การประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวานนี้ (27พ.ย.) มีนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. คนที่ 1 ทำหน้าที่ประธานการประชุม พิจารณาวาระ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ โดยการร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเพื่อกำหนดสถานะความเป็นบิดา มารดา ที่ชอบด้วยกฎหมายของเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ให้เหมาะสม รวมทั้งควบคุมการศึกษา วิจัย ทางวิทยาศาสตร์การแพทย์เกี่ยวกับตัวอ่อน และเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ มิให้มีการนำไปใช้ในทางที่ไม่ถูก
ต้อง
โดยมีสาระสำคัญ ใช้บังคับการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อบำบัดรักษาภาวะการมีบุตรยาก ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคพ.) มีหน้าที่กำหนดนโยบายคุ้มครองส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัยทางจริยธรรม รวมทั้งควบคุม และตรวจสอบการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กำหนดการตั้งครรภ์แทน โดยหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน จะต้องมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ให้กับสามี ภรรยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าจะให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ห้ามดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า และกำหนดบทลงโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ โดยมีโทษทั้งปรับ และจำคุก ไม่เกิน10 ปี
ทั้งนี้ สมาชิกสนช.ได้ อภิปราย สนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว อาทิ นายภิรมย์ กมลรัตนกุล สนช. อภิปรายว่า เห็นด้วยกับการเสนอกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากสอดคล้องเทคโนโลยีทางการแพทย์ และตอบสนองความต้องการทางสังคม เพราะการมีบุตร เป็นส่วนสำคัญของสถาบันในครอบครัว กฎหมายฉบับนี้ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ การคุ้มครองเด็ก และป้องกันการค้ามนุษย์ แต่ตนมีข้อสังเกตว่า กฎหมายนี้ น่าจะแก้ไข โดยเฉพาะคำนิยามใน มาตรา 2 ที่รวมถึงการผสมเทียม ซึ่งไม่น่าจะนำมาเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องผสมเทียม ทำได้
ตามปกติ องค์ประกอบของกรรมการใน มาตรา 6 ที่ส่วนใหญ่เป็นกรรมการมาจากกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งในร่างกฎหมายบางตำแหน่งไม่เกี่ยว ข้องกับเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จึงน่าจะเพิ่มสัดส่วนแพทยทยสภา บุคลากรในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเทคโยโลยีการเจริญ พันธุ์ ร่วมเป็นกรรมการ
นอกจากนี้ ในส่วนของการคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ผิดกฎหมาย ต้องได้รับการคุ้มครอง เพราะเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้เกิดจากการกระทำจากการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้
ขณะที่ นายกิตติ วะสีนนท์ สนช. อภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้เรียกง่ายๆคือ กฎหมายอุ้มบุญ ตนเห็นด้วยและสนับสนุนให้กฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ เพราะที่ผ่านมาการอุ้มบุญไม่ถูกต้องตามคครลองคลองธรรม หากออกกหมายฉบับนี้จะสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ป้องกันการค้ามนุย์และการทารุณ
จากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่า บทลงโทษในร่างกฎหมาย จะเอาผิดทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกฎหมายนี้มีความประสงค์หลัก จะคุ้มครองเด็กและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่เป็นปัญหาขณะนี้ พร้อมคุ้มครองคนมีบุตรยาก โดยเป็นการดำเนินการยึดหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว วาระ 1 ด้วยคะแนน 177 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาฯ 18 คน
ต้อง
โดยมีสาระสำคัญ ใช้บังคับการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อบำบัดรักษาภาวะการมีบุตรยาก ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (กคพ.) มีหน้าที่กำหนดนโยบายคุ้มครองส่งเสริม สนับสนุนการศึกษา วิจัยทางจริยธรรม รวมทั้งควบคุม และตรวจสอบการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ กำหนดการตั้งครรภ์แทน โดยหญิงที่รับตั้งครรภ์แทน จะต้องมีข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ให้กับสามี ภรรยา ที่ชอบด้วยกฎหมาย ว่าจะให้ทารกในครรภ์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ห้ามดำเนินการให้มีการตั้งครรภ์แทน เพื่อประโยชน์ทางการค้า และกำหนดบทลงโทษ ผู้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้ โดยมีโทษทั้งปรับ และจำคุก ไม่เกิน10 ปี
ทั้งนี้ สมาชิกสนช.ได้ อภิปราย สนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว อาทิ นายภิรมย์ กมลรัตนกุล สนช. อภิปรายว่า เห็นด้วยกับการเสนอกฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากสอดคล้องเทคโนโลยีทางการแพทย์ และตอบสนองความต้องการทางสังคม เพราะการมีบุตร เป็นส่วนสำคัญของสถาบันในครอบครัว กฎหมายฉบับนี้ให้ความคุ้มครองเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ การคุ้มครองเด็ก และป้องกันการค้ามนุษย์ แต่ตนมีข้อสังเกตว่า กฎหมายนี้ น่าจะแก้ไข โดยเฉพาะคำนิยามใน มาตรา 2 ที่รวมถึงการผสมเทียม ซึ่งไม่น่าจะนำมาเกี่ยวข้อง เพราะเรื่องผสมเทียม ทำได้
ตามปกติ องค์ประกอบของกรรมการใน มาตรา 6 ที่ส่วนใหญ่เป็นกรรมการมาจากกรรมการโดยตำแหน่ง ซึ่งในร่างกฎหมายบางตำแหน่งไม่เกี่ยว ข้องกับเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ จึงน่าจะเพิ่มสัดส่วนแพทยทยสภา บุคลากรในสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเทคโยโลยีการเจริญ พันธุ์ ร่วมเป็นกรรมการ
นอกจากนี้ ในส่วนของการคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ผิดกฎหมาย ต้องได้รับการคุ้มครอง เพราะเด็กเป็นผู้บริสุทธิ์ แม้เกิดจากการกระทำจากการฝ่าฝืนกฎหมายฉบับนี้
ขณะที่ นายกิตติ วะสีนนท์ สนช. อภิปรายว่า กฎหมายฉบับนี้เรียกง่ายๆคือ กฎหมายอุ้มบุญ ตนเห็นด้วยและสนับสนุนให้กฎหมายดังกล่าวออกมาบังคับใช้ เพราะที่ผ่านมาการอุ้มบุญไม่ถูกต้องตามคครลองคลองธรรม หากออกกหมายฉบับนี้จะสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ ที่ป้องกันการค้ามนุย์และการทารุณ
จากนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่า บทลงโทษในร่างกฎหมาย จะเอาผิดทุกคนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกฎหมายนี้มีความประสงค์หลัก จะคุ้มครองเด็กและปราบปรามการค้ามนุษย์ ที่เป็นปัญหาขณะนี้ พร้อมคุ้มครองคนมีบุตรยาก โดยเป็นการดำเนินการยึดหลักสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติรับหลักการ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว วาระ 1 ด้วยคะแนน 177 เสียง ไม่เห็นด้วย 2 เสียง งดออกเสียง 6 เสียง และตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาฯ 18 คน