ราชวิทยาลัยสูติฯ ยันคลินิกระหว่างขออนุญาตรับเคสทำอุ้มบุญ เพื่อรอราชวิทยาลัยฯ ตรวจสอบไม่ได้ ชี้หมออย่าแถว่าไม่รู้ เพราะกฎระเบียบตอนขออนุญาตชัดเจนว่า ทำได้หลังขออนุญาตแล้วเท่านั้น ด้านแพทยสภาเผยหมอสูติฯ เห็นด้วย กม.อุ้มบุญควรกำหนดกว้างๆ ตามเกณฑ์แพทยสภา ไม่ใช่กำหนดตายตัวแบบ สบส.
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีหญิงตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติควรกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... หรือในประกาศของแพทยสภานั้น ตนไม่มีความเห็น เพราะต้องรอฟังความคิดเห็นของสูตินรีแพทย์ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯ เมื่อได้ข้อสรุปจึงจะทำเป็นความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนหลักเกณฑ์การยุติการตั้งครรภ์กรณีใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้วประสบปัญหานั้น ทางการแพทย์หากเกิดความผิดปกติขึ้นในการตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณายุติการตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาทิ เด็กอายุ 10 ขวบถูกข่มขืนแล้วตั้งครรภ์ อาจจะมีการยุติการตั้งครรภ์ เพราะแม่ไม่มีความพร้อม เป็นต้น
“ต่อไปในการออกตรวจการทำงานของสูตินรีแพทย์คงต้องเข้มงวด ในการซักถาม ตรวจสอบแพทย์ด้วยว่า ปฏิบัติหน้าที่ผิดประกาศหรือข้อบังคับแพทยสภาหรือไม่ เพราะโดยปกติจะมุ่งตรวจสอบเรื่องเครื่องมือและวิธีการ” ประธานราชวิทยาลัยสูติฯ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีสถานพยาบาลที่อยู่ระหว่างรอการอนุญาตจากราชวิทยาลัยสูติฯ ให้ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้น สามารถใช้เทคโนโลยีล่วงหน้าก่อนได้หรือไม่ ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวว่า ขั้นตอนในการอนุญาต คณะกรรมการจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมของสถานพยาบาล แพทย์ และบุคลากรเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาจากจำนวน หรือวิธีการใช้เทคโนโลยีกับคนไข้จริง และตามระเบียบข้อบังคับของราชวิทยาลัยสูติฯ เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า หากยังไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่สามารทำได้ ฉะนั้นจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะแพทย์ต้องศึกษาข้อมูลมาก่อน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว 45 แห่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 14 แห่ง
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในการประชุมหมออุ้มบุญเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ได้เชิญแพทย์สูตินรีเวชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องในด้านการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเรื่องอุ้มบุญมาหารือ สร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามระเบียบของแพทยสภา และจริยธรรมของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยิ่งขณะนี้ข่าวที่ออกมาอาจทำให้คนเข้าใจภาพของประเทศไทยผิด จึงต้องระมัดระวังและดำเนินการทุกอย่างอย่างถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม ซึ่งในการประชุมนอกจากจะกำชับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยแพทย์บางรายสอบถามว่า ระเบียบแพทยสภามีระบุห้ามเลือกเพศในการทำอุ้มบุญ หากในกรณีทำอุ้มบุญคลอดเด็ก 5 คนเป็นชาย และคนที่ 6 ขอเป็นหญิงได้หรือไม่ ซึ่งแพทยสภายืนยันว่าไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ ทั้งนี้ จากการพูดคุยสรุปได้ว่า แพทย์สูตินรีเวชส่วนใหญ่มีความกังวลว่า จากข่าวที่ออกมาจะเหมือนปลาเน่าตัวเดียวแต่ลามทั้งหมด และกังวลว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมจนไม่สามารถให้บริการเทคโนโลยีด้านนี้ด้วยหรือไม่ ซึ่งระบุแล้วว่ายังไม่มีกฎหมายห้าม แต่เป็นการควบคุมให้ถูกต้อง
"จากการพูดคุยกันแพทย์สูตินรีเวชฯ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแพทยสภา ที่จะเสนอให้มีการปรับปรุงหรือระบุในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯแบบกว้างๆว่า ให้เป็นไปตามระเบียบของแพทยสภา หรือกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ให้ไปลงรายละเอียดในแพทยสภาว่า หญิงที่รับอุ้มบุญต้องเป็นญาติทางสายเลือดทางใดทางหนึ่ง และหากไม่มีญาติก็ให้พิจารณาความจำเป็นเป็นกรณีไป เพราะอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยได้ จึงไม่ควรปิดช่องทั้งหมด" นพ.สัมพันธ์กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ ฐิตะดิลก ประธานราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า กรณีหญิงตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติควรกำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... หรือในประกาศของแพทยสภานั้น ตนไม่มีความเห็น เพราะต้องรอฟังความคิดเห็นของสูตินรีแพทย์ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารราชวิทยาลัยฯ เมื่อได้ข้อสรุปจึงจะทำเป็นความเห็นไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่วนหลักเกณฑ์การยุติการตั้งครรภ์กรณีใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้วประสบปัญหานั้น ทางการแพทย์หากเกิดความผิดปกติขึ้นในการตั้งครรภ์ แพทย์จะพิจารณายุติการตั้งครรภ์อยู่แล้ว อาทิ เด็กอายุ 10 ขวบถูกข่มขืนแล้วตั้งครรภ์ อาจจะมีการยุติการตั้งครรภ์ เพราะแม่ไม่มีความพร้อม เป็นต้น
“ต่อไปในการออกตรวจการทำงานของสูตินรีแพทย์คงต้องเข้มงวด ในการซักถาม ตรวจสอบแพทย์ด้วยว่า ปฏิบัติหน้าที่ผิดประกาศหรือข้อบังคับแพทยสภาหรือไม่ เพราะโดยปกติจะมุ่งตรวจสอบเรื่องเครื่องมือและวิธีการ” ประธานราชวิทยาลัยสูติฯ กล่าว
เมื่อถามถึงกรณีสถานพยาบาลที่อยู่ระหว่างรอการอนุญาตจากราชวิทยาลัยสูติฯ ให้ใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์นั้น สามารถใช้เทคโนโลยีล่วงหน้าก่อนได้หรือไม่ ศ.คลินิก พญ.วิบูลพรรณ กล่าวว่า ขั้นตอนในการอนุญาต คณะกรรมการจะต้องพิจารณาถึงความพร้อมของสถานพยาบาล แพทย์ และบุคลากรเป็นหลัก ไม่ได้พิจารณาจากจำนวน หรือวิธีการใช้เทคโนโลยีกับคนไข้จริง และตามระเบียบข้อบังคับของราชวิทยาลัยสูติฯ เขียนเอาไว้ชัดเจนว่า หากยังไม่ได้รับอนุญาตก็ไม่สามารทำได้ ฉะนั้นจะอ้างว่าไม่รู้ไม่ได้ เพราะแพทย์ต้องศึกษาข้อมูลมาก่อน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์แล้ว 45 แห่ง อยู่ระหว่างการพิจารณาอีก 14 แห่ง
นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในการประชุมหมออุ้มบุญเมื่อวันที่ 29 ส.ค.ได้เชิญแพทย์สูตินรีเวชที่ได้รับการขึ้นทะเบียนถูกต้องในด้านการทำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ รวมทั้งเรื่องอุ้มบุญมาหารือ สร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามระเบียบของแพทยสภา และจริยธรรมของแพทย์อย่างเคร่งครัด ยิ่งขณะนี้ข่าวที่ออกมาอาจทำให้คนเข้าใจภาพของประเทศไทยผิด จึงต้องระมัดระวังและดำเนินการทุกอย่างอย่างถูกต้องตามกฎหมายและจริยธรรม ซึ่งในการประชุมนอกจากจะกำชับให้ปฏิบัติตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว ยังเปิดโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยแพทย์บางรายสอบถามว่า ระเบียบแพทยสภามีระบุห้ามเลือกเพศในการทำอุ้มบุญ หากในกรณีทำอุ้มบุญคลอดเด็ก 5 คนเป็นชาย และคนที่ 6 ขอเป็นหญิงได้หรือไม่ ซึ่งแพทยสภายืนยันว่าไม่ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกฎระเบียบ ทั้งนี้ จากการพูดคุยสรุปได้ว่า แพทย์สูตินรีเวชส่วนใหญ่มีความกังวลว่า จากข่าวที่ออกมาจะเหมือนปลาเน่าตัวเดียวแต่ลามทั้งหมด และกังวลว่าจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมจนไม่สามารถให้บริการเทคโนโลยีด้านนี้ด้วยหรือไม่ ซึ่งระบุแล้วว่ายังไม่มีกฎหมายห้าม แต่เป็นการควบคุมให้ถูกต้อง
"จากการพูดคุยกันแพทย์สูตินรีเวชฯ ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแพทยสภา ที่จะเสนอให้มีการปรับปรุงหรือระบุในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯแบบกว้างๆว่า ให้เป็นไปตามระเบียบของแพทยสภา หรือกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กล่าวคือ ให้ไปลงรายละเอียดในแพทยสภาว่า หญิงที่รับอุ้มบุญต้องเป็นญาติทางสายเลือดทางใดทางหนึ่ง และหากไม่มีญาติก็ให้พิจารณาความจำเป็นเป็นกรณีไป เพราะอนาคตอาจมีการปรับเปลี่ยนตามยุคสมัยได้ จึงไม่ควรปิดช่องทั้งหมด" นพ.สัมพันธ์กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่