**วันนี้ 27 พ.ย. “สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา-นิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา”ต้องกลับมาเยือนถิ่นเก่า ห้องประชุมรัฐสภา แต่ที่นั่งต่างไปจากยามมีอำนาจ วันนี้มาอยู่ในสถานะ "ผู้ถูกกล่าวหา" ในคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยื่นคำร้องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการถอดถอนทั้งสองคน ออกจากตำแหน่ง ตามาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ประกอบมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542
กระบวนการทั้งหมดในคำร้องนี้ จะเริ่มต้นกันตั้งแต่วันนี้ หลังล่าสุด วิปสนช.เคาะออกมาแล้วว่า วันนัดประชุมสนช.เพื่อลงมติจะให้ไปอยู่ในช่วงไม่เกินกลางเดือนก.พ.58 จากเดิมที่คาดกันว่า วันนัดลงมติน่าจะอยู่ในช่วงปลายปีนี้ หรือไม่ก็ไม่เกินสัปดาห์ที่สองของเดือนม.ค.
ยังไม่มีคำยืนยันออกมาจากปากของ สมศักดิ์ ว่าในการประชุมสนช.วันนี้ เจ้าตัวจะเดินทางมายังรัฐสภาด้วยตัวเองหรือไม่ หรือจะส่งตัวแทนมา แต่ในส่วนของ นิคม นั้น บอกว่าจะมาด้วยตัวเอง และกระบวนการสู้คดีทุกขั้นตอน ก็จะมาเองหมด
อย่างไรก็ตาม การประชุมสนช.วันนี้ ยังไม่ใช่นัดสำคัญ เพราะเป็นแค่วันซึ่งจะให้สนช.มาคุยกันว่า จะกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนในคดีนี้ของคู่กรณี คือ ป.ป.ช. กับผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคนคือ สมศักดิ์ –นิคม ควรจะให้อยู่ในวันไหน รวมถึงการพิจารณาด้วยว่า ตัวผู้กล่าวหาได้มีการยื่นขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานจากสำนวนของป.ป.ช. ที่กล่าวหาทั้งสองคนหรือไม่
หากยื่นมา แล้วที่ประชุมสนช.เห็นควรอย่างไร มีข่าวว่าทั้งสองคนยื่นขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานไปยังสนช. พอสมควร ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สนช. อาจจะเห็นชอบบางส่วน หรืออาจทั้งหมด เพื่อทำให้เห็นว่า สนช.ให้โอกาสในการสู้คดีกับฝ่าย สมศักดิ์-นิคม
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นวิปสนช. เคาะเฟรมเวิร์กที่เป็นปฏิทินเวลาสองสำนวนนี้ออกมาดังนี้แล้ว คือ จะให้วันที่ 8 ม.ค.58 คือ วันแถลงเปิดสำนวนของคู่กรณี ซึ่งหากที่ประชุมสนช.โหวตเอาด้วยตามนี้ ปฏิทินก็จะเดินไปเองโดยอัตโนมัติ ตามข้อบังคับการประชุมสนช. ปี 57 ที่ขั้นตอนทุกอย่างต่อจากการแถลงเปิดสำนวน เช่น ช่วงเวลาการให้คณะกรรมาธิการซักถามของสนช. ที่จะทำหน้าที่แทนสนช.ทั้งหมด ทำการซักถามป.ป.ช.และ สมศักดิ์-นิคม หรือช่วงเวลาการแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาต่อที่ประชุม สนช. ก็จะเข้าล็อกโดยอัตโนมัติของข้อบังคับการประชุม และพอแถลงปิดสำนวนแล้ว จะต้องกำหนดวันลงมติหลังวันแถลงปิดสำนวนไม่เกิน 3 วัน หลังวันแถลงปิดสำนวน
ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ นับแต่วันแถลงเปิดสำนวน 8 ม.ค. 58 ไปจนถึงวันนัดลงมติ ก็จะอยู่ในช่วงประมาณ30 วัน นับจาก 8 ม.ค. วันนัดลงมติ คดีสมศักดิ์-นิคม จะอยู่ประมาณสัปดาห์แรกของเดือนก.พ.ปีหน้านั่นเอง ถือว่าไกลจาก 28 พ.ย. พอสมควร อาจไม่ทันใจกองเชียร์บางกลุ่มที่อยากเห็นสนช.ชุดนี้ ลงมติ ถอดถอน ค้อนปลอม-นิคม เป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับคนไทย
เช่นเดียวกับ คดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งให้บังเอิญว่าช่วงเวลาความเป็นไปของคดีมาอยู่ติดกับ คดีสมศักดิ์-นิคม พอดี ชะตาความเป็นไปของคดียิ่งลักษณ์ ก็เลยจะอยู่ติดวันกับคดีสมศักดิ์-นิคม ไปตลอดนับแต่นี้ เพราะพอ สนช.พิจารณาคดีสมศักดิ์-นิคม วันที่ 27 พ.ย.นี้ เสร็จ วันรุ่งขึ้น 28 พ.ย. สนช. ก็มีคิวพิจารณาวางกรอบกระบวนการพิจารณาคดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ต่อพอดี ซึ่ง วิปสนช.ก็เคาะมาแล้วว่าจะให้ วันแถลงเปิดสำนวนคดีนี้ เป็นวันที่ 9 ม.ค. 58 คือถัดจากวันแถลงเปิดคดีสมศักดิ์-นิคม ไปอีกหนึ่งวัน
**หากที่ประชุมสนช.เอาด้วยกับมติวิปสนช.ดังกล่าว ลำดับเวลาการเดินไปของคดีนี้ ก็จะเดินไปควบคู่กับคดีของสมศักดิ์-นิคม เกือบเหมือนกันหมด ทั้งการประชุมเพื่อให้กมธ.ซักถามคู่กรณี หรือการกำหนดวันแถลงปิดสำนวน และมีความเป็นไปได้ ที่วันนัดลงมติถอดถอนยิ่งลักษณ์ของสนช. ก็จะคล้อยหลังวันลงมติ คดีสมศักดิ์-นิคม เพียงวันเดียวเช่นกัน
ช่วงต้นปีหน้า ความเคลื่อนไหวคดีถอดถอนของสนช. คาดได้เลยว่าจะเป็นจุดสนใจของทุกฝ่าย เพราะถัดจาก คดียิ่งลักษณ์-สมศักดิ์-นิคม ก็ยังมีต่อคิวมาอีกสองสำนวน คือ คดีถอดถอน อดีตส.ว.ชุดที่แล้ว 38 คน จากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว. ที่ป.ป.ช.จ่อส่งสำนวนมายังสนช.เร็ววันนี้ และตามด้วยการเตรียมชี้มูลกับอดีต ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลสมัยที่แล้วร่วม 280 คน ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นกัน มีข่าวบอกว่า ป.ป.ช. อาจนัดลงมติว่าจะชี้มูลความผิดหรือไม่ ในช่วงปลายปีนี้
**ที่คนท้า“เปิดถ้วยแทง”กันว่า จะไม่มีใครโดนถอดถอนเลยแม้แต่คนเดียว บางกลุ่มเชื่อว่า สนช.คงไม่ปล่อย ยิ่งลักษณ์ แน่นอน แต่การต่อรองยังสูสีอยู่ ต้องรอดูแนวโน้มช่วงต้นปีก่อน ถึงจะคาดเดาได้
เพราะตอนนี้ ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ที่วางกลยุทธ์สู้คดีแบบรัดกุม ตีไปที่จุดอ่อนของ สนช.ฝ่ายจ้องถอดถอนกันแล้ว เช่น ข้อต่อสู้ของ นิคม ที่จะร้องต่อประธานสนช. ให้อดีต ส.ว.ชุดที่แล้ว 16 คน ที่ตอนนี้นั่งเป็นสนช.อยู่ ที่ก็คือพวกอดีตกลุ่ม 40 ส.ว.นั่นเอง เช่น สมชาย แสวงการ-พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม- นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ จะต้องถอนตัวจากการพิจารณาสำนวนคดีถอดถอนตนเอง เพราะ สนช.กลุ่มดังกล่าว ได้ไปร่วมลงชื่อ และยื่นเรื่องถอดถอนตนต่อป.ป.ช. ซึ่งหากที่ประชุมสนช.เห็นด้วยกับข้อต่อสู้นี้ หรือสนช.ทั้งหมดในกลุ่มนี้ ขอถอนตัวไปเพื่อไม่ให้เกิดกรณีการมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็จะทำให้เสียงสนช. ที่เป็นอดีตส.ว.ชุดที่แล้ว ที่อยู่คนละฝ่ายกับ นิคม-สมศักดิ์ หายไปจำนวนหนึ่ง หากเป็นไปตามนี้ โอกาสที่สมศักดิ์-นิคม จะรอดก็มีสูง ตามไปด้วย
เพราะเสียงเห็นชอบให้ถอดถอนอาจไม่ถึง 312 เสียง หรือ 3 ใน 5 ของจำนวนสนช.
**โอกาสรอด ของสมศักดิ์-นิคม หรือแม้แต่ ยิ่งลักษณ์ จึงใช่ว่าจะไม่มีเสียทีเดียว และเชื่อว่า ทั้งสามคน คงงัดแผนสู้คดี ออกมาสู้อีกหลายแผน เพราะดูแล้วแม้ต่อให้ ข้อต่อสู้ของนิคมที่พยายามจะตัดเสียงสนช.ออกไป 16 เสียงไม่สำเร็จ แต่การลุ้นให้เสียงถอดถอนถึง 3 ใน 5 ก็ยากพอควร ถ้าหาก"บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ส่งสัญญาณไปยังสนช.สายทหาร ให้เทเสียงถอดถอนก็คงยาก
กระบวนการทั้งหมดในคำร้องนี้ จะเริ่มต้นกันตั้งแต่วันนี้ หลังล่าสุด วิปสนช.เคาะออกมาแล้วว่า วันนัดประชุมสนช.เพื่อลงมติจะให้ไปอยู่ในช่วงไม่เกินกลางเดือนก.พ.58 จากเดิมที่คาดกันว่า วันนัดลงมติน่าจะอยู่ในช่วงปลายปีนี้ หรือไม่ก็ไม่เกินสัปดาห์ที่สองของเดือนม.ค.
ยังไม่มีคำยืนยันออกมาจากปากของ สมศักดิ์ ว่าในการประชุมสนช.วันนี้ เจ้าตัวจะเดินทางมายังรัฐสภาด้วยตัวเองหรือไม่ หรือจะส่งตัวแทนมา แต่ในส่วนของ นิคม นั้น บอกว่าจะมาด้วยตัวเอง และกระบวนการสู้คดีทุกขั้นตอน ก็จะมาเองหมด
อย่างไรก็ตาม การประชุมสนช.วันนี้ ยังไม่ใช่นัดสำคัญ เพราะเป็นแค่วันซึ่งจะให้สนช.มาคุยกันว่า จะกำหนดวันแถลงเปิดสำนวนในคดีนี้ของคู่กรณี คือ ป.ป.ช. กับผู้ถูกกล่าวหาทั้งสองคนคือ สมศักดิ์ –นิคม ควรจะให้อยู่ในวันไหน รวมถึงการพิจารณาด้วยว่า ตัวผู้กล่าวหาได้มีการยื่นขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานจากสำนวนของป.ป.ช. ที่กล่าวหาทั้งสองคนหรือไม่
หากยื่นมา แล้วที่ประชุมสนช.เห็นควรอย่างไร มีข่าวว่าทั้งสองคนยื่นขอเพิ่มเติมพยานหลักฐานไปยังสนช. พอสมควร ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่สนช. อาจจะเห็นชอบบางส่วน หรืออาจทั้งหมด เพื่อทำให้เห็นว่า สนช.ให้โอกาสในการสู้คดีกับฝ่าย สมศักดิ์-นิคม
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นวิปสนช. เคาะเฟรมเวิร์กที่เป็นปฏิทินเวลาสองสำนวนนี้ออกมาดังนี้แล้ว คือ จะให้วันที่ 8 ม.ค.58 คือ วันแถลงเปิดสำนวนของคู่กรณี ซึ่งหากที่ประชุมสนช.โหวตเอาด้วยตามนี้ ปฏิทินก็จะเดินไปเองโดยอัตโนมัติ ตามข้อบังคับการประชุมสนช. ปี 57 ที่ขั้นตอนทุกอย่างต่อจากการแถลงเปิดสำนวน เช่น ช่วงเวลาการให้คณะกรรมาธิการซักถามของสนช. ที่จะทำหน้าที่แทนสนช.ทั้งหมด ทำการซักถามป.ป.ช.และ สมศักดิ์-นิคม หรือช่วงเวลาการแถลงปิดสำนวนด้วยวาจาต่อที่ประชุม สนช. ก็จะเข้าล็อกโดยอัตโนมัติของข้อบังคับการประชุม และพอแถลงปิดสำนวนแล้ว จะต้องกำหนดวันลงมติหลังวันแถลงปิดสำนวนไม่เกิน 3 วัน หลังวันแถลงปิดสำนวน
ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ นับแต่วันแถลงเปิดสำนวน 8 ม.ค. 58 ไปจนถึงวันนัดลงมติ ก็จะอยู่ในช่วงประมาณ30 วัน นับจาก 8 ม.ค. วันนัดลงมติ คดีสมศักดิ์-นิคม จะอยู่ประมาณสัปดาห์แรกของเดือนก.พ.ปีหน้านั่นเอง ถือว่าไกลจาก 28 พ.ย. พอสมควร อาจไม่ทันใจกองเชียร์บางกลุ่มที่อยากเห็นสนช.ชุดนี้ ลงมติ ถอดถอน ค้อนปลอม-นิคม เป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับคนไทย
เช่นเดียวกับ คดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งให้บังเอิญว่าช่วงเวลาความเป็นไปของคดีมาอยู่ติดกับ คดีสมศักดิ์-นิคม พอดี ชะตาความเป็นไปของคดียิ่งลักษณ์ ก็เลยจะอยู่ติดวันกับคดีสมศักดิ์-นิคม ไปตลอดนับแต่นี้ เพราะพอ สนช.พิจารณาคดีสมศักดิ์-นิคม วันที่ 27 พ.ย.นี้ เสร็จ วันรุ่งขึ้น 28 พ.ย. สนช. ก็มีคิวพิจารณาวางกรอบกระบวนการพิจารณาคดีถอดถอน ยิ่งลักษณ์ ต่อพอดี ซึ่ง วิปสนช.ก็เคาะมาแล้วว่าจะให้ วันแถลงเปิดสำนวนคดีนี้ เป็นวันที่ 9 ม.ค. 58 คือถัดจากวันแถลงเปิดคดีสมศักดิ์-นิคม ไปอีกหนึ่งวัน
**หากที่ประชุมสนช.เอาด้วยกับมติวิปสนช.ดังกล่าว ลำดับเวลาการเดินไปของคดีนี้ ก็จะเดินไปควบคู่กับคดีของสมศักดิ์-นิคม เกือบเหมือนกันหมด ทั้งการประชุมเพื่อให้กมธ.ซักถามคู่กรณี หรือการกำหนดวันแถลงปิดสำนวน และมีความเป็นไปได้ ที่วันนัดลงมติถอดถอนยิ่งลักษณ์ของสนช. ก็จะคล้อยหลังวันลงมติ คดีสมศักดิ์-นิคม เพียงวันเดียวเช่นกัน
ช่วงต้นปีหน้า ความเคลื่อนไหวคดีถอดถอนของสนช. คาดได้เลยว่าจะเป็นจุดสนใจของทุกฝ่าย เพราะถัดจาก คดียิ่งลักษณ์-สมศักดิ์-นิคม ก็ยังมีต่อคิวมาอีกสองสำนวน คือ คดีถอดถอน อดีตส.ว.ชุดที่แล้ว 38 คน จากเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เรื่องที่มาส.ว. ที่ป.ป.ช.จ่อส่งสำนวนมายังสนช.เร็ววันนี้ และตามด้วยการเตรียมชี้มูลกับอดีต ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลสมัยที่แล้วร่วม 280 คน ในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเช่นกัน มีข่าวบอกว่า ป.ป.ช. อาจนัดลงมติว่าจะชี้มูลความผิดหรือไม่ ในช่วงปลายปีนี้
**ที่คนท้า“เปิดถ้วยแทง”กันว่า จะไม่มีใครโดนถอดถอนเลยแม้แต่คนเดียว บางกลุ่มเชื่อว่า สนช.คงไม่ปล่อย ยิ่งลักษณ์ แน่นอน แต่การต่อรองยังสูสีอยู่ ต้องรอดูแนวโน้มช่วงต้นปีก่อน ถึงจะคาดเดาได้
เพราะตอนนี้ ฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา ที่วางกลยุทธ์สู้คดีแบบรัดกุม ตีไปที่จุดอ่อนของ สนช.ฝ่ายจ้องถอดถอนกันแล้ว เช่น ข้อต่อสู้ของ นิคม ที่จะร้องต่อประธานสนช. ให้อดีต ส.ว.ชุดที่แล้ว 16 คน ที่ตอนนี้นั่งเป็นสนช.อยู่ ที่ก็คือพวกอดีตกลุ่ม 40 ส.ว.นั่นเอง เช่น สมชาย แสวงการ-พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม- นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ จะต้องถอนตัวจากการพิจารณาสำนวนคดีถอดถอนตนเอง เพราะ สนช.กลุ่มดังกล่าว ได้ไปร่วมลงชื่อ และยื่นเรื่องถอดถอนตนต่อป.ป.ช. ซึ่งหากที่ประชุมสนช.เห็นด้วยกับข้อต่อสู้นี้ หรือสนช.ทั้งหมดในกลุ่มนี้ ขอถอนตัวไปเพื่อไม่ให้เกิดกรณีการมีส่วนได้ส่วนเสีย ก็จะทำให้เสียงสนช. ที่เป็นอดีตส.ว.ชุดที่แล้ว ที่อยู่คนละฝ่ายกับ นิคม-สมศักดิ์ หายไปจำนวนหนึ่ง หากเป็นไปตามนี้ โอกาสที่สมศักดิ์-นิคม จะรอดก็มีสูง ตามไปด้วย
เพราะเสียงเห็นชอบให้ถอดถอนอาจไม่ถึง 312 เสียง หรือ 3 ใน 5 ของจำนวนสนช.
**โอกาสรอด ของสมศักดิ์-นิคม หรือแม้แต่ ยิ่งลักษณ์ จึงใช่ว่าจะไม่มีเสียทีเดียว และเชื่อว่า ทั้งสามคน คงงัดแผนสู้คดี ออกมาสู้อีกหลายแผน เพราะดูแล้วแม้ต่อให้ ข้อต่อสู้ของนิคมที่พยายามจะตัดเสียงสนช.ออกไป 16 เสียงไม่สำเร็จ แต่การลุ้นให้เสียงถอดถอนถึง 3 ใน 5 ก็ยากพอควร ถ้าหาก"บิ๊กตู่" พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ส่งสัญญาณไปยังสนช.สายทหาร ให้เทเสียงถอดถอนก็คงยาก