แพทยสภาเร่งปรับปรุงมาตรฐาน “อุ้มบุญ” เปิดช่องหญิงไม่ใช่ญาติท้องแทนได้ ส่วนคู่สมรสไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน เหตุสังคมไทยครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น ไม่มีพี่น้องท้องแทน ระบุร่าง กม.คุ้มครองเด็กอุ้มบุญเอาผิดโทษหญิงรับจ้างท้องและเอเยนต์ได้ แต่เปิดทางให้รับค่าเลี้ยงดูระหว่างท้องแทนและหลังคลอด
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งมีความชัดเจนเกี่ยวกับการทำอุ้มบุญมากขึ้น โดยจะอิงกับข้อบังคับของแพทยสภา เรื่อง มาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงอยู่ โดยฉบับใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการทำอุ้มบุญในหญิงที่ไม่ญาติทางสายเลือดได้ จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องเป็นญาติทางสายเลือดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น บางคนไม่มีญาติพี่น้องที่จะมาตั้งครรภ์แทน จึงกลายเป็นข้อจำกัดสำหรับคนที่ต้องการมีบุตร แต่ไม่สามารถมีได้ด้วยตัวเองได้
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถทำการอุ้มบุญได้ จากเดิมที่กำหนดว่าต้องคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ทำให้คู่สมรสที่มิได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่สามารถดำเนินการทำอุ้มบุญได้ อย่างไรก็ตาม จะไม่นับรวมคู่สมรสเพศเดียวกันหรือไม่มีคู่สมรส และต้องไม่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญให้แก่คู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมาย หรือให้หญิงที่ตั้งครรภ์แทนโดยไม่ใช่ญาติ จะต้องมีการเสนอเรื่องมายังแพทยสภาเพื่อพิจารณาก่อนว่า มีเหตุผลในการทำอุ้มบุญที่เหมาะสมหรือไม่ หากเห็นว่ามีเหตุผลที่เหมาะสมก็อนุญาตให้ทำอุ้มบุญได้
“ที่สำคัญร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ จะช่วยให้สามารถเอาผิดการทำอุ้มบุญที่ผิดกฎหมายได้ทั้งขบวนการ รวมไปถึงหญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนและนายหน้าหรือเอเยนซีด้วย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายใดเอาผิดได้ โดยหญิงที่ตั้งครรภ์แทนนั้นต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมาย และหญิงที่ตั้งครรภ์แทนจะต้องเคยมีบุตรมาก่อนแล้ว อายุอยู่ในช่วง 20 - 34 ปี และได้รับการยินยอมจากสามีด้วย โดยห้ามไม่ให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ส่วนเอเยนซีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายกแพทยสภา กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ยังกำหนดให้คู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมายสามารถจ่ายเงินให้แก่หญิงรับตั้งครรภ์แทนได้ โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพขณะตั้งครรภ์แทน การคลอด และหลังคลอด เปรียบเหมือนค่าเลี้ยงดูบุตรแทน ส่วนจำนวนเงินนั้นขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเงินเท่าใด จึงจะไม่เป็นในลักษณะทางการค้า โดยจะออกเป็นประกาศตามมาภายใต้ร่างกฎหมายดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการเปิดทางให้มีการทำอุ้มบุญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ชี้แจงว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้การทำอุ้มบุญมีความเคร่งครัดมากขึ้น โดยเฉพาะจะไม่เป็นไปเพื่อการค้า อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุใดช่วงที่นางปวีณา ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. จึงไม่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ แต่กลับปล่อยให้มีการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และเสนอเข้าไปยังสภา ซึ่งสุดท้ายร่างกฎหมายยังไม่ได้รับการพิจารณาก็เกิดการยุบสภาก่อน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้กำลังมีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ซึ่งมีความชัดเจนเกี่ยวกับการทำอุ้มบุญมากขึ้น โดยจะอิงกับข้อบังคับของแพทยสภา เรื่อง มาตรฐานในการให้บริการเกี่ยวกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ฉบับใหม่ ซึ่งขณะนี้กำลังเร่งปรับปรุงอยู่ โดยฉบับใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการทำอุ้มบุญในหญิงที่ไม่ญาติทางสายเลือดได้ จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องเป็นญาติทางสายเลือดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเท่านั้น เนื่องจากปัจจุบันสังคมไทยเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น บางคนไม่มีญาติพี่น้องที่จะมาตั้งครรภ์แทน จึงกลายเป็นข้อจำกัดสำหรับคนที่ต้องการมีบุตร แต่ไม่สามารถมีได้ด้วยตัวเองได้
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังอนุญาตให้คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมายสามารถทำการอุ้มบุญได้ จากเดิมที่กำหนดว่าต้องคู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น ทำให้คู่สมรสที่มิได้จดทะเบียนสมรสก็ไม่สามารถดำเนินการทำอุ้มบุญได้ อย่างไรก็ตาม จะไม่นับรวมคู่สมรสเพศเดียวกันหรือไม่มีคู่สมรส และต้องไม่ดำเนินการเพื่อประโยชน์ทางการค้า ทั้งนี้ แพทย์ที่ดำเนินการอุ้มบุญให้แก่คู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมาย หรือให้หญิงที่ตั้งครรภ์แทนโดยไม่ใช่ญาติ จะต้องมีการเสนอเรื่องมายังแพทยสภาเพื่อพิจารณาก่อนว่า มีเหตุผลในการทำอุ้มบุญที่เหมาะสมหรือไม่ หากเห็นว่ามีเหตุผลที่เหมาะสมก็อนุญาตให้ทำอุ้มบุญได้
“ที่สำคัญร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ จะช่วยให้สามารถเอาผิดการทำอุ้มบุญที่ผิดกฎหมายได้ทั้งขบวนการ รวมไปถึงหญิงที่รับจ้างตั้งครรภ์แทนและนายหน้าหรือเอเยนซีด้วย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีกฎหมายใดเอาผิดได้ โดยหญิงที่ตั้งครรภ์แทนนั้นต้องมิใช่บุพการีหรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมาย และหญิงที่ตั้งครรภ์แทนจะต้องเคยมีบุตรมาก่อนแล้ว อายุอยู่ในช่วง 20 - 34 ปี และได้รับการยินยอมจากสามีด้วย โดยห้ามไม่ให้มีการตั้งครรภ์แทนเพื่อประโยชน์ทางการค้า หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ส่วนเอเยนซีต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” นายกแพทยสภา กล่าว
ศ.นพ.สมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ ยังกำหนดให้คู่สมรสที่ชอบโดยกฎหมายสามารถจ่ายเงินให้แก่หญิงรับตั้งครรภ์แทนได้ โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสุขภาพขณะตั้งครรภ์แทน การคลอด และหลังคลอด เปรียบเหมือนค่าเลี้ยงดูบุตรแทน ส่วนจำนวนเงินนั้นขณะนี้กำลังพิจารณาอยู่ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเงินเท่าใด จึงจะไม่เป็นในลักษณะทางการค้า โดยจะออกเป็นประกาศตามมาภายใต้ร่างกฎหมายดังกล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นางปวีณา หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ได้ให้สัมภาษณ์ว่าไม่เห็นด้วยกับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากเป็นการเปิดทางให้มีการทำอุ้มบุญเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงพัฒนาการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) ชี้แจงว่ากฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้การทำอุ้มบุญมีความเคร่งครัดมากขึ้น โดยเฉพาะจะไม่เป็นไปเพื่อการค้า อย่างไรก็ตาม มีหลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ว่าเหตุใดช่วงที่นางปวีณา ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวง พม. จึงไม่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฯ แต่กลับปล่อยให้มีการเสนอต่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และเสนอเข้าไปยังสภา ซึ่งสุดท้ายร่างกฎหมายยังไม่ได้รับการพิจารณาก็เกิดการยุบสภาก่อน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่