“เอนก” ชงนิรโทษฯเข้า กมธ.ยกร่างฯแล้ว “ประยุทธ์” เมินคอมเมนต์ เอาแบบไหนก็ว่ากันมา “อภิสิทธิ์” เตือนจุดพลุ กม.ล้างผิด ซ้ำรอยวิกฤตเดิม เชื่อเลี่ยงครหาสองมาตรฐานไม่พ้น แนะเร่งแก้ปัญหาส่วนรวมก่อนจะไมได้ทำ ด้าน “นิพิฏฐ์” ข้องใจนิรโทษฯใคร เหตุ ปชช.พ้นโทษหมดแล้ว เหลือแต่คดีอาญาร้ายแรง โฆษก กปปส.เบรกอย่าสุดซอยอีก ชี้เป็นชนวนสู่ความแตกแยก “สมเจตน์” ค้านยัดนิรโทษฯใน รธน.ใหม่
วานนี้ (1 ธ.ค.) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 10 หมวดการปฏิรูปและความปรองดอง เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้เสนอเรื่องออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมือง เพื่อสร้างความปรองดอง ให้แก่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว และในวันที่ 2 ธ.ค.จะเริ่มพูดคุยกับคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ เรื่องการนิรโทษกรรม ซึ่งส่วนตัวคิดว่าต้องทำให้ได้ เพื่อให้คนในประเทศเกิดความปรองดองกัน ทั้งนี้ต้องให้คนกลางดำเนินการเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะหากรัฐบาลดำเนินการ ก็อาจทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจ และไม่ควรพูดคุยกันมาก เพราะจะให้วนไปมา อาจทำให้ไม่สำเร็จได้
โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวว่า ก็ไปว่ามาจะสุดซอยต้นซอยกลางซอยก็ไปว่ามา เอาประเทศชาติมาก่อน กระบวนการยุติธรรมยังมีหรือไม่ ศาล อัยการ ตำรวจ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่ ให้เขาทำงานไป ตนจะเดินหน้าประเทศ
“มาร์ค” หวั่นเกิดวิกฤติซ้ำอีก
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้แสดงความเห็นกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วว่า ทุกครั้งที่มีการใช้คำว่าปรองดองมักเอามาบังหน้าเรื่องการนิรโทษกรรมการทุจริต ละเมิดชีวิตทรัพย์สินของบุคคลอื่น จนเป็นต้นเหตุของวิกฤตมาถึงทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ลืมไม่ได้ ต้องไม่ทำให้ปัญหาซ้ำรอย เมื่อมีการกำหนดเรื่องปรองดอง เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างใหม่ ก็ต้องมีความชัดเจนว่า จะทำอย่างไร ส่วนตัวได้ฝากข้อคิดไปแล้วว่า ต้องดูจังหวะสถานการณ์ที่มีความนิ่ง หากสถานการณ์ไม่นิ่ง จะเกิดว่า คนที่ฝ่าฝืนกฎอัยการศึกในวันนี้หรือในอนาคตจะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ ถ้าได้รับการนิรโทษกรรม คสช.ก็มีปัญหาในการคุมสถานการณ์ แต่ถ้าไม่ให้ก็จะเกิดเงื่อนไขเรื่องสองมาตรฐานขึ้นมาอีก
“แม้ว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นเครื่องมือในกระบวนการปรองดอง แต่ขั้นตอนจะต้องเริ่มจากหลังการได้ข้อเท็จจริง มีข้อตกลงที่จะทำให้สถานการณ์หยุดนิ่ง จึงนำไปสู่เรื่องการนิรโทษกรรม ที่มีขอบเขตชัดเจน แต่ของเราหยิบเรื่องนิรโทษกรรมก่อนทุกครั้ง จนเป็นปัญหา” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
กปปส.ขู่นิรโทษฯสุดซอยพังแน่
ขณะที่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่เคยร้องขอให้นิรโทษกรรม มุ่งหน้าสนับสนุนให้ปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆสำเร็จเท่านั้น ซึ่งการนิรโทษกรรม ต้องแยกออกจากการปรองดอง เพราะบางครั้งการนิรโทษกรรม จะนำไปสู่ความแตกแยกได้ เห็นได้จากครั้งที่ผ่านมาที่นิรโทษกรรมสุดซอย จนเป็นชนวนสู่ความแตกแยก อีกทั้งขัดหลักนิติธรรม เนื่องจากนิรโทษให้คนโกง และผู้ที่ถูกศาลตัดสินคดีไปแล้ว
“การนิรโทษกรรมครั้งนี้ หากทำเพื่อความปรองดอง ก็ขอให้ระมัดระวัง และถ้าจะเริ่มปรองดองก็ควรนำผลศึกษาของคณะกรรมชุดต่างๆมาพิจารณา และการให้อภัยโดยนิรโทษกรรมเป็นขั้นตอนสุดท้าย ต้องถามคนที่ได้รับผลกระทบ ส่วนแกนนำ กปปส.ยืนยันว่า พร้อมต่อสู้คดี” นายเอกนัฏ กล่าว
“สมเจตน์” ค้านยัดนิรโทษฯใน รธน.
ทางด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยหากจะมีการนิรโทษกรรม แต่ต้องนำคนจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยกัน ในหลักการก่อนว่าจะนิรโทษกรรมให้กับใครบ้าง เพื่อให้ตกผลึกก่อน เมื่อยอมรับกันแล้วก็เขียนกฎหมาย ซึ่งใครก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างกฎหมาย สามารถเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมได้ แต่ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนแค่กรอบ อาจจะทำให้เกิดการตีความอีกในอนาคต ทั้งนี้ ไม่ควรดำเนินการนิรโทษกรรมแบบครั้งที่แล้ว ที่เสนอกฎหมายรูปแบบหนึ่ง แต่ไปทำอีกรูปแบบหนึ่ง แต่อย่าเหมารวมว่าการนิรโทษกรรม จะทำให้เกิดการปรองดองได้
วานนี้ (1 ธ.ค.) นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณากรอบการจัดทำรัฐธรรมนูญ คณะที่ 10 หมวดการปฏิรูปและความปรองดอง เปิดเผยว่า ตอนนี้ได้เสนอเรื่องออกกฎหมายนิรโทษกรรมผู้ชุมนุมทางการเมือง เพื่อสร้างความปรองดอง ให้แก่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญแล้ว และในวันที่ 2 ธ.ค.จะเริ่มพูดคุยกับคณะกรรมาธิการชุดต่างๆ เรื่องการนิรโทษกรรม ซึ่งส่วนตัวคิดว่าต้องทำให้ได้ เพื่อให้คนในประเทศเกิดความปรองดองกัน ทั้งนี้ต้องให้คนกลางดำเนินการเรื่องการนิรโทษกรรม เพราะหากรัฐบาลดำเนินการ ก็อาจทำให้อีกฝ่ายไม่พอใจ และไม่ควรพูดคุยกันมาก เพราะจะให้วนไปมา อาจทำให้ไม่สำเร็จได้
โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) กล่าวว่า ก็ไปว่ามาจะสุดซอยต้นซอยกลางซอยก็ไปว่ามา เอาประเทศชาติมาก่อน กระบวนการยุติธรรมยังมีหรือไม่ ศาล อัยการ ตำรวจ ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอยู่ ให้เขาทำงานไป ตนจะเดินหน้าประเทศ
“มาร์ค” หวั่นเกิดวิกฤติซ้ำอีก
ด้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนได้แสดงความเห็นกับกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญไปแล้วว่า ทุกครั้งที่มีการใช้คำว่าปรองดองมักเอามาบังหน้าเรื่องการนิรโทษกรรมการทุจริต ละเมิดชีวิตทรัพย์สินของบุคคลอื่น จนเป็นต้นเหตุของวิกฤตมาถึงทุกวันนี้ เป็นเรื่องที่ลืมไม่ได้ ต้องไม่ทำให้ปัญหาซ้ำรอย เมื่อมีการกำหนดเรื่องปรองดอง เป็นหมวดหนึ่งในรัฐธรรมนูญที่กำลังจะร่างใหม่ ก็ต้องมีความชัดเจนว่า จะทำอย่างไร ส่วนตัวได้ฝากข้อคิดไปแล้วว่า ต้องดูจังหวะสถานการณ์ที่มีความนิ่ง หากสถานการณ์ไม่นิ่ง จะเกิดว่า คนที่ฝ่าฝืนกฎอัยการศึกในวันนี้หรือในอนาคตจะได้รับการนิรโทษกรรมหรือไม่ ถ้าได้รับการนิรโทษกรรม คสช.ก็มีปัญหาในการคุมสถานการณ์ แต่ถ้าไม่ให้ก็จะเกิดเงื่อนไขเรื่องสองมาตรฐานขึ้นมาอีก
“แม้ว่าการนิรโทษกรรมจะเป็นเครื่องมือในกระบวนการปรองดอง แต่ขั้นตอนจะต้องเริ่มจากหลังการได้ข้อเท็จจริง มีข้อตกลงที่จะทำให้สถานการณ์หยุดนิ่ง จึงนำไปสู่เรื่องการนิรโทษกรรม ที่มีขอบเขตชัดเจน แต่ของเราหยิบเรื่องนิรโทษกรรมก่อนทุกครั้ง จนเป็นปัญหา” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
กปปส.ขู่นิรโทษฯสุดซอยพังแน่
ขณะที่ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ โฆษกคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) กล่าวว่า ทางกลุ่มไม่เคยร้องขอให้นิรโทษกรรม มุ่งหน้าสนับสนุนให้ปฏิรูปประเทศในด้านต่างๆสำเร็จเท่านั้น ซึ่งการนิรโทษกรรม ต้องแยกออกจากการปรองดอง เพราะบางครั้งการนิรโทษกรรม จะนำไปสู่ความแตกแยกได้ เห็นได้จากครั้งที่ผ่านมาที่นิรโทษกรรมสุดซอย จนเป็นชนวนสู่ความแตกแยก อีกทั้งขัดหลักนิติธรรม เนื่องจากนิรโทษให้คนโกง และผู้ที่ถูกศาลตัดสินคดีไปแล้ว
“การนิรโทษกรรมครั้งนี้ หากทำเพื่อความปรองดอง ก็ขอให้ระมัดระวัง และถ้าจะเริ่มปรองดองก็ควรนำผลศึกษาของคณะกรรมชุดต่างๆมาพิจารณา และการให้อภัยโดยนิรโทษกรรมเป็นขั้นตอนสุดท้าย ต้องถามคนที่ได้รับผลกระทบ ส่วนแกนนำ กปปส.ยืนยันว่า พร้อมต่อสู้คดี” นายเอกนัฏ กล่าว
“สมเจตน์” ค้านยัดนิรโทษฯใน รธน.
ทางด้าน พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ตนเห็นด้วยหากจะมีการนิรโทษกรรม แต่ต้องนำคนจากทุกกลุ่มที่เกี่ยวข้องมาร่วมพูดคุยกัน ในหลักการก่อนว่าจะนิรโทษกรรมให้กับใครบ้าง เพื่อให้ตกผลึกก่อน เมื่อยอมรับกันแล้วก็เขียนกฎหมาย ซึ่งใครก็ได้ที่เกี่ยวข้องกับการยกร่างกฎหมาย สามารถเขียนกฎหมายนิรโทษกรรมได้ แต่ไม่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญเขียนแค่กรอบ อาจจะทำให้เกิดการตีความอีกในอนาคต ทั้งนี้ ไม่ควรดำเนินการนิรโทษกรรมแบบครั้งที่แล้ว ที่เสนอกฎหมายรูปแบบหนึ่ง แต่ไปทำอีกรูปแบบหนึ่ง แต่อย่าเหมารวมว่าการนิรโทษกรรม จะทำให้เกิดการปรองดองได้