พม. รุดช่วยเด็กอุ้มบุญ 9 คน หลังตำรวจบุกห้องพักขบวนการอุ้มบุญซอยลาดพร้าว พบอายุน้อยสุด 14 วัน เบื้องต้นแยกเด็กไปบ้านพักเด็กอ่อนปากเกร็ด และ พญาไท อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เผยร่าง กม. คุ้มครองเด็กจากเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ ผ่านกฤษฎีกาแล้วเตรียมชง คสช. พิจารณา
วันนี้ (6 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเข้าตรวจสอบห้องพัก ในอาคารเดอะ นิช ไอดี คอนโด ซอยลาดพร้าว 130 พบแหล่งขบวนการอุ้มบุญ และเด็กแรกคลอดถึงอายุ 1 ขวบ จำนวน 9 คน อยู่ระหว่างตั้งครรภ์อีก 1 คน โดยเป็นการจ้างอุ้มบุญจากชาวญี่ปุ่น ว่า ขณะนี้ พม. ได้เข้าไปดูแลเด็กทั้ง 9 คน โดยจัดให้อยู่ในความดูแลจากสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด และพญาไท ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็ก เบื้องต้นได้มีการตรวจสุขภาพพบเด็กอายุต่ำสุดเพียง 2 สัปดาห์ แต่ทั้งหมดร่างกายอยู่ในภาวะปกติ แข็งแรงดี ส่วนหญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์อีก 1 คนนั้น จะถูกกันไว้เป็นพยาน ถ้าหากมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงพบว่าเป็นผู้เสียหายและขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ก็จะมีการดำเนินการทางกฎหมาย โดยหญิงคนดังกล่าวให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า ได้รับค่าจ้างจริงเป็นจำนวนเงินกว่า 2 แสนบาท ทั้งนี้ พม. จะดูแลเรื่องของการให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในส่วนของกระบวนการที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ ส่วนเรื่องคดีความ หรือเรื่องข้อกฎหมายจะมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายดูแล
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องของการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ได้ผ่านพระราชกฤษฎีกาแล้ว เตรียมเสนอเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คชส.) พิจารณา เพราะถือว่าการอุ้มบุญเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ประเภทหนึ่งในเชิงธุรกิจ ซึ่งสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ การคุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และแก้ปัญหาถึงความเป็นผู้ปกครองเด็กที่เกิดออกมา เพื่อให้ความคุ้มครองและสวัสดิภาพต่างๆ กับเด็ก รวมถึงการห้ามไม่ให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์แทน และห้ามทำการเป็นคนกลางหรือนายหน้าจัดให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์แทน
“ร่างกฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีลูกยาก หรือผู้ที่มีร่างกายไม่พร้อม แต่อยากมีลูก โดยผู้ที่ตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นบุคคลตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งควรเป็นพี่น้อง ญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ เพื่อความผูกพัน ความรับผิดชอบ และทุกขั้นตอนจะต้องผ่านกระบวนการวินิจฉัยด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่รอบคอบ ซึ่งกฎหมายระบุชัดเจนถึงพ่อแม่เจ้าของเซลล์สืบพันธุ์ที่ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กที่เกิดออกมาจะมีความผิดปกติหรือไม่” ปลัด พม. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ส.ค.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีการเข้าตรวจสอบห้องพัก ในอาคารเดอะ นิช ไอดี คอนโด ซอยลาดพร้าว 130 พบแหล่งขบวนการอุ้มบุญ และเด็กแรกคลอดถึงอายุ 1 ขวบ จำนวน 9 คน อยู่ระหว่างตั้งครรภ์อีก 1 คน โดยเป็นการจ้างอุ้มบุญจากชาวญี่ปุ่น ว่า ขณะนี้ พม. ได้เข้าไปดูแลเด็กทั้ง 9 คน โดยจัดให้อยู่ในความดูแลจากสถานสงเคราะห์บ้านเด็กอ่อนปากเกร็ด และพญาไท ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็ก เบื้องต้นได้มีการตรวจสุขภาพพบเด็กอายุต่ำสุดเพียง 2 สัปดาห์ แต่ทั้งหมดร่างกายอยู่ในภาวะปกติ แข็งแรงดี ส่วนหญิงที่อยู่ระหว่างตั้งครรภ์อีก 1 คนนั้น จะถูกกันไว้เป็นพยาน ถ้าหากมีการพิสูจน์ข้อเท็จจริงพบว่าเป็นผู้เสียหายและขบวนการดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ ก็จะมีการดำเนินการทางกฎหมาย โดยหญิงคนดังกล่าวให้การกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ว่า ได้รับค่าจ้างจริงเป็นจำนวนเงินกว่า 2 แสนบาท ทั้งนี้ พม. จะดูแลเรื่องของการให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกในส่วนของกระบวนการที่เข้าข่ายค้ามนุษย์ ส่วนเรื่องคดีความ หรือเรื่องข้อกฎหมายจะมอบให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นฝ่ายดูแล
นายวิเชียร กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องของการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... ได้ผ่านพระราชกฤษฎีกาแล้ว เตรียมเสนอเรื่องให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คชส.) พิจารณา เพราะถือว่าการอุ้มบุญเป็นปัญหาการค้ามนุษย์ประเภทหนึ่งในเชิงธุรกิจ ซึ่งสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว คือ การคุ้มครองเด็กที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ และแก้ปัญหาถึงความเป็นผู้ปกครองเด็กที่เกิดออกมา เพื่อให้ความคุ้มครองและสวัสดิภาพต่างๆ กับเด็ก รวมถึงการห้ามไม่ให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์แทน และห้ามทำการเป็นคนกลางหรือนายหน้าจัดให้มีการรับจ้างตั้งครรภ์แทน
“ร่างกฎหมายนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้มีลูกยาก หรือผู้ที่มีร่างกายไม่พร้อม แต่อยากมีลูก โดยผู้ที่ตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นบุคคลตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งควรเป็นพี่น้อง ญาติ หรือคนใกล้ชิดที่ไว้ใจได้ เพื่อความผูกพัน ความรับผิดชอบ และทุกขั้นตอนจะต้องผ่านกระบวนการวินิจฉัยด้วยเหตุผลทางการแพทย์ที่รอบคอบ ซึ่งกฎหมายระบุชัดเจนถึงพ่อแม่เจ้าของเซลล์สืบพันธุ์ที่ให้ผู้อื่นตั้งครรภ์แทนจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ว่าเด็กที่เกิดออกมาจะมีความผิดปกติหรือไม่” ปลัด พม. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่