นรูปธรรมต่อไป.
รูปแบบการเลือกตั้งนายกฯ โดยตรง ประมวลจากหลายๆ ทาง คือการกำหนดให้มีการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีและฝ่ายบริหารแยกออกจากการเลือกตั้ง ส.ส.
โดยนายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งวิธีนี้ จะมีวาระ 4 ปี เท่ากับ ส.ส.แต่ให้เลือกตั้งแบบเหลื่อมปีกัน เช่น เลือกนายกฯ ปีที่ 1 ปีที่ 5 ปีที่ 9 ก็จะให้เลือก ส.ส.ในปีที่ 3 ปีที่ 7 ปีที่ 11
วิธีการนั้น มีทั้งแนวที่ว่าให้เลือกนายกฯ คนเดียว กับรองนายกฯ อีกคนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นแบบการเลือก “บัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรี” หรือ Cabinet list กันเลยก็ได้
ก่อนหน้าเดิมที การเลือกตั้งของเราเป็นระบบรัฐสภาที่คล้ายของอังกฤษ คือ การเลือกตั้งทั่วไปมีครั้งเดียว (ไม่นับ ส.ว.) คือเลือก ส.ส.จากนั้นพรรคที่ได้คะแนนเสียงชนะการเลือกตั้งมากที่สุดก็จะจัดตั้งรัฐบาล จะเป็นรัฐบาลเดี่ยวหรือรัฐบาลผสมก็ขึ้นกับที่นั่งในสภาฯ จากนั้น สภาฯ ก็จะเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งก็จะได้แก่หัวหน้าพรรค หรือผู้ที่พรรคที่ชนะการเลือกตั้งสนับสนุน จากนั้นผู้ที่เป็นนายกรัฐมนตรีก็จะจัดตั้งรัฐบาล ตั้งคณะรัฐมนตรีต่อไป
จึงอาจกล่าวได้ว่า เลือก ส.ส.เท่ากับเลือกนายกฯ ไปในตัว ซึ่งพรรคที่ลงสมัครรับเลือกตั้งก็จะชูตัว “หัวหน้าพรรค” ควบคู่ไปกับชื่อผู้ที่ส่งไปสมัครรับเลือกตั้งในเขตนั้นๆ ด้วย
แต่ในการเลือกตั้งครั้งก่อนนี้อาจจะแปลกไปนิดหน่อย คือพรรคเพื่อไทยเสนอชื่อผู้สมัคร ส.ส.ที่ไม่ใช่หัวหน้าพรรคขึ้นมาขาย เพื่อป้องกันว่าหากพลาดพลั้งอะไรถูกยุบพรรคไปจะได้ไม่หลุดจากตำแหน่ง หรือไม่ถูกห้ามลงเล่นการเมืองอีกเพราะไม่ใช่กรรมการบริหารพรรค เรียกว่ามี “หัวหน้าพรรคตามกฎหมาย” เอาไว้เป็นเจว็ด ปัจจุบันไปถามแฟนๆ ชาวเสื้อแดงว่าหัวหน้าพรรคเพื่อไทยชื่ออะไร ก็ไม่มีใครรู้จักว่าได้แก่ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (ก่อนหน้านี้เป็นนายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ) เพราะนี่เป็นตำแหน่งที่เอาไว้เผื่อพลาดโดนเชือดเท่านั้นเอง
ปัญหาของการเมืองในรูปแบบรัฐสภานี้ ก็ได้แก่การที่ไม่ว่าจะอย่างไร “สภาฯ” ก็เป็นพวกเดียวกับ “คณะรัฐมนตรี” การถ่วงดุลอำนาจตามทฤษฎีว่า คณะรัฐมนตรีรับผิดชอบต่อสภาฯ สภาฯ มีสิทธิไม่ไว้วางใจให้พ้นหน้าที่ เอาเข้าจริงๆ แล้ว ในทางปฏิบัติแทบไม่ปรากฏกรณีที่สภาฯ จะลงมติไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีเลย ก็เพราะว่าสภาฯ ก็มาจากพรรคเดียวฟากเดียวกับนายกฯ นั่นเองตามวิธีการ และก็ยังมีวิปที่คอยควบคุมเสียงไม่ให้แตก หรือถ้าเสียงแตกก็มีสิทธิลงโทษจากพรรค แม้ว่ารัฐธรรมนูญในระยะหลังจะพยายามบัญญัติว่า สิทธิในการให้ความเห็นชอบเป็นเอกสิทธิของสมาชิกสภาฯ แต่ละคน แต่ในทางปฏิบัติ ก็เป็นระบบวิปคุม ส.ส.ยกมือตะบันไปเท่านั้นเอง (ยิ่งหลังๆ มีเรื่องเสียบบัตรแทนกันด้วย ยิ่งหวานคอแร้ง ตัวไม่ต้องมาประชุมก็ได้ ฝากบัตรไว้ให้หัวคิวเสียบกดให้ก็พอ)
ปัญหาเช่นนี้ จึงทำให้มีแนวคิดว่า ถ้าอย่างนั้นเลือกนายกฯ โดยตรงไปเลยจะดีกว่าไหม ให้แยกจากการเลือก ส.ส.ไป เพราะในทางความเป็นจริง ก็ตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้เลือกตั้งด้วย เหมือนกับที่บางคนอาจจะอยากได้นายกฯ เป็น ก. จากพรรค A แต่ก็อยากได้ผู้แทนในพื้นที่เป็นนาย ข. ที่อยู่พรรค B เป็น ส.ส.หรือผู้แทนของท้องถิ่นตัวเองในสภาฯ ซึ่งถ้าการเลือกแบบเดิม ผู้เลือกก็อาจจะต้องตัดใจไม่เลือกนาย ข. เพราะคิดว่าต้องไปเลือกผู้แทนจากพรรค A เพื่อให้นาย ก.ได้เป็นนายกฯ เช่นนี้การเลือก ส.ส.ที่ควรเป็นผู้แทนราษฎรในสภาฯ ก็อาจจะไม่สะท้อนภาพความเป็น “ผู้แทน” ที่แท้จริง เพราะเหมือนเป็นการเลือก “รัฐบาล” มากกว่า
อีกทั้งการเลือกแบบแยกเลือกนายกฯ กับ ส.ส.ก็จะทำให้การถ่วงดุลกันของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้นเป็นไปได้จริงจังมากขึ้นด้วย ซึ่งแนวทางก็อาจจะเป็นอย่างในต่างประเทศที่มีการเลือกฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหารแยกกัน ก็ปรากฏว่าถ้าในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พรรคหนึ่งชนะเป็นรัฐบาล พอในรอบการเลือกตั้ง ส.ส. หรือ ส.ว.ก็จะเป็นพรรคคู่แข่งที่ชนะได้ที่นั่งมากกว่า ซึ่งเป็นการถ่วงดุลกัน วิธีนี้จึงทำให้สภาฯ กับฝ่ายบริหารหรือคณะรัฐมนตรีนั้นเป็นอิสระต่อกันอย่างแท้จริง
หรือถ้าใช้ระบบบัญชีรายชื่อคณะรัฐมนตรีจริงๆ ก็จะยิ่งดี คือผู้มีสิทธิเลือกตั้งก็จะได้เห็นชัดๆ ว่า เลือกคนนี้เป็นนายกฯ ได้ใครแถมมาเป็นรัฐมนตรีบ้าง ซึ่งก็จะทำให้การตั้งรัฐมนตรีจะต้องจัด “ของดีๆ” มาอวดกันตั้งแต่หาเสียงเลย หากยัดพวก “ยี้” เข้ามา ก็จะเสียฐานคะแนน ซึ่งน่าจะดีกว่าการเลือกนายกฯ คนเดียว หรือพ่วงกับรองนายกฯ อีกคน เพราะในตอนหลังเมื่อนายกฯ ได้รับการเลือกตั้งไปแล้ว อาจจะมีการต่อรองและเอารัฐมนตรีที่มีผลประโยชน์ร่วมกันมาไว้ใน ครม.หักหลังประชาชนคนเลือกก็ได้
แต่การเลือกตั้งนายกฯ โดยตรงก็ยังมีปัญหาหรือข้อที่ทำให้คนไม่เห็นด้วย ส่วนสำคัญก็คือรูปแบบการเลือกฝ่ายบริหารโดยตรงนี้จะมีในประเทศที่ใช้ระบอบประธานาธิบดีกัน จึงมีหลายฝ่ายกังวลเนื่องจากประเทศเราเป็นราชอาณาจักรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แต่ข้อนี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะตำแหน่งนายกฯ อย่างไรก็คือนายกรัฐมนตรีหัวหน้าฝ่ายบริหาร คงไม่มีอำนาจอย่างประมุขรัฐไปได้ เช่น พระราชอำนาจในการไม่เห็นลงพระปรมาภิไธยในกฎหมาย (หรืออำนาจวีโต้) พระราชอำนาจในการพระราชทานอภัยโทษ พระราชอำนาจในการประกาศสงคราม ฯลฯ อันเป็นอำนาจโดยแท้ขององค์พระประมุขรัฐ รวมถึงการเข้าดำรงตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีก็จะต้องได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากพระมหากษัตริย์ด้วย ในเชิงอำนาจและสถานะแล้ว ต่อให้มีการเลือกนายกรัฐมนตรีโดยตรง ก็ไม่อาจทำให้นายกฯ ที่ได้รับเลือกมานั้นกลายเป็น “ประมุขรัฐ” หรือประธานาธิบดีไปได้
ส่วนเรื่องไม่มีใครเขาทำกันนั้นก็ไม่อยากจะให้น้ำหนักมาก เพราะการออกแบบรูปแบบการเมืองการปกครองนั้นแม้จะมีรูปแบบหลักๆ แต่ก็ใช่ว่าการออกแบบรูปแบบใหม่นั้นจะเป็นการต้องห้าม เหมือนเช่นที่ฝรั่งเศสออกแบบระบบกึ่งประธานาธิบดีขึ้นมา แตกต่างจากระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐฯ หรือแม้แต่ประธานาธิบดีของอเมริกา กับเยอรมนี หรือสิงคโปร์ก็ไม่เหมือนกัน เช่นนี้หากไทยเราจะมีนายกฯ ที่เลือกตั้งโดยตรงบ้างก็อาจจะแปลก แต่ก็ไม่น่าถือเป็นเรื่องผิดอะไร
อย่างไรก็ตาม จุดที่น่ากังวลนั้นก็ยังมี คือ นายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงนั้นจะเท่ากับมาจากเสียงของประชาชนโดยตรงที่เลือก “คนคนนั้น” ขึ้นมาเป็นนายกฯ ซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างในการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จล้นพ้นได้ โดยอ้างว่าได้รับฉันทานุมัติจากเสียงข้างมากโดยตรงได้ ... ขนาดระบบปัจจุบันที่มีการเลือกมาโดยอ้อม ยังมีการอ้างกันบ่อยๆ เนืองๆ ว่าตัวเองมาจากการเลือกตั้งกี่สิบล้านเสียงเลย เช่นนี้ก็เป็นเรื่องน่าระวัง
กับอีกประการหนึ่งคือความเชื่อมโยงกับฝ่ายรัฐสภา เมื่อฝ่ายบริหารนั้นไม่ได้มีที่มาจากทางสภาฯ อีกแล้ว ก็น่าเป็นห่วงว่า ในการดำเนินนโยบายต่างๆ ที่จะต้องใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ การผ่านโครงการ การผ่านงบประมาณจะมีปัญหาหรือไม่ หากสภาฯ เป็นคนละพรรคและเล่นแง่ไม่ยอมกันเข้าจริงๆ ในที่สุดการบริหารที่มีอำนาจ แต่ไม่มีงบประมาณ ไม่มีเครื่องมือทางกฎหมาย จะกระทำได้แค่ไหนเพียงไร
ก็เป็นการบ้านที่ฝ่ายสภาปฏิรูปแห่งชาติ ที่จะประชุมใหญ่กันในวันที่ 15 – 17 นี้จะเอาคิด ไปถก ไปแถลงกันให้สะเด็ดน้ำ เพื่อส่งต่อให้กรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญนำไปร่างให้เป็นตัวบทอันเป็นรูปธรรมต่อไป.